หน้าที่ของคนปฎิบัติงาน(คุณกิจที่เขาว่า)ที่เปลี่ยนแปลง


เมื่อก่อนคิดจะเปลี่ยนแปลงงานที่ทำ หรือที่เรียกว่ากันว่าการพัฒนางานอะไรสักอย่างให้ดีขึ้นนั้น มันยากและลำบากแสนเข็ญ

คนปฎิบัติงานระดับปฎิบัติการ(ระดับล่าง)ในแต่ละวันไม่ต้องคิดเรื่องอื่นๆ เลยต้องทำงานที่รับผิดชอบในหน่วยอย่างเดียวเท่านั้น งานอื่นๆ ไม่เคยได้มีส่วนร่วม(ถ้ามีก็น้อยมาก) เมื่อก่อนคิดจะเปลี่ยนแปลงงานที่ทำ หรือที่เรียกว่ากันว่าการพัฒนางานอะไรสักอย่างให้ดีขึ้นนั้น มันยากและลำบากแสนเข็ญ บ้างทีล้านเข็ญ( มุกครับ)ก็เพราะเป็นความคิดของคนปฎิบัติการ ไม่มี power พอที่เปลี่ยนแปลงได้ ถ้าได้ก็ยาก บางทีหมดกำลังใจเสียดื้อๆ เลิกคิดและเลิกทำไปเลยก็มี

    แต่พอมีโครงการต่างๆที่เกิดขึ้นในภาค เช่น patho- OTOP, sport day/night  ,โครงการให้ความรู้ต่างๆของภาควิชารวมไปถึงการได้เป็นคณะกรรมการต่างๆของภาค เมื่อก่อนคนที่ได้เป็น ก็คือ 1.หัวหน้าหน่วย 2. หัวหน้างาน 3. รองหัวหน่วย(งาน) หมุนเวียนเป็นวงเวียนชีวิต

 คนทำ lab ก็ทำ lab อย่างเดียว (ชีวิตนะชีวิตน่าสารจริงๆ ) แต่บางคนก็ยังสนุกกับมัน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ การทำงานมีชีวิตชีวา(good job)มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ตัวแปรเขียนมาแล้วครับ ข้างต้น)  ที่นี้ก็จะจัดลำดับความเปลี่ยนแปลง หลังทำโครงการ patho-OTOP และอื่นๆ

1.ทำให้คนปฎิบัติงานรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง(sense of value ) ขอยกตัวอย่าง วันก่อนผมได้ยินพี่พินิจ เป็นคุณกิจในหน่วยงานของผู้เขียน ได้พูดถึงความรู้สึกหลังจากได้ทำโครงการ patho -OTOP ว่ารู้สึกภูมิใจมากหลังจากคิดผลงาน(อุปกรณ์วัดปริมาตรปัสสาวะ 24 ชั่วโมง) เหมือนกับผู้เขียนที่มีความรู้สึกเช่นเดียวกันหลังทำโครงการสำเร็จ เมื่อก่อนพี่นิจ ทำงานแบบไม่มีชีวิตชีวาเลย และไม่ยอมเขียนขอตำแหน่ง(ซี) เพราะพี่แกหมดกำลังใจหลายๆเรื่องแต่ปัจจุบันพี่แกเริ่มเปลี่ยนไป คือ มีความคิดว่าจะทำอะไรต่อหลังจากจบโครงการนี้ และสามารถนำโครงการที่ทำไปขอตำแหน่งชำนาญการได้

2. ความรู้สึกการมีส่วนร่วมในงาน ( sense of belonging ) เมื่อก่อนความคิดของเราไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับของหัวหน้าและคนอื่นๆ หรือกว่าจะยอมรับก็ต้องใช้เวลาและพิสูจน์ให้เห็นกันชัดเจน แต่หลังทำโครงการและได้นำเสนอโครงการ ได้รับการยอมรับมากขึ้นและใช้เวลาน้อยลง   ตรงนี้ทำให้คนทำงานเกือบทุกคนรู้สึกมีกำลังใจและมีแรงที่จะคิดโครงการดีๆต่อไป

3.เกิดเครือข่ายประชาคม (social network)ในภาควิชา คือ มีการประชุมระหว่างหน่วยงานมากขึ้นอย่างไม่เป็นทางการและเป็นทางการ (ไม่เกิน 5 คนครับกลัวกฎอัยการศึก ฮิๆๆ) ทำให้มีการพูดคุยเรื่องงานกันมากขึ้นและต่อเนื่องจนเป็นเครือข่ายการทำงาน เพราะทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การบริการและการทำงานที่ดีกว่าเดิม

4.ได้ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น( technolygy skil)   เช่น เมื่อก่อนไม่เคยใช้และใช้ไม่เป็นเลย สำหรับโปรแกรม power point แต่ปัจจุบัน ได้ทุกอย่าง ทั้งทำสไลด์และการนำเสนอ รวมไปถึงโปรแกรมอื่นๆด้วย

5.ได้ฝึกพูดในที่ประชุม(present practise) เมื่อก่อนไม่กล้าพูด และไม่มีเวทีให้ ต้องไปหาเวทีเอาเอง แต่เดี๋ยวนี้มีเวทีให้เรียกได้ดังเหมือนสายันณ์ ไปแล้ว (ก็อนุญาตชมตัวเองฮิๆๆ) และ กล้าพูดมากยิ่งขึ้น (ในที่ประชุม)

6.ได้รู้จักกับชาวพยาธิมากยิ่งขึ้น(social relation) จำนวน 200 กว่าคน ถ้าจำไม่ผิดผู้เขียนรู้จักเกือบหมด แต่การรู้จักบางทีไม่ค่อย happy เท่าไร เพราะอะไรรู้มั๊ยครับ  เดือนที่แล้วผมโดนภาษีเรื่องรู้จักคนมากในภาคไปเกือบ 3 พัน ตอนนี้เลยไม่อยากรู้จักใครเลยครับ (ตังหมด) แต่ทำให้เรามีความสุขกับการมีปฎิสัมพันธ์กับคนในภาค เพราะนั่นคือครอบครัวที่สองของเรา ใช่มั๊ยครับ    

หมายเลขบันทึก: 63451เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2006 08:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
เก่งจังเลย นายดำ ไม่เสียชื่อติวเตอร์....เอ๊ะ...ใครติวใครดิฉันไม่แน่ใจ....เขียนได้เห็นถึงภาพการพัฒนาคน......จริงๆค่ะ...คุณเมตตา ดีใจจัง

บุคลากรระดับล่างหรือระดับงานสนับสนุนเหล่านี้ เป็นกลุ่มที่ขยันงานหาตัวจับยากกลุ่มหนึ่ง ขอเล่าว่าหลังจากกิจกรรมเดินสำรวจของอาชีวอนามัยผ่านไป เกิดการเปลี่ยนแปลงของห้องล้างฯด้วยนะ เขาบอกว่าพวกเขาดีใจที่ได้เข้ามาร่วมโครงการของภาควิชา เมื่อมีการกล่าวถึงในบล็อกก่อนหน้านี้ ได้ print out แล้วเอาไปให้ คุณไปรวิลยิ้มหวานให้ และดีใจที่มีรูปตัวเองไปออกในคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นก็มีความฝันหลุดออกมาเกี่ยวกับห้องที่ตัวเองทำงานอยู่ นี่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหมือนกันนะ

ขอบคุณ คุณเมตตา ที่ชมครับ เนี่ย เขียนมาจากใจนะครับ (ถึงตัวจะดำแต่ใจดีครับ ฮิๆๆ)

 ตอบอาจารย์มุกดา ครับ ผมกะว่าจะเขียนเล่าเรื่องการให้ความรู้ของกรรมการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของภาคเราอยู่แต่ภารกิจ หลายเรื่องไม่น่าจะเกินวันนี้คงจะได้อ่านครับ 

ชอบจังค่ะ เห็นภาพพจน์ดีมากเลย

แอบบอกคุณเมตตา ในฐานะคนข้างเคียงหน่อยค่ะ ว่าสองคนนี้ (คุณศิริกับนายดำ)เค้าต่างคนต่างเขียนค่ะ ได้เห็นเทคนิคนายดำแล้ว ทึ่งและชอบ วันหลังจะขออนุญาตเอามาเล่าต่อ เอ๊ะ..ขออนุญาตกันเสียเลยตรงนี้ ได้ไหมคะ...นายดำ

คุณโอ๋คะ...ดิฉันอ่านแล้วชอบใจ...นายดำแกคงถูกคนข้างหมอนถาม มากๆ คิดคำตอบออกแล้วแต่คนข้างหมอนก็ตอบซะแต่ความคิดตัวเอง....หมั่นใส้นัก...เขียนเองดีกว่า...
เขียนเก่งจริงๆ  ถูกใจมาก  (คุณศิริ  น่าจะมีรางวัลให้นะ..ว่ามั๊ย)
.
ข้อ 7. คือนายดำมีทักษะภาษาอังกฤษดีขึ้น   
แหม...มีวงเล็บภาษาอังกฤษต่อท้ายด้วย  เดิ้น..จังเลย  ยังขาดวงเล็บอีก 3 ข้อ   น่าจะต่อให้ครบ
4.ได้ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น
5.ได้ฝึกพูดในที่ประชุม
6.ได้รู้จักกับชาวพยาธิมากยิ่งขึ้น
  • อยากบอกว่า นายดำสรุปเรื่องราว และเล่าได้ดีจังเลยครับ
  • ขอแก้นิดนึงนะครับ พี่โอ๋ครับ คำว่าภาพพจน์นี่เขานิยมใช้คำว่าภาพลักษณ์มากกว่าครับ เพราะคำว่าพจน์ หมายถึงพจนะ ที่แปลว่าพูด ซึ่งไม่ได้เป็นภาพครับ

คุณไมโตฯคะ แต่พี่หมายถึง การบรรยายจนเห็นภาพ (ที่เกิดจากการพจนา-เรียงร้อยถ้อยคำ) น่ะสิคะ แต่ภาพลักษณ์หมายถึงลักษณะที่เห็นเป็นภาพ ใช่ไหมคะ ซึ่งในความรู้สึกของพี่ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องการจะพูดถึง

เอ...ตกลงพี่ควรจะใช้คำไหนดีล่ะคะเนี่ย จะมีผู้รู้ อย่างคุณบวร คุณ Handy มาช่วยเราไหมนี่ เนาะ

ขอบคุณทุกๆคนที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครับ

ตอบพี่nidnoi ตอนเขียนนึกไม่ออกครับ แต่ตอนนี้ใส่ให้แล้วครับ

พี่ nidnoi ค๊ะ นายดำเขาเก่งภาษาอังกฤษมาแต่ไหนแต่ไรแล้วค่ะ -- พี่เมตตาค๊ะ ผลัดกันตี เอ๊ย ! ผลัดกันติวค่ะบอกตามตรงค่ะ ว่านายดำเวลาเขาเขียนเขาไม่เคยบอกผู้เขียนหรอก ผู้เขียนจะรู้ก็เมื่อบันทึกเขาโผล่ขึ้นมาในชุมชน ผิดกับผู้เขียนต้องลากให้มาอ่านบันทึกเราด้วย (ช่วยเป็น filter ประมาณนั้น)

ไม่รู้จะชมอย่างไรแล้ว

อ่านไป ยิ้มไป กับ คห.ทั้งหลาย

 ตอบพี่ โอ๋ ครับ ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท