การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของชาติพันธ์ุคะฉี่น


การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์คะฉี่น บ้านใหม่สามัคคี

ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

A CHANGE IN THE QUALITY OF LIFE OF THE KACHIN ETHNIC GROUP A CASE STUDY OF BANMAI SAMAKKI, MUEANGNA

SUB-DISTRICT, CHIANGDAO DISTRICT,

CHIANGMAI PROVINCE.

                                                                  

นายสม จะเปา

ผศ.ดร. ตระกูล  ชำนาญ

ดร. จรูญศักดิ์  แพง

           

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของชาติพันธุ์คะฉีน บ้านใหม่สามัคคี หมู่ที่ ๑๔ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จัดหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลจำนวน ๑๕ คน ได้แก่    ผู้อาวุโส ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มพ่อบ้าน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่นเจ้าหน้าที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว และศาสนาจารย์ วิธีการเก็บข้อมูลคือ การสำรวจพื้นที่ สังเกตสภาพชีวิตชองชุมชน การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ทั้งเจาะลึกทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม แล้วนำเสนอในรูปของการพรรณนาตามปรากฏการณ์ที่พบเห็น

ผลการวิจัยพบว่า ด้านความเชื่อทางศาสนา ถึงแม้จะมีการแตกแยกกันเกิดขึ้นสามารถอยู่รวมกันอย่างดีเพราะชาตินิยมเป็นตัวนำ ด้านวัฒนธรรมและประเพณี ความต้องการทางวัตถุสูง และค่านิยมภายในการพัฒนาตนเองมาก ด้านสุขภาพอนามัย มีการส่งเสริมแนะแนวจากหน่วยงานภาครัฐให้ตั้งเป็น อสม. เพื่อดูแลสุขภาพ ด้านการศึกษา ชาวบ้านส่วนมากไม่ได้รับการศึกษาสูงจึงหวังให้ลูกหลานเรียนทั้งในโรงเรียน และเรียนพิเศษฟรีในหน่วยงานต่างๆ ด้านการจัดสรรน้ำได้รับผลตามทฤษฎีสมบูรณ์ตามองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ราชการที่ ๙ ภายใต้การดำเนินงานของโครงการหลวงหนองเขียว ถึงแม้ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ก็ตาม ด้านอาชีพการงานเกิดการพัฒนางานตามสภาพแวดล้อมมากขึ้นและสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมใหม่ๆ ได้ ด้านบ้านเรือนที่อยู่อาศัย สมัยก่อน เสาและโครงบ้านเป็นไม้ผสมกับไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา มีความลำบากมาก ด้านสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ได้ยอมรับการเป็นชนเผ่า และสามารถแสดงออกวัฒนธรรมของตนได้อย่างเปิดเผยตามกรอบกฎหมาย

จากการสังเกตเห็นว่าปัจจุบันชุมชนบ้านใหม่สามัคคี เหมือนหมู่บ้านชนบททั่วๆไป ได้พัฒนาตามกาลเวลาไม่หลงเหลือความยากจนในอดีตไว้เลย เช่น สาธารณูปโภค บริโภค การคมนาคม สะดวกสบายกว่า

 

[๑]นักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

[๑]ผู้ช่วยศาสตราจารย์ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

[๑]อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาสังคมวิทยามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

วารสาร มมร วิชาการล้านนา

เมื่อก่อนมาก พัฒนามาตามยุคตามสมัย ถึงแม้ว่าบางส่วนยังไม่สามารถยอมรับตามกรอบกฎหมายก็ตามเขามีความสุขในความเป็นอยู่ในชีวิตปัจจุบันเป็นอย่างดี

 

ABSTRACT

       The objectives of This independent study were to study the quality of life of Kachin ethnic at Banmai Samakkee, Muangna Sub-District, Chiangdao District, Chiangmai Province. The study sampling subjects were 15 informants of the elders, the assistant headman, community leaders, the housewife group, the householder group and other involved people such as the staffs of the Nong Khieo Royal Project Development Centre and religious leaders. Data collecting methods were space exploration, observation of community living conditions, observation of both participant observation and non-participant observation, interview and in-depth group discussion and then presented in descriptive form of the phenomena encountered.

The study found that

From interview and discussion, they had a very hard living at the time of new settlement because of it was a new area. In religious side, whether they had different beliefs, but they could live together well by the idea of nationalism. In cultural and traditional side, they had high object requirements and high values in self development. In Health care side, they had been promoted and advised by the government to set up Village Health Volunteer (VHV) to take care villagers. In educational side, most villagers were not highly educated so they managed their children to study in school and other special free classes organized by different office. The water allocation had been well resulted according to theory of His Majesty King Rama IX under operation of the Nong Khieo Royal Project although its objectives had not yet achieved. They had improved their ability to work with environment around them and had the ability to adapt to new environments. In housing side, in previous time pillars and frames of the house were wood mixed with bamboo roofing with Thatched, so they had very tough living. In basic human rights, they were recognized as a tribe and were able to express their culture openly according to the legal framework.

From the observation, the study found that currently Banmai Samakkee community was like other typical rural villages. It had been developed over time which there was no poverty in the past left. For example, utilities and transport were more convenience than the past. Religious beliefs could organize common law well. External prosperity had changed culture. They had health knowledge how to maintain and protect

themselves and could coordinate with related agencies in an urgent time. In education, most villagers were not highly educated, thus it affected their daily lives. The children barely

rested according to their age, their time ran out with studying, working and socializing. In water allocation, villagers helped to take care of it at present. In career opportunities, they had improved their ability to work with environment around them and had the ability to adapt to new environment. For housing, it had been developed in accordance with the modern era. Houses were built with brick, cement, steel and tile permanently. Basic human rights such as culture, dressing tradition, language and Ma-nhaw traditional dance were accepted. Although some of traditions were still not accepted according to the legal framework, but they lived happy in their present life.

วารสาร มมร วิชาการล้านนา

บทนำ

     ประวัติความเป็นมาในประเทศไทยของชาติพันธุ์คะฉี่น บ้านคะฉี่นบ้านใหม่สามัคคี ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ บางส่วนที่ปะปนมากับกองพล ๙๓ หลังจากกองบัญชาการทหารสูงสุดเข้าควบคุมเคลื่อนย้ายกองกำลังจีนฮ่อ กองพล ๙๓ บนดอยถ้ำงอบในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกองบัญชาการทหารสูงสุด นอกจากนี้ทางรัฐบาลไทยในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้เล็งเห็นว่าควรให้กองทัพไทยควบคุมผู้อพยพแทน โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด และการกำหนดที่อยู่ ตลอดจนถึงเรื่องของอาชีพที่สามารถเลี้ยงตนเองได้ และในเวลาต่อมากองทหารจีนคณะชาติดังกล่าวได้แปรสภาพกลายมาเป็นพลเรือน และได้กระจัดกระจายเข้าไปอยู่ร่วมกับชาวไทยภูเขาดั้งเดิมและคนพื้นเมือง เช่น คนเมือง, ลาหู, อาข่า, ลีซอ, กะเหรี่ยง, มุ้ง, เย้า, เป็นต้น แต่งงานมีครอบครัวตามสถานที่ต่างๆ

  ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมเยียนราษฎรชาวเขาในเขตพื้นที่ หมู่ที่ ๑๔  ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในเขตพื้นที่นี้มีหมู่บ้านทั้งหมดอยู่ ๕ หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านใหม่สามัคคี ชนเผ่าคะฉี่นและอาข่า ได้จัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาโครงการหลวงไว้ใน

เขตพื้นที่บ้านใหม่สามัคคี เพื่อช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขาในพื้นที่ เพื่อดำเนินโครงการตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยราษฎรในเขตพื้นที่

          ผู้วิจัยเอง เป็นชนเผ่าคะฉี่น ที่อยู่ร่วมกันมาตั้งแต่เริ่มต้น จึงสนใจที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตและผลกระทบที่เกิดขึ้นของชนเผ่าคะฉี่นในพื้นที่ของบ้านใหม่สามัคคี ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนของชนเผ่าคะฉี่นและชนเผ่าอื่นๆ ต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

            เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของชาติพันธุ์คะฉีน บ้านใหม่สามัคคี ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จัดหวัดเชียงใหม่     

วิธีดำเนินการวิจัย

   ๑. ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้กลุ่มเป้าหมายคือ ชนเผ่าคะฉี่น รวม ๑๐๐ ครัวเรือน และจำนวนประชากร ๙๐๐ คน ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของโครงการหลวงหนองเขียว บ้านใหม่สามัคคี สำหรับผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาจำนวน ๑๕ คน โดยผู้วิจัยเลือกจากผู้รู้ในท้องถิ่นและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

             ๒. ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย จำแนกเป็น ๒ ประเภท

              - ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) เป็นข้อมูลที่เป็นบุคคล วัตถุ สิ่งของ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องที่ผู้วิจัยได้จัดเก็บข้อมูลโดยตรงจากพื้นที่ที่จะนำเสนอต่อไปในสภาพพื้นที่จริง

              - ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมเอกสารสิ่งพิมพ์และรายงานการวิจัยเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต และเจ้าหน้าที่โครงการหลวงข้างนอก องค์กรการบริหารส่วนตำบล และสถาบันศาสนาที่เกี่ยวข้อง

วารสาร มมร วิชาการล้านนา

          ๓. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ละเอียด ครอบคลุม ถูกต้อง และตรงวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้อย่างชัดเจนโดยวิธีการใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือดังต่อไปนี้ ๑) การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมในฐานะผู้สังเกตการณ์เท่านั้น เพื่อเป็นการศึกษาบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับชาวบ้านใหม่สามัคคี และเจ้าหน้าที่โครงการหลวงหนองเขียว ในเรื่อง ด้านประวัติความเป็นมาและความเชื่อทางศาสนา ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านสุขภาพอนามัย ด้านการศึกษา ด้านการจัดสรรน้ำ ด้านอาชีพการงาน ด้านบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ด้านสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์เป็นต้น ๒) การสัมภาษณ์ (Derect Interview) โดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน สมาชิกในชุมชน เจ้าหน้าที่โครงการหลวง องค์กรศาสนาที่สนับสนับสนุน และเจ้าหน้าของหน่วยงานราชการเกี่ยวข้องที่เข้าไปดำเนินการทางด้านการปกครองโดยผู้วิจัยได้ใช้แนวคำถามเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์และทำการจดบันทึก เพื่อเก็บข้อมูล ๓) การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group discussion) เป็นการจัดการสนทนากลุ่มร่วมกับสมาชิกในบ้านใหม่สามัคคี ซึ่งไม่ได้กำหนดเวลาและโอกาส ในการพูดคุย ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีรูปแบบและไม่เป็นทางการซึ่งหัวข้อในการสนทนาจะเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในโครงการหลวงหนองเขียว บ้านใหม่สามัคคี ๔) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระดับบุคคล เป็นกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการที่สำคัญมากกิจกรรมหนึ่งที่ดำเนินการต่อเนื่องทุกเวลาทุกสถานที่ โดยมีเทคนิคที่สำคัญคล้ายกับการประชุมกลุ่มย่อยเป็นพื้นฐาน เป็นการสนทนากับคณะทำงานของเจ้าหน้าที่โครงการหลวง สมาชิกหมู่บ้านบางคนที่มีบทบาทในการดำเนินงานในหมู่บ้าน เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่าหนึ่งของชุมชน ให้เห็นแนวคิดและวิธีการทำงานของชุมชนหมู่บ้าน บางครั้งผู้ที่ให้การแลกเปลี่ยนไม่ต้องการเปิดเผยในเวทีใหญ่ ที่สำคัญกิจกรรมนี้ยังเป็นการตรวจสอบความคิดเห็นซึ่งกันและกันว่า หมู่บ้านหรือชุมชนมีความคิดเห็นเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ๕) วัสดุอุปการณ์ที่ผู้วิจัยได้นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา ได้แก่

   - เครื่องบันทึกเสียง    

   - แบบบันทึกข้อมูล

   - กล้องถ่ายรูป

 

           ๔. การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของชนเผ่าคะฉี่น เพื่อที่จะบรรยาย และอธิบายประกอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ จากการสัมภาษณ์ สังเกต มีการจดบันทึกเสียง การถ่ายภาพ และมีการตรวจสอบข้อมูลซ้ำด้วยการสังเกตชุมชนอีกเป็นระยะ ๆ เพื่อนำผลการวิจัยมาวิเคราะห์ความถูกต้องอีกครั้ง

   ๕. การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของชาติพันธุ์คะฉี่น บ้านใหม่สามัคคี หมู่ที่ ๑๔ ตำบลเมืองนะ ในด้านประวัติความเป็นมา ด้านวัฒนธรรม ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านการจัดสรรน้ำ ด้านการอาชีพการงาน ด้านการบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และด้านสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

วารสาร มมร วิชาการล้านนา

สรุปผลการวิจัย

          ประวัติความเป็นมาของชาวคะฉี่นผิดไปจากดั้งเดิมอย่างมากเพราะการออกเสียงต่างๆ ของภาษา เพราะศาสนานั้นเอง ด้านความเป็นมาและความเชื่อและศาสนาดั่งเดิมของชนชาติพันธุ์คะฉี่น พบว่า มรดกหลักคำสอนที่สืบต่อกันมาในอดีตพิธีกรรม การแสดงออกถึงความเชื่อความศรัทธาเหล่านี้ตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันตายเขาก็จะยึดถือปฏิบัติกันมาแต่ในวันนี้ความเชื่อความศรัทธาในศาสนาของชาวคะฉี่นนั้นปะปนด้วยเศรษฐกิจ สังคม ค่านิยม จึงอาจจะสันคลอนต่อวัฒนธรรมประเพณีของชาวคะฉี่นได้  ด้านวัฒนธรรม และประเพณีเป็นภูมิปัญญาที่เป็นรากฐานทางเศรษฐกิจ การเมืองของสังคมอีกทั้งเป็นเครื่องมือที่แสดงออกถึงความเข้มแข็ง เป็นแบบอย่างทางพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้และเป็นที่ยอมรับปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกในสังคมไปสู่สมาชิกจากรุ่นสู่รุ่นโดยเลือกสรร สืบทอดต่อเนื่องกันอย่างเป็นระบบ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของนั้น ผู้สูงอายุเขามีความผูกพันทางจิตใจกับประเพณีต่างๆ และวัฒนธรรมดั้งเดิม รวมทั้งภาษามากกว่าคนที่มีอายุน้อย ทำให้เกิดแนวโน้มอนุรักษ์นิยม เช่นเดียวกับการศึกษาในปัจจุบันของวัยรุ่นทำให้คนในสังคมยอมรับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ทางวัตถุ หรือความเจริญสมัยใหม่ มากกว่าการยึดถือแบบแผนความเชื่อแบบต่างๆ สถานะทางสังคมเช่นกันหากว่ามีผู้ที่มีการศึกษามีความคิดทันสมัย เป็นผู้นำในชุมชนมากจะทำให้ชุมชนนั้นเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าผู้นำที่อนุรักษ์นิยม  ด้านสุขอนามัยการพัฒนาตนเองเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงควรพัฒนาสุขภาพในด้านร่างกายและใจ ได้แก่ การบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ การพัฒนาทางด้านอารมณ์ ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ และมีความสัมพันธภาพดีในครอบครัวจะนำไปสู่ความมั่นคงทางสถาบันครอบครัว ชุมชนประเทศชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การมีคุณภาพที่ดีร่วมกันได้ในที่สุด ด้านการศึกษาสามารถพัฒนาตนเองจนมีคุณภาพ และสร้างประโยชน์ต่อตนและสังคมได้มาก ย่อมมีคุณค่าชีวิตสูงกว่าผู้ที่สร้างความเดือดร้อนแก่ตนและสังคม โอกาสในการปรับปรุงพัฒนาชีวิตทุกคนมีจุดเริ่มต้นที่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะทางสังคมได้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ารับการศึกษาหาความรู้โดยเท่าเทียมกันเป็นความสำนึกของตัวเราที่จะฉกฉวยโอกาสเหล่านี้ รับเอาความรู้มาฝึกฝนและพัฒนาตนได้  ด้านการจัดสรรน้ำที่ดีนั้นควรที่จะผสานงานกันทุกๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทุกๆ ระดับชั้นเราควรจะต้องรู้จักจัดแบ่งสรร คาดการณ์ และวางแผนเป็นว่า เราควรจะดำเนินการอย่างไร ถึงแม้ว่าทรัพยากรที่เรามีอาจไม่เพียงพอหรือด้อยคุณภาพก็ตาม หากเราสามารถจัดการมันตามที่ได้วางแผนไว้แล้วเราก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้ 

ด้านอาชีพการงาน เป็นหน้าที่ของทุกคนในชุมชน ที่ต้องร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อสร้างความสุขให้เกิดในชุมชน และการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตเป็นการสืบเนืองมาจาก ในชุมชนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน และร่วมกันปฏิบัติสำเร็จผล เพื่อคุณภาพชีวิตของตนจะได้พัฒนาขึ้นทั้งในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ด้านอาชีพ การงาน เป็นหน้าที่ของทุกคนในชุมชน ที่ต้องร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อสร้างความสุขให้เกิดในชุมชน และการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตเป็นการสืบเนืองมาจาก ในชุมชนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน และร่วมกันปฏิบัติสำเร็จผล เพื่อคุณภาพชีวิตของตนจะได้พัฒนาขึ้นทั้งในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ด้านที่อยู่อาศัยและที่ทำมาหากินเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ

 คุณภาพชีวิตที่ดีและนับเป็นสิ่งสำคัญจุดหมายปลายทางแรกของบุคคลทั่วไป ชุมชนและที่มีประชากรที่มีคุณภาพดีนั้น ควรจะสงบสุขปราศจากความกังวลใดๆ การมีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอย่างมั่นคงจะเป็นปัจจัยที่สำคัญของมนุษย์  ด้านสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ จากการเข้าไปสัมผัสในชุมชนและได้มีโอกาสเห็นและพบว่า ปัจจุบันชุมชนบ้านใหม่สามัคคี เหมือนหมู่บ้านชนบททั่วๆ ไป ได้พัฒนาตามกาลเวลาไม่หลงเหลือความยากจนในอดีตไว้เลย เช่น สาธารณูปโภค บริโภค การคมนาคม สะดวกสบาย ทุกคนช่วยกันวางรากวัฒนธรรมของตนอย่างแข่งขันเพื่อให้เป็นรากเง้า สุขภาพอนามัย มีการส่งเสริมแนะแนวจากหน่วยงานภาครัฐให้อย่างดี การศึกษา ชาวบ้านส่วนมากไม่ได้รับการศึกษาสูง จึงการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารได้อย่างไม่เต็มที่   การจัดสรรน้ำ ปัจจุบันชาวบ้านช่วยกันดูแลรักษาเป็นอย่างดี อาชีพการงาน เกิดการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมมากขึ้น บ้านเรือนที่อยู่อาศัยสมัยก่อน เสาและโครงบ้านเป็นไม้ผสมกับไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา แต่ในวันนี้พัฒนาขึ้นมาตามยุคตามสมัย สร้างด้วย อิฐ ปูน เหล็ก กระเบื้องอย่างถาวร สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ได้รับการเป็นชนเผ่าแล้ว สามารถแสดงออกได้อย่างเปิดเผย ตามกรอบกฎหมาย ถึงแม้บางส่วนยังตกหล่นทางทะเบียนรัฐก็ตามเขาก็อยู่กันได้อย่างมีความสุขได้

 

อภิปรายผลการวิจัย

          ประวัติความเป็นมาของชาวคะฉี่นผิดไปจากดั้งเดิมอย่างมากเพราะการออกเสียงต่างๆ ของภาษา เพราะศาสนานั้นเอง ดังเช่น ลดาวัลย์  แก้วสีนวล ได้กล่าวไว้ในกรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ลักษณะการสื่อสารของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่มีการสื่อที่เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุดคือ สื่อบุคคล โดยเฉพาะผู้นำทางศาสนา โดยเหตุผลที่มีการสื่อสารระหว่างกัน ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางด้านเครือญาติ ความเป็นครูกับศิษย์ ความเป็นเพื่อน ความเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อเขามาควบคุมความเชื่อทางสังคมโดยรวมก็พัฒนาไปตามที่ได้วางแนวทางไว้ให้ตามที่เขาต้องการไม่ใช่เป็นไปตามที่เป็น และในการวิวัฒนาการของชาติพันธุ์ชาวคะฉี่น ก็เหมือนชาติอื่นๆ ที่ค่อยๆ พัฒนาขึ้นตามลำดับ หรือเทียบกับสังคมไทย ไทยมีตัวอักษรมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น แต่สำหรับชาติพันธ์คะฉี่นมีตัวหนังสือมีขึ้นมาเมื่อสมัยล่าอาณานิคม (Rev. Ola Hanson) เป็นผู้ประดิษฐ์อักษรขึ้นจากตัวหนังสืออังกฤษนี้เองจึงเห็นได้ว่าสังคมคะฉี่นห่างจากสังคมไทยประมาณ ๗๐๐ ปีก็ว่าได้ ถึงแม้ว่านักวิชาการคะฉี่น สมัยใหม่พยายามแก้ไขอย่างไรมันก็เป็นไปได้ยากมาก

ประวัติความเป็นมาของชนชาติพันธุ์คะฉี่น ได้เริ่มต้นเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหลังจากสมัยล่าอาณานิคมของตะวันตก พร้อมทั้งมาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ให้แก่ชนเผ่าเหล่านั้น และได้ปฏิเสธความเชื่อดั่งเดิมของพวกเขาออกไปเพาะการเข้ามาควบคุมของชาวต่างชาติซึ่งสมัยก่อนเคยอยู่กันอย่างธรรมดาแบบชนกลุ่มน้อยทั่วไปตามวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อความศรัทธาของตนเองแม้กระทั้งชาวคะฉี่นที่ปะปนมากับกองทับ

          ๑. ถึงชายแดนไทยก็ตาม แรกๆ อยู่กันแบบเอาชีวิตรอดไปวันๆ ก็ว่าได้ต่อมาทางหน่วยงานภาครัฐเข้าควบคุมก็ดีหรือทางกลุ่มศาสนาเข้ามาดูแลจึงค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นหมู่บ้านขึ้นมาสุดท้ายเป็นชนเผ่าหนึ่งในประเทศไทยในที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับ งานของ เรวดี  อุลิต  ๘๐ ปีของชุมชนบ้องตี้ จาก “หมู่บ้านกะเหรี่ยง” ถึง “หมู่บ้านชายแดน” ว่าชุมชนบ้องตี้มีการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตทางสังคม ขอบเขตของรัฐ และขอบเขตทางวัฒนธรรม ๔ ครั้ง ดังนี้ ยุคที่ ๑ ชุมชนกะเหรี่ยง (ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๙) ชุมชนบ้องตี้ในยุคนี้เป็นชุมชนขนาดเล็ก ผู้คนในชุมชนมีความเป็นเครือญาติค่อนข้างสูง และยังมีความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติจากการแต่งงานกับกะเหรี่ยงในฝั่งประเทศพม่า ยุคที่ ๒ ชุมชนบ้องตี้ในฐานะทีเป็นพื้นที่ควบคุมของรัฐ พ.ศ. ๒๔๗๙-๒๕๐๐ เป็นยุคที่รัฐพยายามที่จะเข้ามาควบคุมและกลืนกลายกะเหรี่ยงให้เป็นคนไทยผ่านระบบการศึกษา ซึ่งได้แก่ บทเรียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทย แลละครูผู้ซึ่งเป็นคนไทย รวมทั้งการแบ่งอาณาเขตพื้นที่การปกครองและการปฏิบัติงานของตำรวจตระเวนชายแดนทำให้ความเป็นพื้นที่ชายแดนมีความชัดเจนขึ้น ยุคที่ 3 แรงงานข้ามชาติกับทุนนิยมและวาทกรรม “การพัฒนา” ของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๓๘ ยุคนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชุมชนอันเนืองมาจากการเข้ามาของทุนนิยม เช่น เหมืองแร่และการปลูกพืชพาณิชย์ ซึ่งทำให้มีแรงงานจากประเทศพม่าข้ามแดนเข้ามาในลักษณะเป็นแรงงานรับจ้างจำนวนมาก จึงทำให้ชุมชนบ้องตี้ในยุคนี้มีความหลากหลายของผู้คน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ที่ก้าวพ้นไปจากความสัมพันธ์แบบเครือญาติ รวมทั้งรัฐได้เข้ามาจัดการและควบคุมผู้คนมากกว่าในยุคที่ผ่านมา และ ยุคที่ ๔ ชุมชนบ้องตี้กับการไหลบ่าของผู้คนหลัง “กะเหรียงตา” และความเข้มงวดของการควบคุมพื้นที่ชายแดน พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๕๒ ในยุคนี่ได้เกิดการสู้รบระหว่างกองทัพทหารพม่าและกองกำลังชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า ในบริเวณฝั่งตรงข้ามกับชุมชนบ้องตี้ จึงมีผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงเข้ามาอยู่ในชุมชนเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความหลากหลายของผู้คน และยุคนี้ยังมีการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ และมีลักษณะผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในขณะเดียวกันรัฐเองก็ได้เข้ามาจัดการโดยการควบคุมและแบ่งแยก “คนใน” กับ “คนนอก” ออกจากกันอย่างชัดเจน

๑.๑) ด้านความเชื่อและศาสนาดั่งเดิมของชนชาวคะฉี่น พบว่าเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็นว่ามี จึงได้เชื่อถือกันมายุคต่อยุคจนถึงปัจจุบัน เช่นสิ่งที่มองไม่เห็นนั้นเรียกตามภาษาที่เข้าใจก็คือวิญญาณ ในวิญญาณแบ่งออกเป็นสองประเภท คือวิญญาณทีดีและวิญญาณที่ชั่ว วิญญาณที่ดีเขาเรียกว่าเป็น เทวดา พระเจ้า หรือจิตวิญญาณบริสุทธิ์ วิญญาณที่ชั่วเขาเรี่ยกว่า ผี หรือซาตาน ฉะนั้นความเชื่อศาสนาของชาวคะฉี่นเดิมคือเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น ถึงแม้ว่า บางกลุ่มจะเคารพยำเกรงวิญญาณชั่วก็ตามแนวคิดทางความเชื่อนั้นกว้างเกินใช้คำพูดมาสื่อสารกันไม่ได้เป็นไปตามข้อเท็จจริงแต่เป็นไปตามคนใกล้ชิด ซึ่งสอดคล้องกับ ลดาวัลย์  แก้วสีนวล ได้กล่าวไว้ในกรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ลักษณะการสื่อสารของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่มีการสื่อที่เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุดคือ สื่อบุคคล โดยเฉพาะผู้นำทางศาสนา โดยเหตุผลที่มีการสื่อสารระหว่างกัน ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางด้านเครือญาติ ความเป็นครูกับศิษย์ ความเป็นเพื่อน ความเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อเขามาควบคุมความเชื่อทางสังคมโดยรวมก็พัฒนาไปตามที่ได้วางแนวทางไว้ให้ตามที่เขาต้องการไม่ใช่เป็นไปตามที่เป็น

          ๒. ด้านวัฒนธรรม และประเพณี ดั่งเดิมพบว่ามีอยู่ ๒ ตอน ตอนแรกเป็นชาวป่าชาวดอย ดังเช่นดร. ซินวาออง และ ดร. มะร่านจ่ากูล นักประวัติศาสตร์ชาวคะฉี่น ได้อธิบายว่าได้อธิบายว่า ชาติพันธุ์คะฉี่น มีประวัติศาสตร์ที่ยาวไกลกว่านับพันๆ ปี ภาษา วัฒนธรรมการแต่งกายและ ลวดลายสัญลักษณ์บนอุปกรณ์ เสารำมะเหน่า เป็นหลักฐานสำคัญที่จะบงบ่อกถึงเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์คะฉี่นได้อย่างดี ปัจจุบันชาติพันธุ์คะฉี่น อยู่ระหว่างมณฑลยูนนาน สถานรัฐประชาชนจีน และเขตปกครองตนเองภาคเหนือของประเทศพม่าเป็นปัจจัยภัยใน ตอนที่ 2 ตามที่ศาสนาจารย์ Roberts และ Hanson ได้กล่าวไว้ในลักษณะความเป็นอยู่ของชาติพันธุ์คะฉี่นว่าชาติพันธุ์คะฉี่น เป็นชนเผ่าที่ดุร้ายอยู่ระหว่าง ยูนนานประเทศจีน และเมืองบามมอ ประเทศเมียนม่า จึงเข้าเผยแพร่ศาสนาคริสต์เพื่อให้ได้มีแสงสว่างในสังคมโดยประดิษฐ์ตัวหนังสือเพื่อได้บันทึกประวัติของตนเป็นลายลักษณ์อักษรได้คือปัจจัยภายนอก ซึ่งสอดคล้องกับ งานของ อารีย์  พานทอง ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของปกาเกอะญอ บ้านวัดจันทร์ หมู่ ๓ ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ๒ ด้าน คือ ปัจจัยภายใน เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นภายในตนเองหรือในชุมชนตนเอง ได้แก่ การเพิ่มของประชากร ความต้องการทางวัตถุ ความเชื่อและวัฒนธรรม และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การพัฒนาของภาครัฐ เช่น สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน มีถนน น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ เป็นต้น การพัฒนาของภาคเอกชน ด้านการศึกษา ความเจริญด้านสาธารณูปโภค และด้านเทคโนโลยี   

          ๓. ด้านสุขภาพอนามัย สมัยก่อนไม่ได้คิด เรื่องสุขภาพกันสักเท่าไร เพราะชีวิตดิ้นร้นอยู่กับปากท้องในชีวิตประจำวันเป็นส่วนมาก ไม่มีโอกาสคิดว่าสุขภาพอานามัยใน อดีตเป็นอย่างไร ปัจจุบันเป็นอย่างไรและอนาคตจะเป็นอย่างไร เราเคยอยู่กันไปแบบวันๆ ในปัจจุบัน สุขภาพอนามัยจำเป็นจะดูแลกันอย่างถ้วนหน้าเพราะทุกคนก็เป็นมนุษย์เหมือนๆ กัน อีกประเด็นหนึ่งคือหากปล่อยปละละเลยโรคต่างๆ อาจติดต่อกันง่ายๆ เพราะอยู่ในเขตพื้นที่ชายแดน การป้องกันสุขภาพอนามัยจึงถือว่าดีขึ้นกว่าเก่าอย่างมากเพราะมี อ.ส.ม. ช่วยตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำเหมือนคนทั่วๆ ไปแม้กระทั้งคนไม่บัตรไม่มีสิทธิเป็นทางการก็ตามเราก็จะช่วยกันดูแลเสมอภาคกันหมด ซึ่งสอดคล้องกับงานของ นิพนธ์   คันธเสวี กล่าวถึงคุณภาพชีวิตว่า หมายถึง ระดับสภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ตามองค์ประกอบของชีวิตอันได้แก่ ทางร่างกาย ทางอารมณ์ ทางสังคม ทางความคิด และจิตใจ ฉะนั้นให้รู้จักป้องกันตนเอง ครอบครัว และทำอย่างไรจึงจะปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ การให้สุขศึกษาแก่ประชาชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก เพราะจะทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่รู้ ให้มีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเพื่อจะได้นำไปใช้นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องอย่างมีความสุขแก่ตนเองและครอบครัวตลอดไป

            ๔. ด้านการศึกษา ทุกคนก็เข้าใจตรงกันว่าการศึกษาเป็นสิ่งที่ดี แต่ขึ้นอยู่กับการขวนขวายในการเรียนรู้ศึกษาต่างกันเนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนเป็นลักษณะพหุชมชนจึงมีทั้งมีหลากหลายระดับในการเข้าใจในชุมชนเล็กๆ นี้การศึกษาจึงมีผลต่อคนในชมชนอย่างมาก เช่นบางคนส่งเสริมลูกหลานให้การศึกษาอย่างดีก็มีอนาคตสุดใส บางคนไม่มีโอกาสให้ลูกหลานให้การศึกษาได้จึงคล้อยตามกระเสค่านิยมจึงแตกต่างกันในความรู้ความเข้าใจกันอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับ พระครูปลัดวัชรพงษ์  วชิรปณโญ ได้กล่าวไว้ว่า โดยภาพรวมนิสิตที่มีสถานภาพต่างกัน ความคิดเห็นเกี่ยวกับ สภาพ

ปัญหาการเรียนการสอน สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เพราะฉะนั้น นิสิตบรรพชิตและนิสิตคฤหัสถ์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนสาขาวิชารัฐศาสตร์วิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯโดยรวมแตกต่างกัน

          ๕. การจัดสรรน้ำ ทฤษฏีสมบูรณ์ตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ปัจจุบันการจัดสารน้ำของบ้านใหม่สามัคคี หรือของ (โครงการหลวงหนองเขียว) ก็ทำในลักษณะเดียวกันต่อท้อลงมาจากบนดอยแกน้อย บริเวณบ้านนาสะริ จากหัวน้ำถึงมาถึงบ้านใหม่สามัคคี ระยะทางประมาณ ๑๘ กิโลเมตร และได้มาใส่ไว้ในอ่างใหญ่ จากอ่างใหญ่ได้ต่อท้อเข้าสู่อ่างเล็กอีกครั้งที่ขุดไว้ในรอบๆ หมู่บ้านและจากอ่างเล็กปล่อยเข้าสู่สระอีกครั้งเพื่อใช้สอยต่อไป การจัดการและการจัดสารระบบน้ำตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้นั้นจำต้องใช้เทคนิคเข้าผ่านด่านสังคมอีกมากมายจึงได้น้ำใช้กันอย่างปัจจุบันซึ่งสอดคล้องกับ ศูนย์ประสานงานการพัฒนาชนบทแห่งชาติ กล่าวถึงความสำคัญของคุณภาพชีวิตว่า คุณภาพชีวิตที่ดีนับเป็นสิ่งสำคัญและเป็นจุดหมายปลายทางของบุคคล ชุมชนและประเทศชาติโดยส่วนรวม ประเทศใดหากประชากรในชาติโดยส่วนรวมด้อยคุณภาพ แม้ว่าประเทศนั้นจะมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เพียงใด ก็ไม่อาจทำให้ประเทศชาตินั้นเจริญและพัฒนาให้ทันหรือเท่าเทียมกับประเทศที่มีประชากรที่มีคุณภาพได้ คุณภาพชีวิตของประชากรจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญและชี้ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้เจริญก้าวหน้ากว่าอีกประเทศ ดังเช่นในประเทศญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สภาพบ้านเมืองได้รับผลกระทบของสงคราม แต่ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของประชากรญี่ปุ่น ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา จึงทำให้ประเทศญี่ปุ่นยกฐานะเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ  สังคม วัฒนธรรมได้อย่างรวดเร็ว

          ๖. ด้านอาชีพการงาน ปัจจุบันชนชาวคะฉี่นในบ้านใหม่สามัคคี ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางเกษตรโดยเฉพาะการทำไร่ทำสวนเป็นหลัก การทำไร่ทำสวนไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่ายแต่เพียงแค่ทำเพื่อบริโภคเท่านั้น แต่หากยังหมายถึงส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของเขาด้วย ปัจจุบันอาชีพเสริมเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น หลายครอบครัวประกอบอาชีพเสริมเช่นรับจ้างในหมูบ้านและหมู่บ้านรอบใกล้เคียง ลูกหลานบางคนมารับจ้างในเมืองเป็นรายได้ของครอบครัวเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และปรับตัวให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมต่อไปซึ่งสอดคล้องกับงาน Herbert Spencer เสนอว่า วิวัฒนากรของสังคมมนุษย์เป็นแบบสายเดียว (Uni-linear) ที่ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกันด้วยและมารวมกันด้วยกระบวนการสังเคราะห์ (Synthesis) ทำให้เกิดพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น การพัฒนาของสังคมจะมีวิวัฒนาการเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ กล่าวคือ มนุษย์ที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดีจะมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป และนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นต่อไป

          ๗. ด้านบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ปลูกสร้างบ้านด้วยวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นเรียบง่าย ทำไร่ทำสวนเกษตรเลื่อนลอย ไม่มีความคงทนถาวร มุงด้วยหญ้าคา เสาและโครงบ้านเป็นไม้ผสมกับไม้ไผ่ จากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นบ้านทั่วๆ ไปตามยุคตามสมัย โดยเฉพาะคนมีฐานะหน่อยสร้างด้วย อิฐ ปูน เหล็ก กระเบื้องเป็นต้น แต่คนที่ฐานะไม่ค่อยก็สร้างบ้านเรือนตามกำลังของตนด้วยไม่ไผ่ จึงสามารถหลงเหลือลักษณะบ้านเรือนดั่งเดิมให้เห็นได้บ้าง อย่างไรก็ตามการที่อยู่อาศัยในชุมชนนั้น ต้องอาศัยซึ่งกันและกันไม่ว่า โครงการหลวงหรือ หน่วยงานภาครัฐหน่วยอื่นๆ และคนในชุมชนเดียวกัน ซึ่งก็สอดคล้องกับ สุมล  ยางสูง และเรวดี  อุลิต ได้กล่าวไว้ว่า โครงการบ้านมั่นคง การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยองค์กรชุมชนและท้องถิ่น การดำเนินงานในโครงการบ้านมั่นคง มีแนวทางสำคัญที่ให้คนในชุมชนเจ้าของโครงการเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาและจัดการตนเอง โดยมีภาครัฐและหน่วยงานท้องถิ่นในการสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหา จัดการตนเองด้านที่อยู่อาศัย และพัฒนาคุณภาพชีวิตร่วมกันของคนในชุมชน เกิดการแก้ไขปัญหา ของชุมชนอย่างเป็นระบบในเมือง ทำให้คนจนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย เกิดรูปธรรมการแก้ไขปัญหา มีรูปแบบการแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย และเกิดการพัฒนาที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย

          ๘. ด้านสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ หลังจากได้รับการยอมรับการเป็นชนเผ่าแล้วชีวิตความเป็นอยู่ค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาตามลำดับตามสภาพแวดล้อมที่ได้เปลี่ยนไป วัฒนธรรม และประเพณีของชนชาติพันธุ์คะฉี่น ได้เปลี่ยนแปลงไปตามสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถแสดงออกได้อย่างเปิดเผย เช่นด้านวัฒนธรรมประเพณีการแต่งกาย ภาษา และประเพณีการเต้นรำมะหน่าว เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามมีบางส่วนยังไม่สามารถยอมรับตามกฎหมายก็ตามเขามีความสุขในความเป็นอยู่ในชีวิตปัจจุบันอย่างดี ซึงสอดคล้องกับ จันทรา  วรกูลชัยเลิศ ถึงแม้ว่าจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายยังมีความประสงค์ที่จะอาศัยอยู่ในประเทศไทยต่อไปเนื่องจากประเทศพม่าที่จากมา ยังคงมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงกว่าสภาพปัญหาที่เผชิญในประเทศไทย เพราะบางส่วนยังไม่เป็นผลเมืองสมบูรณ์ของประเทศ

 

ข้อเสนอแนะ

            จากการศึกษา “การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์คะฉี่นบ้านใหม่สามัคคี หมู่ที่ ๑๔ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่” ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะไว้ดังนี้

๑. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

          ๑. ด้านความเป็นมาของชาติพันธุ์คะฉี่น จากการที่ไม่มีที่อยู่ที่อาศัย ไม่มีที่ทำทำกินอย่างเป็นหลักแหลงและจากการไม่ยอมรับว่าเป็นชนเผ่าหนึ่งในประเทศไทยค่อยๆ ได้พัฒนาขึ้นมาตามลำดับเป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป ในการสนับสนุนจากโครงการหลวงและหน่วยงานภาครัฐ

                 ๑.๑) ด้านความเชื่อทางศาสนา ถึงแม้จะมีการแตกแยกกันเกิดขึ้นในกลุ่มชนเพราะการสื่อสารก็

ตาม ความเชื่อทางศาสนาสามารถจัดระเบียบสังคมได้อย่างดี ฉะนั้นผู้นำทุกฝ่ายควรให้โอกาสเสมอภาคกันทุกๆ

กลุ่มศาสนา และหน่วยงานภาครัฐควรให้บุคคลที่เข้าใจในหลายๆ ด้านมาดูแลชนเผ่าต่อไป

          ๒. ด้านวัฒนธรรมและประเพณี ค่านิยมภายในความต้องการทางอุปโภคบริโภค และแนวความเชื่อที่แตกต่างกัน และค่านิยมภายนอกคือความเจริญทางสังคมภายนอก คือสาธารณูปโภคเจริญเข้ามาทำให้วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้นไม่ควรนิยมตามค่านิยมตามสังคมปัจจัยภายนอกมากนัก และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเอาใจใส่บุคคลพื้นที่สูงมากกว่าเพื่อไม่ให้สูญหาย

          ๓. ด้านสุขภาพอนามัย มีการส่งเสริมแนะแนวจากหน่วยงานภาครัฐให้ตั้งเป็น อสม. เพื่อให้ความรู้ทางสุขภาพรู้จักดูแลรักษา และป้องกันตนเอง สามารถประสานงานอย่างทันด่วนได้เมื่อจำเป็น ฉะนั้นควรทำการต่อเนืองและควรตรวจสอบบุคคลในหน่วยงานเป็นระยะๆ

          ๔. ด้านการศึกษา ชาวบ้านส่วนมากไม่ได้รับการศึกษาสูง จึงการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารได้อย่างไม่เต็มที่ มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ฉะนั้นหน่วยงานภาครัฐควรข้อมูลข่าวสารให้ถูกต้องทันด่วน และต่อเนืองต่อไป

          ๕. ด้านการจัดสรรน้ำ ปัจจุบันชาวบ้านช่วยกันดูแลรักษาเป็นอย่างดีถึงแม้ต่างภาษา ต่างหมู่บ้านก็ตาม ได้รับผลตามทฤษฎีสมบูรณ์ตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ราชการที่ ๙ ภายใต้การดำเนินงานของโครงการหลวงหนองเขียว เป็นอย่างดี ฉะนั้นภาครัฐควรให้ความรู้เพิ่มเติม และควรปฏิบัติตามพระประสงค์ประสงค์ท่านเพื่อตัวเองและชุมชนเราต่อไป

          ๖. ด้านอาชีพการงาน เกิดการพัฒนางานตามสภาพแวดล้อมมากขึ้นและสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดีจะมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป และนำไปสู่การพัฒนาชีวิตที่ดีต่อไป แต่ไม่ควรทิ้งพื้นที่ตนเองมากนักและควรสร้างเอกภาพในชุมชนให้มากขึ้น

          ๗. ด้านบ้านเรือนที่อยู่อาศัย สมัยก่อน เสาและโครงบ้านเป็นไม้ผสมกับไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา แต่ในวันนี้พัฒนาขึ้นมาตามยุคตามสมัย สร้างด้วย อิฐ ปูน เหล็ก กระเบื้องอย่างถาวร แต่ไม่ควรละทิ้งอัตลักษณ์ของเอง และควรรักษาเอกลักษณ์ของตนคงอยู่สืบต่อไป

          ๘. ด้านสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ได้รับการเป็นชนเผ่าแล้ว สามารถแสดงออกได้อย่างเปิดเผย ตามกรอบกฎหมาย เช่นด้านวัฒนธรรมประเพณีการแต่งกาย ภาษา และประเพณีการเต้นรำมะหน่าว อย่างไรก็ตามมีบางส่วนยังไม่สามารถยอมรับตามกฎหมายก็ตามเขามีความสุขในความเป็นอยู่ในชีวิตปัจจุบันเป็นอย่างดี แต่ไม่ควรอยู่นิ่งเฉยๆ ในความสะดวกสบายแต่ควรกระตือรือร้นตามกฎหมายบ้านเมืองที่ให้โอกาสเสมอ

๒. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย

          จากการศึกษา “การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของชาติพันธุ์คะฉี่น หมู่ที่ 14 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่” ผู้วิจัยได้เสนอแนะเพื่อการวิจัยในครั้งต่อไปดังนี้

          ๑. ควรมีการวิจัยเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชาติพันธุ์คะฉี่น บ้านใหม่สามัคคี และชาติพันธุ์คะฉี่นจากแห่งอื่นๆ ต่อเนื่องไปอีก

          ๒. ควรทำวิจัยเรื่อง ด้านวัฒนธรรมที่มีผลต่อวิถีชีวิตของชาติพันธุ์คะฉี่น


บรรณานุกรม

เรวดี  อุลิต. (๒๕๕๒). ๘๐ ปีของชุมชนบ้องตี้ : จาก “หมู่บ้านกะเหรี่ยง” ถึง “หมู่บ้านชายแดน”.  วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

วารสาร มมร วิชาการล้านนาลดาวัลย์  แก้วสีนวล. (๒๕๔๗). กรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้น ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐. เข้าถึงได้จาก www.isranews.org/south-news/26...

อารีย์  พานทอง. (๒๕๕๓). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของปกาเกอะญอ บ้านวัดจันทร์ หมู่ ๓ ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่.

นิพนธ์  คันธเสวี. (๒๕๓๗). คุณภาพกำลังคนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด.

พระครูปลัดวัชรพงษ์  วชิรปณโญ. (๒๕๕๖). การศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนสาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

ศูนย์ประสานงานการพัฒนาชนบทแห่งชาติ. (๒๕๓๒). อ้างใน วราพรรณ ลิลัน. (๒๕๕๑). คุณภาพชีวิตของชาวนาในพื้นที่ ตำบลกระแซง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ปัญหาพิเศษทางสาธารณสุข ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารสุข     สิรินธร จังหวัดยะลา.

Herbert spencer (ค.ศ.๑๘๒๐ – ๑๙๐๓) เสนอว่า วิวัฒนาของสังคมมนุษย์เป็นสายเดี่ยว (Uni-linear) ที่ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน

สุมล  ยางสูง และเรวดี  อุลิต (๒๕๕๘) โครงการบ้านมั่นคง การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยองค์กรชุมชนและท้องถิ่น การดำเนินงานในโครงการบ้านมั่นคง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานบ้านมั่นคง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

จันทรา  วรกูลชัยเลิศ. (๒๕๕๔). ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษชนคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย กรณีศึกษาหมู่บ้านบ้านลาน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

วราภรณ์  จันทะ. (๒๕๕๑). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านตุงลอย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา.

 

วารสาร มมร วิชาการล้านนา

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 640423เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 08:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 08:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท