ชีวิตที่พอเพียง 3073. สร้างข้อมูลหลักฐานเพื่อนโยบายที่ดี



 วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันคลังสมองของชาติ    มีวาระเรื่อง สถานภาพและผลการดำเนินงานของสำนักประสานงาน วานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัยเชิงนโยบาย ที่มี รศ. ดร. สมพร อิศวิลานนท์ เป็นผู้ดำเนินการ  

ผมได้เสนอว่า ควรพิจารณาเครื่องมือสำคัญตัวหนึ่ง ที่กำลังพัฒนาขึ้นมาใช้ในการวิจัยเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายคือ evidence generation หรือ systematic review    ที่เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๐ ผมไปที่ IoE (Institute of Education) ของ UCL   (ดู brochure นี้ หน้า ๑๒)    พบ รศ. ดร. มุกดารัตน์ บางพันธ์ (มด) เป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น    เรียนจบทางด้าน evidence-based social intervention, Oxford University แล้วได้มาทำงานที่ The Evidence for Policy and Practice Information and Co-ordinating Centre (EPPI-Centre) UCL IoE โดยได้ทำงานวิจัยทาง systematic reviews เน้นทางด้าน education, social policy, social care, and international development มาประมาณ 10 ปี   (http://eppi.ioe.ac.uk/cms/)  


ผมได้แนะนำให้ ดร. มดรู้จักกับ นพ. ยศ ตีระวัฒนานนท์ ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำของไทยด้านการวิจัย evidence generation ด้านนโยบายสุขภาพของไทย (www.hitap.net) ดังตัวอย่างผลงาน (, , )


  ผมคิดว่าการพัฒนาประเทศไทย ๔.๐ ต้องการวิชาการด้านนี้ สำหรับใช้ในการกำหนดนโยบายภาพใหญ่ของประเทศในทุกด้าน    โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านที่เราอ่อน เช่นการศึกษา  พลังงาน  การเกษตร สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ดร. มดได้กรุณาส่งเว็บไซต์เรื่อง evidence synthesis ด้านต่างๆ มาให้ ดังนี้

http://www.environmentalevidence.org

https://www.campbellcollaboration.org

http://www.3ieimpact.org

http://eppi.ioe.ac.uk/cms/ 



วิจารณ์ พานิช       

๑๔ ธ.ค. ๖๐

 


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 643525เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2017 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2017 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท