ชีวิตที่พอเพียง 3051. ไปนิวยอร์ก ๒๕๖๐ : 9. เที่ยวบ่ายวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๐



เนื่องจากการประชุม Working Group ของ PMAC 2019 จบตอนเที่ยง  หลังกินอาหารเที่ยงเสร็จ เรากลับไปเอาของฝากที่โรงแรม แล้วไปเที่ยวชมเมือง    โดยทีมเดิมของเมื่อวันที่ ๑๐    เราไปเที่ยว ๔ สถานที่ ท่ามกลางอากาศดี แดดจ้า แต่อุณหภูมิเย็นลง    เท่ากับลมฟ้าอากาศเป็นใจให้เราเที่ยว




High Line () ()

เราเดินไป โดยคุณฝนใช้ GPS นำทาง    เดินไปตาม 37th Street มุ่งหน้าสู่แม่น้ำฮัดสัน    ผ่าน Avenue ที่ตัวเลขสูงขึ้น    เส้นทางเดียวกับที่ผมออกไปเดินออกกำลังเช้าวันที่ ๑๐   ในที่สุดก็เห็นสะพานข้ามถนน ข้างบนมีคนเดิน   

นี่คือสวนสาธารณะรูปแบบใหม่     ที่บูรณะทางรถไฟยกระดับเป็นสวนสาธารณะ ยาวถึง ๑.๔๕ ไมล์    บริหารจัดการโดยองค์กรสาธารณะอิสระ    กลายเป็นสถานที่พักผ่อนและท่องเที่ยว    มีพรรณไม้ที่เคยขึ้นเอง บนพื้นที่ที่ทิ้งร้างอยู่นาน ๒๐ ปี    โปรดอ่าน () เองนะครับ    จะได้สาระและมีรูปสวยๆ     และได้เห็นว่า ในประเทศที่เจริญแล้วเขามีการพัฒนา open space กันอย่างไร

ชม High Line แล้วผมนึกถึงอุทยาน ๑๐๐ ปีจุฬาฯ    ว่าสไตล์คล้ายๆ กัน

 



Chelsea Market ()

อยู่ใกล้ๆ สวนสาธารณะ High Line    เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก (แต่ผมไม่รู้จัก)     มีร้านอาหารสารพัดชนิด    เราไปเดินผ่านๆ    ท่านคณบดีปิยะมิตรบอกว่าอาหารทะเลสดและอร่อยมาก

 



Central Park ()

อ. หมอปริญญ์นำทางขึ้นรถไฟไปลงที่ถนน ๗๒   เข้าไปในสวนสาธารณะ เดินเลียบทะเลสาบ   ออกไปพบ 5th Ave.   เพื่อเดินไปลงรถใต้ดินกลับสถานีถนน ๔๒ เพื่อกลับโรงแรม

สถานที่ร่มรื่นกว้างขวาง    มีครูพานักเรียนหลากรุ่นไปทำกิจกรรมและเรียนรู้ในสวน    Dr. Douglas Webb แห่ง UNDP ที่ไปประชุมร่วมกับเรา เป็นคนนิวยอร์ก แนะนำให้เราไปเที่ยว เซ็นทรัลปาร์ก    บอกว่ามีนกมากหลากหลายชนิด    เราเห็นคนไปส่องกล้องดูนก    ผมได้รูปนกที่พื้นดินเอามาฝาก 

ในทะเลสาบมีนกน้ำมาก    แต่เห็นอยู่ไกลๆ ทั้งที่ยืนอยู่บนดินที่เป็นเขื่อนแคบๆ (ส่วนใหญ่เป็นนกนางนวล)    และที่ลอยคออยู่ในน้ำ  

จุดเด่นในทำเลสาบคือน้ำพุขนาดใหญ่ คล้ายที่เจนีวา    เราเห็นอยู้ไกลๆ    เดาว่าขนาดเล็กกว่า Jet d’Or ที่ทะเลสาบเจนีวามาก  

 



Time Square (๕)

หลังจากกลับไปนั่งพักที่โรงแรม (เราเช็คเอ๊าท์ตั้งแต่เช้า)    เวลา ๑๗.๓๐ น. ก็ชวนกันเดินไป Time Square  โดย อ. บุ๋มเป็นผู้ชวน   ว่าไปถ่ายรูปแสงสีและกินอาหารเย็นด้วยกัน   

บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะเรื่องชมและถ่ายรูปแสงสี ในท่ามกลางฝูงชน    แต่ร้านอาหารคิวยาว    เราจึงล่าถอย ไปหาอาหารกินที่ใกล้โรงแรม    ไปได้อาหารจีนเสฉวน ชื่อร้าน Savour Sichuam อยู่ที่ถนน ๓๙  ห่างจากโรงแรมไม่มาก    อาหารอร่อยใช้ได้    แชร์ค่าอาหารคนละ ๒๐ เหรียญ    ร้านอาหารและบริการ ในอเมริกายุคนี้ต้องทิป ๒๐%  สมัยผมไปเรียนเมื่อห้าสิบปีก่อน อัตราทิป ๑๐% เท่านั้น  

ผมกลับมาไตร่ตรองสะท้อนคิดสิ่งที่สัมผัสที่ ไทม์สแควร์ ในช่วงเวลาราวๆ สิบห้านาที    กับการดูภาพถ่ายที่ถ่ายไว้     เห็นได้ชัดว่า เขาจัดไทม์สแควร์ให้เป็นศูนย์กลางของทุนนิยมโลก    โดยที่ทั้งเมืองนิวยอร์กก็เป็นอยู่แล้ว    แต่ไทม์สแควร์มีสีสันวูบวาบดึงดูดคนไปชม  ไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึก    โดยมีส่วนประกอบเป็น billboard โฆษณาสินค้าฟุ่มเฟือยราคาแพง    คนที่ไปเที่ยวต่างก็เข้าไปเป็นแนวร่วม ส่งเสริมทุนนิยมฟุ่มเฟือยโดยไม่รู้ตัว

วันนี้ได้เดินกว่าสองหมื่นก้าว


วิจารณ์ พานิช

๑๒ ต.ค. ๖๐

ห้องรับรอง ลุฟท์ฮันซ่า, สนามบิน เจเอฟเค





1 สะพานที่เห็นข้างบนคือสวนหนึ่งของสวนสาธารณะ High Line



2 บรรยากาศในสวน High Line



3 ถ่ายไปอีกด้านหนึ่ง



4 เป็นที่ธรรมชาติสวยงาม


5 ประติมากรรม Mutations


6 ประติมากรรมและที่นั่งพัก


7 กลุ่มแมลงในสวน



8 ภายใน Chelsea Market



9 ภายในตลาด


10 นั่งรถใต้ดินไป Central Park



11 ทางเข้า Central Park



12 นกใน Cetral Park


13 ทะเลสาบ และอาคารในเมือง


14 ทะเลสาบ นกน้ำ และทางเดินเลียบทะเลสาบ


15 น้ำพุในทะเลสาบ


16 ทางเดินเลียบทะเลสาบ


17 Time Square ยามค่ำ


18 แสงสีที่ Time Square







หมายเลขบันทึก: 641712เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2017 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2017 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท