อาหารต้านมะเร็ง โดย ไพศาล เลาห์เรณู บทที่ ๙ สรุป



 

บทที่ สรุป

        การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ เป็นความจริงที่ทุกคนฝันหา ความฝันนี้จะเป็นจริงขึ้นได้เมื่อทุกคนรู้จักใช้วิถีชีวิต (life-style) อย่างถูกต้อง อาหารเป็นส่วนสำคัญของชีวิตที่จะช่วยป้องกันหรือรักษาโรคหลายชนิดได้ ขณะเดียวกันอาหารหรือองค์ประกอบอาหารหลายชนิดไม่มีประโยชน์หรืออาจเป็นภัยต่อสุขภาพ จึงจำเป็นต้องรู้จักการเลือกอาหารที่มีคุณภาพทั้งทางโภชนาการและสุขภาพอนามัย หนังสือคู่มือเล่มนี้จะช่วยให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่มีความรู้ทางวิชาการ ได้เข้าใจถึงประโยชน์ของอาหารมากมายหลายชนิดที่อยู่ใกล้ตัวเรา ที่มีสรรพคุณป้องกันโรคหลายชนิดโดยเฉพาะมะเร็งที่เป็นโรคร้ายแรงพล่าชีวิตประชากรไทยไม่ต่ำกว่า 70,000 คนต่อปี หนังสือนี้เขียนตามปรัชญา “กันดีกว่าแก้” เพื่อใช้อาหารป้องกันไม่ให้เกิดหรือยืดเวลาการเกิดเป็นมะเร็งให้ออกนานที่สุด เพื่อประโยชน์ต่อคนทั่วไปที่สุขภาพยังดีอยู่ จะได้รู้วิธีป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งแล้วจะทดลองกินอาหารตามรายละเอียดในหนังสือนี้ก็ได้ แต่อาจไม่ได้ผลดีเท่ากับผู้ที่ไม่เป็นมะเร็ง ดังนั้นอาหารมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อสุขภาพ สมกับคำพังเพยภาษาอังกฤษว่า “You are what you eat” หรือ “กินอะไรก็จะได้อย่างนั้น” จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับคนไทยในการเลือกทานอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายโดย เฉพาะอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสสระสูงเพื่อช่วยต้านทานโรคโดยเฉพาะมะเร็ง

 


กิตติกรรมประกาศ

        ขอขอบคุณ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ที่กรุณาแนะนำและเผยแพร่หนังสือคู่มือนี้ทาง บล็อก Gotoknow ของท่าน ขอบคุณ ศ.นพ. บูรณะ ชวลิตธำรง  ศ.นพ. ธนิต วัชรพุกก์ และ ศ.นพ. วรวิทย์ เลาห์เรณู ที่แนะนำข้อมูลทางวิชาการ และขอบคุณ คุณแววรวี สังขพงศ์ และคุณวนิดา เลาห์เรณู ที่ช่วยแนะนำภาษาไทยที่ผู้เขียนไม่ได้เขียนเป็นเวลาหลายสิบปี

 


เกี่ยวกับผู้เขียน

        ไพศาล เลาห์เรณู จบปริญญาตรีทางเคมีจาก Whittier College, Whittier, California, USA เริ่มเข้ารับราชการ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติในปีพ.ศ. 2507 ได้รับทุนมูลนิธิ Fulbright และทุนทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ศึกษาจบปริญญาโททาง Food Technology จาก Virginia Polytechnic Institute (ปัจจุบัน Virginia Tech University), Blacksburg, Virginia, USA ปีพ.ศ. 2512 ได้รับประกาศนียบัตรการฝึกอบรมอาหารฉายรังสี Massachusetts Institute of Technology (MIT) ในปีเดียวกัน ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สำนักงานพลังงานปรมาณูฯปี.ศ. 2514 ได้รับเลือกจาก FAO และ IAEA ให้เข้าปฏิบัติงานด้านอาหารฉายรังสี Joint FAO/IAEA Division of Nuclear Techniques in Food and Agriculture, Vienna, Austria ในปีพ.ศ. 2517 ต่อมาได้รับเลือกให้เป็น Head, Food Preservation Section, Joint FAO/IAEA Div. ในปีพ.ศ. 2528 หลังจากนั้นในปีพ.ศ. 2540 ได้รับหน้าที่เพิ่มขึ้นจึงได้เป็นหัวหน้าหน่วยงานใหม่ชื่อ Food and Environmental Protection Section โดยขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ Head, Secretariat ให้กับ FAO, IAEA และ WHO ในโครงการระหว่างประเทศของทั้ง 3 องค์การ ในการพัฒนางานด้านอาหารปลอดภัย (food safety) อาหารอุดมสมบูรณ์ (food security) และการค้าอาหาร (food trade) โดยเฉพาะการใช้เทคนิคนิวเคลียร์ ตั้งแต่ปี 2528 จนเกษียณอายุ จากประสบการณ์ดังกล่าว ไพศาล เลาห์เรณูได้รับแต่งตั้งเป็น Adjunct Prof. of Food Safety, Michigan State University, E. Lansing, MI, USA ระหว่างปี 2546-2554

 

หมายเลขบันทึก: 637582เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2017 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2017 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you Professor ไพศาล เลาห์เรณู for this valuable and life saving book.

I am now looking for the whole book in pdf or other digital form that is suitable for reading on mobile phones. I also think a 2-page summary (in brochure or sheetsheet format) would also be 'a gift of life' for most people in rural areas, and/or in Internet poor areas.

Cancer may not be a contagious dis-ease, but cleaning environmental carcinogens and free radicals from our living space may help us stay clear of cancer

Anyone interested in translating this book into other ASEAN languages? I think Professor ไพศาล เลาห์เรณู would appreciate the help in this direction.


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท