การบริหารจัดการนวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ตอนที่ 2


นอกจากความเข้าใจที่ว่านวัตกรรมควรมุ่งเน้นที่กระบวนการ (Process) ไม่ใช่เป็นเรื่องของการทำเป็นโครงการ (Project) คงไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะถามว่าทำนวัตกรรมไปเพื่ออะไร แต่ควรคิดว่าจะทำให้เกิดนวัตกรรมได้อย่างไร

ประเด็นที่สอง การกำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรมให้ไปสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ (Crafting Innovation Strategy for Commercialization) ซึ่งควรพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับวงจรชีวิตของนวัตกรรม (Cash Flow – Innovation Life Cycle) เพื่อไม่ให้เกิดการสะดุดและต่อยอดได้อย่างต่อเนื่อง ประเภทของนวัตกรรมที่จะลงทุนพัฒนา (Types of Innovation) นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) หรือกระบวนงาน (Process Innovation) อีกมุมมองหนึ่งที่มีต่อประเภทของนวัตกรรมก็คือ ลักษณะของนวัตกรรมนั้นจะเป็นไปแบบก้าวกระโดด (Radical Innovation) ซึ่งเน้นไปที่สิ่งใหม่หรือแตกต่างไปจากสิ่งเดิมๆ จึงมักจะกังวลหรือละเลยในเรื่องการพัฒนาสินค้าใหม่บนพื้นฐานของธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ หรือลักษณะของนวัตกรรมนั้นจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Innovation) ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับสิ่งเดิมที่มีอยู่ โดยให้น้ำหนักไปที่การปรับปรุงคุณลักษณะ (Feature) หรือต้นทุนของสินค้าและบริการเดิม

ประเด็นที่สาม แนวทางการนำไปสู่การมีนวัตกรรม (Approaches in Leading Innovation) อาจเกิดขึ้นได้จากความก้าวหน้าของตัวผลิตภัณฑ์ (Product advancement) การพัฒนาคุณลักษณะใหม่แก่ผลิตภัณฑ์ (New product feature development) การควบรวมหรือบรรจบกันของคุณลักษณะต่างๆ (Convergence) การนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่บริการ (Putting products into services) และการเพิ่มประสบการณ์ให้แก่ลูกค้า (Improvement of customer experiences) นอกจากนี้ แนวทางการนำไปสู่การมีนวัตกรรมตามแนวคิดของนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) ได้มุ่งเน้นไปที่การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในแง่ของการมีส่วนร่วมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งออกเป็นช่วงตามวงจรชีวิตของสินค้าและบริการ ได้แก่

Lead User Innovation - การค้นหากลุ่มผู้สนใจที่ต้องการทดลองสิ่งใหม่เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนาสินค้าไปกับบริษัท ซึ่งผู้ร่วมทดลองกลุ่มนี้มีแนวโน้มจะกลายมาเป็นลูกค้าที่มีศักยภาพในอนาคต ดังเช่นบริษัท LEGO ที่ให้เด็กมาลองเล่นเพื่อช่วยเรียนรู้และออกแบบสินค้า

Customization / Personalization - การปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการ/ความเหมาะสมของแต่ละบุคคลได้ ตัวอย่างเช่น บริษํท KOKO ที่สร้างอุปกรณ์พกพาเพื่อแนะนำเครื่องออกกำลังกายพร้อมวิธีการใช้งานที่เหมาะเป็นรายบุคคล แทนการใช้บริการเทรนเนอร์ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า หรือกรณีของธนาคาร OCBC ที่ประเทศสิงคโปร์ไดด้ออกแบบสาขาของธนาคารให้เข้ากับเด็ก ซึ่งผนังในแต่ละด้านจะมีสิ่งของเครื่องเล่นให้เด็กมีกิจกรรมอยู่กับที่ เพื่อไม่ให้วิ่งเล่นรบกวนลูกค้ารายอื่น

Innovation Community / Customer Involvement – การให้ลูกค้าเข้าร่วมกิจกรรม เช่น MUJI ได้พยายามขาย Living Solution โดยความพยายามใส่ Function การใช้งานที่หลากหลายให้กับสินค้าด้วยวิธีการที่แตกต่างจากเดิมซึ่งอาศัยกระบวนการของทีมงานในการออกแบบและพัฒนาสินค้าตามปกติ โดยให้ลูกค้าได้เข้ามาระบุความต้องการตลอดจนขั้นตอนอื่นๆ ที่สร้างความภักดี (Customer Loyalty) ผ่านทางเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้น

Process Innovation – ตัวอย่างเช่นกรณีของบริษัท Staples ….

Open Innovation - ตัวอย่างเช่น Wikipedia แต่เดิมมีความตั้งใจเพียงแค่เป็นเว็บรวบรวมบทความเพื่อสร้างรายได้จากโฆษณา โดยใช้ชื่อเว็บไซต์ว่า Nupedia ต่อมาได้เปลี่ยนโมเดลธุรกิจมาเป็นการป้อนข้อมูลจากผู้ใช้ได้ทั่วโลกและดำรงอยู่ได้ด้วยเงินบริจาค ทำให้สามารถเติบโตขึ้นจากเดิมมาก

แนวทางทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยนวัตกรรมของโมเดลธุรกิจ (Business Model Innovation) ซึ่งแตกต่างจากโมเดลธุรกิจแบบดั้งเดิม เพื่อผลักดันนวัตกรรมที่สร้างขึ้นให้เป็นไปได้จริงในทางธุรกิจ อาทิเช่น Power by the Hour ที่ก่อให้เกิด GE Aviation System หรือแม้แต่ Pay as You Go โดย Zipcar

ประเด็นที่สี่ ระบบงานและการสนับสนุนจากบทเรียนต่างๆ (Systems and Supports with the Lessons Learned from Various Organizations) ที่อาจนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ในองค์กรได้

กรณีศึกษา: P&G - เริ่มก่อตั้งเมื่อ 100 กว่าปีก่อน จากผลิตภัณฑ์ยุคบุกเบิกคือเทียนไข ด้วยการที่มี R&D เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดวิวัฒนาการของสินค้าและเทคโนโลยีจนกลายมาเป็น P&G ในทุกวันนี้ ทั้งนี้ ผู้บริหารยังคงกังวลกับความสามารถทางการแข่งขันในอนาคตแม้ว่าวันนี้ยังมีโอกาสที่ดีอยู่ก็ตาม จึงได้กำหนดเป็นจุดแข็งหลัก 5 ด้านที่นำไปสู่การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในปี 2000 ได้แก่ การเข้าใจความต้องการของลูกค้า (Customer Understanding) นวัตกรรม (Innovation) การจุดประกายตราสินค้า (Brand Building) การเข้าถึงตลาดที่มีศักยภาพ (Go to the market Capabilities) และการขยายโอกาสที่ได้เปรียบ (Scale) ในระยะเวลาต่อมา P&G ได้กำหนดกลยุทธ์ C&D (Connect and Develop) ซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งของ Open Innovation อันนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของรายได้กว่า 35% ในปี 2006 จนในปัจจุบัน P&G ได้กลายมาเป็นองค์กรที่เปิดให้เกิด R&D จากภายนอก

ตัวอย่างช่องทางหรือโมเดลธุรกิจตามแนวคิดของนวัตกรรมแบบเกิด (Open Innovation) เช่น Cloud Sourcing ซึ่งบริษัทเจ้าของสินค้าได้ประกาศความต้องการหรือมอบโจทย์ให้สมาชิกใน community ช่วยกันคิดหาหนทาง และมอบรับรางวัลในกรณีสามารถให้ solution ที่ตอบโจทย์ได้ อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ Crowd Funding เป็นแนวคิด/ระบบที่ช่วยลดปัญหาด้านเงินทุนเพื่อนำไปสร้างสินค้าต้นแบบและสร้างเป็นธุรกิจจริงได้ต่อไป

การแพร่ของนวัตรรม (Diffusion of Innovation) ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าตามการยอมรับผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมทั้ง 5 กลุ่ม อันประกอบไปด้วย Innovators, Early Adopters, Early Majority, Late Majority และ Laggards ให้สามารถบริหารจัดการสินค้าและบริการให้ตอบสนองความต้องการแต่ละกลุ่มได้ ทั้งนี้ การที่สินค้านวัตกรรมบางอย่างเริ่มต้นได้ดีแต่ไม่สามารถยืนอยู่ได้ในระยะยาวและล้มเหลวในที่สุด เพราะสามารถตอบโจทย์ได้เพียงลูกค้าบางกลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีขนาดไม่ใหญ่พอ (Mass หรือ Majority Group) ดังนั้น อาจจะสรุปได้ว่า สินค้าที่ได้รับการยอมรับกับคนกลุ่มแรกๆด้านนวัตกรรมไม่ได้หมายความว่าจะเป็นที่ยอมรับของคนหมู่มาก ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี Blue-ray ไม่สามารถยกระดับให้กลายเป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมได้จนกระทั่งถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีอื่น เช่น Cloud Storage

ข้อจำกัดของการสร้างนวัตกรรมในองค์กร (Challenges and Limitations) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SME ยังคงมีข้อจำกัดเรื่ององค์ความรู้และทรัพยากร โดยเฉพาะเรื่องเงินทุน ทั้งนี้ ได้มีโครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบนวัตกรรม (Innovation Systems) ของประเทศไทยขึ้น เพื่อสร้างระบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง โอกาสและอุปสรรคในอุตสาหกรรม อันนำไปสู่การกำหนดนโยบายที่สามารถสนับสนุนอุตสากรรมได้อย่างเหมาะสม

ประเด็นที่ห้า การสร้างองค์กรนวัตกรรม (Creating an Innovative Organization) หากต้องการพัฒนาองค์กรไปสู่การมีนวัตกรรม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเริ่มจากบุคคลากรด้วยการบ่มเพาะทักษะของการเป็นนักนวัตกร (Innovator) ได้แก่ ความสามารถในการเชื่อมโยงและทำความเข้าใจกับปัจจัยการผลิตที่แปลกใหม่ (Associating) ความสามารถในกาตั้งคำถามเพื่อสืบค้นในรายละเอียดเพิ่มเติม (Questioning) ความสามารถในการสังเกตการณ์สิ่งรอบตัว ทั้งลูกค้า ผลิตภัณฑ์บริการ เทคโนโลยีหรือแม้แต่ในบริษัทเองก็ตาม (Observing) ความสามารถในการทดลองและนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ (Experimenting) ความสามารถในการค้นหาแนวคิดใหม่ๆ และทดสอบแนวคิดโดยนำไปใช้กับคนที่อาจเสนอมุมมองที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง (Networking)

Rogers ยังได้อธิบายถึงสิ่งที่องค์กรนวัตกรรมจะต้องมี ได้แก่ ความมุ่งมั่น พันธสัญญาจากผู้บริหารระดับสูง (Commitment from top management) ทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง (Positive attitude toward change) กระจายอำนาจการตัดสินใจ (Decentralized decision making) วัฒนาธรรมแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneurial culture) ลดความยุ่งยากซับซ้อน (Complexity reduction) โครงสร้างอย่างไม่เป็นทางการ (Informal structure) ความเชื่อมโยงถึงกัน (Interconnectedness) และการมีระบบเปิด (System openness)

นอกจากนี้ จากโครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบนวัตกรรม (Innovation Systems) ของประเทศไทย ยังสรุปว่าปัจจัยหลัก 5 ประการสำหรับการพัฒนาระดับขีดความสามารถของการเป็นองค์กรนวัตกรรมในบริบทขององค์กรไทย ประกอบไปด้วย วัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) การสนับสนุนและลักษณธทางกายภาพ (Support on Physical Aspects) ความตั้งใจจากผู้บริหาร (Commitment from Management Team) และการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Vision and Goal Sharing)

อ้างอิง : http://www.thanakrit.net/innovative-organization-2...

หมายเลขบันทึก: 626074เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2017 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2017 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท