UNESCO กับการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา ที่ Paris


 

Irina Bokova เลขาธิการยูเนสโก ถวายคำสดุดีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต่อหน้าในการประชุมใหญ่ประจำปีของ UNESCO เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 ซึ่งเป็น World Peace Day (วันสันติภาพโลก) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เดือนตุลาคมนี้เป็นเดือนสำคัญของชาวไทยและประเทศไทยที่จะมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา คนไทยและคนทั่วโลกแสดงความอาลัยถึงพระองค์ท่านอย่างหาที่สุดไม่ได้

จากในฐานะที่ผมเป็นกรรมการระดับชาติจากประเทศไทยสาขาสังคมศาสตร์ของ UNESCO ขอกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ Paris เมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา UNESCO จัดพิธีเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเลขาธิการ UNESCO คือคุณ Irina Bokova ได้กล่าวสดุดีพระองค์ท่านต่อหน้าในการประชุมใหญ่ประจำปีของ UNESCO และเป็นวันสำคัญคือเป็น World Peace Day (วันสันติภาพโลก)

ในระดับ UN กล่าวสดุดีพระองค์ท่านอย่างสมพระเกียรติเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2559 ซึ่งในช่วงนั้น อดีตเลขาธิการ Ban Ki-moon ได้ทำหน้าที่กล่าวสดุดีพระองค์ท่าน

ก่อนหน้านั้น เลขาธิการ Irina Bokova ก็ยังได้เดินทางมาเมืองไทยมาแสดงความอาลัยด้วยความจงรักภักดีและวางพวงมาลาถวายพระบรมศพที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

ที่ UNESCO ถวายคำสดุดีพระองค์ท่าน ผมขอหยิบยกคำพูดบางตอนที่มีคุณค่าต่อคนไทยเพื่อจะได้จดจำและนำมาคิดปฏิบัติ

ประเด็นแรก ท่านเลขาธิการได้เน้นว่า ปรัชญาของพระองค์ท่านไม่ใช่มีคุณค่าต่อคนไทยเท่านั้น แต่มีคุณค่าต่อคนทั่วโลก โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นแบบอย่างที่ดีต่อการดำรงชีวิตของคนในโลกเพื่อจัดการกับปัญหาต่างๆ เช่น ความยากจน ปัญหาสงคราม อยู่อย่างยั่งยืน และมีความสุข ความสงบอย่างพอประมาณของประชากรในแต่ละประเทศ

การยกย่องแนวทางนี้ทำให้เห็นถึงความลึกซึ้งของ UNESCO ที่เห็นถึงพระปรีชาสามารถอย่างล้ำลึกของพระองค์ท่าน

ประเด็นที่ 2 พระองค์ท่านได้ทรงทิ้งมรดกไว้ให้แก่มนุษยชาติในโลกนี้ ภาษาอังกฤษคือ Legacy of Global Humanity แปลว่า ปรัชญาของท่านได้พระราชทานมรดกความคิดไว้ให้มนุษยชาติในโลกอย่างมีคุณค่าเป็นที่ภาคภูมิใจอย่างยิ่งแก่คนไทย

ประเด็นที่ 3 ที่ท่านเลขาธิการได้พูดถึงคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เติบโตมาจากโลกตะวันออกซึ่งแตกต่างจากโลกตะวันตก พระองค์ท่านยังทรงทิ้งมรดกของพลังความดีให้โลกได้นำไปใช้ ซึ่งท่านเลขาธิการเรียกว่า “Soft Power” พลังที่วัดไม่ได้แต่มีคุณค่าต่อประเทศในโลก Soft Power เน้นที่จิตใจ ความดีงามมากกว่าพลังทางด้านการทหาร การห้ำหั่นโดยใช้อำนาจ หรือพลังที่เกิดจากความยิ่งใหญ่ของเศรษฐกิจ GDP หรือวัตถุนิยม ซึ่ง Hard Power ของตะวันตกมีปัญหาขัดแย้งในโลกปัจจุบัน

ที่ผมภูมิใจมากที่สุดคือท่านเลขาธิการได้เน้นแก่นของ UNESCO ในเรื่อง Lifelong Learning การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งท่านได้ยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นตัวอย่างของการเรียนรู้ตลอดชีวิต พระองค์ทรงเรียนจากความจริงและนำความรู้ดังกล่าวไปช่วยคนที่อยู่ข้างล่างของพีระมิด คือคนที่เสียเปรียบในสังคมให้คนเหล่านี้พึ่งตนเอง Self-reliance ได้

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นของการเทิดพระเกียรติของ UNESCO และในวันเดียวกันนั้น มีงานที่ผมได้รับเชิญจากดร.ปรารถนา ศรีสุข เป็นวิทยากรในโครงการ “UTK Share Learning for Postgraduate Student Exchange UNSIKA, Indonesia.” มีนักศึกษาปริญญาโทจากอินโดนีเซีย 60 คน ที่มาฟังบรรยายในเรื่อง การบริหารความยั่งยืนในระดับโลก Global Sustainability ซึ่งผมก็นำเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นตัวอย่าง และขอให้นักศึกษาอินโดนีเซียกว่า 60 คน ทำ Workshop ร่วมกัน

มีกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นของคนไทย คนในเอเชียจะได้ประโยชน์มากด้วยตรงกันข้ามกับปรัชญา “ทุนนิยมสามานย์” ของตะวันตกที่เน้นความโลภ ความร่ำรวย แต่ไม่คิดถึงคนยากจนและคนที่ไม่มีโอกาส

ซึ่งคำพูดเหล่านี้ได้เห็นแล้วว่า ถึงแม้พระองค์ท่านเสด็จสวรรคตไปแล้ว แต่ปรัชญาต่างๆ ยังอยู่กับเราและคนในโลกแน่นอน

จึงอยากจะแบ่งปันให้ผู้อ่านได้ทราบว่าประเทศระดับอาเซียนก็เทิดพระเกียรติยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ไม่น้อยไปกว่า UNESCO

จีระ หงส์ลดารมภ์

[email protected]

http://www.naewna.com/politic/columnist/32065

หมายเลขบันทึก: 638777เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2017 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2017 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท