โครงงานวัยรุ่รห่างไกลจากยาเสพติด



ประวัติของยาเสพติด

        ยาหรือสารที่ถูกนำมาใช้อย่างผิด ๆ หรือเสพติดมีใช้กันมานาน ตั้งแต่มนุษย์เริ่มค้นพบพืชซึ่งเมื่อเสพเข้าไปแล้วทำให้ ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป ในสมัยโบราณยาหรือสารเหล่านี้มักจะใช้ในพิธีทางศาสนา เช่น ผู้ทำพิธีทางศาสนา ของชาวอินเดียแดงในอเมริกากลาง ใช้ต้นไม้จำพวกกระบองเพชรซึ่งมีสารหลอนประสาท ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนเห็นภาพต่าง ๆ และเข้าใจว่าตนสามารถติดต่อกับวิญญาณหรือเทพเจ้าได้ ชาวอินเดียนแดงเผ่าอินคา (Incas) ในอเมริกาใต้เคี้ยวใบโคคา (COCA) ซึ่งมีโคเคน โดยถือว่าเป็นของขวัญที่พระเจ้าประทานให้ แต่แรกใบโคคานี้ใช้เฉพาะในหมู่พวกกษัตริย์ของเผ่า แต่ต่อมาเมื่อประเทศสเปนเข้าครอบครองชนเหล่านี้ ใบโคคาก็ถูกนำมาใช้ในหมู่ชาวอินเดียนแดงทั่วไปเพื่อช่วยให้พวกเขามีกำลังทำงานหนักรับใช้ชาวสเปนได้ เมื่อวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าขึ้นยาหรือสารเสพติดก็เพิ่มปริมาณและชนิดขึ้น และมีการนำมาใช้อย่างผิด ๆ หรือเสพติดกันมาก ตัวอย่างเช่น ฝิ่น เป็นที่รู้จักและจำหน่ายมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาลโดยชาวเมโสโปเตเมีย (๕,๐๐๐ ปีก่อนคริสตศักราช) และแพร่หลายและรักษาโรคบางอย่าง เช่น โรคบิด โรคติดสุรา ฯลฯ ได้ นานทีเดียวกว่าอังกฤษจะรู้ฤทธิ์ในการเสพติดของฝิ่น และเมื่อนั้นฝิ่นก็ถูกนำไปใช้เพื่อการเสพติด โดยอังกฤษพยายามนำเอาไปแพร่ ในเมืองจีนเพื่อให้ชาวจีนติดฝิ่น และตนเองผูกการค้าฝิ่นแต่ผู้เดียว จนกระทั่งเกิดสงคราม ฝิ่นกับประเทศจีนในปี ค.ศ.๑๘๓๙ - ๑๘๔๒

 

ระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๖๐ - ๑๙๗๐ ยาหลอนประสาทเริ่มถูกนำมาใช้และใช้มากหลัง ค.ศ. ๑๙๗๐ ผู้เสพส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันวันรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางโดยเริ่มจาก แอลเอสดี ซึ่ง Hofmannเป็นผู้ค้นพบในปี ค.ศ.๑๙๕๓ เนื่องจากแอลเอสดีทำให้เกิดอาการล้าย วิกลจริต จึงมีนักจิตวิเคราะห์บางคนนำมาใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วนด้วย เพราะคิดว่ายานี้จะช่วยกำจัด "Repression" ให้หมดไป ด้วยเหตุที่ยานี้ผลิตง่ายปัจจุบันจึงเป็นปัญหามากในเมริกา เนื่องจากกัญชาซึ่งเป็นยาช่วยให้ผู้เสพรู้สึกเป็นสุขและความรู้สึกไวขึ้น เป็นยาที่หาได้ง่าย จึงมีการลักลอบใช้อย่างผิดกฎหมายกันมาในเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๖๐ เป็นต้นในยุโรปก็เช่นกัน เพิ่งจะมีการใช้กัญชาในเวลาไล่เลี่ยกันนี้ โดยทหารของกษัตรย์นโปเลียนเป็นผู้นำมาจากประเทศอียิปต์ทั้ง ๆ ที่กัญชาเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในประเทศอินเดียและประเทศในเอเชียตะวันออกกลางมาก่อนหลานศตวรรษ

ถ้าจะนับตามจำนวนผู้เสพติดหรือผู้ใช้ยาอย่าง ๆ ผิด ๆ สุราและบุหรี่ น่าจะเป็นสาระสำคัญของปัญหานี้ แต่เนื่องจากราคาย่อมเยา สามารถหามาเสพได้ง่ายกว่า และไม่ผิดกฎหมาย ทำให้สาร ๒ ชนิดนี้ ดูจะไม่มีความสำคัญเท่าใดนัก แต่กัญชา ยาหลอนประสาท และเฮโรอีน จำนวนผู้ใช้และผู้เสพติดน้อยกว่ากลับเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฮโรอีนกำลังเป็นปัญหามากในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ทั้งนี้เพราะเป็นสารซึ่งมีราคาแพงและผิดกฎหมาย ทั้งอำนาจในการเสพติดก็สูงและวิธีบางวิธียังอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพจึงก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการแพทย์ จนต้องจัดเป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศอย่างหนึ่งที่ต้องรีบแก้ไข

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยาบ้า

ความหมายของยาเสพติดให้โทษ

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ กำหนดความหมายของคำว่า ยาเสพติดให้โทษ ไว้ดังนี้ คือ สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธี รับประทาน ดม สูบ หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น

ผู้ที่เสพยา ต้องเพิ่มขนาดการเสพติดมากขึ้นเป็นลำดับ

ผู้ที่เสพยา จะเกิดอาการถอนยา เมื่อหยุดใช้ยา หรือขาดยา

ผู้ที่เสพยา จะเกิดความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา

ผู้ที่เสพยา จะมีสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง

หรือกล่าวได้ว่าเป็นยาหรือสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ที่ผู้นั้นใช้อยู่ประจำแล้วยาหรือสารนั้นทำให้มีความผิดปกติที่ระบบประสาทกลางซึ่งจะถือว่าผู้นั้นติดยากเสพติด ถ้ามีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย ๓ ประการคือ

หรือกล่าวได้ว่าเป็นยาหรือสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ที่ผู้นั้นใช้อยู่ประจำแล้วยาหรือสารนั้นทำให้มีความผิดปกติที่ระบบประสาทกลางซึ่งจะถือว่าผู้นั้นติดยากเสพติด ถ้ามีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย ๓ ประการคือ ผู้ป่วยจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ยาหรือสารนั้นมาไว้ แม้เป็นวิธีที่ผิดกฎหมาย เช่นลักขโมยก็จะทำ

ผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติงานตามปกติได้เนื่องจากมีอาการพิษหรืออาการขาดยาหรือสารนั้น

พฤติกรรมของผู้ป่วยเปลี่ยนไป เช่น หยุดงานบ่อย หรือไม่เอาใจใส่ครอบครัว

ผู้ป่วยต้องเสพยาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

 

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้านภัยยาเสพติด

ประเภทของยาเสพติด

          ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ แบ่งยาเสพติดให้โทษออกเป็น ๕ ประเภทดังนี้ คือ

- ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน อีทอร์ฟีน อะซีทอร์ฟีน ฯลฯ (จัดเป็นยาเสพติดให้โทรษชนิดร้ายแรง) - ประเภทที่ ๒ ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเดอีน ไดฟีน๊อคซีเลท เอธิลมอร์ฟีน ฯลฯ (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษทั่วไป) - ประเภทที่ ๓ ได้แก่ ยาแก้ไอ แอแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่น โคเดอีน หรือไดฟีน๊อคซีเลทเป็นส่วนผสม ฯลฯ (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยา ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ปรุงผสมอยู่ด้วย) - ประเภทที่ ๔ ได้แก่ อะเซติคแอนไฮไดรด์ อะเซติลคลอไรด์ (จัดเป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ หรือประเภท ๒) - ประเภทที่ ๕ ได้แก่ พืชกัญชา พืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในประเภท ๑ ถึงประเภท ๔) 2. ตามวิถีการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ ออกฤทธิ์กดประสาท (Depressants) พวกนี้จะออกฤทธิ์กดประสาทสมองศูนย์ควบคุมการหายใจในสมอง และประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะบางอย่างของร่างกาย ยาพวกนี้ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และเซโคบาร์บิทาล (Secobarbital) ซึ่งเรียกกันในหมู่ใช้ว่า "ปีศาลแดง" หรือ "เหล้าแห้ง" ไดอะซีแพม ทินเนอร์ กาว ฯลฯ

ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (Stimulants) จะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทสมองส่วนกลางโดยตรง กระตุ้นการเต้นของหัวใจ และอารมณ์ด้วย เช่น แอมเฟตามีน (Amphetamine) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ยาม้า" หรือ "ยาขยัน" อีเฟดรีน โคเคน ฯลฯ ออกฤทธิ์หลอนประสาท (Hallucinogen) จะออกฤทธิ์ต่อประสาทสมอง ทำให้มีการรับรู้ความรู้สึก (Perception) ผิดไป เกิดอาการประสาทหลอน หรือแปลสิ่งเร้าผิด (illusion) ได้แก่ แอลเอสดี (Lysergicacid dietyhlamide) แกสโซลีน (Gasoline) เปลือกกล้วย ยางมะละกอ และ แฟนไซคลิดีน (Phencylidine) ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย ฯลฯ ออกฤทธิ์ผสมผสานกัน คือ ออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาท และหลอนประสาท ได้แก่ กัญชา ใบกระท่อม เมื่อใช้น้อย ๆ จะกระตุ้นประสาท หากใช้มากขึ้นจะกดประสาทและถ้าใช้มากขึ้นอีกก็จะเกิดประสาทหลอนได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) แบ่งยาหรือสารเสพติด ออกเป็น

          - ประเภทฝิ่น หรือมอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทธีดีน - ประเภทบาร์บิตูเรต รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน เช่น เซโคบาร์บิตาล อะโมบาร์บิตาล พาราลดีโฮด์ เมโปรมาเมต ไดอะซีแพม คลอดไดอะซีป๊อกไซด์ - ประเภทแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้

          – ประเภทแอมเฟตา   มีน เช่น แอมเฟตามีน (ยาม้า) เดซ์แอมเฟตามีน - ประเภทโคเคน เช่น โคเคน ใบโคคา - ประเภทกัญชา เช่น ยอดช่อดอกกัญชาตัวเมีย - ประเภทคัด (KHAT) เช่น ใบคัด ใบกระท่อม - ประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เมสคาลีน เมล็ดมอร์นิ่งโกลลี่ ลำโพง เห็นเมาบางชนิด - ประเภทอื่น ๆ เป็นพวกที่ไม่สามารถจัดเข้าประเภทได้ เช่น ทินเนอร์ เบนซีน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด บุหรี

นอกจากนั้นทางกฎหมาย ยังได้กำหนด "วัตถุออกฤทธิ์" ซึ่งตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แบ่งวัตถุออกฤทธิ์ ออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้

          ประเภทที่ ๑ เช่น อีอีที (DET) แอลเอสดี (LSD) ๓-๔ เมทิลลินไดออกซิเมท แอมเฟตามีน (๓,๔ - methylenedioxymethamphtamine, MDMA

          ประเภทที่ ๒ เช่น แอมเฟตามีน (Amphetamine) เซโคบาร์บิตาล (Secobarbital) เลโวเมทแอมเฟตามีน (Levomethamphetamine)

          ประเภทที่ ๓ เช่น อะโมบาร์บิตาล (Amobarbital) ไซโคลบาร์บิตาล (Cyclobarbital) คาทิน (Cathine)

           ประเภทที่ ๔ เช่น แอมฟรีพราโมน (Amfepramone) บาร์บิตาล (Barbital) โพโรวาเลโรน (Pyroalerone

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยาเสพติด

 

ยาเสพติดชนิดต่าง ๆ ที่แพร่ระบาดในสังคมไทย

          มอร์ฟีน (MORPHINE)

          โฮโรอีน (HEROIN)

          โคเคน (COCAINE)

          กัญชา (CANNABIS)

          กระท่อม (KRATOM)

          เห็ดขี้ควาย (PSILOCYBE CUBENSIS MUSHROOM)

          แอมเฟตามีน (AMPHETAMINE)

          อีเฟดรีน (EPHEDINE)

          แอลเอสดี (LSD)

          บาร์บิทูเรต (BARBITIRATE)

          สารระเหย (VOLATILE SOLVENT)

          สุรา (Alcohol)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทำดีเพื่อพ่อ

          บัญญัติ 10 ประการ ยาเสพติด

1. ยาเสพติดให้โทษ คือ อะไร

          ยาเสพติดให้โทษตามความหมายของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2552 หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลงจนถึงขั้นเสียชีวิต

2. การใช้ยาเสพติดมีอันตรายอย่างไร

            การใช้ยาเสพติดมีอันตรายต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้

             1. ทำลายสุขภาพให้ทรุดโทรม น้ำหนักลด ผิวคล้ำ ร่างกายซูบผอม

             2. เป็นบุคคลไร้สมรรถภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อารมณ์ไม่ปกติ เฉี่อยชาเกียจคร้าน

             3. เสียบุคลิกภาพ ขาดความสนใจในตัวเองมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

             4. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่ายเพราะการควบคุมทางกล้ามเนื้อและระบบประสาทบกพร่อง

             5. เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายเพราะความต้านทานโรคน้อย ติดเชื้อง่าย

3. จะสังเกตุอาการผู้ติดยาเสพติดได้อย่างไร

           ยาเสพติดเมื่อเกิดการเสพติดแล้ว จะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจซึ่งทำให้ลักษณะและความประพฤติของผู้เสพเปลี่ยนไปจากเดิมที่อาจสังเกตพบได้คือ

           1. ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม

           2. อารมณ์ฉุนเฉียว หรือเงียบขรึมผิดปกติจึงมักพบผู้เสพติดชอบทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกันบางคนอาจชอบแยกตัวอยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง

           3. ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่าผลการเรียนแย่ลงถ้าเป็นคนทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย

           4. ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านในหรือรอยกรีดต้นแขน

ด้านใน

           5. ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆ ใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ

           6. ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด

          7. ขโมย ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด

          8. ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง

 

4. จะสังเกตุอาการคนเมายาบ้าได้อย่างไร

         ผู้ที่เสพยาบ้าเป็นประจำ จะส่งผลให้ผู้เสพมีระบบประสาทผิดปกติเมื่อถึงจุดหนึ่งจะเกิดอาการหูแว่ว ประสาทหลอน หวาดระแวง จนเกิดความเครียดคิดว่าจะมีคนมาฆ่า หรือทำร้าย บางรายกลัวมากต้องหาอาวุธไว้ป้องกันตัวหรือคลุ้มคลั่งจับตัวประกัน ซึ่งอาจสังเกตอาการของคนเมายาบ้า ได้ดังนี้

          1. อยู่ไม่สุข ลุกลี้ลุกลน กระสับกระส่าย

          2. หวาดกลัว และระแวงอยู่ตลอดเวลา

          3. สีหน้าเลื่อนลอยเหมือนคนไม่ได้นอนหลับพักผ่อน

          4. เนื้อตัวสกปรก มอมแมม

5.ถ้าบุตรหลานหรือบุคคลในครอบครัวของท่านติดยาเสพติดควรทำอย่างไร

          โดยหลักการตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 แล้วผู้เสพยาเสพติดมีสภาพเป็นผู้ป่วยอย่างหนึ่งมิใช่อาชญากรปกติการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ติดยาเสพติดจึงสมควรกระทำให้กว้างขวาง

          ถ้าบุตรหลานหรือบุคคลในครอบครัวของท่านติดยาเสพติดท่านสามารถช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้นได้ก่อนถูกจับกุมดำเนินคดีโดยขอรับคำปรึกษาจากสถานที่ให้คำปรึกษา และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดได้แก่โรงพยาบาลของรัฐ เช่น รพ.ธัญญารักษ์, รพ.พระมงกุฏเกล้า, รพ.ตำรวจ, รพ.จุฬาลงกรณ์,รพ.ราชวิถี, รพ.ตากสิน, รพ.ทหารผ่านศึก , รพ.นพรัตน์ราชธานี เป็นต้นโรงพยาบาลประจำจังหวัดทุกจังหวัด และศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดต่างๆ ฯลฯ

6.หากผู้ปกครองปล่อยปละละเลยให้บุตรหลานเสพยาเสพติดให้โทษผู้ปกครองมีความผิดหรือไม่

          ผู้ปกครองมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนดูแลเอาใจใส่เด็กในความปกครองให้ประพฤติตนให้เหมาะสมหากผู้ปกครองรายใดไม่ดูแลเอาใจใส่ เป็นเหตุให้เด็กประพฤติ ตนไม่สมควรมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำความผิด เช่น เสพยาเสพติดให้โทษ เป็นต้นผู้ปกครองอาจจะมีความผิดถึงรับโทษจำคุกไม่เกิน 3เดือน หรือปรับไม่เกิน สามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 4,26,78

ประกอบกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด พ.ศ.2549 ลงวันที่ 8 ส.ค.49

         ผู้ปกครองจึงไม่ควรสนับสนุนหรือยินยอมให้บุตรหลานของท่านเที่ยวเตร่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมเช่น สถานบริการกลางคืน สถานที่เสี่ยงภัยต่างๆ

7.ท่านหรือบุตรหลานของท่านไม่ยินยอมให้ตรวจปัสสาวะได้หรือไม่และมีโทษหรือไม่ อย่างไร

         บุคคลใดมีพฤติการณ์น่าสงสัยว่าเสพยาเสพติดเจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้บุคคลใดรับการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดจากปัสสาวะได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 มาตรา 14 ทวิประกอบประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ลง 11ก.ค.43 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่

         บุคคลใดไม่ยินยอมให้ตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดจากปัสสาวะต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด พ.ศ.2519 มาตรา 16

         ดังนั้นจึงควรระมัดระวังมิให้บุตรหลานของท่านเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดตามสถานบริการต่างๆโดยเด็ดขาด

8. สถานประกอบการประเภทใดที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด และต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างไร

         มีสถานประกอบการ 6 ประเภทที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพ.ศ.2519 มาตรา 13 ทวิ ประกอบ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2543) ณ วันที่ 16 ส.ค.43 เรื่องกำหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ได้แก่

        1. ปั๊มน้ำมัน

        2. ปั๊มก๊าซ

        3. สถานบริการต่างๆ

        4. ที่พักอาศัยในเชิงพาณิชย์ประเภท หอพัก อาคารชุด หรือเกสเฮ้าส์ ที่ให้ผู้อื่นเช่า

        5. โต๊ะบิลเลียตหรือสนุกเกอร์ ที่เก็บค่าบริการจากผู้เล่น

        6. โรงงาน

        เจ้าของสถานประกอบการทั้ง 6 ประเภท มีหน้าที่ควบคุม สอดส่อง ดูแลไม่ให้พนักงานหรือบุคคลภายนอกมามั่วสุมกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในหรือบริเวณสถานประกอบการ และต้องจัดให้มีป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติดหรืออัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดพ.ศ.2519 มาตรา 13 ทวิ ประกอบประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ณ วันที่ 16 ส.ค.43 เรื่องกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ

        หากปล่อยปละละเลยหรือละเว้นไม่ติดป้ายหรือประกาศเตือนดังกล่าว อาจถูกปรับเป็นเงินหนึ่งหมื่นบาทหรือสามหมื่นบาท หรือห้าหมื่นบาท แล้วแต่กรณี ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบรามยาเสพติดพ.ศ.2519 มาตรา 13 ตรีประกอบระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดว่าด้วยการตักเตือนการเปรียบเทียบปรับ และการปิดชั่วคราวสถานประกอบการหรือการพักใช้ใบอนุญาตประกอบการพ.ศ.2545 ณ วันที่ 12 ธ.ค.45 ข้อ 17

9. หากพบการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการเจ้าของสถานประกอบการมีความรับผิดตามกฎหมายยาเสพติดหรือไม่ อย่างไร

        ถ้ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการทั้ง 6 ประเภท โดยเจ้าของสถานประกอบการไม่สามารถชี้แจงหรือพิสูจน์การใช้ความระมัดระวังได้สถานประกอบการนั้นอาจถูกสั่งปิดชั่วคราวหรือพักใช้ใบอนุญาต มีกำหนด 7 วันตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519มาตรา 13 ตรีประกอบระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดว่าด้วยการตักเตือนการเปรียบเทียบปรับและการปิดชั่วคราวสถานประกอบการหรือการพักใช้ใบอนุญาต ประกอบการ พ.ศ.2545 ณ วันที่ 12 ธ.ค.45 ข้อ 18

10. ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างไร

        ถ้าพบแหล่งจำหน่าย พักยา มั่วสุม หรือเสพยาเสพติดหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดท่านมีส่วนช่วยเหลือสังคมในการป้องกันและปราบปรามได้โดยแจ้งให้หน่วยราชการต่อไปนี้ทราบ

 

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คำคม ต้านยาเสพติด

 

คำสำคัญ (Tags): #โครงงาน
หมายเลขบันทึก: 635358เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2017 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2017 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท