​ชีวิตที่พอเพียง : 2892. กับดักความดี



หนังสือ พลิกชะตา : วิถีด้านในสู่ขั้นต่อไปของชีวิตและสังคม บทที่ ๑๗ กล่าวถึงกับดักความสำเร็จในการทำงานของสถาบัน ALF (American Leadership Forum) เพื่อสร้างผู้นำแห่งอนาคตให้แก่โลก ในช่วง ค.ศ. 1983 นำมาสู่บันทึกนี้


เขากล่าวถึงกับดัก ๓ ตัวในประสบการณ์ตรงของผู้เขียน (คือ Joseph Jaworski) ได้แก่ () กับดักของความรับผิดชอบ () กับดักของการพึ่งพิง () กับดักของการทำเกินเลย (overactivity)


เมื่ออ่านรายละเอียดกับดัก ๓ ข้อของโจ จาวอร์สกี้ และอ่านข้อเฉลยกุญแจเอาชนะกับดักของเขาในหนังสือหน้า ๒๑๒ แล้ว ผมก็ถึงบางอ้อว่า เอาเข้าจริง เขาติดกับดักเพราะไม่รู้จักใช้เครื่องมือ KM ในการทำงานใหญ่ เพราะข้อเฉลยของเขาคือ AAR


กับดักของการทำงานที่ยิ่งใหญ่ ทำงานเพื่อสังคม เพื่อโลก เช่นนี้ ตัวกับดัก (trap) และธรรมชาติของกับดักย่อมมีลักษณะจำเพาะ ของใครก็ของมัน แต่มันมีลักษณะร่วม ที่เราไตร่ตรองสะท้อนคิดเอามาเป็นบทเรียนชีวิตได้ และทำให้ผมเรียกกับดักชีวิตแบบนี้ว่า “กับดักความดี เพราะเรากำลังตั้งใจทำความดี ตั้งใจเสียสละ เราจึงติดกับดัก


กับดักความดีที่พบบ่อยที่สุดในสังคมไทยในสายตาของผมมี ๒ อย่าง คือ (๑) หมดไฟ หรือหมดใจ/ถอดใจ บอกตัวเองว่าทำดีไม่ขึ้น ก็ล้มเลิกกิจการนั้น (๒) อหังการ์ หลงตัวตนว่าเป็นคนดี ดูถูกคนอื่นว่าเป็นคนไม่ดี


คนดีที่หลงตน อันตรายไม่น้อยกว่าคนชั่ว อาจอันตรายมากกว่า เพราะอยู่ทำความเสียหายได้นานกว่า และในเรื่องใหญ่กว่า



วิจารณ์ พานิช

๑๐ มี.ค. ๖๐

ที่นั่งอ่านหนังสือใต้ต้นมะพร้าว สวนสามพราน



หมายเลขบันทึก: 627378เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2017 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2017 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะอาจารย์ บางทีคนทำดีก้อท้อถอยเหมือนกัน เราต้องร่วมใจกันเพิ่มพื้นที่สำหรับคนทำความดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท