ชีวิตที่พอเพียง 2969. การจัดการความสร้างสรรค์แห่งชาติ เพื่อประเทศไทย ๔.๐



เช้ามืดวันเสาร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ ผมเดินไปหยิบนิตยสารในห้องรับรองการบินไทย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ    ไม่ค่อยมีนิตยสารที่ผมชอบ    จึงต้องลองเลือกเล่มแปลกๆ เอามาดู


พบเล่มหนึ่งขึ้นปกตัวโตมากว่า WOW ตามด้วยตัวย่อมลงมาว่า  CREATIVITY ISSUE    หยิบมาแล้วจึงรู้ว่าเป็นเรื่องนาฬิการาคาแพงทั้งหลายสำหรับยั่วน้ำลายเศรษฐี    ที่ยาจกอย่างผมเมิน    มีตัวอักษรภาษาไทยเล็กๆ อยู่ข้างๆ ว่า “เวิลด์ ออฟ วอทเชส”   ลองค้นกูเกิ้ลพบ เว็บไซต์นี้   

 

ผมเมินรูปและสาระเรื่องนาฬิกา    แต่สมองลุกโพลงเรื่อง “การจัดการความสร้างสรรค์ของประเทศ”   และนำออกสื่อสาร   


ผมเชื่อว่า มนุษย์มีธรรมชาติสร้างสรรค์    ไม่ว่าจะเป็นคนมีการศึกษาระดับใด เศรษฐานะระดับใด อยู่ในภูมิสังคมใด มนุษย์เราสร้างสรรค์อยู่เสมอ    แต่เรามักมีอคติ เชื่อว่าเฉพาะคนที่มีการศึกษาสูง ฐานะดีเท่านั้น ที่สร้างสรรค์    


วงการนาฬิกา เขาร่วมกันออกเงินสนับสนุนการจัดทำเว็บไซต์และนิตยสารดังกล่าวได้    วงการ ประเทศไทย ๔.๐ ก็น่าจะลงทุนส่งเสริมการเสาะหาความสร้างสรรค์ในทุกเป้าหมายหลักของการขับเคลื่อน สู่ประเทศไทย ๔.๐   เอามาสื่อสารอย่างกว้างขวางได้    เป็นการจัดการความสร้างสรรค์ที่มีการริเริ่มแล้ว    เอามาทำให้เป็นความตื่นเต้นเห็นคุณค่า    เปิดช่องเชื่อมโยงต่อยอด สู่คุณค่าและมูลค่า  


การสร้างสรรค์ที่เสาะหามาหยิบยกสื่อสาร อาจทำโดยคนเล็กคนน้อยที่ไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่ตนริเริ่มสร้างสรรค์ ขึ้นนั้นเป็นเรื่องยิ่งใหญ่    จึงเป็นไปไม่ได้ที่คนแบบนี้จะสื่อสารออก FaceBook หรือ Line    ต้องการคนกลาง ไปค้นหา ตีความ ตีคุณค่า แล้วนำมาสื่อสารสังคม    รวมทั้งรวบรวมจัดหมวดหมู่ ทำเป็น database ให้ค้นภายหลังได้


เอาความฝันนี้มาบอกเล่าไว้    เผื่อจะมีคน/หน่วยงาน เอาไปทำ



วิจารณ์ พานิช

๒๔ มิ.ย. ๖๐

 


 

 

หมายเลขบันทึก: 631748เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2017 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2017 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท