การจัดการขยะในชุมชนเมืองสวนตะไคร้มีดีอย่างไร ... " ชุมชนรู้/ Node รู้ / โลกรู้ "


วันนี้ คณะทำงาน Node นำโดยอาจารย์พีรพัฒน์ พันศิริ และทีมสื่อช่องเคเบิ้ลทีวีลงพื้นที่ถ่ายทำรายการ ราชภัฏทอล์ค นำเสนอความน่าสนใจของโครงการการจัดการขยะในชุมชนเมืองสวนตะไคร้ ....

หลายเดือนที่ผ่านมาคณะทำงาน Node นครปฐม ได้ทำหน้าที่ในการติดตามและหนุนเสริมทุกโครงการมาโดยตลอด ได้มีการติดต่อสื่อสารกับโครงการย่อยทุกโครงการอย่างต่อเนื่องผ่านทางการพูดคุยโทรศัพท์ ติดตามการอัพเดตการดำเนินกิจกรรมผ่านทาง Line หรือ Facebook และสิ่งสำคัญคือ " จากการลงพื้นที่จริง " ซึ่งจากหลายๆช่องทางนั้นทำให้ คณะทำงาน Node สามารถมองเห็นและประเมินได้ว่าโครงการใดที่มีความเสี่ยงน่าเป็นห่วงและต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และโครงการใดที่น่าชื่นชม จากการที่เกิดรูปธรรมความสำเร็จที่ชัดเจน และมีความน่าสนใจ ซึ่งนอกจากรับรู้ได้ของชุมชนเอง และ Node ที่ติดตามอยู่เสมอนั้นคณะทำงาน Node ได้มีการตกลงร่วมกันว่าควรที่จะนำเสนอโครงการที่มีน่าสนใจและ มีความโดดเด่นนั้นผ่านสื่อ รายการโทรทัศน์เคเบิ้ลทีวี , youtube ด้วยเพื่อแบ่งปันให้ทุกคนได้รับรู้ร่วมกันถึงแนวคิด วิธีการทำงานซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ใการทำงานได้

โครงการจัดการขยะในชุมชนเมืองสวนตะไคร้

โครงการการจัดการขยะในชุมชนเมืองสวนตะไคร้ เป็นหนึ่งในโครงการที่เกิดรูปธรรมที่ชัดเจน และมีแนวทางการบริหารจัดการทั้งคนและทั้งขยะที่น่าสนใจ ด้วยผู้นำที่เข้มแข็งมีแนวคิดและบุคลิกที่โดดเด่นอย่างคุณณัฐวุฒิ อนุชิตอารมณ์ ด้วยความร่วมมือของคนในชุมชนทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็กเยาวชน วัยแรงงานและผู้สูงอายุ และด้วยการประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอจากทั้งเสียงตามสายและ จากปากต่อปาก ของคนที่อยากเห็นชุมชนสะอาดและคนในชุมชนมีรายได้ ก่อให้เห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจนคือ

> การส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนคัดแยกขยะโดยจัดตั้งธนาคารขยะ และสร้างนวัตกรรม ขยะแลกแต้ม สร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนนำขยะมาขายร่วมกันทุกอาทิตย์สุดท้ายของเดือน

> เกิดการก่อตั้ง กลุ่มจิตอาสาสวนตะไคร้ทำความดีเพื่อพ่อ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มเด็กเยาวชน และชาวบ้านในชุมชน เพื่อร่วมกันเก็บขยะในชุมชนร่วมกันทุกเดือนเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้ชุมชนสะอาดน่าอยู่และปลูกฝังจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนด้วย

** นอกจากนี้ความน่าสนใจของโครงการคือ การเป็นโครงการตัวอย่างที่นำนักศึกษาหรือภาควิชาการเข้ามามีส่วนร่วมการทำงานกับชุมชนได้อย่างชัดเจน โดยการที่ชุมชนสวนตะไคร้ได้เป็นพื้นที่ในการศึกษาชุมชน ของนักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้กระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะ ซึ่งได้เข้ามาเป็นอีกกลุ่มมดแรงที่เข้ามาเรียนรู้และช่วยงานชุมชนได้จริง ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมเก็บขยะกับชุมชนทุกเดือน ช่วยทำแผนที่เดินดินและรวบรวมข้อมูลชุมชน ซึ่งน้องๆนักศึกษาก็ได้รับความรู้นอกตำราและประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับชุมชนด้วย

ด้วยผลงานและกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของชุมชนนั้น ถึงแม้ขณะนี้โครงการจะยังไม่จบและ ไม่สามารถชี้วัดได้ชัดเจนว่าของปริมาณขยะก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการแตกต่างกันปริมาณเท่าใด แต่จากการสังเกตและสอบถามความพึงพอใจทำให้คณะทำงานเชื่อมั่นว่า ปริมาณขยะในชุมชนลดลงอย่างแน่นอน และจากการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้นอกจากปริมาณขยะที่ลดลงแล้ว ชุมชนยังได้กำไรมากกว่านั้น นั่นคือได้สร้างพลังความร่วมมือให้เกิดขึ้นในชุมชนเพิ่มขึ้น สังเกตุได้จากความร่วมมือของคนในชุมชนที่ร่วมมือร่วมแรง และร่วมใจกันเก็บขยะท่ามกลางอากาศที่ร้อนจัด และต้องเดินเท้าระยะทางกว่า 5 กิโล !! จากที่ไม่เคยทำกันมาก่อน นี่อาจเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่าคนในชุมชนมีจิตสำนึกรักชุมชนมากขึ้นแล้วเพราะ "ถ้าไม่รักชุมชนจริงทำไม่ได้นะคะ "


เมื่อเรารู้กันแล้วว่าชุมชนสวนตะไคร้มีดีอย่างไร ทำไม คณะทำงาน Node ถึงต้องมาถ่ายทำเพื่อนำเสนอจากนี้ลองมาดูภาพบรรยากาศในการถ่ายทำกันดีกว่าค่ะ

เริ่มจากวางแผน ปรึกษากันก่อน


พร้อมแล้ว... ถ่ายได้ คุณณัฐวุฒิและอาจารย์พีรพัฒน์เกริ่นนำที่มาในการถ่ายทำในวันนี้


พร้อมแล้วเก็บภาพบรรยากาศการทำกิจกรรมเก็บขยะของกลุ่มจิตอาสาสวนตะไคร้ทำความดีเพื่อพ่อ

ลุยค่ะ !! ... แดดร้อนแค่ไหนดูได้จากหมวกของทุกคน

เก็บค่ะ เก็บ ข้างคลองเก็บได้เราก็เก็บ น้องๆ นักศึกษาพัฒนาชุมชนก็มาช่วยเก็บเหมือนทุกครั้งนะคะ

หญ้ารกก็ช่วยกันตัดค่ะ เพื่อชุมชนเรา

ไม่ใช่แค่เก็บภาพนะคะ แต่เราเก็บกันจริงจัง ถุงขยะเต็มไปหลายใบเลย


มาดูกระบวนการขายขยะกันบ้างค่ะ


เมื่อชาวบ้านคัดแยกที่บ้านเยอะแล้วจะขนมาที่ธนาคารขยะ


คณะทำงานจะช่วยกันชั่ง ช่วยกันจดบันทึก โดยมีผู้ประกอบการร้านรับซื้อของเก่ามารับซื้อและจ่ายเงินให้เลย


ประธานเองก็นำมาขายเป็นตัวอย่างที่ดีด้วยนะคะ (เยอะซะด้วย)


จบภาระกิจได้กินกระเพราไข่ดาวอร่อยๆ กันทุกคนเลยค่ะ


ความน่ารักสุดท้าย คือการใช้กระทงใบตองแทนการใช้ถ้วยโฟมหรือพลาสติก ลดปริมาณขยะค่ะ

สุดท้ายนี้ เมื่อคลิปวิดีโอตัดต่อเรียบร้อยสมบูรณ์แบบเมื่อไหร่ Node จะนำมาแชร์ให้ทุกท่านได้ดูกันนะคะ

แล้วเจอกันค่ะ ^^



หมายเลขบันทึก: 626548เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2017 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2017 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท