​พุทธศาสนามหายาน ตอนที่ 2 : จำนวนคนนับถือศาสนาพุทธในโลก


​พุทธศาสนามหายาน ตอนที่ 2 : จำนวนคนนับถือศาสนาพุทธในโลก

4 เมษายน 2560

จำนวนคนที่นับถือศาสนาพุทธทั่วโลกค่อนข้างสับสน ข้อมูลปี 2555 (กลุ่ม พิวฟอรั่ม pewforum.org, 18 ธันวาคม 2555) ประมาณ 500 ล้านคน (7 %) ข้อมูลปี 2556 (guru.sanook.com › พีเดีย) ประมาณ 400 ล้านคน จากประเทศที่นับถือศาสนาพุทธทั่วโลก 62 ประเทศ แต่จากฐานข้อมูลปี 2554 ประมาณ 700 ล้านคน [1]

การกระจายตัวของชาวพุทธบนโลก (Buddhist Population) (ข้อมูลปี 2551) มีชาวพุทธ 6 % คริสต์ 33 % อิสลาม 18 % ฮินดู 16 % ไม่มีศาสนา (irreligious persons) 16 % อื่น ๆ 11 %ของประชากรโลก

แยกนิกายพุทธต่างๆ เป็น มหายาน 56 % เถรวาท 38 % วัชรยาน 6 % ของประชากรชาวพุทธ

แยกตามประเทศที่มีชาวพุทธอยู่ ข้อมูลปี 2551, กัมพูชา 96 % ไทย 94.6 % มองโกเลีย 90 %ข้อมูลปี 2554, [2] Country : Buddhist Population and % of Buddhists (1) China 391,894,143 คน = 30% (2) Japan 90,466,243 คน = 71% (3) Thailand 61,517,708 คน = 94% (4) Vietnam 41,767,788 คน = 50% (5) Myanmar 38,618,517 คน = 90% (6) Sri Lanka 14,045,343 คน = 70% (7) Cambodia 12,654,574 คน = 93% (8) Korea, South 11,297,002 คน = 23.33% (9) India 7,561,850 คน = 0.7% (10) Taiwan 5,723,596 คน = 25% (11) Korea, North 5,345,411 คน = 23.33% (12) Indonesia 2,032,580 คน = 0.84% (13) Malaysia 4,599,002 คน = 19.2% (14) Laos 3,730,284 คน = 60% (15) Nepal 3,044,420 คน = 11% (16) United States 2,957,341 คน = 1% (17) Mongolia 2,595,882 คน = 93% (18) Singapore 1,880,931 คน = 42.5% (19) Bhutan 1,651,895 คน = 74% (20) Bangladesh 721,598 คน = 0.5% (21) Russia 717,101 คน = 0.5% (22) United Arab Emirates 51,264 คน = 2% (23) Brunei 48,406 คน = 13% (24) New Zealand 43,582 คน = 1.08% (25) Australia 381,718 คน = 1.9%

หากจะแยกเป็นทวีป เป็นโซน พบว่าศาสนาพุทธนับถือมากที่สุดในทวีปเอเชีย 98.73% โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก, เอเชียอาคเนย์ และเอเชียใต้ (East Asia= 502,345,411 คน, 70.918%, Southeast Asia = 166,920,075 คน, 23.565%, South Asia= 27,187,525 คน, 3.84%) ดังนี้ (1) Buddhism in Asia Region Total = 3,903,418,706 (2) Population Buddhists= 699,324,941 (3) % of Buddhists total= 17.916% (4) % of Buddhist Total= 98.73% [3]

ที่จริงมีผู้รู้ให้ข้อสังเกตว่า จำนวนคนนับถือพุทธศาสนาจะมากกว่านี้โดยเฉพาะในประเทศมหายาน (ที่ไม่ใช่วัชรยาน) เช่น จีน ญี่ปุ่น คือจะแฝงในกลุ่มไม่นับถือหรือเป็นความเชื่อท้องถิ่นเป็นพหุศาสนาคือ เชื่อทั้งพุทธ เต๋า ขงจื๊อ และจารีตดั้งเดิมด้วย จึงไม่จัดว่าเป็นศาสนาพุทธ เช่นเกี่ยวกับในญี่ปุ่น คนที่นับถือชินโต (Shinto) อย่างเดียวมีแค่กลุ่มที่เป็นนักบวชชินโตแต่ชาวบ้านทั่วไปหากนับถือชินโตก็จะนับถือพุทธด้วยเป็นต้น [4]

จำนวนผู้นับถือศาสนาอื่นของโลก [5]

จากข้อมูลปี 2545 ประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จาก 3 พันล้านคน ในปี 2504 เป็น 4 พันล้านคน ในปี 2518 และเพิ่มขึ้น จนมีจำนวนครบ 5 พันล้านคน ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2530 (องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น “วันประชากรโลก”) จากนั้นประชากรโลกก็เพิ่มเป็น 6 พันล้านคน ในปี 2542 และจากการคาดประมาณ พบว่า ในเดือนกรกฎาคม 2546 นี้ โลกจะมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 6.3 พันล้านคน [6]

ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ (UN) ประมาณการว่าประชากรโลกมีจำนวนราว 7.3 พันล้านคน ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 (2558) และจะเพิ่มจำนวนเป็น 8.5 พันล้านคน ในปี ค.ศ. 2030 (2573) และ 11.2 พันล้านคน ในปี ค.ศ. 2100 (2643) [7]

แนวโน้มศาสนาของโลกในอนาคตสำนักวิจัยพิว (Pew Research Center) สหรัฐอเมริการายงานว่า ในปี 2050 (2593) หรือในอีก 35 ปีข้างหน้าซึ่งโลกจะมีประชากร 9.3 พันล้านคน หากสถิติการเพิ่มของประชากรของโลกยังอยู่ในอัตราปัจจุบันนี้เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติของปี 2010 พบข้อสรุปสำคัญคือ

(1) โลกจะมีจำนวนชาวมุสลิม หรือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่กับชีอะห์ (Sunni and Shia, Shiites)ใกล้เคียงกับชาวคริสต์ คือ 2.8 : 2.9 พันล้านคน (30 : 31 %) ซึ่งในปี 2010 คือ 1.6 : 2.2 พันล้านคน (23 : 31 %) แนวโน้มหลังจากปี 2050 (2593) จำนวนชาวมุสลิมจะมีอัตราส่วนเท่ากับชาวคริสต์คือ 32 % ในราวๆ ปี 2070 (2613) หลังจากนั้นจำนวนของชาวมุสลิมจะมากกว่าชาวคริสต์และก่อนปี 2100 (2643) จะมีชาวมุสลิม 35 % และชาวคริสต์ 34 %

(2) พวกที่ไม่นับถือศาสนาใดๆ (ซึ่งอยู่ในอันดับสามของโลกรองจากคริสต์และอิสลาม) ที่ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสโดยจะเพิ่มจากเดิมในปัจจุบัน 1.1 พันล้านคนอีกประมาณ 100 ล้านคนเป็น 1.2 พันล้านคน แต่อัตราส่วนโดยรวมต่อประชากรของโลกจะลดลงจาก 16 % เป็น 13 %

(3) จำนวนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธจะคงที่เท่ากับปี 2010 เนื่องจากประเทศที่มีชาวพุทธส่วนใหญ่จะอยู่ในสังคมคนสูงวัย (aging population) และอัตราการเกิดต่ำ (low fertility rates) เช่น จีน ไทยและญี่ปุ่น เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู (Hindu) กับชาวยิว (Jewish) กลับมีจำนวนมากขึ้นกว่าปัจจุบัน

สถิติจำนวนคนไร้ศาสนาเพิ่มมากขึ้น [8]

คนไร้ศาสนา (irreligious persons) หรือ an atheist (เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า), agnostic (ไม่มีศาสนา) เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่เรียกขานกัน ผู้ที่ไม่นับถือศาสนาใดๆ ไม่เชื่อในศาสนา ไม่เชื่อในพระเจ้า เชื่อแต่ในหลักของวิทยาศาสตร์ ซึ่งในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้า เราก็มักจะพบเห็น Atheist ได้ทั่วไป โดยเฉพาะในทวีปยุโรปและอเมริกา นอกจากนี้ยังมีประชากรที่ยังคงนับถือผีสางเทวดา ซึ่งกระจายตัวอยู่ในชนเผ่าต่างๆ ในทวีปแอฟริกาและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปชิฟิก

ประชากรโลกว่า 84 % หรือประมาณ 6.9 ล้านคน ระบุว่าตนเองเป็นผู้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง สำหรับศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดคือศาสนาคริสต์ โดยมีประชากรผู้นับถือกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของโลก สำหรับ 7 อันดับ กลุ่มศาสนาความเชื่อที่มีผู้นับถืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่

อันดับ 1 ศาสนาคริสต์ 2.2 พันล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 31.5 % ของประชากรโลก แยกเป็นนิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic) ประมาณ 50 % นิกายโปรแตสแตนท์ (Protestant) นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) และนิกายกรีกออร์โธดอกซ์ (Greek Orthodox) รวมกัน 37 % ส่วนนิกายออร์โธดอกซ์ รวมกัน 12 %

อันดับ 2 ศาสนาอิสลาม 1.6 พันล้านคน หรือคิดเป็น 23 % ของประชากรโลก แยกเป็นนิกายซุนนีย์ (Sunni) 87 ถึง 90 % นิกายชีอะฮ์ (Shia, Shiites) 10 ถึง 13 %

อันดับ 3 สำหรับผู้ที่ระบุว่าไร้ศาสนา (irreligious persons) หมายถึง ผู้ที่แสดงตนว่าไม่ได้นับถือศาสนาใด ๆ เลย เช่น ผู้ที่ปฏิเสธการมีพระเจ้า หรือไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง หรือผู้ที่มีศรัทธาในจิตวิญญาณซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับศาสนาใด มีจำนวน 1.1 พันล้านคนทั่วโลก และกว่า 700 ล้านคนในจำนวนนี้ หรือคิดเป็น 62 % อาศัยอยู่ในประเทศจีน ซึ่งจำนวนดังกล่าวนี้คิดเป็น 52.2 % ของชาวจีนทั้งประเทศ รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่น โดยมากกว่า 72 ล้านคน หรือคิดเป็น 57 % ของประชากรทั่วโลก อันดับ 3 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 51 ล้านคน คิดเป็น 16.4 % ของชาวอเมริกันทั้งประเทศ

อันดับ 4 ศาสนาฮินดู เป็นศาสนาที่มีจำนวนผู้นับถือกระจุกอยู่เพียงในอินเดียมากที่สุดในโลกถึง 94 % ผู้คนที่นับถือศาสนาฮินดูมีอยู่มากในประเทศอินเดีย เนปาล และบังคลาเทศ

อันดับ 5 ศาสนาพุทธ ครึ่งหนึ่งพุทธศาสนิกชนทั่วโลกอาศัยอยู่ในประเทศจีน รองลงมาคือประเทศไทย 13.2 % และอันดับ 3 คือที่ญี่ปุ่น 9.4%

อันดับ 6 กลุ่มศาสนาเล็ก ๆ เช่น บาไฮ (Bahai) ลัทธิเต๋า (Tao) เจนไน (Chennai) ชินโต (Shinto) ซิกข์ (Sikh) เทนริเคียว (Tenrikyo) วิคคา (Wicca) และโซโรอัสเตอร์ (Zoroaster, Zoroastrianism) มีผู้นับถือรวมกันประมาณเกือบ 1 % หรือ 58 ล้านคนทั่วโลก ส่วนมากอยู่ในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค

อันดับ 7 กลุ่มผู้ที่นับถือธรรมชาติ กราบไหว้ภูตผีและเทพเจ้าอื่น ๆ ตามความเชื่อของบรรพบุรุษ มีประมาณ 405 ล้านคน หรือคิดเป็น 6 % ของประชากรทั้งโลก โดยส่วนใหญ่พบในทวีปแอฟริกา ประเทศจีน หรือชาวอินเดียนแดง และอะบอริจิ้น

อันดับ 8 ศาสนายิว มีผู้นับถือศาสนานี้ในประเทศอิสราเอล โดยคิดเป็น 40.5 % ของชาวยิวทั่วโลก ส่วนชาวยิวในประเทศสหรัฐฯ มีอยู่ถึง 41.1 %

จากสถิติที่สำรวจโดยสำนักวิจัยพิว (Pew Research Center) ในสหรัฐอเมริกา (The Pew Forum on Religion & Public Life) รวบรวมข้อมูลจากสถิติในปี 2553 พบว่า “คริสต์” ครองแชมป์คนนับถือมากที่สุด และ ประชากรโลกที่ระบุว่าตัวเองเป็นคน “ไร้ศาสนา” หรือ “ไม่ผูกพันกับศาสนาใด” มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนติดอันดับ 3 ประชากรโลก

ในศตวรรษที่ 21 นี้จำนวนคนไม่นับถือศาสนาทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายงานของศูนย์วิจัยพิว ที่สำรวจการนับถือศาสนาของคนทั่วโลก ระบุว่า ศาสนาคริสต์ยังคงเป็นศาสนาใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีผู้นับถือถึง 32 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก อันดับสองคือศาสนาอิสลามซึ่งมีผู้นับถือ 23 เปอร์เซ็นต์

ส่วนอันดับสามนั้นคือคนที่ไม่นับถือศาสนา (irreligious persons) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1,100 ล้านคนหรือประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก จำนวนคนไม่มีศาสนาจึงมากกว่าคนนับถือศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาซิกข์ (ซิกข์: Sikh, Sikhism) และศาสนายิว ศาสนาฮินดูมีผู้นับถือประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ส่วนศาสนาพุทธมีผู้นับถือประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์

จำนวนคนไม่มีศาสนาจึงมากกว่าคนนับถือศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาสิกข์ ตัวเลขที่สำรวจโดยบริษัทวิน-แกลลัป อินเตอร์เนชันนอล ประเทศที่มีสัดส่วนประชาชนที่ไม่นับถือศาสนาสูงที่สุดในโลก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเช็ก ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ จีนมีประชากรที่ไม่นับถือศาสนาถึง 47 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ญี่ปุ่นมี 31 เปอร์เซ็นต์ และฝรั่งเศสมี 29 เปอร์เซ็นต์

แนวโน้มคนที่ไม่นับถือศาสนาใดจะมีมากใน (1) ผู้ชาย (2) คนรายได้สูง (3) คนที่การศึกษายิ่งสูง (4) ในสังคมที่มีระบบสาธารณสุขดี มีระบบกระจายอาหารดี ที่อยู่อาศัยเพียงพอ ความยากจนต่ำ และมีความเท่าเทียมกันสูง

ส่วนประเทศที่คนเคร่งศาสนามากที่สุด ได้แก่ กานา ไนจีเรีย อาร์เมเนีย ฟิจิ และมาซิโดเนีย

คนจีน คนญี่ปุ่นถือศาสนาอะไร [9]

มาตอบคำถามที่น่าสงสัยว่าคนจีน คนญี่ปุ่น ถือศาสนาอะไร มีข้อมูลปี 2554 จำนวนคนที่นับถือศาสนาพุทธที่น่าสนใจมาก คือ China =391,894,143 คน 30 % Japan =90,466,243 คน 71 % Taiwan =5,723,596 คน 25 % จะเห็นได้ว่า ในจำนวนประชากรแล้วถือว่ามีสัดส่วนจำนวนคนนับถือพุทธที่สูงมาก ยิ่งในประเทศญี่ปุ่นมีร้อยละการนับถือพุทธที่สูงมาก

ข้อมูลนายคอนราด แฮ็กเกตต์ (Conrad Hackett : 29 ธันวาคม 2555) นักวิเคราะห์สถิติประชากร กล่าวว่า ... 52.2 % ของชาวจีนทั้งประเทศ รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่น โดยมากกว่า 72 ล้านคน หรือคิดเป็น 57 % ... อันดับ 4 ศาสนาฮินดู เป็นศาสนาที่มีจำนวนผู้นับถือกระจุกอยู่เพียงในอินเดียมากที่สุดในโลกถึง ... อันดับ 5 ศาสนาพุทธ ครึ่งหนึ่งพุทธศาสนิกชนทั่วโลกอาศัยอยู่ในประเทศจีน ... [10]

คนจีนยุคใหม่นับถือศาสนาอะไร

นอกจากนี้คนจีนโพ้นทะเลที่อพยพไปอยู่ตามท้องที่ต่าง ๆ ก็ได้นำความเชื่อศาสนาพุทธติดตัวไปด้วย เช่น มีผู้ที่นับถือพุทธส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีน ในมาเลย์ สิงคโปร์ เป็นต้น จากข้อมูลอัตราร้อยละ (%) ของจำนวนคนนับถือพุทธในประเทศจีนค่อนข้างสับสนมาก มีจำนวนตั้งแต่ 8 % จนถึง 80 % ของจำนวนประชากร เช่นข้อมูลใน Religion in China (CFPS 2014) [11] ระบุว่า (1) Chinese folk religion / Unaffiliated (73.56%) (2) Buddhism (15.87%) (3) Other religious organisations, including folk sects and the Taoist Church (7.6%) (4) Christianity (2.53%) (5) Islam (0.45%)

อย่างไรก็ตามแม้ศาสนาพุทธจะเข้าสู่ประเทศจีนมาช้านาน คือ ดังที่ปรากฏในหลักฐาน เมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยของพระจักรพรรดิเม่งเต้แห่งราชวงศ์ฮั่น [12] แต่มีผู้กล่าวว่า แม้ในจีนมีชาวจีนนับถือศาสนาพุทธมาก แต่ชาวจีนก็ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ

มาดูข้อมูลปี 2551 ในระหว่าง ขงจื๊อ เต๋า และพุทธศาสนา มีอาจารย์ชาวจีนท่านหนึ่งเล่าว่า หากเปรียบชาวจีนและสังคมจีน เป็นโพธิสัตว์สามหน้า คือ ใบหน้าแรกที่ใหญ่ที่สุดคงเป็น ขงจื๊อใบหน้าด้านขวาก็คงเป็น พุทธศาสนา ส่วนใบหน้าด้านซ้ายก็ย่อมเป็น เต๋า โดยหากแบ่งเป็นสัดส่วนแล้วละก็ อาจารย์ท่านเดิมก็นึกอยู่สักพักแล้วตอบว่า ขงจื๊อน่าจะกินเนื้อที่ 60 % พุทธ 30 % และ เต๋า 10 % (ชาวจีนและสังคมจีนในที่นี้หมายถึง 'ชาวฮั่น' โดยไม่รวมชนกลุ่มน้อย) [13]

ผลการสำรวจศาสนาในจีน ปี 2012/2555 พบว่า คนจีนส่วนใหญ่ ไม่นับถือศาสนา ขงจื๊อ เต๋า และ ความเชื่อท้องถิ่น = 87.4 % ศาสนาพุทธ = 6.2 % คริสต์ = 2.3 % อิสลาม = 1.7 % ตามลำดับ ถ้าเป็นไปตามการสำรวจนี้ คนจีน จะคล้ายคนญี่ปุ่น คือ คนส่วนใหญ่ ไม่นับถือศาสนา [14]



[1] จำนวนคนนับถือศาสนาพุทธในโลก, 15 พฤษภาคม 2551, https://trang82.wordpress.com/2012/05/15/จำนวนคนนั... &http://www.buddhist-tourism.com/buddhism/buddhism-... &http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_religious_pop...

[2] สถิติชาวพุทธทั่วโลก, 18 มิถุนายน2554, http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/...

[3] สถิติชาวพุทธทั่วโลก, 18 มิถุนายน2554, อ้างแล้ว

[4] เผย”คนไร้ศาสนา”เพิ่มมากขึ้น ครองอันดับ 3 ของโลก “คริสต์” ครองแชมป์คนนับถือมากที่สุด, 29 ธันวาคม 2555, http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1...

[5] ชำนาญ จันทร์เรือง, ศาสนาของโลกในอนาคต, กรุงเทพธุรกิจ, 15 เมษายน 2558, http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634240 & http://www.pewforum.org/2015/04/02/religious-proje...

[6] ประชากรโลก : ประชากรไทย, 2545, http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/in...

[7] ประชากรโลก, จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, https://th.wikipedia.org/wiki/ประชากรโลก

& “UN projects world population to reach 8.5 billion by 2030, driven by growth in developing countries”. United Nations Department of Economic and Social Affairs. July 30, 2015. สืบค้นเมื่อ July 30, 2015.

[8] เผย “คนไร้ศาสนา” เพิ่มมากขึ้น ครองอันดับ 3 ของโลก “คริสต์” ครองแชมป์คนนับถือมากที่สุด, 29 ธันวาคม 2555, http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... & โลกนี้มีคนไม่นับถือศาสนามากแค่ไหน?, VoiceTV, 10 กรกฎาคม 2556, http://news.voicetv.co.th/world/74966.html

[9] สถิติ ชาวพุทธทั่วโลก, 18 มิถุนายน 2554, http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/06/Y10702057/Y10702057.html

[10] แม้ในจีนมีชาวจีนนับถือศาสนาพุทธมาก แต่ชาวจีนก็ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ, 23 เมษายน 2551, http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/04/Y6543660/Y6543660.html

[11] Religion in China, From Wikipedia, the free encyclopedia, http://en.wikipedia.org/wiki/Religion_in_China

[12] ศาสนาพุทธในประเทศจีน, วิกิพีเดีย, https://th.wikipedia.org/wiki/ศาสนาพุทธในประเทศจีน

[13] แม้ในจีนมีชาวจีนนับถือศาสนาพุทธมาก แต่ชาวจีนก็ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ, 23 เมษายน 2551, อ้างแล้ว

[14] คนจีนยุคใหม่จะนับถือศาสนาอะไร, OKNation, โดย นพ.วัลลภ (wullopp), 24 สิงหาคม 2558, http://oknation.nationtv.tv/blog/health2you/2015/0...

หมายเลขบันทึก: 627003เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2017 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2017 08:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thank you.

Buddhism in Thailand is said to be of Theravāda but in real practice appears to be of a pantheistic belief - the Buddha has become a supreme being that can answer to prayers and sacrifices, along with the many super beings... Practicing Buddhism now are less of improving noneself and society but more of 'money making' and 'oneself'.

Comparative The Constitution of Thailand, B.E. 2550 (2007) VS. B.E. 2560 (2017)

CONSTITUTION OF THE KINGDOM OF THAILAND, B.E. 2550 (2007)


Article 4. Human dignity, rights, liberty, and equality of the people shall be protected.


Article 5. The Thai people, irrespective of their origins, sexes, or religions shall enjoy equal protection under this Constitution.


Article 9. The King is a Buddhist and Upholder of religions.


Article 30. All persons are equal before the law and shall enjoy equal protection under the law.

Men and women shall enjoy equal rights.

Unjust discrimination against a person on the grounds of the difference in origin, race, language, sex, age, physical or health condition, personal status, economic or social standing, religious belief, education, or Constitutional political views, shall not be permitted.

Measures determined by the State in order to eliminate obstacles to or promote persons' ability to exercise their rights and liberties as other persons shall not be deemed as unjust discrimination under paragraph three.


Article 37. A person shall enjoy full liberty to profess a religion, a religious sect or creed, and observe religious doctrine or exercise a form of worship in accordance with his or her belief; provided that it is not contrary to his or her civic duties, public order or good morals.

In exercising the liberty referred to in paragraph one, a person is protected from any act of the State, which is derogatory to his or her rights or detrimental to his or her due benefits on the grounds of professing a religion, a religious sect or creed or observing religious doctrine or precepts or exercising a form of worship in accordance with his or her belief which is different from that of others.


Article 70. Every person shall have a duty to uphold the Nation, religions, the King, and the democratic regime of government with the King as Head of the State under this Constitution.


Article 79. The State shall patronize and protect Buddhism which the majority of Thais have followed for a long time and other religions. It shall also promote good understanding and harmony among followers of all religions as well as encourage

the application of religious principles to enhance virtues and develop quality of life.


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ตราไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐


มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง

ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน


มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก


มาตรา ๒๗ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติภาษา เพศอายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพสถานะของบุคคลฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้

มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

บุคคลผู้เป็นทหารตำรวจข้าราชการเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐและพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐย่อมมีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม


มาตรา ๓๑ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน


มาตรา ๕๐ บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

...


มาตรา ๖๗ รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น

ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท