การพัฒนาทักษะการอ่านด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


ในช่วงที่ผู้เขียน ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วย ได้ปฏิบัติการสอนภาษาอังกฤษ ในระดับชั้น ป.3 - ม.3  แต่การสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้เขียนประสบปัญหา "นักเรียนขาดทักษะการอ่าน" บางคนอ่านออกเสียงได้ แต่แปลไม่ได้  บางคนอ่านได้ แต่จับใจความไม่ได้ และบางคน อ่านไม่ได้เลย ผู้เขียนเห็นว่าถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป จะส่งผลเสียตามมาอย่างแน่นอน

ผู้เขียนจึงมาคิดวิธีการที่จะพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียน โดยนำเอานิทานอีสป มาเป็นพื้นฐาน จากนั้นดึงคำศัพท์ที่นักเรียนควรรู้ออกมา แล้วออกแบบแบบฝึกที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา สามารถฝึกทักษะการอ่านของนักเรียนได้ กลายมาเป็น "หนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ"

หลังจากที่ได้นำไปใช้ พบว่านักเรียนชอบ และมีความสนใจในการอ่าน เราได้เห็นกระบวนการกลุ่ม การช่วยเหลือกัน ช่วยกันอ่าน ช่วยกันแปล ช่วยกันทำแบบฝึกหัด ช่วยกันนำเสนอ โดยที่เราเพียงคอยดูอยู่ใกล้ๆเท่านั้น นี่แหละที่ผู้เขียนคิดว่า คือการปฏิบัติที่เป็นเลิศ

วันนี้ผู้เขียนจึงนำงานวิจัยในชั้นเรียนที่เคยเขียนมาเผยแพร่แก่เพื่อนครูและผู้ที่สนใจ โดยสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้นะครับ

                                                                                                                                                                                         แกล้วปราการ  ฟักแก้ว


การพัฒนาทักษะการอ่านด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ที่มาและความสำคัญ

          ทักษะการอ่าน ถือเป็นทักษะที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เนื่องจากการอ่านจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องราวได้ดีขึ้น  จากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษา พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ อ่านภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ จึงทำให้ไม่อยากอ่าน ไม่สนใจที่จะอ่าน เมื่อนักเรียนทำแบบฝึกหัด หรือข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ นักเรียนมักจะไม่อ่าน ทำให้ไม่เข้าใจเรื่องราว และทำให้เกิดการผิดพลาด ผู้วิจัยจึงสนใจในการที่พัฒนาทักษะการอ่านให้ผู้เรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษง่ายๆ เพื่อพัฒนาทักษะดังกล่าว

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

          เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน

 

กรอบแนวคิดการวิจัย

          การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้จัดทำหนังสือส่งเสริมทักษะการอ่าน โดยใช้เนื้อเรื่องเป็นนิทานอีสปภาษาอังกฤษ สำหรับให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเองเป็นกระบวนการกลุ่ม ซึ่งภายในเล่มจะมีข้อสอบ pre-test และ post-test มีเนื้อเรื่องและภาพประกอบที่น่าสนใจ มีกรอบคำศัพท์ที่น่ารู้ รวมถึงมีแบบฝึกหัดเพื่อให้นักเรียนฝึกทักษะในการอ่านและทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องที่อ่าน ซึ่งจะส่งเสริมให้นักเรียนได้คิด สังเกต และทำงานเป็นทีม ในการช่วยกันหาคำตอบ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          นักเรียนมีทักษะการอ่านเพิ่มขึ้นจากการอ่านนิทานภาษาอังกฤษ

ขอบเขตการวิจัย

          การวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้หนังสือส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการจัดทำหนังสือส่งเสริมการอ่านโดยใช้นิทานอีสปเป็นหลัก โดยผู้วิจัยจะออกแบบข้อสอบ pre-test และ post-test รวมถึงแบบฝึกหัดต่างๆจากเนื้อเรื่อง ซึ่งมีขอบเขตดังนี้

         1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

          นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหุบบอน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 17 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน จำนวน 3 กลุ่ม ซึ่งภายในกลุ่มจะเป็นการคละกันระหว่างเด็กเก่ง กลาง อ่อน

         2. ตัวแปรในการวิจัย

          ตัวแปรต้น: การเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านโดยใช้นิทานภาษาอังกฤษ

          ตัวแปรตาม: คะแนน pre-test และ post-test ของแต่ละกลุ่ม

         3. เนื้อหา

          นิทานอีสปภาษาอังกฤษเรื่อง The dog and the crocodile.

นิยามศัพท์เฉพาะ

          หนังสือส่งเสริมการอ่าน หมายถึง หนังสือที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น โดยอิงเนื้อเรื่องนิทานอีสปภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้วิจัยจะทำแบบฝึกหัด และแบบทดสอบ pre-test และ post-test ขึ้นมาเองจากเนื้อเรื่อง

          นักเรียน หมายถึง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหุบบอน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559

วิธีดำเนินการวิจัย

          1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

          นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหุบบอน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 15 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน จำนวน 3 กลุ่ม ซึ่งภายในกลุ่มจะเป็นการคละกันระหว่างเด็กเก่ง กลาง อ่อน

          2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

          หนังสือส่งเสริมการอ่านนิทานภาษาอังกฤษ โดยผู้วิจัยใช้เรื่อง The dog and the crocodile ซึ่งภายในเล่มจะประกอบด้วย

          - แบบทดสอบ pre-test

          - แบบฝึกหัดที่ 1 matching การจับคู่ประโยคกับรูปภาพ

          - แบบฝึกหัดที่ 2 true or false การเลือกว่าข้อความนั้นจริงหรือเท็จเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง

          - แบบฝึกหัดที่ 3 cloze การเติมคำลงในช่องว่างเพื่อให้ใจความสมบูรณ์

          - แบบทดสอบ post-test

          ซึ่งทั้งหมดนี้ ผู้วิจัยเป็นผู้ออกแบบโดยอิงจากเนื้อเรื่อง

          3. การดำเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล

          4.1 ผู้วิจัยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน โดยในแต่ละกลุ่มต้องมีทั้งเด็กเก่ง กลาง อ่อน

          4.2 ครูแจกหนังสือส่งเสริมการอ่านให้แต่ละกลุ่ม และให้นักเรียนทำแบบทดสอบ pre-test จากนั้นครูเก็บมาเพื่อตรวจและวิเคราะห์ข้อมูล

          4.3 ครูแจกพจนานุกรมให้แต่ละกลุ่ม จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันอ่านและทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง แล้วทำแบบฝึกหัดต่างๆ

          4.4 ครูมอบหมายให้กลุ่มที่ 1 ออกมาเล่าเรื่องที่อ่าน และเฉลยแบบฝึกหัดที่ 1  กลุ่มที่ 2 ออกมาเล่าเรื่องที่อ่าน และเฉลยแบบฝึกหัดที่ 2  และกลุ่มที่ 3 ออกมาเล่าเรื่องที่อ่าน และเฉลยแบบฝึกหัดที่ 3  

          4.5 ให้นักเรียนทำแบบทดสอบ post-test จากนั้นครูเก็บมาเพื่อตรวจและวิเคราะห์ข้อมูล

          4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                    1. หาค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง

                    2. วิเคราะห์และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังเรียน

สรุปผลการวิจัย

          จากตาราง จะเห็นได้ว่า ค่า เฉลี่ยของคะแนนหลังเรียน มีค่า 3.29 ซึ่งมากกว่าค่า  ของคะแนนก่อนเรียนซึ่งมีค่า 1.47 จึงเป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า คะแนนแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนจากการอ่านหนังสือส่งเสริมทักษะการอ่าน

 

อภิปรายผลการวิจัย

          จากการวิจัยสามารถอภิปรายผลได้ดังนี้

          1. นักเรียนได้ฝึกการอ่าน การแปลคำศัพท์ ไปพร้อมๆกับการซึมซับเรื่องราวของนิทาน

          2. นักเรียนได้ฝึกการทำงานเป็นทีม รู้จักแบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่ม

          3. นักเรียนรู้คำศัพท์เพิ่มขึ้น

 

ข้อเสนอแนะ

          1. อาจเพิ่มเวลาในการทำกิจกรรม ถ้านักเรียนอ่านและทำความเข้าใจเรื่องไม่ทัน

          2. ครูควรดูแล และให้คำปรึกษา ให้นักเรียนได้ลองหาคำศัพท์ด้วยตนเองก่อน

          3. สามารถใช้ได้กับทุกระดับชั้น โดยเลือกนิทานให้เหมาะสม


หมายเลขบันทึก: 638742เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2017 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2017 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงมากจากประสบการณ์ตรงของคุณครูเอง และสามารถเป็นแนวทางให้ครูท่านอื่นนำแนวทางนี้ไปใช้ได้ เป็นประโยชน์อย่างมากจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท