ประวัติวิปัสสนาธุระ ๒


  ประวัติกัมมัฎฐาน สายธรรมยุติ-พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์กัมมัฎฐานที่มีชื่อเสีย.มากที่สุด และมีคุณูปกรอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย ตามแนวการปฏิบัติกัมมัฎฐาน (สมาถยานิกะ) ด้วยรูปแบบการใช้องค์บริกรรม พุทโธ

          ลำดับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของคณะสงฆ์สายธรรมยุติ มีดังนี้

          สมัยสุโขทัย ตามหลักภาวนานัยแห่งปปัญจสูทนี ในอรรถกถา มัชฌิมนิกาย เริ่มมีการปฏิบัตและการสนอ สมถยานิกะ (ทำสมถก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ) โดยพระสงฆ์ฝ่ายอรัญญวาสี ที่มุ่งเน้นวิปัสสนาธุระ ตามสำนักกัมมัฎฐานสาขาต่างๆ ใน จ.สุโขทัย เชียงใหม่ และลำพูน

          สมัยอยุธยา สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (ศุข) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ จ.อยุธยา ทรงสอนวิปัสสนาธุระจนกระทั่งถึงยุคสมัยรัตนโกสินทร์

          สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (ศุข) ย้ายมาที่วัดพลับ จ.ธนบุรี และได้รบการสถาปนาเป็นวัดหลวงฝ่ายวิปัสสนาธุระ (วัดป่าอรัญวาสี) โดยต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดราชสิทธาราม

          สมัยรัชกาลที่ ๒ พระมหาโต ต่อมาได้เลื่อนเป็น สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรํสีป ท่านได้ฝึกวิปัสสนาธุระที่ วัดสังเวชฯ บางลำพู กรุงเทพฯ และเผยแผ่จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยที่ท่านถูกยอย่องว่าได้วิมุติหลุดพ้นแล้ว

           สมัยราชการที่ ๔  เพิ่มนิกายพระสงฆ์ใหม่ชื่อ ธรรมยุติ จากเดิมที่มีแต่ มหานิกาย

                                        สนับสนุนให้เรียนบาลีศึกษา หลักสูตรเปรียญธรรม และนักธรรม (คันถธุระ) สำหรับพระภิกษุ เพราะตรวจสอบได้เป็นรูปธรรม

                                        มอบหมายให้พระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สอนวิปัสสนาธุระเอง เพราะไม่มีพระอาจารย์ ที่สอนวิปัสสนากัมมัฎฐานได้ตรวตามพระไตรปิฎก

                                       พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ฝึกกัมมัฎฐานกับพระอาจารย์เสาร์ กฺนตสีโล จากนั้นท่านได้ธุดงค์ไป ภาคอีสาน ปฏิบัติต่อจนได้บรรลุคุณวิเศษ และเผยแผ่กัมมัฏฐานแบบบริกรรม พุทโธ ซึ่งเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสจนถึงปัจจุบัน โดยมีสำนักกัมมัฎฐานเผยแผ่อยู่ทั่วประเทศ และหลายประเทศทั่วโลก

           สมัยรัชกาลที่ ๕ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เสนอว่าการปฏิบัติ (๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙) วิปัสสนาธุระนั้นไม่ได้เป็นไปตามคำสอนในคัมภีร์วิสุทธิมรรค จึงเสนอให้ยกเลิก การสอนวิปัสสนาฑุระของสายมหานิกาย ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ การปฏิบัติด้านวิปัสสนาธุระได้ขาดหายไปจากหลักสูตรการศึกษา ของคณะสงฆ์ไทย

           สมัยรัชกาลที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๓๘) มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ได้บรรจุวิปัสสนากัมมัฎฐานรูปแบบบริกรรม พุทโธ เป็นหลักสูตรปฏิบัติภาคบังคับ ๑๕ วันที่สอนโดนพระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิต ฐิตวณฺโณ)

            พระอาจารย์วิปัสสนา(ธรรมยุติ บริกรรมพุทโธ) จากอดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่ พระอรยิกวี(อ่อน), สมเด็จพระมหาวีรวงค์ (ติสฺโส อ้วน), หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล,พระราชวฺฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์อตฺโล), พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงคำ), พระราชสังวรณาณ (หลวงพ่อพุธ .ซานิโย), พระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร), พระวิสุทธิญาณเถระ (หลวงพ่อสมชายจิตวิริโย), พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท), พระปัญญาพิศาลเถร (หนู จิตปญฺโญ), หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต, พระโพธญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) พระธรรมศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ), พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาบัว สิริสัมปันโน), พระราชพิพัมนาทร (ถาวะ จฺตถาวโร), หลวงพ่อสอนงกตปญฺโญ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 641794เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2017 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2017 10:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท