จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง PSB...


มีโอกาสได้ทำความรู้จักกับ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"พร้อมทั้งได้ศึกษาและทดลองใช้ประโยชน์ โดยได้รับคำแนะนำจากผู้คนมากมายจากโลกอันกว้างใหญ่ผ่านระบบ Internet จากวันนั้นถึงวันนี้ ทำให้ได้รับรู้และพิสูจน์ทราบได้ในบางเรื่องเกี่ยวกับ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"จึงขอนำเอามาบันทึกเอาไว้เพื่อแบ่งปันให้กับผู้ที่สนใจ และต้องขอขอบคุณบทความดี ดี จาก คุณเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ที่ได้เขียนเอาไว้ พร้อมทั้งขอขอบคุณ G2K ที่ช่วยเป็นสื่อกลางในการส่งต่อเรื่องราวดี ดี เหล่านี้ออกไปยังผู้คนที่สนใจ มา ณ โอกาสนี้ด้วยนะคร้าบ....

                                                            -ขอนำเสนอเรื่องราวต่อจากบันทึกนี้ รากแก้วของชีวิต...นาดำ..ดำนา... มาให้ผู้อ่านได้ร่วมติดตามไปพร้อม ๆ กันเลยนะครับ...สำหรับวันนี้ผมจะขอนำเสนอเรื่องราวของ"จุลินทรีย์สังเคราห์แสง"ครับ ผู้อ่านบางท่านอาจจะเคยทำความรู้จักกับ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"กันมาบ้างแล้วก็เป็นได้ แต่สำหรับผมแล้วได้รู้จักและทำความคุ้นเคยกับเจ้า"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"มาสักพักใหญ่ๆ แล้วล่ะครับ และด้วยความสงสัยในประโยชน์ของ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"นั้นมีค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงต้องขอนำเอาไปใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเองก่อน พร้อมกับเรียนรู้ประสบการณ์จากผู้ใช้ผ่าน Internet ที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างมากมาย มาถึงวันนี้พร้อมผมพร้อมแล้วครับ ที่จะนำเอาเรืื่องราวของ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"มาบอกต่อและเล่าเรื่องราวของประสบการณ์ที่ได้เกิดขึ้นกับตนเองมาแบ่งปัน ณ พื้นที่ออนไลน์ G2K แห่งนี้ครับ..เอาเป็นว่าพร้อมแล้วตามผมไปเรียนรู้เรื่องของ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"ไปพร้อมๆ กันได้เลยคร้าบ!!!!!

1.และนี่ก็คือหน้าตาของ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"หรือบางคนอาจจะเรียกว่า"จุลินทรีย์สีแดง"หรือมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกก็เป็นได้ครับ....สำหรับผมแล้วได้ทำความรู้จักกับเจ้า"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"มาประมาณ 1 ปีเศษ โดยมีคนข้างกาย"มดตะนอย"ได้นำหัวเชื้่อมาจากพี่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร นามว่า"ลุงไก่ หรือ นายเชาว์ริก  ครุธอินทร์ ครับ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชรครับ....ในตอนแรกนั้นเธอได้บรรยายสรรคุณของ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"ให้ผมได้ฟัง พร้อมทั้งบอกวิธีต่อเชื่อ"จุลินทีย์สังเคราะห์แสง"ให้ผมได้รับรู้ด้วย ซึ่งในตอนนั้น ตัวผมเองก็ยังไม่ได้สนใจอะไรมากนัก เพราะยังไม่ได้นำไปทดลองใช้นั่นเองครับ แต่ก็เฝ้าสังเกตุความเปลี่ยนแปลงของสีในขวดที่เธอได้วางเอาไว้ตรงลานหน้าบ้าน และในช่วงเช้าและเย็นเธอก็เดินไปเขย่าขวดและก็ตากแดดไว้ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ น้ำในขวดก็เปลี่ยนสีเป็นสีแดงเข้มขึ้นเรื่อยๆ ครับ และด้วยความสงสัยใน"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"ตัวผมเองจึงได้ลองสืบค้นข้อมูลดูใน Internet จึงทำให้ได้รู้จัก"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งได้ลองนำไปทดลองใช้กับการกำจัดกลิ่นเหม็นของน้ำในบ่อเลี้ยงกบ ซึ่งผลออกมาปรากฎว่า"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"สามารถกำจัดกลิ่นเหม็นของน้ำในบ่อเลี้ยงกบได้เป็นอย่างดีเลยล่ะครับ....และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของการใช้ประโยชน์จาก"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"ของผมครับ....และหลังจากนั้นตัวผมเองก็เริ่มเรียนรู้ด้วยการนำเอา"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"ไปใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเอง ซึ่งคำแนะนำต่างๆ ก็มาจากผู้ที่เคยใช้และนำมาบอกเล่าเอาไว้ใน Internet นั่นเองครับ...โดยคลังข้อมูลเกี่บกับ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"มีมากมายเลยล่ะครับ แต่สำหรับวันนี้ผมจะขอนำเอาข้อมูลจากที่นี่ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง โดยเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ มาให้ได้ศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจต่อไปก็แล้วกันนะครับ..เอาเป็นว่าข้อมูลตามหลักวิชาการต่างๆ นั้นขอรบกวนท่านได้เข้าไปติดตามต่อได้จากลิ้งค์ที่แนบมาได้เลยนะครับ...

2.หลังจากที่ได้ทำการทดลองใช้และศึกษาถึงข้อดีและข้อจำกัดของ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"แล้ว มาถึงวันนี้ครอบครัวเล็กๆ ของเราก็ได้เริ่มส่งต่อ"จุลินทรีย์ฺสังเคราะห์แสง"ไปยังผู้ที่มาเยี่ยมเยียนและเกษตรกรที่สนใจใน"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"ครับ...โดยเท่าที่ได้รับรู้ถึงวิธีการต่อเชื้อจากสื่อต่างๆ มีหลายแหล่งที่ได้บอกสูตรเอาไว้แตกต่างกันออกไป ซึ่งก็พอจะสรุปได้พอให้เข้าใจก็คือ เป็นการเพิ่มอาหารให้กับเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Photosybthetic bacteria (PSB)ครับ ขออ้างอิงตามนี้ครับ แบคทีเรีย PSB เขียนโดย เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ และสูตรอาหารที่เราได้ส่งต่อไปยังผู้ที่สนใจนั้นทำได้ง่ายๆ ครับ เพียงนำไข่ไก่ 1 ฟอง ชูรส 1 ช้อน เพียงเท่านี้ก็ได้อาหารสำหรับเลี้ยงเชื้อแล้วล่ะครับ สำหรับวิธีการต่อเชื้อก็ทำได้ง่ายๆ คือ ตอกไข่ใส่ถ้วยและตีให้ไข่แดงแตกพักไว้ แล้วก็นำเปลือกไข่มาตำให้ละเอียด เสร็จแล้วก็นำมาผสมกัน โดยเติมผงชูรสลงไปผสมให้เข้ากัน แล้วก็เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงลงไปคนให้เข้ากัน เพียงเท่านี้เราก็ได้หัวเชื้อ"จุลินนทรีย์สังเคราะห์แสง"แล้วล่ะครับ เมื่อได้หัวเชื้อแล้วก็นำเอามาใส่ลงในขวดพลาสติกที่มีความโปร่งใส ที่บรรจุน้ำเปล่าเอาไว้ เติมหัวเชื้อประมาณ 2-3 ช้อน แล้วก็ปิดฝาพร้อมกับเขย่าขวดน้ำให้เข้ากัน นำไปตากแดดจัด เขย่าเช้า-เย็น ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ สีของน้ำในขวดก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มขึ้นเรื่อยๆ ครับ..ทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วันเราก็จะได้"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"ไปใช้ประโยชน์แล้วล่ะครับ สำหรับวิธีการใช้และประโยชน์ของ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"นั้น ผมคิดว่าขอให้ผู้อ่านที่สนใจลองเข้าไปสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Internet ได้เลยนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นกับการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปนั่นเองครับ...

3.ด้วยบทบาทของตัวผมเองในฐานะของผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ ในสังกัดของ"กรมส่งเสริมการเกษตร"หรือมีชื่อเรียกสั้นๆ เข้าใจในความหมายสำหรับพี่น้องเกษตรกรในนาม"เกษตรตำบล"แล้วนั้น จึงทำให้มีโอกาสนำเอา"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"ไปนำเสนอและส่งต่อไปยังพี่น้องเกษตรกรที่สนใจครับ ทั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก"ผู้ช่วยพิทักษ์  มาน้อย "เกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรง ที่ผมได้มีโอกาสแบ่งปันเรื่องของ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"เอาไว้ให้ลองนำไปใช้ประโยชน์ และมาถึงวันนี้"ผู้ช่วยพิทักษ์  มาน้อย"สามารถพิสูจน์ทราบในคุณประโยชน์ของ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"ได้เป็นอย่างดีเลยล่ะครับ ดังนั้นทุกครั้งหากเรามีเวลาตรงกันผมก็มักจะขอเชิญให้"วิทยากรเกษตรกรคนเก่ง"นามว่า"ผู้ช่วยพิทักษ์  มาน้อย"มาให้คำแนะนำและสาธิตวิธีการทำ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"ให้กับเกษตรกรที่สนใจด้วยล่ะครับ...

4.และสิ่งที่ครอบครัวเล็ก ๆของเรารู้สึกยินดีในทุกครั้ง นั่นก็คือการที่ได้ร่วมแบ่งปันเรื่องราวดี ดี เกี่ยวกับ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"และการดำเนินชีวิตแบบ"วิถีพอเพียง"บนพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้ออกไปยังผู้คนที่แวะเข้ามาแวะเยี่ยมเยียนเรา ให้นำกลับไปใช้และขยายผลต่อครับ...ถือเ ป็นความตั้งใจของครอบครัวเล็กๆ ของเราที่จะสานต่อและขอร่วมส่งต่อแนวทางการดำรงชีพแบบพอเพียงเช่นนี้ออกไป สิ่งที่คาดหวังมิได้เพื่อชื่อเสียงหรือคำชื่นชมใดๆ จากผู้คนที่แวะเวียนเข้ามา แต่สิ่งที่เราได้รับมากมายเหลือเกินกับสิ่งที่กำลังทำอยู่นั่นก็คือ"ความสุข"ครับ...และหวังใจเอาไว้ว่าผู้คนที่ผ่านเข้ามาแวะเยี่ยมเยียนและเรียนรู้วิถีแบบนี้ไปกับครอบครัวเล็กๆ ของเราก็จะได้"พลังใจ"กลับไปสานต่อในพื้นที่ของตนเองต่อไป เพียงเท่านี้กก็"สุขใจ"และ"อบอุ่นใจ"มากๆ แล้วล่ะครับ....

สำหรับวันนี้...ขอนำเสนอเรื่องราวของ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"เอาไว้เพียงเท่านี้ก่อน ทั้งนี้สำหรับวิธีการและคุณประโยชน์ของ"จุลินทรีย์สังเคราห์แสง"ยังมีอีกมากมาย และเราก็ัยังคงต้องช่วยกันพิสูจน์ทราบและศึกษากันต่อไปนะครับ เพราะผมมักจะบอกกับใครๆ อยู่เสมอว่า"การเกษตรไม่มีสูตรสำเร็จ"ดังนั้นเราก็คงต้องลงมือ ลงแรง ศึกษาและเรียนรู้ไปด้วยตนเอง แล้วเราก็จะพบกับคำตอบที่ต้องการนั้นแน่นอนครับ และการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิิบัติจริง หรือภาษาอังกฤษเขียนเอาไว้แบบเท่ห์ๆ ว่า Learning by doing ก็ยังคงเป็นสิ่งที่เราต้องยึดถือเอาไว้เสริมสร้าง"พลังใจ"ให้กับตนเองเพื่อสู้ต่อไปนะคร้าบ...

                                                                                                                                          สวัสดีครับ

                                                                                                                                 เพชรน้ำหนึ่ง+มดตะนอย

                                                                                                                                       Hi Hug House

                                                                                                                                         23/08/2560

ปล.ขอขอบคุณข้อมูลที่ใช้ในการอ้างอิงบันทึกนี้จากที่นี่ www.clinictech.most.go.th จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เขียนโดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ มา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ..

        วันนี้ วันที่ 25 สิงหาคม 2560 ขอบันทึกเพิ่มเติมข้อมูลการส่งต่อ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"ไปยังน้องๆ นักเรียนของโรงเรียนบ้านใหม่เขานิยม กันสักหน่อยก็แล้วกันนะครับ...

                                         -ในช่วงบ่ายของวันนี้ตัวผมเองได้รับการติดต่อจาก"ครูคุณาพจน์  คำบรรลือ"หรือชื่อที่น้องๆ เรียกขานกันอย่างสนิทใจนั่นก็คือ"ครูไก่"ครับ...โดย"ครูไก่"ได้ส่งรูปภาพกิจกรรมการสอนให้น้องๆ นักเรียนต่อเชื้อ"จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง"ซึ่งก่อนหน้านี้"ครูไก่"ได้เข้ามาเยี่ยมเยียนบ้านไร่ของผมพร้อมกับได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการเกษตรต่างๆ มากมาย และในวันเดียวกันนี้ผมได้มอบเชื้อ"จุลินทรีย์สีแดง"ให้"ครูไก่"กลับไปต่อเชื้อด้วย โดย"ครูไก่"บอกกับผมว่า"จะใช้สูตรการต่อเชื้อโดยการ"ใช้ผงปรุงรส(รสดี)"แทน"ผงชูรส ครับ ซึ่งก็เป็นสูตรต่อเชื้ออีกแบบหนึ่งที่สามารถทำได้เหมือนกันครับ....มาถึงวันนี้"ครูไก่"ได้นำเอา"จุลินทรีย์สีแดง"มาสอนให้กับน้องๆ นักเรียนด้วย พร้อมทั้งได้ให้น้องๆ เรียนรู้เรื่องการเพาะต้นดอกดาวเรืองพร้อมกับการ"เพาะชำแบบควบแน่น"ด้วยล่ะครับ ผมได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว ดังนั้นจึงขอนำเอาภาพกิจกรรมมาบันทึกเอาไว้เพิ่มเติมในบันทึกนี้ เพื่อส่งต่อไปยังผู้ที่สนใจและร่วมแบ่งปันเรื่องราวดี ดี จากที่นี่ "โรงเรียนบ้านใหม่เขานิยม หมู่ที่ 7 ตำบลพรานกระต่าย อำเภอพรานกระต่าย  จังหวัดกำแพงเพชร ครับ..

1.น้องๆ นักเรียนได้ฝึกการต่อเชื้อจุลินทรีย์สีแดงด้วยตนเอง โดยการสอนจาก"ครูคุณาพจน์  คำบรรลือ หรือ ครูไก่"ครับ...

2.การเพาะชำดอกดาวเรือง ของน้องๆ ครับ

3."การเพาะชำมะกรูดแบบควบแน่น"ของน้องๆ นักเรียนครับ...สำหรับกิจกรรมนี้คงต้องรอดูผลกันต่อไปครับ แต่เท่าที่ผมได้ลองปฏิบัติการขยายพันธุ์โดยวิธีนี้แล้วก็เป็นการขยายพันธุ์พืชที่ได้ผลเป็นอย่างดีเหมือนกันครับ..แบบนี้ก็คงต้องให้กำลังใจน้องๆ ด้วยนะคร้าบ....

-สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณ "ครูไก่"ที่ช่วยสานต่อพร้อมกับส่งต่อความรู้แบบนี้ไปยังเด็กๆ ด้วยนะครับ และขอขอบคุณภาพและเรื่องราวที่ส่งมาให้ผมได้"ปลื้มใจ"และนำมาบันทึกเพิ่มเติมในสมุดออนไลน์เล่มนี้ด้วยนะคร้าบ...

                                                                                                                                       สวัสดีครับ                                                                                                                                                                                เพชรน้ำหนึ่ง

                                                                                                                                                        บันทึกเพิ่มเติม 25/08/2560

คำสำคัญ (Tags): #จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง#จุลินทรีย์สีแดง#นายบุญส่ง จอมดวง#เกษตรตำบล#ปรียารัตน์ จอมดวง#นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร#เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร#พิทักษ์ มาน้อย#ผู้ช่วยพิทักษ์ มาน้อย#วิถีพอเพียง#ความสุข#ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง#วิธีการต่อเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง#เศรษฐกิจพอเพียง#บ้านไร่#Hu Hug House#Change to the Best#MRCF#T&V Syatem#T&V#PSB#กรมส่งเสริมการเกษตร#นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ#วิธีกำจัดน้ำเน่าเสีย#learning by doing#ความพอเพียง#ท่องเที่ยวเชิงเกษตร#เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ#g2k#แบ่งปัน#กระทรวงเกษตรและสหกรณ์#เดินตามรอยเท้าพ่อ#โรงเรียนบ้านใหม่เขานิยม#คุณาพจน์ คำบรรลือ#ครูไก่#ครูดีใจดวงใจ#การเพาะดอกดาวเรือง#การเพาะชำแบบควบแน่น#การขยายพันธ์ุพืช
หมายเลขบันทึก: 634567เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2017 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2017 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นความรู้ใหม่ที่น่าสนใจ

และเป็นประโยชน์ยิ่งจ้ะน้องเพชร

ขอบคุณมาก ๆ จ้ะ

พี่อยากได้วิธีกำจัดเพลี้ยแป้ง

แบบที่ใช้ชีวภาพ หรือสารอินทรีย์ มีบ้างไหมน้อง

มันกำจัดยากมาก ๆ เลยจ้ะ

-สวัสดีครับพี่ครูมะเดื่อ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมนะครับ

-สำหรับวิธีการกำจัดเพลี้ยแป้งนั้น ลองใช้น้ำหมักจากยาสูบดูนะครับ

-วิธีทำไม่ยากครับ นำยาสูบที่มีกลิ่นฉุนๆ มาแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วนำมาผสมน้ำรดพืชผักก็จะช่วยได้ครับ

-ลองดูนะครับพี่ครู

-ขอบคุณครับ

เราอยู่ประเทศมาเลเซีย PSB ที่นี่แพงมากเลย ราคาประมาณ ขวด1 ลิตร /1200 บาท ชาวสวนที่นี่ใช้ organic PSB น้อยมาก พอเราได้ สูตรจากคุณเราทำเองเลย ได้ผลดีมากเลยค่ะ ขอบขอบคุณมากเลยนะคะ.

เราอยู่ประเทศมาเลเซีย PSB ที่นี่แพงมากเลย ราคาประมาณ ขวด1 ลิตร /1200 บาท ชาวสวนที่นี่ใช้ organic PSB น้อยมาก พอเราได้ สูตรจากคุณเราทำเองเลย ได้ผลดีมากเลยค่ะ ขอบขอบคุณมากเลยนะคะ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท