ทุนชุมชนภาคตะวันตก กรณีศึกษา กระบวนการมีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ บ้านหนองควายเฒ่า ต.ดอนพุทรา อ.ดอนตูม จ.นครปฐม (ครั้งที่ 9)


ทุนชุมชนภาคตะวันตก กรณีศึกษา กระบวนการมีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ บ้านหนองควายเฒ่า ต.ดอนพุทรา อ.ดอนตูม จ.นครปฐม


สวัสดีค่ะ ในครั้งนี้เราพาทุกท่านไปทราบถึงกระบวนการในการรวมกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษบ้านหนองควายเฒ่า ว่ากว่าที่ผู้ใหญ่บุญเติม สระจูม จะก่อตั้งกลุ่มนี้ขึ้นมาได้ ว่าจะมีแนวคิดหลักการในการจัดการกลุ่ม ปัญหา และอุปสรรคอะไรบ้าง ซึ่งวันนี้ได้มีกิจกรรมการทำอาหารของสมาชิกโดยการนำผลผลิตที่ได้จากการปลูกมาทำอาหารรับประทานกัน และได้ประชุมหารือและสรุปงานกิจกรรมของกลุ่ม ไปดูกันเลยคะ


ความเป็นมาในการก่อตั้งกลุ่ม

การรวมกลุ่มของเครือข่ายผักครัวเรือนปลอดสารพิษ บ้านหนองควายเฒ่านั้น เริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นกลุ่มเมื่อ พ.ศ.2549 และได้ก่อตั้งกลุ่มแบบเป็นทางการที่ได้ร่วมกับองค์กรพัฒนาชุมชนของจังหวัดนครปฐมเมื่อ พ.ศ.2554 โดยมีนายบุญเติม สระจูม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านหนองควายเฒ่าเป็นก่อตั้งกลุ่มขึ้น เริ่มแรกก่อนการรวมกลุ่มได้มีโครงการเกษตรผสมผสานที่จัดขึ้นโดย อบต.ตำบลดอนพุทรา มีการจัดงบประมาณให้จำนวนหนึ่ง โดยมีประชาชนในหมู่บ้านเป็นตัวแทนเข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งหมด 50 ครัวเรือน แต่โครงการไม่ประสบผลสำเร็จนัก เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก แต่ได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งมีความสนใจที่จะทำเกษตรแบบผสมผสาน จึงได้มีการรวมกลุ่มขึ้นโดยชาวบ้าน 19 ครัวเรือน โดยมีผู้ใหญ่บุญเติมเป็นหัวหน้ากลุ่มเครือข่าย

ต่อมาการดำเนินงานการทำเกษตรนั้น เริ่มประสบความสำเร็จ ชาวบ้านจึงให้ความสนใจในเกษตรผสมผสานมากขึ้น จึงทำให้กลุ่มเครือข่ายมีขนาดใหญ่ขึ้นจนมีผู้เข้าร่วมกลุ่มมากกว่า 50 ครัวเรือน จึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ ในนาม กลุ่มเครือข่ายผักครัวเรือนผักปลอดสารพิษบ้านหนองควายเฒ่า(หมู่ที่ 7) ทำให้กลุ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทำให้ชาวบ้านที่อยู่หมู่อื่นพื้นที่ใกล้เคียงมีการรวมกลุ่มเช่นเดียวกัน ทำให้ปัจจุบันกลุ่มเครือข่ายผักครัวเรือนปลอดสารพิษ มีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งหมด 6 เครือข่าย โดยกลุ่มเครือข่ายของบ้านหนองควายเฒ่าหมู่ที่7(กลุ่มย่อย) เป็นกลุ่มเริ่มก่อตั้ง และมีกลุ่มโครงการระดับตำบลที่จัดตั้งโดย อบต.ตำบลดอนพุทรา

ในปัจจุบันได้มีหน่วยงานของ สสส. เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนกลุ่มเครือข่ายของชาวบ้านหมู่บ้านหนองควายเฒ่า โดยได้เข้ามาส่งเสริมดูแล และพัฒนาให้กลุ่มเครือข่ายมีความเข้มแข็งขึ้น และมีการจัดการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ให้กลุ่มเครือข่าย

แนวคิดริเริ่มในการก่อตั้งกลุ่ม

การปลูกผักจริง ๆแล้ว เป็นแนวคิดพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่าเกษตรกรเราปลูกผักไม่ได้กินเองเลยปลูกผักฉีดสารเคมีเป็นจำนวนมากแล้วก็ส่งขายตามตลาดคนที่ซื้อบริโภคก็ไม่รู้ว่าเราฉีดสารเคมีพอนำเอาไปรับประทานก็เป็นสารก่อเกิดมะเร็ง แล้วมะเร็งในประเทศไทยในเป็นโรคที่มีจำนวนคนป่วยติดอันดับต้นๆ เลย ตัวผู้ใหญ่เองก็เลยร่วมกับเครือข่ายเกษตรนครปฐมเสริมการปลูกผักปลอดภัยมาประมาณ 20 กว่าปีแล้วของกลุ่มที่เราส่งเสริมทางจังหวัดนครปฐมมี 43 กลุ่มรวม เพราะว่าผู้ใหญ่เล็งเห็นปัญหานี้มานานแล้วทั้งเรื่องปัญหาสุขภาพของตัวผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรเองด้วย

หลักที่นำมาใช้ในการจัดการกลุ่ม

จริง ๆแล้วการส่งเสริมของเราเป็นขั้นๆ ลด ละ เลิก ลดก็คือลดน้อยลงใช้ให้น้อยลง และ เลิกก็คือเลิกไปเลยไม่ใช้เลยต้องค่อยค่อยไปก่อน ตัวอย่างนะอย่างเราเราใช้สารเคมีก็หาอย่างอื่นมาทดแทนสารไล่แมลงแทนที่จะใช้สารเคมีเราก็เปลี่ยนมาใช้เป็นหญ้าหนวดแมวบ้างเป็นสะเดาบ้างเอามาชดเชยแทนยาฆ่าแมลงเพราะเราชดเชยตรงนี้เข้าไปแทน ระบบธรรมชาติก็จะค่อยค่อยกลับคืนมากระบวนการของธรรมชาติก็จะมีแมลงที่กำจัดแมลงเอง ดินก็จะปรับสภาพร ระบบธรรมชาติก็จะพึ่งพาตัวเอง

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกลุ่ม

อยากให้ชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองควายเฒ่าลดการใช้สารพิษในการปลูกพืชผักครัวเรือน เนื่องจากการปลูกผักโดยการใช้สารเคมีนั้น ทำให้เกิดผลเสียทางสุขภาพตามมา เช่น โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็ง โรคปอด จึงทำให้มีการรวมกลุ่มกัน และจะเป็นการช่วยลดต้นทุนรายจ่ายที่ใช้จ่ายสารเคมี สามารถนำเงินมาใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ ได้




ภาพการประชุมกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ

(ภาพโดย นางสาว ศจี สระศรีสม)



ภาพการประชุมกลุ่มที่มีความเป็นกันระหว่างประธานกลุ่มและสมาชิก

(ภาพโดย นางสาว ศจี สระศรีสม)



ภาพการช่วยกันทำอาหาร (ส้มตำ) ระหว่างชาวบ้านและนักศึกษา

(ภาพโดย นางสาว ศจี สระศรีสม)



ภาพนักศึกษาลงมือทำอาหาร (ส้มตำ) ให้ชาวบ้านได้รับประทาน

(ภาพโดย นางสาว ศจี สระศรีสม)



ภาพนักศึกษาและชาวบ้านร่วมกันถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก

(ภาพโดย นางสาว ธัญญลักษณ์ นอขุนทด)



สวัสดี ^^


หมายเลขบันทึก: 628464เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2017 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2017 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท