การใช้อาวุธปืนของเจ้าพนักงานเรือนจำเอกชน


เจ้าพนักงานเรือนจำเอกชน สามารถ พก และ ใช้อาวุธปืน (firearms) ในขณะปฏิบัติหน้าที่ได้ เช่นเดียวกันกับเจ้าพนักงานเรือนจำของรัฐ.....


ประเด็นปัญหาการใช้อาวุธปืนในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานเรือนจำเอกชน สามารถกระทำได้เช่นเดียวกันกับเจ้าพนักงานเรือนจำของรัฐหรือไม่ ประเด็นปัญหา ดังกล่าว ได้ตกผลึกเมื่อคณะทำงานด้านความยุติธรรมทางอาญาของ ALEC (ALEC’s Criminal Justice Task Force) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า คณะมนตรีความมั่นคงสาธารณะและการเลือกตั้ง (the Public Safety and Elections Task Force) ของสภานิติบัญญัติแห่งสหรัฐอเมริกา  (The American Legislative Exchange Council (ALEC)) ได้ยกร่างพระราชบัญญัติเรือนจำเอกชน ฉบับที่ พ.ศ. …. ส่วนที่ ๕ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการฝึกอบรมพนักงาน (Employee training requirements) ความว่า

(A) “.....เจ้าพนักงานเรือนจำเอกชนจะได้รับอนุญาตให้พกและใช้อาวุธปืน (firearms) ในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการเฉพาะหลังจากที่สำเร็จการฝึกอบรมในการใช้อาวุธปืน เทียบเท่ากับของกรมราชทัณฑ์ หรือ กรมการแก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพ (the state Department of Rehabilitation and Corrections (DOC))….”

(B) เจ้าพนักงานเรือนจำเอกชนที่ได้รับการพิจารณาให้ทำงานโดยบริษัทเรือนจำเอกชนจะต้องผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และ สารเสพติด

(C) ในขณะที่ได้รับการว่าจ้างโดยบริษัทเรือนจำเอกชนเจ้าพนักงานเรือนจำเอกชนอาจต้องผ่านการคัดกรองยาเสพติดแบบสุ่ม และ การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมแบบสุ่ม และ การจ้างงานต่อเนื่องอาจเป็นผลเนื่องมาจากการตรวจเช็ค และ คัดกรอง ดังกล่าว

มาตรา ๖ (เจ้าพนักงานเรือนจำเอกชน)

(A) หลังจากผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าพนักงานเรือนจำเอกชนสามารถใช้กำลังกับผู้ต้องขังในเรือนจำเอกชนได้เช่นเดียวกับเจ้าพนักงานของกรมราชทัณฑ์ หรือ กรมการแก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพ


โดยสรุป

ร่างพระราชบัญญัติเรือนจำเอกชน ฉบับที่ พ.ศ. .......ที่นำเสนอในบทความนี้ เป็นร่างกฎหมาย ที่ยกร่างโดยคณะทำงานด้านความยุติธรรมทางอาญา / คณะมนตรีความมั่นคงสาธารณะและการเลือกตั้ง ของสภานิติบัญญัติแห่งสหรัฐอเมริกา  (The American Legislative Exchange Council (ALEC)) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (nonprofit organization) ทำหน้าที่ในการยกร่างกฎหมายของรัฐบาลกลาง และ รัฐบาลมลรัฐ ให้กับสมาชิกสภานิติบัญญัติ และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมีเนื้อหาสาระที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ร่างพระราชบัญญัติเรือนจำเอกชน เรื่อง การใช้อาวุธปืนของเจ้าพนักงานเรือนจำเอกชน  (ปี ๑๙๙๘) ดังความที่ปรากฏอยู่ในร่างพระราชบัญญัติเรือนจำเอกชน ฉบับที่ พ.ศ. .......  ข้อ ๕ (A) ข้อกำหนดเรื่องการฝึกอบรมพนักงาน (Employee training requirements) ได้กำหนดให้ “.....เจ้าพนักงานเรือนจำเอกชนสามารถพกและใช้อาวุธปืน (firearms) ในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ เช่นเดียวกันกับเจ้าพนักงานเรือนจำของรัฐ.....”

.............................

 

อ้างอิง

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.sourcewatch.org/ind...ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ https://en.wikipedia.org/wiki/...  และ เว็บไซต์ http://www.pbs.org/wgbh/frontline/article/map-the-u-s-immigration-detention-boom/


หมายเลขบันทึก: 636646เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2017 06:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2017 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในเมืองไทยมีเรือนจำเอกชนหรือไม่จ๊ะ

ขอบคุณที่นำความรู้ดี ๆ มาแบ่งปันกันจ้ะ

The inclination for arms in USA (where 'carrying guns' is a right') is not quite translational to Thailand and other countries (where 'arms' are generally prohibited). There are also 'circumstances' that determine if use of arms is not just legal but also 'justified'.

So 'use of arms can be legal' but 'use of arms MUST be justified' too.

(Polliticians often say they can do xyz because the laws allow, they forget the 'second clause' that they can only do xyz when it is justified -- ie. necessary, beneficial, appropriate, ... by 'cultural standard/norm'. Political corruption is corrution of justification!)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท