ชีวิตที่พอเพียง : 3108. พื้นที่สร้างสรรค์ของครู



บ่ายวันที่ ๒๒ มกราคม๒๕๖๑ ที่โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ผมฟังคุณหมอจรัส สิงห์แก้ว ผอ. รพ. สารภี เล่าเรื่อง ทุนทางสังคม (social assets) ในพื้นที่   สำหรับนำมาใช้เป็นหัวขบวนดำเนินการพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบใหม่ๆ    ว่ามีมากหากรู้จักหา    และท่านบอกว่าครูเกษียณคือกำลังหรือทุนที่มีมากและมีพลังที่สุด  

ทำให้ผมกลับมาคิดตีความต่อว่าวงการครูเป็นวงการที่ขาดแคลนกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สุดวงการหนึ่ง    แต่ครูเกษียณกลับเป็นทรัพยากรแห่งความสร้างสรรค์ในชุมชน   แสดงว่า จริงๆแล้วครูมีความสร้างสรรค์ตามธรรมชาติ ของความเป็นมนุษย์    แต่ตอนที่ทำงานราชการหรือทำหน้าที่เป็นครู   พื้นที่การปฏิบัติงานไม่เอื้อ หรือไม่เปิดโอกาสให้สร้างสรรค์    เพราะมีกฎระเบียบรัดรึงต่างๆ นานา  

ต้องรอจนเกษียณอายุเปลี่ยนพื้นที่แสดงออกในชีวิต   มาเป็นพื้นที่ที่ไม่เป็นทางการมีอิสระในการคิดและการเลือกทำสิ่งที่ตนชอบ  ครูซึ่งเป็นคนมีความรู้สูงในชุมชน หลายคนจึงผันตัวไปเป็นแกนนำสร้างสรรค์ในชุมชน

คุณหมอจรัส สิงห์แก้วเป็นหมอรางวัลแพทย์ชนบทอันทรงเกียรติ  รู้ดีว่าสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชนต้องการกิจกรรมหลายอย่างที่คนในวงการวิชาชีพสุขภาพไม่มีเวลาและไม่มีแรงทำ    ต้องสร้างพื้นที่ให้ชาวบ้านช่วยกันทำ    จากประสบการณ์ที่มีความสำเร็จในหลายพื้นที่มายาวนาน    ทำให้ท่านเข้าใจ “ทรัพย์สินทางปัญญา” เพื่อทำกิจกรรมพัฒนาสุขภาวะในชุมชน ได้อย่างทะลุ    ท่านจึงมีข้อสรุปดังกล่าว

ผมเอาข้อสังเกตนี้มาเล่าให้คุณหมอสมศักดิ์ชุณหะรัศมิ์    ท่านบอกว่า เวลาทำงานท่านคำนึงถึง enablingmechanism สำหรับให้คนทำงานใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของตนและทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกัน  

เป็นที่รู้กันว่าสำหรับมนุษย์ พื้นที่สร้างสรรค์คือ S. O. L. E. (Self-Organized LearningEnvironment) 



๒๔ ม.ค. ๖๑

บริเวณอาคารผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลปิยะมหาราชการุณย์


 

หมายเลขบันทึก: 644675เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2018 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2018 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท