ครั้งที่ 76 : ( 8 พฤศจิกายน 2560 )


วันนี้เป็นวันที่เรามาจัดกิจกรรมสุดท้ายของโครงการฯ

                      เราได้เดินทางมายังชุมชนสวนตะไคร้ เวลา 10.00 น. เพื่อดำเนินกิจกรรมสุดท้ายของโครงการ ฯ เราโดยวันนี้เป็นกิจกรรมทำกับข้าวโดยใช้ผักที่ผู้เขาร่วมโครงการปลูก รับประทานร่วมกัน และเลี้ยงเด็กๆจากโครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้วย 

                      กิจกรรมดำเนินไปโดย กิจกรรมเก็บผักที่เราได้ปลุกกันไว้ แล้วนำมาทำกับข้าว รับประทานร่วมกัน จากนั้น เราก็ได้สัมภาษณ์ถึงความรู้สึกของผู้เข้าร่วมโครงการ การต่อยอดการดำเนินโครงการต่อไป

                     และกิจกรรมสุดท้ายคือ ทำแบบสอบถามความพึงพอใจ และ แบบวัดความรู้หลังเข้าร่วมโครงการฯ

และข้อดีของการปลุกผักและทำงานอาหารทานเองนั้นมีมากมาย เช่น 

1.    คุณจะไม่ได้กินอาหารขยะ – เพราะแน่ล่ะว่าคุณต้องรู้ว่าคุณกำลังกินอะไรอยู่
2.    ประหยัดเงิน – การซื้อวัตถุดิบมาทำอาหารเอง คุณจะได้ปริมาณ และคุณค่าทางอาหารที่มากขึ้น 
3.    ประหยัดเวลา – เดินไปที่ตู้เย็นแล้วเข้าครัว หรือขับรถไปซื้อข้างนอก แบบไหนเร็วกว่ากันล่ะ ลองคิดดู
4.    ควบคุมสัดส่วนได้ตามใจชอบ – จะเน้นไก่ เน้นหมู หรือเน้นผัก จะใส่อะไรยังไงก็ได้ ตามแต่ใจเราต้องการ
5.    ฝึกฝนทักษะการอยู่รอด – ถ้าคุณทำอาหารเป็น ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่อดตาย

6.    สะอาดปลอดภัย – ไว้ใจได้เรื่องความสะอาด อาหารต้องปราศจากสิ่งแปลกปลอม
7.    สารอาหารครบถ้วน – คุณค่าทางโภชนาการที่จะไม่หายไปด้วยกรรมวิธีทางลัดใดๆ
8.    ความสมดุลของมื้ออาหาร – มื้อไหนกินเยอะ มื้อไหนกินน้อย คุณกำหนดได้ด้วยตนเอง
9.    เจริญอาหาร – ทำอะไรก็ไม่เบื่อ ทานอะไรก็อร่อย
10.    อาหารมีความหลากหลาย – ครีเอทเมนูใหม่ๆ สร้างสรรค์ได้ตามที่ใจชอบ

11.    ภูมิใจ – ไม่ว่าหน้าตาหรือรสชาติอาหารจะเป็นยังไง คนทำก็ต้องภูมิใจในฝีมือตัวเองแน่นอน
12.    แบ่งปันความสุข – รอยยิ้มของคนทาน คือความสุขของคนทำ
13.    กระตุ้นความรู้สึก – กลิ่น สี และเสียง ของอาหารทุกจาน ช่วยกระตุ้นประสาทการรับรสของลิ้น
14.    รวดเร็ว – เพราะทำอาหารกินเองไม่ต้องรอคิวต่อจากใคร จริงมั้ย?
15.    ปริมาณ – เรื่องจำนวนชิ้น หรือปริมาณไม่ต้องพูดถึง ใส่ได้ดั่งใจ เติมได้ไม่อั้น

16.    หลีกเลี่ยงสารพิษ – คุณจะมั่นใจได้แค่ไหน? ว่าร้านอาหารจะล้างผักสะอาดมากพอ 
17.    อาหารเป็นยา – หลายครั้งที่คุณป่วย แต่ยาไม่ได้เป็นคำตอบ อาหารต่างหากที่ช่วยคุณได้ 
18.    เสริมสร้างปัญญา – อาหารชนิดเดียวกัน แต่สามารถทำได้จากหลายวิธี จริงมั้ย? 
19.    พัฒนาตนเอง – ถ้าคุณเริ่มทำจานที่ 1 คุณจะไม่หยุดอยู่ที่จานที่ 2 แต่คุณจะอยากทำมันไปเรื่อยๆ
20.    บำบัดจิตใจ – อกหัก เศร้า เสียใจ...แล้วไง เปิดตู้เย็นแล้วเข้าครัวสิ! คุณจะลืมมันไปหมดทั้งสิ้น

21.    ครอบครัวจะพร้อมหน้า – เมื่อแม่ทำอาหารทีไร เป็นได้เห็นหน้ากันครบถ้วน
22.    ควบคุมน้ำหนัก – ใครที่กำลังไดเอท อย่าเดินไปซื้ออาหารสำเร็จเป็นอันขาด! ทำอะไรคลีนๆกินกันดีกว่า
23.    กล้าลองอะไรใหม่ๆ – เรียนรู้ที่จะพลาด เพื่อค้นหารสชาติที่ใช่
24.    เพิ่มคุณค่าในการได้ใช้เวลากับครอบครัว – การทำและทานอาหารร่วมกัน เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต
25.    สุขภาพที่ดีขึ้น – คุณค่าอาหารไม่สูญหาย โภชนาการยังคงอยู่ สุขภาพจึงดีขึ้น

26.    ลดอาการภูมิแพ้ – หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ผงชูรส! ที่คุณแทบเลี่ยงไม่ได้เลยเมื่อไปทานอาหารนอกบ้าน
27.    วัตถุดิบเป็นของจริง – บอกลามะนาวปรุงแต่ง หรือน้ำยาขนมจีนปลอมไปได้เลย
28.    อิสระ – ปิดตำรา และปรุงมันขึ้นมาจากเซนส์ของเราเอง จงเรียนรู้ที่จะทำอาหารบนความอิสระ
29.    สืบทอด  – ของอร่อยมีมานานแล้ว ... จะรักษามันอย่างไรให้คงอยู่ตลอดไป
30.    หลีกเลี่ยงอาชญากรรม – จากงานวิจัยของโคลัมเบีย พบว่าการทำอาหารส่งเสริมให้เด็กวัยรุ่น
ได้มีกิจกรรมร่วมกับครอบครัวบ่อยขึ้น พวกเค้าจะได้รับความอบอุ่น และมีภูมิต้านทานทางสังคม

31.    แสดงออกถึงความรัก – จานพิเศษที่ปรุงออกมาจากหัวใจ บางทีอาจล้ำค่ากว่าเงินทองเสียอีก
32.    รสชาติ  – ลืมเรื่องปรุงรสชาติไปได้ยังไง จะไปยากอะไร คิดซะว่ามันเป็นก๋วยเตี๋ยวสิ
33.    สร้างเสริมประสบการณ์  – กินอาหารของทุกชาติพันธุ์ เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่แตกต่างผ่านทางการทำอาหาร
34.    คุณภาพ – วัตถุดิบที่เราคัดสรร รวมถึงกรรมวิธีที่เลือกใช้ ย่อมทำให้อาหารเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ
35.    พบเคล็ดลับ – เรียนรู้และค้นพบเกร็ดความรู้ในครัว นำไปสู่การแบ่งปัน ที่จะทำให้ใครๆก็ต้องทึ่ง

36.    กิจกรรมในกลุ่มเพื่อน – รวมตัวกันที่บ้านใครสักคน แล้วทำอาหารทานร่วมกัน สนุกสุดๆเลยจะบอกให้
37.    ไม่จำเจอีกต่อไป – อย่าบอกนะว่าคุณกิน ผัดกระเพรา สัปดาห์นึงเกิน 3 ครั้ง!
38.    เสริมสร้างพัฒนาการให้เด็ก  – ให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการทำอาหาร พวกเขาจะไม่เบื่ออาหาร และกล้าลองทานผักผลไม้มากขึ้น
39.    สร้างสังคม – กลุ่มคนทำอาหารอีกมากมายรอคุณอยู่ แบ่งปันเรื่องราวของคุณซะ!
40.    ศึกษาหาความรู้  – อาหารเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

41.    ลดโรคอ้วนในเด็ก – จากการวิจัยพบว่า เด็กที่ทานอาหารในบ้านมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วน
น้อยกว่าเด็กที่พ่อแม่พาไปทานอาหารข้างนอก
42.    ได้รับแร่ธาตุที่มากขึ้น – จากงานวิจัยของฮาวาร์ดพบว่า การทำอาหารทานเอง 
คุณจะได้รับ ไฟเบอร์ แคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินบี และอี มากขึ้นกว่าเดิม
43.    ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน – การทำอาหารทานเอง สามารถควบคุมน้ำตาลในอาหารได้แน่นอน
44.    เป็นคนโสด – หากคุณเป็นชายโสดหรือผู้หญิงตัวคนเดียว ยังไม่มีคนรักมาคอยทำอาหารให้กิน ฝึกเอาไว้นะจะได้ไม่ต้องพึ่งมาม่า
45.    หากคุณไม่โสดแล้ว – แน่นอนล่ะ! เมื่อภรรยาคุณท้อง เธอมักต้องการอาหารตอนนั้น เดี๋ยวนั้น ทันที อย่าทำให้เธอโมโห

46.    เสน่ห์ปลายจวัก – ฝีมือทำอาหารไม่เคยจำกัดเพศ ผู้ชายหรือผู้หญิงที่ทำอาหาร มักแลดูเป็นคนน่ารักในสายตาผู้อื่นเสมอ
47.    ความสนุก – การได้ทดลองทำอาหารใหม่ๆ หรือ แปลกๆที่เราจินตนาการได้ 
สร้างความสนุกให้คุณได้เสมอ และจะยิ่งสนุกถ้ามีเหยื่อทดลองมาชิม 
48.    ฝึกสมาธิ – การทำอาหารเป็นกิจกรรมใช้สมาธิ หากคุณเผลอเรอหรือว่อกแว่ก อาจมีไหม้ได้!
49.    หลั่งสารแห่งความสุข – การทำอาหารช่วยผลิตเอ็นโดฟินส์ออกมา ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายสดชื่น แถมช่วยให้ความจำดีขึ้นอีกด้วย
50.     มิตรภาพ – แบ่งปันอาหารที่ทำให้เพื่อนบ้าน สร้างมิตรภาพที่ดีให้แก่กัน
51.     หิวเมื่อไหร่ ก็แวะมา ... ครัวตัวเอง - ไม่ต้องง้อเซเว่น ลดรายจ่ายภายในบ้าน ลดรายได้เจ้าสัว CP


หมายเลขบันทึก: 640814เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2017 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2017 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท