ว่าด้วยความหวังในเรื่องของการเขียนบันทึก


หลังจาก (แอบ) ตั้งความหวังกับตัวเองไว้ว่า จะเริ่มเขียนบันทึกอะไรที่เป็นจริงเป็นจัง และ ต่อเนื่อง สักที หลังจากเขียนโน่น เขี่ยนี่ อยู่ในสมุดบันทึกที่เป็นกระดาษอยุ่บ้าง และเขียนๆ ไลค์ๆ แชร์ๆ อยู่ใน เฟสบุ๊กอยู่บ้างนิดหน่อย ซึ่งมันก็มีทั้งข้อเสีย และ ข้อดีของมันเองในแต่ละแบบ ใครที่เคยใช้สมุดบันทึก หรือ โซเชียลมีเดียที่มีอยู่หลากหลายในปัจจุบัน ก็คงพอที่จะบอกได้ด้วยตัวเอง

แต่ทีนี้ การที่ (แอบ) ตั้งความหวัง ไว้ ซึ่งไม่อยากจะเรียกว่า ปณิธาน เพราะว่า คำ มันสูงไป และพอทำไม่ได้ตามที่ตั้งเอาไว้นี่ มันก็เป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร ที่จะทำใจ และหาเหตุผลมาสนับสนุนตัวเองว่า ทำไมทำไม่ได้ตามที่ตั้ง ปณิธาน เอาไว้นั้น แต่ถ้าเป็นแค่ ความหวัง แล้วมันเป็นไปไม่ได้ อย่างมากก็แค่ ผิดหวัง ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติเรื่องหนึ่งในชีวิต เพราะฉะนั้น ชิลๆ เอาแค่ ความหวัง ก็แล้วกัน

ทำไมถึงต้อง “(แอบ)”? ก็เพราะว่า ถ้า “แอบ” จริง ก็ไม่ควรเอามาเขียนเป็นบันทึก และ เปิดเป็นสาธารณะ ให้ใครๆอ่านได้

แต่เรื่องสำคัญ ของการเขียนบันทึก เขียนในสิ่งที่ตัวเราเองรู้สึกว่ามันสำคัญ และ เขียนมันออกมา ถ้าไม่ได้จริงใจกับสิ่งที่ทำ ทั้งสองประเด็น ก็คือ การเขียนมันออกมา และ การเปิดเป็นสาธารณะ ตั้งแต่ต้น มันก็จะไม่สำเร็จ

เรื่องของการเขียนอะไรที่เป็นจริงเป็นจัง ที่ตั้งเอาไว้นั้น อาจจะดูง่ายในตอนนี้ แต่ในระยะยาว น่าจะเป็นเรื่องยากอยู่พอสมควร อันนี้สังเกตจาก สิ่งที่เคยเขียนๆมาในอดีต เรื่องของการทำให้ “ต่อเนื่อง” อาจจะง่ายกว่า ถ้าเลือก หัวข้อ และ วิธีการ ที่เหมาะสมได้ ซึ่งกรณีนี้ ผมก็พอที่จะมีอยู่

นั่นก็คือ แนะนำหนังสือฟรี ของชาวบ้านเขา คือแบบ เล่นง่ายๆ ไม่ต้องคิดอะไรมาก เอาข้อมูลที่มีอยู่แล้ว และ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยมาเผยแพร่แค่นั้นเอง

หนังสือฟรี ของชาวบ้านที่ว่าก็คือ หนังสือแบบ ebook ที่ บริษัท PacktPub แจกให้สมาชิก อ่านฟรีได้ ผมเขียนไว้แล้วใน บันทึกนี้ โดยสิ่งที่คิดว่าจะทำก็คือ เอารูปและชื่อของหนังสือมาแปะ ซึ่งตรงนี้ ไม่ต้องการความสามารถอะไรมากไปกว่าการ ตัด แล้ว แปะ ซึ่งเป็นความสามารถที่ใครๆก็เรียนรู้ และแทบที่จะหลับตาทำได้ ถ้าเคยใช้คอมพิวเตอร์มาแล้วสักช่วงหนึ่ง และเพราะมันไม่ได้ต้องการความพยายามอะไรมากนัก ก็เลยเชื่อว่า มันทำ ต่อเนื่อง ได้ไง ก็แค่ตื่นเช้ามา เปิดคอมพิวเตอร์ แล้วก็ ตัด/แปะ ทุกวัน แค่นั้นเอง ใครๆก็ทำได้

อ้อ! แล้วก็ใช้การบันทึกในรูปแบบของ อนุทิน แทนที่จะเป็น การเขียนบันทึกแบบเต็มรูปแบบ เพราะว่าสะดวกและรวดเร็วกว่า และ ไม่ได้มีเนื้อหาอะไรมากไปกว่านั้น ตัวอย่างของสิ่งที่คิดจะทำ และ ทำออกมาได้ในวันแรก (เอ่อ ไม่ใช่ วันที่สองล่ะ) ก็จะออกมาในรูปแบบ นี้

ถ้าทำแค่นั้นก็ สามารถแก้ปัญหาเรื่องของการทำแบบ “ต่อเนื่อง” ได้ ไม่ยาก เพราะตราบใดที่ทาง PacktPub เขายังแจกหนังสือฟรีอยู่ ผมก็มี materail ให้ ขโมย เอ๊ย! ไม่ใช่ พูดผิด! หยิบยืม เอามาใช้เป็น อนุทินของตัวเองได้ แต่มันขาดประเด็นของ ความ “เป็นจริงเป็นจัง” ไป

ซึ่งเรื่องนั้น เท่าที่คิดเอาไว้ตอนนี้ ก็คือ เขียนอะไรบางอย่างเท่าที่รู้ เกี่ยวกับ หัวข้อ ของหนังสือเล่มนั้น หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ ซึ่งเรื่องนี้ คงจะต้องใช้ความพยายามเพิ่มบ้าง และ อาจจะเปลี่ยนแปลงมากน้อย ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละวัน

ถ้าทำต่อเนื่องได้ ประเด็นของความ เป็นจริงเป็นจัง ก็น่าจะพัฒนาขึ้นได้ เช่นเดียวกัน

แต่เรื่องนั้น เส้นทางน่าจะยังอยู่อีกยาวไกล

หมายเหตุ: ชื่อเดิมของบันทึกนี้คือ PacktPub Free-Learning Ebook Today: Practical Data Science Cookbook แต่เรื่องที่ตั้งใจว่าจะเขียน ตั้งแต่ตอนที่ร่างชื่อ กับเขียนมาจนถึงตอนนี้ มันไม่เกี่ยวกันเลย แต่สำหรับวันนี้ คงพอไว้ก่อนแค่นี้ ถ้าใช้ความพยายามมากเกินไปในช่วงแรกๆ วันหลังๆก็จะล้า และก็ทำต่อเนื่องไม่ได้ เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆในชีวิต

คำสำคัญ (Tags): #การเขียนบันทึก
หมายเลขบันทึก: 628048เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2017 08:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2017 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาเชียร์ครับ

ลองแก้ไขบันทึก

ลบ code ที่ติดมานะครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ แก้ไขตามที่ อ.ธวัชชัย แนะนำมาแล้วครับ ต้องเปลี่ยนไป edit โดยใช้ google chrome ถึงจะจัดการกับ html tag ที่เกินมาได้

มาเชียร์ด้วยอีกแรงค่ะ .. เริ่มได้ก็ต่อเนื่องได้ แม้จะตั้งใจเขียนเป็น 'รายวัน' แต่ถูกโรคเลื่อนเล่นงานให้เป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ หรือรายเดือน ก็ช่างมัน! สำคัญว่าเราเริ่มใหม่ได้ทุกเมื่อค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท