บทเพลงที่มิอาจกล่าวอ้างว่าใครเป็นเจ้าของ ดุจวัฒนธรรมร่วมที่ถูกแบ่งแยกด้วยเขตแดนรัฐ


เสียงเชียร์......เรานั้นเกรียงไกร รักกันไว้ ด้วยน้ำใจอันคงมั่น............... เด้อ

วานก่อนและวันนี้ เห็นนักศึกษามหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งในภาคอีสาน กำลังเจ็บปวดรวดร้าวเสมือนโดนข้าศึกรุมทำร้ายหมายปลิดชีพ แล้วแย่งชิงสมบัติอันมีค่าไป  แล้วเกิดลำนำขับขาน ฟังแล้วดูคล้ายบทเพลงแห่งพวกตนที่หวงแหน อนุรักษ์ สืบสานมานานหลายปี ขึ้นชั้นที่เพลงประจำสถาบันอันทรงคุณค่าทางจิตใจและจิตวิญญาณ

ทัศนะส่วนตัวผนวกกับการอยู่ร่วมสมัย แต่ไม่นานนักหากย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าพี่อี๊ด ดร.อนุชา โสมาบุตร สมัยเป็นนักศึกษาเล่าว่า เพลง “รั้วสีอิฐ” น่าจะเป็นเพลงตลาด ที่โรงเรียนมัธยมหลายโรงเรียนก็ใช้ขับร้องขับขานในงานกีฬา ต่างกันเพียงเนื้อร้องบางท่อนบางตอน... จำได้ติดตรึงใจ และในปี 2545 เพลงรั้วสีอิฐ ไม่ได้เป็นเพลงหลักในงานกลุ่มสัมพันธ์และเชียร์กลางของ มข. แต่มาเริ่มให้พี่เลี้ยงน้องใหม่ ปี 2546 ฝึกหัดร้อง เชียร์หลีดเดอร์ฝึกเต้นกันอย่างขมักเขม้น เพลงในหนังสือเพลงเชียร์รุ่น 39 เมื่อปี 2545 จึงมีเพียงกระดาษแผ่นเล็กๆที่พิมพ์เนื้อเพลง แจกจ่ายให้น้องใหม่ นำไปแปะติดเก็บไว้... พอปี 2546 ที่รุ่น 40 เข้าร่วมกลุ่มสัมพันธ์และเชียร์กลาง เพลง “รั้วสีอิฐ”  จึงเป็นบทเพลงหนึ่งที่ให้น้องใหม่ได้ฝึกหัดร้อง แต่ก็ยังไม่ได้เป็นเพลงหลัก จำได้ว่าน่าจะมีการทดสอบเพลงในประเพณีเชียร์กลาง เพื่อนๆรุ่น 39 ยังถามกันว่า “เพลงอะไรวะ?”

เพลงประจำสถาบันหรือเพลงประจำ มข. เกือบทุกเพลงจะกำกับชื่อผู้ประพันธ์หรือระบุว่ากลุ่มใดใครแต่งไว้ให้พอสืบประวัติได้บ้าง แต่เพลง “รั้วสีอิฐ” น่าจะเป็นเพลงลึกลับเพลงหนึ่งที่หาต้นเค้าเล่าความไม่ค่อยเจอ โดยทัศนะส่วนตัวที่เห็นในห้วงสองสามวันจากกรณีที่มีมหาวิทยาลัยหนึ่งในภาคอีสาน นำไปใช้ในการประกวดเชียร์ จนเกิดดราม่าเกิดขึ้น หากมองแบบแยกแยะ มีสองสามประเด็น หากมองเรื่องเพลงและเนื้อเพลง ผมก็เฉยๆ เพราะอย่างที่เล่าข้างต้นว่าเคยคุยกันว่าเป็นเพลงตลาดที่ปรับเนื้อเพลงให้เข้ากับตนเอง ผมจึงยังไม่ปักใจเชื่อว่าเป็น “ของเรา” แต่เรื่องท่าเต้นหลีด หากมองแบบใจแคบหน่อยก็จะเห็นว่าคล้ายกับท่าของ มข. (ที่คิดว่าเป็นต้นฉบับ) จึงมีดราม่าเรื่องนี้เสริมทัพ ผนวกกับเพลงบางเพลง ดันมีเนื้อ จังหวะ ทำนองและท่าหลีด บางคณะก็คล้ายกันจนแยกแยะได้ลำบาก ว่าคิดค้น ลอกเลียน เลียนแบบ หรือมีอิทธิพลไหลฮาดไปหากัน...ก็ยากจะตัดสิน แต่หากมองใจกว้างขึ้น การมีวัฒนธรรมร่วม ที่ให้เกียรติซึ่งกันและกันระหว่างทุกๆฝ่าย ที่อยากให้เกิดความสวยงาม ยั่งยืน เป็นแบบฉบับ และแบ่งปันเรียนรู้ต่างหาก น่าจะช่วยให้สังคมน่าอยู่ และเกิดบทเรียนร่วมกันว่า การมองเหตุแห่งความจริงมาหักล้าง ที่มิได้หมายเอาชนะ แต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันต่างหากจะช่วยเสริมส่งพวกเราทุกฝ่ายในฐานะ “นักวิชาการ” ทั้งหมดทั้งมวลก็เป็นความเห็นส่วนตัวและทัศนะส่วนที่พอจะมองเห็น ไม่ได้หมายจะบอกว่ามันเป็นความจริงเสียทั้งหมด หรือที่เล่ามา อาจไม่จริงเสียเลยก็ได้

 

เสียงเชียร์......เรานั้นเกรียงไกร   รักกันไว้  ด้วยน้ำใจอันคงมั่น............... เด้อ

 

ณ  มอดินแดง , ๕  ธันวาคม  ๒๕๖๐ 


ในหนังสือเพลงเชียร์ของรุ่น 39 และรุ่น 50

หนังสือเพลงเชียร์ รุ่น 39

หนังสือเพลงเชียร์ รุ่น 50

หนังสือเพลงเชียร์ รุ่น 54

หมายเลขบันทึก: 643041เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2017 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ธันวาคม 2017 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะครับ เป็นม.ที่โดนกล่าวมา 

เพลงนี้แต่งโดย เทิด บุณยรัตพันธุ์ 2490  ครูเพลงชาวอุบล แต่งไว้ให้ใช้ในกีฬาสี  นะครับ  ซึ่งในปีพ.ศนั้น ยังไม่มีการสถาปนามหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเลย 
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันเป็นเรื่องสำคัญ

อยากทราบเนื้อเพลงแรกสุดที่ถูกแต่งเข้ากับทำนองนี้จัง ถ้าใครทราบรบกวนแปะลงในนี้หน่อยนะครับ

ขอให้ทุกท่านเข้าใจใหม่นะคะ เพลงนี้ ทำนองนี้ เท่าที่รู้มา ถูกเเต่งโดยครูเพลงท่านหนึ่ง(ขออนุญาตไม่ระบุนามเพราะดิฉันคือลูกหลานท่าน) จริงๆเพลงนี้ถูกเเต่งขึ้นเนื่องจากงานครบรอบ30ปี ของโรงเรียนมัธยม เเต่ต่อมาถูกเผยเเพร่ไปหลายๆที่ เเละมีการเเปลงคำเพื่อให้เหมาะกับสถาบันนั้นๆเเละให้เนื้อหาเกิดการจรรโลงใจรู้รักสามัคคีในสถาบันของตน  จำได้ว่าช่วงที่ท่านเเต่งเสร็จเพลงถูกนำไปใช้ในรร.มัธยมเป็นจุดเเรก ปล.เพราะครูเพลงเป็นอาจารย์รร.มัธยม  ยังไม่พบว่ามหาลัยไหนนำไปใช้ก่อน(ส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นน้องมัธยมจบไปเเล้วนำเพลงนี้ไปต่อยอดในรั่วมหาวิทยาลัยจนสืบทอดไปหลายๆปีเเละส่งผลให้นักศึกษารุ่นหลังๆคิดว่าบทเพลงนี้เป็นสมบัติของสถาบันตัวเองหรือปล่าว??)  

เพราะฉะนั้นให้ทำความเข้าใจใหม่นะคะว่าเพลงนี้เป็นเพลงตลาดจริงๆค่ะ รร.มัธยมเท่าที่ทราบตอนนั้นมีอยู่สี่โรงเรียน ถ้า โรงเรียนดังเก่าเเก่ในจังหวัดอุบล  โรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี  โรงเรียนนาฎศิลป์ในจังหวัดหนึ่งเเทบอีสานตอนใต้ อีกโรงเรียนหนึ่งไม่ค่อยเเน่ใจ โรงเรียนเหล่านี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 80 ปีนะคะ

ส่วนในเรื่องของท่วงท่าของมหาวิทยาลัยที่ถูกกล่าวหาส่วนตัวเท่าที่ทราบมา มหาวิทยาลัยนี้เป็นมหาวิทยาลัยน้อง เเบบถูกเเยกมาเเต่ถือว่าเป็นเครือข่ายเดียวกัน  ก็เหมือนเป็นมหาวิทยาลัยบ้านพี่เมืองน้องกัน มันจะเหมือนน้องเอาความรู้ของพี่มาต่อยอด เเต่พี่หวงพี่โกรธน้องที่เอาความรู้ตัวเองไปใช้อะไรประมาณนี้  

ยังงัยก็ขอให้ทั้งสองฝ่ายใจเย็นๆนะคะ ความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยสำคัญที่สุด  

เราเป้นหลานคนเเต่งเราไม่อยากจะพูดอะไรมาก  พูดไปก็สงสารฝ่ายมข.

ถึงคุณกะลา อยากทราบจริงๆ ว่าคนแต่งคือใครคะ ติดตามมาสักพักอยากทราบจริงๆ

รู้สึกขอบคุณจริงๆนะคะ ที่มีคนออกมาพูด ซึ่งสะท้อนความคิดได้ตรงใจมากๆ เคยคิดมากและกลัวจนไม่กล้ากลับมาดูผลงานตัวเองเลยด้วยซ้ำ จนเวลาผ่านไป จึงได้ทราบว่ามีคนออกมาพูดแล้ว ขอบคุณจิงๆนะคะ รู้สึกดี ที่มีคนเข้าใจหลายๆคน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท