ปัญหา และแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร


ปัญหา และแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร

ปัญหา :

ปัญหาของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา จากการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาใหม่ที่ยึดหลักเอกภาพด้านนโยบาย แต่หลากหลายการปฏิบัติสู่สถานศึกษา ทำให้สถานศึกษาต้องดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพของปัญหา จุดเด่น เอกลักษณ์ของชุมชน สังคม ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ท้องถิ่น ตลอดจนการระดมทรัพยากรทั้งของสถานศึกษาและชุมชนมาใช้อย่างคุ้มค่าเต็มตามศักยภาพ ในระยะเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังกล่าว ยอมส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ เจตคติและมีการปรับการเรียนเปลี่ยน การ สอนตามแนวทางปฏิบัติการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มบทบาทนอกจากการเป็นผู้จัดการเรียน การสอนเพียงอย่างเดียว สถานศึกษายังต้องมีหน้าที่จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของตนเอง และต้องมี การพัฒนาของตนเองอย่างต่อเนื่อง การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาจึงเป็นภารกิจใหม่ที่สถานศึกษายัง

แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร :

การศึกษาทางเลือก เป็นการศึกษาเชิงอุดมคติเพื่อแสดงถึงลักษณะของรูปแบบการศึกษาที่

ไม่ใช่การศึกษาแบบเดิม มีรูปแบบของการจัดการศึกษาที่มีความหลากหลาย บนฐานความคิดทาง

ศาสนาธรรม รากฐานทางปัญญา รากฐานทางจิตวิทยา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เจริญเติบโตตามศักยภาพ

สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนทั้งด้านเนื้อหาสาระที่เรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ในปัจจุบัน มี

โรงเรียนทางเลือกเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลก ส่งผลทำให้มีการพัฒนาหลักสูตรทางเลือก

(alternative curriculum) อย่างหลากหลาย ในบทนี้จะยกตัวอย่างรูปแบบของโรงเรียนทางเลือก

และหลักสูตรทางเลือกให้เห็นเป็นสังเขป ดังนี้

  • โรงเรียนแม่เหล็ก (magnet schools)
  • การจัดการศึกษาโดยครอบครัว
  • โรงเรียนหลักสูตรเร่งรัด
  • หลักสูตรการเรียนล่วงหน้า

เป็นโรงเรียนทางเลือกที่มีลักษณะแตกต่างกับโรงเรียนสามัญปกติคือมีหลักสูตรการเรียนการสอน

ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน โดยจะเน้นที่ความเป็นเลิศทางวิชาการในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เป็นต้น เพื่อดึงดูดให้นักเรียนที่สนใจจะเก่งหรือเป็นเลิศทางด้านนั้น ๆ เข้ามาเรียน โดยไม่มีสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม มากีดกั้นแบ่งแยก คำว่า โรงเรียนแม่เหล็ก จึงเปรียบเสมือนแม่เหล็กที่ดึงดูดนักเรียนให้เข้ามาศึกษาในโรงเรียน

การจัดการศึกษาโดยครอบครัว เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่บิดา มารดา หรือ

ผู้ปกครองเป็นผู้รับผิดชอบ จัดการศึกษาด้วยตนเอง โดยเป็นผู้สอนด้วยตนเอง หรือเป็นผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้ การจัดการศึกษาโดยครอบครัว เป็นสิทธิโดยพื้นฐานของบิดา มารดา และครอบครัว เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ฝึกอบรม ให้บุตรหลาน หรือบุคคลที่อยู่ในความดูแล ให้สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนได้ตาม

ธรรมชาติและเต็มศักยภาพ

มีเป้าหมายเพื่อสร้าง

ความสำเร็จให้กับนักเรียนทุกคน ลดช่องว่างของการที่จะประสบผลสำเร็จทางการเรียนระหว่าง

เด็กที่ด้อยโอกาส หรือเด็กที่มีความเสี่ยง (at-risk students) เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง และเด็กที่ด้อยโอกาสทางสติปัญญา โรงเรียนประเภทนี้มีแนวความเชื่อว่า เด็กในภาวะเสี่ยงภัย มีช่องว่างทางการเรียนรู้จากการที่โรงเรียนตีคุณค่าในตัวเขาต่ำกว่าเด็กอื่นๆ ด้วยความด้อยทางสภาพเศรษฐกิจ และสังคม จึงมุ่งสร้างให้เด็กมีความแข็งแกร่งและพึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาผู้ปกครองหรือครูอยู่ตลอดเวลา

เป็นหลักสูตรที่เกิดจากความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษากับโรงเรียนมัธยมศึกษา ร่วมกันพัฒนา

รายวิชาที่มีคุณลักษณะเทียบเท่ากับรายวิชาที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษา โดยจัดโอกาสให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ สามารถเลือกเรียนบางวิชาที่มีความสามารถและมีความสนใจ หรือมีความถนัดซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยผู้สอนในโรงเรียน หรือ โดยอาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษา ภายใต้การกำกับ ดูแล และนิเทศโดยอาจารย์จากสถาบัน อุดมศึกษา เมื่อนักเรียนสำเร็จการศึกษาในรายวิชานั้น ด้วยระดับคะแนน และมีคุณสมบัติตามที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด จะสามารถเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องโดยตรงด้วยระบบการพิจารณารับตรง (admission) และสามารถเทียบโอนหน่วยการเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องเรียนซ้ำในรายวิชานั้น เมื่อเรียนในสถาบันอุดมศึกษานั้น

 

รูปแบบโรงเรียนทางเลือกในประเทศไทย

จากความพยายามที่จะปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งด้านโครงสร้าง ด้านการบริหารจัดการ การปฏิรูปหลักสูตร และการปฏิรูป การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้มีคุณภาพและได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง โดยให้การ ดูแลผู้เรียนทุกกลุ่ม ทั้งผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ผู้มีความต้องการพิเศษ และให้การสนับสนุนผู้ที่มีความ พร้อมมากกว่า เช่น เด็กปัญญาเลิศให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างเต็มศักยภาพอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ เปรียบเสมือนว่ากระทรวงศึกษาธิการต้องเตรียมเส้นทาง ๒ เส้นทาง คู่ขนานกัน คือ เส้นทางถนน ธรรมดาที่รองรับผู้เรียนทั่วไป และเส้นทางด่วน (fast track) สำหรับผู้ที่พร้อมจะขับเคลื่อนด้วยความเร่งด่วนพิเศษ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงมีโครงการพัฒนาโรงเรียนรูปแบบ ๕ ลักษณะ โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๖ นับเป็นลักษณะของโรงเรียนทางเลือกใหม่ของประเทศไทย โรงเรียนรูปแบบใหม่ทั้ง ๕ มีดังนี้

  • โรงเรียนในกำกับของรัฐ
  • โรงเรียนวิถีพุทธ
  • โรงเรียนสองภาษา
  • โรงเรียนต้นแบบการใช้ไอซีทีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
  • โรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ

โรงเรียนในกำกับของรัฐ (charter schools) หรือ โรงเรียนระบบสัญญา เป็นโรงเรียนทางเลือก มี

ลักษณะเป็นโรงเรียนที่มีอิสระ คล่องตัว และมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารจัดการด้านวิชาการ การเงิน การบุคลากร และการบริหารทั่วไป ที่เรียกว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (school – based management : SBM) เป็นการน าแนวคิดและหลักการพื้นฐานเรื่องการกระจายอำนาจที่เน้นการให้โอกาสประชาชนมีส่วนร่วม และมีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมที่มี ผลกระทบโดยตรงต่อตนเอง ชุมชน ท้องถิ่นและสังคมโดยรวม ตลอดจนการสร้างความเสมอภาคที่ บุคคลมีเสรีภาพและโอกาสเท่าเทียมในทางเลือก โดยมีการบริหารจัดการ ด้วยระบบการมีส่วนร่วม บริหารงานโดยคณะกรรมการโรงเรียน

โรงเรียนวิถีพุทธ เป็นโรงเรียนระบบปกติทั่วไปที่นำหลักธรรมพุทธศาสนามาใช้หรือ ประยุกต์ใช้ใน

การบริหาร และการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษาที่เน้นกรอบการพัฒนา ตาม หลักไตรสิกขาอย่างบูรณาการ ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการพัฒนา “การกิน อยู่ ดูฟัง เป็น” คือ มีปัญญา รู้เข้าใจในคุณค่าแท้ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงหาปัญญาและมีวัฒนธรรมเมตตา เป็นฐานการ ดำเนินชีวิตโดยมีผู้บริหารและคณะครูเป็นกัลยาณมิตรการพัฒนา โรงเรียนวิถีพุทธเป็นหนึ่งในโรงเรียน รูปแบบใหม่ ที่จะช่วยผลักดันให้เด็กและเยาวชนไทยให้สามารถพัฒนาตามศักยภาพ เป็นคนดีคนเก่ง ของสังคม และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

โรงเรียนสองภาษา (English Program) เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ความสามารถ และทักษะทางภาษาของผู้เรียน ในลักษณะห้องเรียนพิเศษ เพื่อแยกนักเรียนที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษออกมาจากนักเรียนปกติทั่วไป ในการจัดการเรียน การสอน โรงเรียนต้องคำนึงถึงความสามารถพื้นฐานในการใช้ภาษาของผู้เรียน การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และ ค่านิยมอันดีงาม ตลอดจนการเรียนการสอนในบริบทของการผสมผสานความเป็นไทยกับความเป็นสากล

โรงเรียนต้นแบบการใช้ไอซีทีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (ICT – Schools) เป็นโรงเรียนที่นำเอา

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการศึกษาทั้งในด้านพัฒนาองค์ ความรู้กระบวนการจัดการศึกษา และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนดีคนเก่ง มีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้ ICT เป็นเครื่องมือเสริมแสวงหาความรู้และพัฒนาองค์ความรู้ การ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นการสอนทางไกลผ่านระบบเครือข่ายเทคโนโลยี ทั้งในเวลาและนอกเวลาการเรียนการสอน ทำให้ระบบการเรียนรู้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ช่วยผู้เรียนที่ มีความแตกต่างกันทางด้านฐานะ ความพร้อมและทางด้านศักยภาพ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา และสามารถปรับตัวได้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการใช้ชีวิต อย่างมีความสุขในสังคมได้

เด็กที่มีความสามารถพิเศษ (gifted and talented child) หมายถึง เด็กที่แสดงออกซึ่ง

ความสามารถอันโดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้านในทางสติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์การใช้ภาษา การเป็นผู้นำ การสร้างงานทางด้านทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง ความสามรถทางดนตรีความสามารถทางกีฬา และความสามารถทางวิชาการในสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือหลายสาขาอย่างเป็นที่ประจักษ์เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่มีอายุระดับเดียวกัน สภาพแวดล้อมเดียวกัน

 

ที่มา : http://elearning.mcu.ac.th/plu...

หมายเลขบันทึก: 642949เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2017 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2017 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท