ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองทราย ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ครั้งที่ 76


ในวันนี้ เราได้เดินทางมาถึงที่ศูนย์เป็นเวล 08.30 น. เนื่องจากวันนี้อาจารย์อาจารย์จะมานิเทศเป็นครั้งที่2

เวลา10.00 น.  อาจารย์สุธิดา สองสีดา  ได้เดินทางมาถึงที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองทราย  ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

เมื่อมาถึงอาจารย์ก็ได้เช็คชื่อ ว่ามากันครบหรือเปล่า จากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดเกี่ยวกับรายละเอียดในการฝึกงานจากนั้นก็ได้ถามถึงการทำโครงการของแต่ละกลุ่มว่ามีขั้นตอนในการทำโครงการอย่างไรบ้าง จุดประสงค์ของโครงการ  ขั้นตอนในการทำโครงการ งบประมาณในการทำงาน การทำ PDCA      กิจกรรมที่ทำ ผลที่คาดว่าจะเกิดที่ขึ้นในอนาคต  และนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการทำโครงการ และการจัดรูปเล่มส่งอาจารย์

โดยกลุ่มแรกจะเป็นโครงการการอนุรักษ์วัฒนธรรมรำเหย่ย มีสมาชิก 2 คน คือ1. นางสาวกฤตา ไชยบำรุง

                                                                                                                          2. นายอดิศักดิ์     เทพอัม

อาจารย์ก็จะถามถึงการทำโครงการว่าทำอย่างไร โดยโครงการก็จะมีการจัดอบรม ครั้งที่1 คือการจัดอบรมเด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านหนองขุย โดยได้มีวิทยากร คือ ป้าบุษกร พรหมมา ก็จะมาพูดถึงประวัติความเป็นมาของรำเหย่ย การร้องและการรำ การแต่งตัวและอุปกรณ์ในการประกอบการเล่นรำเหย่ยและการจัดอบรมครั้งที่ 2 ก็เหมือนครั้งที่1 แต่กลุ่มเป้าหมายคือเยาวชนในชุมชน และในจัดทำสื่อการสอนในวัฒนธรรมรำเหย่ย ให้กับโรงเรียนบ้านหนองขุย และอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำที่ควรแก้ไข

ต่อมาเป็นโครงการสบู่สมุนไพรพื้นบ้าน มีสมาชิกคือ 1.นายสถาพร   อุ่นราด

                                                                                  2.นายชิดโชค   แสงพระอินทร์

อาจารย์ได้ถามเกี่ยวกับการดำเนินการทำโครงการ คือสาเหตุที่ทำโครงการคืออยากให้ชาวบ้านนำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเพื่อให้เกิดรายได้แก่คนในชุมชน โดยการเริ่มโครงการคือ สมาชิกในกลุ่มได้ไปเรียนรู้การทำสบู่กับพี่ดาเราะ เพื่อที่จะได้ไปสอนคนในชุมชนได้รู้จักการทำสบู่              จากนั้นก็ได้จัดทำโครงการ โดยมีวิทยากรคือ พี่ดาเราะ มาสาธิตและอบรมในการทำสบู่ให้กับชาวบ้าน  จากที่ได้สบู่มาเราก็ได้นำมาวางจำหน่าย ซึ่งสามารถขายได้แล้ว และอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำเล็กๆน้อยๆ

จากนั้นก็มาถึงโครงการการจัดการขยะ โดยมีสมาชิก 3 คน คือ 1.นางสาวณัฐกานต์   ศรีจันทร์รัตน์

                                                                                                  2.นางสาวศจี              สระสีสม

                                                                                                  3.นายภานุทัต            ดอนไพรเมา

โดยได้พูดเกี่ยวกับการการทำโครงการที่ผ่านมา ว่าได้จัดทำโครงการครั้งที่ 1 โดยจัดโครงการที่โรงเรียนบ้านหนองขุย อบรมให้กับเด็กนักเรียนโดยได้อธิบายของขยะและประเภท  และการจัดทำโครงการคครั้งที่ 2 เป้าหมายคือคนในชุมชน 

              

และมาถึงกลุ่มที่สุดท้าย คือโครงการการอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้าน มีสามชิก 2 คน คือ 1.นายภัทรภณ      ศิริเลิศ

                                                                                                                                     2.นางสาวธีรรัตน์   สวนนพคุณ

ได้พูดอธิบายให้กับอาจารย์ฟังว่าการทำโครงการเรามองจาก SWOT ที่เราได้สำรวจมาเเล้วว่า จุดแข็งชุมชนมีปราชญ์ด้านสมุนไพร คือ ลุงโกย สมคิด เราจึงได้เดินทางไปหาลุงโกย สมคิด ที่ ม. 4 บ้านหนองขุย ได้พูดคุยเกี่ยวเรื่องสมุนไพร ลุงโกยได้บอกว่าส่วนมากชาวบ้านมักจะมาให้ลุงโกยรักษาอาการต่างๆ บางครั้งลุงโกยก็ไม่ได้อยู่บ้าน แล้วอีกอย่างก็ไม่มีผู้สืบวิชาต่อจากลุง เพราะลุงทำยาเป็นยาผีบอก ซึ่งคนสมัยใหม่ไม่ค่อยเชื่อ แต่คนรุ่นเก่าๆที่จะมารักษากับลุง เราจึงได้มองเห็นว่า เราจะจัดทำโครงการการอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้าน โดยเราจะทำแปลงสมุนไพรไว้ที่โรงเรียนบ้านหนองขุย ม.4 บ้านหนองขุย  

ในการทำโครงการครั้งที่  1  ในการทำแปลงได้มีเพื่อนๆ และชาวบ้าน   มาช่วยกันขุดดินปรับพื้นที่ และก่ออิฐบล็อคเพื่อทำแปลงสมุนไพร และนำดินมาใส่แปลง เมื่อทำแปลงเสร็จเรา 2 คนได้ไปเรียนรู้การทำยาสมุนไพรและศึกษาสรรพคุณต่างๆของสมุนไพร จากนั้นเราก็ได้มาเพาะต้นสมุนไพรเพื่อที่จะนำไปลูกที่โรงเรียนบ้านหนองขุย  

                              ครั้งที่  2 เราได้จัดอบรบโดยมีลุงโกย  สมคิด  มาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้เรื่องสมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆ    และสาธิตการทำยาในการรักษา  จากนั้ชาวบ้านได้ร่วมกันปลูกพืชสมุนไพรที่แปลงสมุนไพรที่โรงเรียนบ้านหนองขุย  และเราก็ได้จำทำตำราสมุนไพรเพื่าอแจกให้กับชาวบ้านเพื่อนำไปใชประโยชน์

จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำเล็กๆน้อยๆ

เมื่อทำการนิเทศเสร็จ พวกเราทั้ง 9 คน และอาจารย์ก็ได้ถ่ายรูปร่วมกัน

เวลา 12.00 น. อาจารย์สุธิดา สองสีดา  ได้เดินทางกลับเพื่อที่จะไปนิเทศอีกที่หนึ่ง

จากนั้นเราก็ได้ไปข้าวกลางวันกัน

เวลา 14.00 น. คณะดูงานจาก กฟผ. ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย ได้มาศึกษาดูงานที่ศาลาหมู่ที่ 6 และได้แวะเข้ามาชมโรงสีชุมชน

คณะดูงานได้เลือกชมสินค้าของทางศูนย์ก็จะมีข้าวหอมมะลิ ข้าวไรเบอรีซ์ ข้าวสามหอม กล้วยฉาบ เผือกฉาบ เป็นต้น

เวลา 14.00 น. คณะดูงานได้เดินทางกลับ  เราก็ได้ทำงานภายในศูนย์กันต่อ

เวลา 16.30 น. เราได้แยกย้ายกันกลับที่พัก

หมายเลขบันทึก: 640249เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2017 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2017 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท