ประเทศไทยที่ปกครองด้วยคณะทหาร นักวิจารณ์ต้องวิจารณ์ด้วยความขบขัน


กรุงเทพฯ (รอยเตอร์) หลังจากรัฐประหารประหารปี 2014 การวิจารณ์ถูกทำให้เงียบเสียงลง แต่ยังมีอยู่ 1 พื้นที่ที่เสียงวิจารณ์ยังคงมีอยู่นั่นก็คือ ผ่านเสียงหัวเราะ

ด้วยการที่นักกิจกรรมถูกแบน, ยังมีการเซ็นเซอร์ทางอินเตอร์เน็ท, และนักกิจกรรม หรือผู้วิจารณ์ยังถูกกักไว้ หรือถูกเรียกเข้าไป “ปรับทัศนคติ” (attitude adjustment) แต่การวิจารณ์ที่ปรากฏในสาธารณะ ยังคงนำเสนอได้ผ่านการ์ตูนที่แบ่งปันระหว่างกัน (shared cartoons), กระแสมุกขำขันทางอินเตอร์เน็ท (internet memes), และมิวสิควิดีโอที่เป็นการล้อเลียน (parody music videos)

Winyu “John” Wongsurawat ที่เป็นนักประชดทางการเมือง (political satirist) บอกกับรอยเตอร์ว่า “คนไทยเริ่มเปิดกว้างกับสิ่งที่นักวิจารณ์ และพวกทำตลกต่างๆ (humorists) ที่เกี่ยวกับระบบทหารและรัฐบาลทหารมากขึ้น”

ตัว Winya เองมีคลิปอยู่ในยูทูปจากรายการ “ข่าวตื้นแต่มีการตีความระดับลึก” (Shallow News in Depth) ซึ่งใช้อารมณ์ขันในการให้ความคิดเห็นทางการเมือง

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีวงเพลงป๊อปชื่อ Tattoo Colour ปล่อยเพลงที่ชื่อ “หญิงเผด็จการ” (Dictator Girl) ซึ่งมีการใช้มาตรา 44 ในเพลงด้วย มาตรา 44 เป็นเครื่องมือให้พลเอกประยุทธ์ มีอำนาจเด็ดขาดโดยคำนึงถึงความมั่นคงแห่งชาติ

หญิงเผด็จการมีเนื้อหาประเภท “ฉันยอมรบทุกๆอย่าง” แต่ “ไม่มีสิทธิแห่งความเท่าเทียม”  เนื้อเพลงแบบนี้กระทบกระเทียบโดยตรงไปยังการปกครองของคสช. แต่ไม่พูดตรงๆ หากพูดตรงๆก็จะให้คนที่ต่อต้านต้องเงียบเสียงลง

Nittakarn Kaewpiyasawad บอกกับรอยเตอร์ว่า “พวกเรามีความสุขที่เห็นประชาชนเข้าใจ และพยายามตีความสิ่งที่เราหมายถึง”

แนวโน้มที่กำลังติดลมบนก็คือเพจในเฟซบุ๊คของ Kai Maew ที่เป็นเรื่องของการ์ตูนตัดแปะ  (comic strips) ที่บรรยายแต่เรื่องทางการเมืองที่กำลังดัง มีคนตามมากกว่า 35,000 คน

แต่เพจนี้ไม่รู้ว่าใครเขียน

หนึ่งในการ์ตูนการตัดแปะที่มีชื่อเสียงก็คือ วาดให้ประยุทธ์เหมือนกับรถถัง ซึ่งได้รับการคำนับจากทหาร ผ่านชาวนาที่กำลังต่อสู้กับผลิตภัณฑ์ที่กำลังตกต่ำ และพลเรือนที่ไม่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้

Winyu กล่าวว่า “จะมีการพูดมากขึ้นโดยเฉพาะการเสแสร้งของรัฐบาลทหาร จะมีเสียงหัวเราะ แต่ก็จะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้คนเช่นกัน”

โฆษกรัฐบาลชื่อ Weerachon Sukhontapatipak ได้กล่าวเตือนว่าการพูดตลกๆเกี่ยวกับรัฐบาลทหารทางออนไลน์ว่าจะผิดในเรื่องการหมิ่นประมาทและกฎหมายทางไซเบอร์

เขายังกล่าวอีกว่า “ก่อนที่จะทำอะไร กรุณาตรวจสอบกฎหมายและระเบียบให้ดีเสียก่อน”

ในเดือนมีนาคม Veera Somkwamkid ซึ่งเป็นนักกิจกรรม และนักวิจารณ์เรื่องการรัฐประหาร (vocal coup critic) กำลังถูกกล่าวหาวว่าได้ทำโพลล้อเลียนเพลงของคสช. เรื่อง “คืนความสุขให้ประเทศไทย”

จะมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่ความตลกสามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย


แปลและเรียบเรียงมาจาก

Amy Sawittal Lefevre and Patpicha Tanakasempipat. In junta-ruled Thailand, critics turn to comedy. http://www.reuters.com/article/us-thailand-politics-humour-idUSKBN1A40JT?feedType=RSS&feedName=worldNews

หมายเลขบันทึก: 632149เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2017 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2017 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท