ทำไมไม่โหน2(ข้อเสนอแนะเพื่อการโหน)


ทุกวันนี้ประชาชนอยากรู้ว่าสภาพร่างกายพี่ตูนเป็นอย่างไร ต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษ ต้องกินอาหารอย่างไร ก่อนวิ่ง หลังวิ่ง ทำอะไรบ้าง ถ้าจะออกกำลังกายให้แข็งแรงได้เหมือนพี่ตูน ต้องเตรียมตัวอย่างไร

           อันที่จริงก็ว่าจะไม่เขียนประเด็นนี้ต่อแต่เห็นท่านรมว.สาธารณสุขต้องออกมาตอบคำถามสังคมเกี่ยวกับเงินบริจาคล้านบาทก็ให้รู้สึกว่าทีมที่ปรึกษาของท่านอาจจะยังไม่มีทักษะในการโหนหรือว่าโหนไม่เป็นจึงใคร่ขอเสนอแนะดังต่อไปนี้ครับ

๑.ตูนสื่อสารถึงคนไทยว่าถ้าไม่อยากให้คุณหมอคุณพยาบาลเหนื่อยก็ช่วยกันได้ง่ายๆโดยหันมาออกกำลังกายซึ่งผมเชื่อว่ามีคนรักพี่ตูนอีกหลายคนที่เริ่มขยับมาออกกำลังกาย(รวมถึงตัวผมด้วย)ดังนั้นท่านลองให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขสำรวจดูครับว่าปีหนึ่งๆเราใช้งบประมาณเพื่อการรณรงค์เรื่องนี้กันมากเท่าไหร่่ดังนั้นกระแสนี้ต้องโหนครับเป็นผมจะสั่งให้หน่วยงานสาธารณสุขโรงพยาบาลทั่วประเทศจัดมหกรรมการออกกำลังกายให้สอดรับกับพี่ตูนแค่ขยับคนละก้าว สุขภาพดีก็จะตามมาหรือว่าอาจจะเสาะหาตัวอย่างคนไทยสุขภาพดีจากการออกกำลังกายสม่ำเสมอออกมายกย่องก็จะเป็นการโหนกระแสได้อย่างแนบเนียนครับ

๒.พี่ตูนบอกว่าโรงพยาบาลศูนย์ ๑๑ แห่ง แออัดขาดแคลน ท่าน รมว.ต้องจัดโปรแกรมตรวจเยี่ยมทั้ง๑๑ แห่งเป็นการเฉพาะกิจแล้วครับและให้ ผอ.รพ.ทั้ง๑๑ แห่ง มานั่งอธิบายออกสื่อให้ประชาชนฟังหน่อยว่าขาดแคลนอะไร อย่างไรหมอเจ้าหน้าที่เหนื่อยกันแบบไหนขยายภาพที่พี่ตูนสื่อสารจากใจให้เห็นเป็นรูปธรรมหน่อยครับ

๓.ทุกวันนี้ประชาชนอยากรู้ว่าสภาพร่างกายพี่ตูนเป็นอย่างไรต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษต้องกินอาหารอย่างไร ก่อนวิ่งหลังวิ่ง ทำอะไรบ้างถ้าจะออกกำลังกายให้แข็งแรงได้เหมือนพี่ตูนต้องเตรียมตัวอย่างไร(ตอนนี้ทุกคนก็เลยจดจ่ออยู่ที่คุณหมอเมย์…..คอยฟังว่าวันนี้คุณหมอจะพูนถึงพี่ตูนว่าอย่างไร)

         

กระทรวงสาธารณสุขมีหลายกรมกองที่ดูแลเรื่องนี้นะครับเป็นผมจะสั่งให้ส่งทีมมาดูแลหมอเมย์ว่าขาดเหลืออะไรบ้างพร้อมทั้งแถลงข่าวสภาพร่างกายพี่ตูนทุกวันพร้อมถือโอกาสเอาผู้เชี่ยวชาญที่มีอยู่เต็มกระทรวงเรียงหน้าออกมาให้ความรู้กับประชาชนเคียงคู่กับ FacebookLive ของเพจก้าวเลยครับ

๔.อันนี้สำคัญผมจะไปเยี่ยมและร่วมวิ่งพี่ตูนแม้เป็นระยะสั้นๆเพื่อมีโอกาสกระซิบพี่ตูนว่าไอ้ที่ขาดแคลนจริงๆนั่นยังมีอีกเยอะถ้าตูนไม่อยากเห็นคนไข้แออัดที่รพ.ศูนย์ก็ต้องหาเงินไปบริจาคให้กับรพ.ชุมชนประจำอำเภอหรือว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้านให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นจะได้ไม่ต้องมาหนักโรงพยาบาลศูนย์ครับ

ปล.ขอบคุณภาพประกอบที่ได้จาก Line เพื่อนๆส่งมาครับ

หมายเลขบันทึก: 643126เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2017 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ธันวาคม 2017 11:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เคยประสพมาด้วยตนเอง  ไปสถานพยาบาลใกล้บ้าน..ของตำบล  เพราะเด็กในไร่เจ็บในหู...ไปถึง..ไม่มีหมอหรือพยาบาลอยู่..มีแต่คนเฝ้าโยง..แกก็ไปหาเครื่องมือตรวจหู..มาให้  ยังไม่ได้แกะกล่อง  เพราะไม่มีคนใช้เป็น..

บังเอิญคนพาเด็กไป..เป็นหมอ(เยอรมัน)..จะแกก็เลยแกะกล่อง  และประกอบ..เรื่องมือนั้น..ให้...และเลยตรวจดูหูเด็กให้เสร็จเลย...  คนเฝ้าโยง  ชอบอกชอบใจ   ...

อยากให้หมอ  มาอยู่โยงด้วยกัน...!!


ผมเคยเป็นแพทย์อยู่ประจำที่ รพ.สต. ๕ ปีครับ มีความเชื่อว่า เราสามารถทำให้แพทย์อยู่ที่ รพ.สต.ได้ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีระบบสนับสนุนที่ดีพอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท