ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก:กรณีศึกษากลุ่มเกษตรอินทรีย์บางแก้ว
ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก:กรณีศึกษากลุ่มเกษตรอินทรีย์บางแก้ว ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก:กรณีศึกษากลุ่มเกษตรอินทรีย์บางแก้ว ....

ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตกกรณีศึกษา กลุ่มเกษตรอินทร์คลองบางแก้ว ต.ท่ากระชับ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ( ครั้งที่ 8 )


ในครั้งนี้นะครับทางกลุ่มจะแนะนำวิธีการใช้เชื้อแบคทีเรียบีทีในการกำจัดแมลงซึ่งมีข้อมูล ดังนี้

เชื้อแบคทีเรียบีที ฆ่าแมลงได้อย่างไร

เชื้อบีทีแตกต่างจากสารเคมีฆ่าแมลงที่ส่วนใหญ่มักจะถูกตัวตาย แต่เชื้อบีทีกำจัดแมลงศัตรูพืชนั้นแมลงจะต้องกินเชื้อบีทีเข้าไปถึงจะออกฤทธิ์ทำลายแมลงได้ โดยทั่วไป เชื้อบีทีจะทำลายเฉพาะตัวอ่อนของแมลงเท่านั้น เช่น ตัวหนอน หรือ ลูกน้ำยุง จะไม่ทำลายศัตรูพืชระยะที่เป็นไข่หรือตัวเต็มวัย ยกเว้นบีทีบางสายพันธุ์ที่ สามารถทำลายได้ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของด้วงปีกแข็งบางชนิดเมื่อแมลงกินสารพิษ และสปอร์เข้าไปในกระเพาะ น้ำย่อยในกระเพาะมีคุณสมบัติเป็นด่างค่อนข้างสูงจะย่อยสารพิษซึ่งอยู่ในรูป Protoxin ให้เป็น active toxin (สารพิษแท้จริง ซึ่งจะเข้าทำลายเซลล์เยื้อบุผนังกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบการย่อยอาหารและระบบทางเดินอาหารถูกทำลาย ระดับความเป็นเป็นกรด3 ด่างภายในลำตัวขอแมลงเปลี่ยนไป ส่งผลให้แมลงเป็นอัมพาตหรือเคลื่อนไหวช้าลง ทำให้แมลงไม่สมารถกินอาหารได้ ขณะเดียวกันเมื่อผนังของกระเพาะอาหารถูกทำลาย สปอร์ของบีทีและเชื้อโรคที่อยู่ในกระเพาะสามารถไหลผ่านจากรูแผลบนผนังกระเพาะเข้าสู่ระบบเลือดของแมลง จะขยายทวีจำนวนมากเพิ่มขึ้น ทำให้โลหิตเป็นพิษ แมลงจะตายในเวลา ต่อมาโดยทั่ว ๆ ไปเชื้อบีทีจะทำลายแมลงโดยใช้ระยะเวลา 2-3 วัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของแมลง และ ปริมาณเชื้อของบีทีที่แมลงกินเข้าไป

ชนิดของแมลงศัตรูพืชที่สำคัญที่สามารถควบคุมด้วยเชื้อบีที

1.หนอนใยผัก

2.หนอนคืบกระหล่ำ

3.หนอนกระทู้ผัก

4.หนอนกระทู้หอม

5.หนอนร่านกินใบปาล์ม

6.หนอนแปะใบ

7.หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

8.หนอนแก้วส้ม

9.หนอนกินสนสามใบ

วิธีการใช้เชื้อบีที

  • ควรอ่านฉลากข้างภาชนะบรรจุเสียก่อน เพื่อให้ทราบว่าเชื้อบีทีชนิดนี้สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชชนิดใดได้บ้างเชื่อแมลงศัตรูพืชที่ต้องการกำจัดระบุอยู่บนฉลากหรือไม่ ทั้งนี้ ในท้องตลาดมีบีทีหลายสายพันธุ์ประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงจะแตกต่างไป
  • เชื้อบีทีเป็นสิ่งมีชีวิต จะถูกทำลายโดยรังสีอุลตร้าไวโอเลต จากแสงแดดนั้น จึงควรพ่นบีทีหลังบ่ายสามโมงเย็นไปแล้ว จะช่วยยืดอายุเชื้อบีทีบนต้นพืชให้มีประสิทธิภาพอยู่ใต้นานขึ้น
  • แมลงต้องกินเชื้อเข้าไป บีที จึงจะสามารถทำลายแมลงได้ แมลงศัตรูผักบางชนิด เช่น หนอนใยผัก หนอนคีบกะหล่ำ มักอาศัยกัดกินอยู่ด้านล่างขอบใบ ดังนั้น การพ่นบีทีควรครอบคลุมบริเวณส่วนล่างของใบพืชด้วยจึงจะสามารถควบคุมหนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การปรับหัวฉีดเครื่องพ่นสารให้ละอองเล็กที่สุดจะช่วยให้ละอองยาเกาะผิวใบได้ดี และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ดีขึ้น
  • ควรผสมสาจับใบในการพ่นเชื้อบีทีทุกครั้งตามอัตราแนะนำการใช้ที่เข้าขวด
  • การพ่นเชื้อบีทีควรพ่น เมื่อสำรวจพบหนอนตัวเล็ก ซึ่งเป็นหนอนวัยแรกๆ(วัย 1-3) จะให้ผลในการควบคุมดีกว่าการพ่นเชื้อเมื่อพบหนอนตัวใหญ่(วัย 4-5)
  • ไม่ควนผสมเชื้อบีทีกับสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อพ่นในคราวเดียวกันทั้งนี้เนื่องจากสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิดทำให้เชื้อบีทีเสื่อประสิทธิภาพได้
  • เนื่องจากเชื้อบีทีออกฤทธิ์ช้าใช้เวลา 2-3 วัน แมลงถึงจะตายดังนั้นการใช้อัตราสูงกว่าคำแนะนำไม่ช่วยให้แมลงตายเร็วขึ้นการใช้อัตราต่ำกว่าคำแนะนำจะส่งผลทำให้แมลงไม่ตายและทำความเสียหายแก่ผลผลิตจึงควรใช้เชื้อบีทีตามอัตราที่แนะนำ
  • เมื่อพบการระบาดของแมลงรุนแรงควรพ่นเชื้อบีทีตามอัตราแนะนำโดยพ่นติดต่อกัน 3 ครั้งระยะห่างกัน 3-4 วันจะช่วยลดความเสียหายจากแมลงได้ดีกว่าการพ่นครั้งเดียว
หมายเลขบันทึก: 628535เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2017 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2017 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท