กิจกรรมบำบัดกับโรคมะเร็ง


ถ้าพูดถึงมะเร็ง ทุกคนก็คงจะรู้สึกเหมือนๆกันว่าเป้นโรคที่น่ากลัว ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองและครอบครัว มะเร็งคือเนื้องอกกชนิดร้ายอย่างหนึ่ง เกิดจากการผิดปกติของเซลล์ที่มีการแบ่งตัวออกและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งมองเห็นเป็นเนื้อที่ผิดปกติขึ้นมาอย่างชัดเจน

ในที่นี้จะพูดถึงมะเร็งระยะที่ 3 เป็นระยะที่ก้อนหรือมะเร็งมีขนาดใหญ่ ลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง/เนื้อเยื่อข้างเคียง ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองหลายต่อม วิธีการรักษาทั่วไปของมะเร็งสามารถใช้ได้หลายรูปแบบ

  • การผ่าตัดเอาเนื้องอกออก เพื่อการรักษาหรือบรรเทาอาการ
  • การฉายรังสี เน้นการฉายรังสี โดยเจาะจงตรงจุดที่เป็น และเนื้อเยื่อรอบๆเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  • การบำบัดด้วยฮอร์โมน เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • เคมีบำบัด (การทำคีโม) คือ การใช้ยาต้านมะเร็งไปฆ่าเซลล์มะเร็ง ทำได้ทั้งการฉีดผ่านกระแสเลือด ผ่านกล้ามเนื้อ โพรงร่างกาย โดยตรง หรือเป็นเม็ดสำหรับกิน

การใช้เคมีบำบัดจะมีผลข้างเคียงมากมาย ในแต่ละคนก็จะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ด้านสภาพร่างกาย

เนื่องจากเมื่อผู้ป่วยรู้ตัวว่าตนเป็นโรคมะเร็ง ผู้ป่วยก็จะต้องรีบเข้ารับการรักาาโดยด่วน เพื่อที่มะเร็งจะได้ไม่กระจายมากขึ้น ผู้ป่วยก็จะได้รับการรักษาต่างๆมากมาย อาจเป็นวิธีใดวิธีหนึ่งดังข่างต้นที่ได้กล่าวไว้ หรือแพทย์อาจประยุกต์การรักษาต่างๆเข้าด้วยกัน ซึ่งแน่นอนว่าผู้ป่วยจะต้องมีอาการล้าทางด้านร่างกาย รวมทั้งเกิดความเครียด เมื่อมีความเครียดก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ไม่มีแรง นอนไม่หลับ

นักกิจกรรมบำบัดจึงมีบทบาทที่จะช่วยด้านสภาพร่างกายคือ ช่วยแนะนำ โปรแกรมการจัดการตนเอง (Self-Management Program) และเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติตามโปรแกรม ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับคือ ผู้ป่วยจะสามารถจัดการบริหารการดำเนินชีวิตของตัวเองในแต่ละวันโดยไม่อ่อนเพลียเกินไป เพราะผู้ป่วยจะสามารถจัดการพลังงานที่มีอยู่ให้เพียงพอต่อการทำกิจกรรม เช่น ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ช่วยในการลดการใช้พลังงาน, แบ่งการทำกิจกรรมเป็นช่วงๆ, เรียงลำดับการทำกิจกรรม ให้เลือกกิจกรรมที่คาดว่ามีพลังพอที่จะทำได้ก่อน

นอกจากการปฏิบัติตามโปรแกรม Self-Management เพื่อจัดการบริหารพลังของตนเองแล้ว การพักผ่อนก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะหากไม่พักผ่อนให้เพียงพอ ร่างกายก็จะไม่มีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อย่างเต็มที่ เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้อ่อนเพลียได้ นักกิจกรรมบำบัดจึงควรแนะนำข้อควรปฏิบัติในการพักผ่อน เช่น ให้พักผ่อนก่อนที่จะเพลียทำให้สามารถป้องกันการเพลียต่อเนื่องได้, แบ่งการพักผ่อนเป็นช่วงๆ หลายๆครั้ง, จดกิจกรรมที่ต้องทำ, การวางแผนการพักผ่อน, จัดทำตารางกิจกรรมล่วงหน้าและอาจจะให้ผู้ป่วยออกกำลังกายก็จะช่วยในเรื่องการนอนหลับ และสร้างภูมิต้านทานได้มากยิ่งขึ้น

ด้านอาหาร

เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแล้ว การกลับมาดำเนินกิจวัตรประจำวันก็ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะหากทำแบบเดิมผลลัพธ์ก็จะไม่ต่างอะไรกับตอนก่อนที่จะเป็น ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญคือเรื่องอาหาร

นักกิจกรรมบำบัดจะเข้าไปมีส่วนช่วยในเรื่องของการแนะนำการเลือกกิน! การเลือกกินในที่นี้คือ เลือกที่จะไม่กิน อาหารที่ทำให้มะเร็งเจริญเติบโต เช่น เนื้อสัตว์ ไขมัน อาหารรสเค็ม และควรจะฟื้นฟูภูมิต้านทานร่างกายของตนเองให้ได้โดยเร็ว ด้วยการกินผักสด ผลไม้สด เพื่อช่วยเสริมวิตามินให้แก่ร่างกาย และกินสาหร่าย เพราะสาหร่ายนั้นเป็นแหล่งเกลือแร่ เสริมภูมิต้านทานที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ หากผู้ป่วยไม่สามารถห้ามใจได้ หรือไม่อยากกินอาหารที่มีประโยชน์ นักกิจกรรมบำบัดก็จะต้องคุยและให้ความรู้กับญาติให้ช่วยดูแลควบคุมในเรื่องนี้

ด้านสภาพจิตใจ

หลังจากที่ผู้ป่วยรู้ตัวว่าเป็นโรคมะเร็ง ส่วนมากก็จะคิดว่า จบสิ้นแล้วชีวิตนี้ ไม่มีทางหายขาด เกิดอารมณ์ต่างๆ มากมายขึ้นในใจอย่างเลี่ยงไ่มได้ วิตก กังวลใจ ไม่รู้จะทำอย่างไรในชีวิต

นักกิจกรรมบำบัดมีหน้าที่เข้าไปดูแลสภาพจิตใจโดยการให้คำปรึกษา แนะนำ และที่สำคัญคือให้กำลังใจ จากบทความในหนังสือต่างๆ มากมายที่ตัวนักศึกษาเองได้ค้นคว้า พูดถึงว่าโรคมะเร็งสัมพันธ์กับจิตใจมากที่สุด ศัลยแพทย์ริชาร์ด กาย ได้เขียนหนังสือว่าด้วยเรื่อง อิสตรีที่เป็นมะเร็งได้ง่าย ความว่า "มักจะเป็นคนที่มีจิตใจเศร้าหมอง ซึมเศร้า และประสบมรสุมในชีวิต หรือพบกับปัญหาหนักๆ หรือเรื่องเศร้าโศก" เห็นได้ว่า จิตใจนั้นสำคัญต่อการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งมะเร็ง และเมื่อเป็นขึ้นมาแล้ว ก็ต้องฟื้นฟููจิตใจให้ดีขึ้น ปรับแนวคิด การใช้ชีวิตต่างๆ เพื่อให้อาการไม่ทรุดลงหรือในกรณีที่หายก็จะได้ไม่กลับไปเป็นซ้ำอีก การบำบัดทางด้านจิตใจอาจเป็นเรื่องยากในขั้นตอนเริ่มต้น ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดและครอบครัวควรจะเป็นกำลังร่วมต่อสู้ไปกับผู้ป่วย ไม่ให้ผู้ป่วยคิดตนเองกำลังต่อสู้กับโรคนี้เพียงลำพัง

วิธีที่ช่วยได้มากคือ การให้ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการอยู่กับมะเร็งมาก่อน มาจัดกลุ่มพูดคุยและเปลี่ยนความคิดเห็น และแนะนำการใช้ชีวิตโดยที่มีนักกิจกรรมบำบัดเคยช่วยให้คำปรึกษา ในส่วนของครอบครัว ผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากจะกลัวเป็นภาระให้กับคนรอบข้าง ทั้งการดูแลและผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ความคิดต่างๆ นาๆ ที่ถูกปรุงแต่งจากความกลัวและกังวล ทำให้เกิดทุกข์มากยิ่งขึ้น นักกิจกรรมบำบัดต้องเข้าไปพูดคุยกับครอบครัวให้ครอบครัวของผู้ป่วยเข้าใจถึงความทุกข์ของผู้ป่วย และให้ครอบครัวให้กำลังใจผู้ป่วยมากๆ และอาจให้ผู้ป่วยทำสมาธิ ฝึกจิต จิตใจจะได้นิ่งมากขึ้น เห็นว่าความทุกข์ที่เขาทุกข์อยู่ เกิดขึ้นได้อย่างไร ทุกข์แล้วส่งผลอะไรบ้าง ให้ผู้ป่วยได้มองแง่มุมต่างๆ ของชีวิต และให้ผู้ป่วยพยายามหากิจกรรมทำเพื่อให้รู้สึกว่าชีวิตยังมีคุณค่าอยู่ เมื่อการมีชีวิตอยู่มีกิจกรรม มีเป้าหมาย มีความสุข ผู้ป่วยก็จะไม่จมอยู่กับความคิดเรื่องเป็นมะเร็ง จิตใจดีขึ้น ร่างกายก็จะดีขึ้นตามลำดับ


อ้างอิง

เฮนรี่ เดรเฮอร์.ใจของคุณคือปราการต้านมะเร็ง.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีม,ทอง 2439.

ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง . การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง . นนทบุรี: เทพประทานการพิมพ์,2553

คณาจารย์สาชากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล. กิจรรมบำบัดเพื่อประชาชน . กรุงเทพฯ , 2555


จัดทำโดย

น.ส.ปุณยาพร เกิดสมจิตร 5823011 ปี2 PTOT

หมายเลขบันทึก: 626006เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2017 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2017 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท