พ่อ-แม่ หมดศรัทธา สถาบันโรงเรียนล้มสลาย


จาก บทความ ความหมายที่แตกต่างของโรงเรียนดี

https://www.gotoknow.org/posts/6131...

......วันนี้มีการสัมนา เพื่อประชาสัมพันธ์ โรงเรียนติวสอบเข้า ม.4 (ที่ไหนไม่ทราบ) การตลาด เพื่อเชินชวนให้ผู้ปกครอง นำลูกเข้าสมัคร.....ทำไมผมถึงว่าเป็นเช่นนี้ “พ่อ-แม่ หมดศรัทธา สถาบันโรงเรียนล้มสลาย”


......กล่าวคือ ตั้งแต่อนุบาล ตอนนี้ก็มาถึง ม.3 ขึ้น ม.4 ต้องมีการสอบแข่งขันเพื่อเข้า ม.4 กันอีกครั้ง ก็มีกลุ่มบุุคคลเห็นช่องทางทำกิน โดยไม่คำนึงถึงอะไร หรือความเสียหายของระบบโรงเรียน นั้นคือ การใช้การสัมนาผู้ปกครองทำลายความเชื่อมั่นของโรงเรียน ทำให้ผู้ปกครองหมดศรัทธาในระบบโรงเรียน


......เพียงให้ได้ทรัพย์สิน เงินทอง ทำลายระบบการศึกษา อย่างไร ? นั้นคือ ทำทุกอย่างให้ ผู้ปกครองเห็นว่า โรงเรียนที่ผู้ปกครองเลือกสรร ตั้งแต่ตอน ม.1 เรียนจนถึง ม.3 ซื่งผู้ปกครอง ณ เวลานั้น ได้พยายามค้นหาโรงเรียนที่ดี ที่มีความสามารถ มีชื่อเสียง โดยหวังว่าจะสอนให้ลูกตน มีความรู้มาก นำความรู้สอบเข้าในลำดับถัดๆไป(ม.4) แล้วจะเจริญก้าวหน้าในอนาคต ปรากฏว่าสิ่งที่เลือกโรงเรียนให้ลูกในเวลานั้น ซึ่งลูกเรียนอยู่ ณ เวลานี้ด้อยค่าอย่างสิ้นเชิง จำเป็นต้องติวเตอร์ เพื่อสามารถสอบเข้าโรงเรียนดีๆ อีกครับ


......ตัวบ่งชี้ที่ผมกล่าวว่า ผู้ปกครองหมดศรัทธาในระบบการศึกษา ในโรงเรียนที่ว่าดีที่สุด คือ จำนวนผู้ปกครองที่สนใจที่จะส่งลูกเข้าการเรียนติวเตอร์นั้นเอง ยิ่งผู้ปกครองเห็นว่าโรงเรียนที่ลูกเรียนอยู่ ณ ปัจจุบัน(ที่ว่าเลือกสรรมา)ไม่สามารถสอนหรือให้ความรู้แด่ลูกของตัวเองให้มีความรู้มาก และสามารถสอบได้ด้วยการเรียนเฉพาะในหลักสูตรเท่านั้น จำเป็นต้องหารเรียนติวเตอร์ เพื่อสอบแข่งขัน นั้นเอง


----จะโทษผู้เห็นช่องโห่วเพื่อทำมาหากินเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ สิ่งที่ต้องตระหนัก ได้แก่
**** โรงเรียนต้องตระหนักถึงว่า ทำไม ผู้ปกครองถึงคิดจะนำลูกไปติว โรงเรียนจำเป็นต้องหาช่องโหว่นั้น แล้วอุดให้ได้ นำศรัทธาของผู้ปกครองกลับมาให้ได้ ทำอย่างไรให้ผู้ปกครองเห็นว่า การเรียนการสอนที่จัดให้ลูกของท่านๆ เพียงพอที่จะได้ไปสอบแข่งขันให้ได้


****ระบบการสอบ กระบวนการออกข้อสอบ หรือกระบวนการวัดผล ของโรงเรียนนั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์แค่วัดผมการศึกษาของผู้เรียนเท่านั้น ต้องออกข้อสอบโดยมีวัตถุประสงค์อย่างน้อย 4 ประการ นั้นคือ


ประการที่ 1 เพื่อเป็น กุศโลบาย ทำอย่างไรให้นักเรียนอ่านหนังสือสอบ หาความรู้ให้มากที่สุดก่อนสอบ กล่าวคือ การสอบคือ กุศโลบายให้ ผู้เรียน อ่านหนักสือเพื่อให้มีความรู้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทบทวนการเรียน รวมถึงกระบวนการสืบค้น เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้นั้นอย่างไร เป็นการฝึกฝน ผมมักกล่าว เสมอว่า “ทำไม ตอนที่พวกคุณเรียนอนุบาล ครูให้หัดเขียน ก กี่ตัว เขียนตัวเดียวก็ ถือว่าเขียนได้แล้ว แต่ทำไมต้องให้เขียนเป็น ร้อยๆตัว เพราะต้องการให้ฝึกฝน เพื่อให้ได้มาซึ่งทักษะ...”


ประการที่ 2 เพื่อประเมินผู้เรียน เพื่อเป็นการวัดผลการเรียนรู้ของนักเรียน กล่าวคือ นักเรียนมีความรู้เพียงใด แค่ไหน อย่างไร และสิ่งสำคัญ ไม่ได้วัดเพื่อแข่งขันว่าใครจะเก่งกว่าใคร ใครจะมีคะแนนมากกว่าใคร แต่ต้องให้นักเรียนสอบเพื่อวัดแข่งขันกับตัวเอง วันนี้คะแนนเท่านี้ ครั้งหน้าต้องได้ดีกว่านี้ หลายท่านมักนำคะแนนลูกไปเทียบกับคนที่มีคะแนนสูงสุด โดยไม่เข้าใจเรื่องความแตกต่างของบุคคล แค่คะแนนลูกวันนี้ได้ไม่น้อยกว่าเดิมก็พอแล้วมั่ง ผมว่าน่ะ


ประการที่ 3 เพื่อประเมินครู การที่นักเรียนไม่สามารถทำคะแนนสอบได้ ก็อาจบอกได้ว่าครูสอนไม่เข้าใจ ตรงนี้สำคัญมาก ครูส่วนใหญ่เลิกพัฒนาการสอน สอนแบบนี้เดิมๆ ทุกห้องเหมือนกันหมด ซึ่งในความเป็นจริงควรต้องคำนึงถึง ความแตกต่างของบุคคลด้วย ความแตกต่างในบริบทของเวลา การประเมินนี้ไม่จะเป็นต้องประเมินเพียง 2 ครั้ง ตามภาคบังคับ กลางภาค และปลายภาค อาจต้องจัด 4-6 ครั้ง นอกเวลาเรียน เพื่อครูได้ประเมินการสอนของตัวเอง แล้วปรับให้เข้ากันนักเรียนในเวลานั้นๆ

ประการที่ 4 เพื่อประเมินผลผู้บริหารสถาศึกษา หากได้ผลคะแนนเฉลี่ยโดยรวมแล้ว สามรถเป็นกระจกสะท้อนให้ทราบว่าการบริการการศึกษา อันได้แก่

จุดที่ 1 การบริหารสถานที่ศึกษา เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ หรือสนับสนุนการเรียนรู้ ห้องสมุด สถานที่พักผ่อน บรรยากาศ ความปลอดภัย

จุดที่ 2 การบริหารบุคลากร ทางการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุง จะให้เป็นภาระต่อครูอย่างเดียวไม่ได้ ครูหากทำหน้าที่เล้วก็หนังมากเหมื่อนกันต้องการผู้สนับสนุน บุคคลาการผู้ช่วย รวมถึง คัด นักเรียนที่มีความเก่งมาเป็นผู้ช่วยครู ฝ่ายสนับสนุนการสอน

จุดที่ 3 การบริหารองค์ประกอบการสืบค้น ค้นหา เพื่อให้ได้มาซื่งตัวเอง หรือตัวตนนักศึกษา ส่วนหนึ่งก็คือการทำกิจกรรม อาจมีชมรมต่างๆ เป็นศุนย์การเรียนรู้ในสิ่งที่ชอบเหมือนๆ กันได้มาเรียนรู้แบ่งปันโดยไม่คำนึงถึงอายุ และระดับการศึกษา


จุดที่ 4 การบริหารระบบการสอน การสอนในระบบโครงการ ถ้าพูดถึงเรื่องนี้ผมเองเคยสอนแบบโครงการ การที่นักเรียนต้องทำรายงาน ต้องทำงานในวิชาต่างๆ วิชาล่ะอย่างก็น่าจะมากเกินไป แนวคิดของผมก่อนอื่นก็ขอประชุมครูผู้สอนในภาคเรียนนั้นๆ [หรืออาจนอกภาคเรียนก็ได้(ส่วนนี้ขอไม่กล่าวไว้ก่อน) ] พูดคุยกันแล้วให้งานนักศึกษาเพียงงานเดียว แต่ให้เข้ากับงานในวิชาที่เรียนในหลายๆ วิชา กล่าวคือ ทำงานเดียวแต่ส่งได้หลายวิชา เวลาส่งงานในแต่ล่ะวิชา ครูมีหน้าที่ให้ประเมินให้คะแนนเฉพาะในส่วนที่ครูสอนเท่านั้น......(ถ้าพูดต่อจะยาวมาก)


จุดที่ 5 ถ้าครูดี ลุกศษย์ก็ดีด้วย ทางกาย และจิตใจ ทั้งทางโรงเรียน และทางบ้าน (ไม่ขอก้าวร่วม) ผมเคยทำงานในโรงงาน การทำให้พนักงานมีความสุข ส่งผมให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ได้แค่ปริมาณ แต่ได้คุณภาพที่ดีด้วย........การทีพนักงานมีแต่เรื่องกลุ้ม กังวล จากทางบ้านก็ส่งผลเช่นกัน........


.........การเรียนมักลำดับเนื้อหา จะพื้นฐานสู่การนำไปใช้ กล่าวคือ เหมือนคนสร้างตึก เริ่มจากทำฐานล่าง ปรับพื้น ตอกเสาเข็ม แล้วขึ้นไปที่ล่ะชั้น นั้นหมายความว่า ฐานล่าง เสาเข็ม ต้องแข็งแรงพอที่จะรองรับชั้นถัดๆ ไป เหมื่อนเนื้อหาที่สอน ผู้เรียน เข้าในไม่มากเท่าที่ควร ก็ไม่ต่างกับ วิศวกรก่อสร้างคำนวนไว้ว่า ถ้าจะสร้าง 10 ชั้น ต้องตอกเสาเข็ม 20 ต้น แต่พอตอกจริง ได้แค่ 15 ต้น (ผู้เรียนเรียนรู้ได้ไม่ครบทวน) แต่ก็ยังก่อสร้างต่อ สุดท้ายก็ได้เท่าที่ตอกไว้ 15 ต้น สร้างต่อก็ถล่อมลงมา(ผู้เรียนถอดใจเลิกเรียนต่อ)......


ยาวไปแล้ว ว่าจะเขียน คงเป็นโอกาสหน้าน่ะครับ สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 637661เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2017 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2017 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท