ชีวิตที่พอเพียง 3063. การแพทย์ฟื้นสภาพ



บทความเรื่อง Japan faces new competition in the race for ‘regenerative medicine’ ในนิตยสาร Nikkei Asian Review ฉบับวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ()    เล่าเรื่องการแข่งขันธุรกิจไฮเทค บำบัดส่วนของร่างกาย ที่ชำรุดให้กลับคืนดีด้วยชิ้นส่วนที่ร่างกายสร้างขึ้นใหม่ ด้วยเซลล์ต้นกำเนิด (stem cells) ของตนเอง    ที่เรียกว่า regenerative medicine    

 ศาสตราจารย์  Shinya Yamanaka แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต ค้นพบวิธีกระตุ้นเซลล์ร่างกายที่เป็นเซลล์ ‘ผู้ใหญ่’ (mature cell) ให้กลับเป็น ‘เซลล์ทารก’ (stem cell) ใหม่ในปี ค.ศ. 2006   พอปี 2012 ก็ได้รับรางวัลโนเบล    เซลล์ทารก ที่ได้เรียกว่า iPS cells (induced pluripotent stem cells)    เทคนิคใช้ iPS cells บำบัดฟื้นสภาพบาดแผล ของระบบประสาท (เช่นอัมพาตจากอุบัติเหตุ)  ซึ่งกลไกฟื้นสภาพตามปกติ ของร่างกายช้ามาก จนรู้สึกกันว่า ไม่มีทางหาย    รวมทั้งอาจใช้รักษาโรคของระบบ ประสาทอื่นๆ เช่น โรค พาร์คินสัน  มีแนวโน้มว่าจะค้นพบ วิธีการที่ได้ผลดีไนไม่ช้า

แน่นอนว่าประเทศผู้นำคือญี่ปุ่น  แต่การแข่งขันก็สูงมากจากสหรัฐอเมริกา  อังกฤษ และแคนาดา    

บทความเล่าเรื่อง ศ. Masaya Nakamura แห่ง Keio University ประสบความสำเร็จในการทดลองในหนู    โดยทำให้เกิดการทำลายไขสันหลัง ทำให้หนูเป็นอัมพาต    แล้วทดลองฉีด iPS cells ของมนุษย์ให้หนูตัวนั้น ตรงบริเวณไขสันหลังที่ถูกทำลาย    พบว่าหนูฟื้นจากอัมพาตในเวลา ๓ เดือน  

แผนต่อไปในปีหน้าคือ ทำ iPS cells ให้เป็นเซลล์เริ่มต้นของเซลล์ประสาท ใช้ฉีดให้แก่ผู้ป่วยอัมพาต จากอุบัติเหตุกระทบไขสันหลัง จำนวน ๙ คน    จากหนูสู่การทดลองในคน    

เขาบอกว่า อันตรายที่ต้องป้องกันในการใช้ในคน คือป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งเป็นปัญหาข้างเคียง    จากการที่ iPS cells ที่ยังไม่เปลี่ยนไปเป็นเซลล์เริ่มต้นของเซลล์ประสาท  เปลี่ยนตัวเองไปเป็นเซลล์มะเร็ง  

บทความนี้ยาวมาก   เล่าเรื่องราวการลงทุนของรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อดำรงความเป็นผู้นำในโลก ด้านการรักษาโรคโดยใช้สเต็มเซลล์    ซึ่งคาดว่าจะรักษาโรคของระบบอื่นๆ ได้ทั่วตัว    และนอกจากนั้น ยังใช้ช่วยการพัฒนายาได้อีกด้วย

อ่านแล้วผมเกิดข้อสงสัยว่า ที่มีบริการฉีดสเต็มเซลล์ในประเทศไทย มีโอกาสเกิดมะเร็งเป็นโรคข้างเคียงหรือไม่

วิจารณ์ พานิช       

๑๗ พ.ย. ๖๐

ห้องรับรองผู้โดยสารการบินไทย สนามบินสุวรรณภูมิ


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 643076เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2017 00:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2017 00:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท