การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลต่อคุณภาพชีวิตบุคลากรในโรงพยาบาลบ้านตาก


 

(บทคัดย่อ/ปี 2549)

การวิจัย

การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลต่อคุณภาพชีวิตบุคลากรในโรงพยาบาลบ้านตาก   อำเภอบ้านตากจังหวัดตาก

เกศราภรณ์ ภักดีวงศ์ โรงพยาบาลบ้านตาก  ตาก

 

               ระบบประกันคุณภาพโรงพยาบาล ( Hospital Accreditation ) ในประเทศไทยได้มีการจัดตั้งภาคีความร่วมมือขึ้น  เพื่อทำให้เกิดการปฏิรูประบบบริการสุขภาพที่มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมโดยเน้นความสำคัญของการตอบสนองความต้องการของลูกค้า การปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ และการทำงานเป็นทีม สำหรับการพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาลบ้านตากได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2545 และผ่านการประเมินในปี 2547  ดังนั้นการค้นหาคำตอบจากผู้เกี่ยวข้องจะช่วยให้ทราบผลลัพธ์อันนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้  โดยที่การศึกษาครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาผลของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรใน 3 ระยะ คือ ก่อน ระหว่าง และหลังดำเนินการพัฒนาคุณภาพ

                     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)   การสนทนากลุ่ม  (Focus Group Discussion)   จำรวน 6 กลุ่ม ได้แก่ ทีมคร่อมสายงาน/หน่วยงาน  กลุ่มผู้ป่วยนอก /ใน Facilitator และรองผู้อำนวยการ จำนวน 22 และ 46 รายตามลำดับ พร้อมทั้งใช้วิธีสังเกตจากการปฏิบัติงานประจำ ได้จัดกลุ่มข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ทั้งวิธี Manual    และ Excel  ในการจัดเรียงข้อมูล   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงลึก  ( Content Analysis )  และตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า ( Triangulation )


              ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพชีวิตด้านร่างกายทั้ง 3 ระยะ ยังเห็นผลไม่ชัดเจนอาจเนื่องมาจากบุคลากรอยู่ในสายสุขภาพซึ่งมีพื้นฐานการดูแลร่างกายที่ดีอยู่แล้ว ส่วนคุณภาพชีวิตด้านจิตใจและสังคมจะเห็นว่าตอนทำใหม่ๆจะมีการต่อต้าน บุคลากรมีความเครียด บางรายอยากลาออกเนื่องจากมีการประชุมบ่อย ต้องทำเอกสารมากมายถึงกับทำนอกเวลาและนำกลับไปทำที่บ้าน แต่พอหลังผ่าน HA พบว่าเริ่มมองเห็นประโยชน์ที่ส่งผลทั้งผู้ป่วย องค์กรและตนเองความเครียดจึงลดลงทุกคนรู้สึกสบายๆ ตลอดทั้งยังมีบางกลุ่มได้นำประเด็นเครื่องมือคุณภาพกลับไปใช้ในชีวิตประจำวันอาจเนื่องมาจากความคุ้นเคยกับการคิดเชิงระบบและการตั้งจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนจากการปฏิบัติงาน นอกจากนี้มีข้อเสนอแนะ คือ

        - สำหรับผู้บริหารควรมีการสื่อสารอย่างทั่วถึง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ไม่ควรรับทีมดูงานมากเกินไป
        - สำหรับสถาบันและรับรองคุณภาพ ( พรพ. ) การสื่อสารควรใช้ภาษาที่ง่าย ควร แสดงความเป็นมิตรเพื่อทำให้เกิดความใกล้ชิดที่ส่งผลถึงการค้นหาประเด็นคุณภาพต่างๆ
     - ทีมประสานงานคุณภาพ  มีการให้กำลังใจทุกหน่วยอย่างทั่วถึง การเพิ่มองค์ความรู้ให้กับตนเอง การทำงานควรเป็นแนวทางเดียวกัน

สนับสนุนทุนพัฒนานักวิจัย โดย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ภายใต้โครงการพัฒนาต้นแบบการสร้างเสริมสุขภาพในบริบทพยาบาลชุมชน

 ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย


 

 

หมายเลขบันทึก: 63790เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท