บันทึกเดินทาง(อุบลราชธานี-นครพนม-มุกดาหาร)ศึกษาดูงานโบราณคดีทางประวัติศาสตร์




ทัศนศึกษาวัฒนธรรมริมฝั่งน้ำโขง

ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาลพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน ( พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัยจังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตรบูรณ์ พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ

พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำ พระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมือง กุสินารา

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น ( ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์

เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว

เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ

ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา

จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน

วัดโอกาส (วัดพระติ้ว)

ปัจจุบัน วัดโอกาส มีพื้นที่ 3ไร่ 2งาน 28 ตารางวา โดยมีประวัติที่เล่าขานกันสืบมาถึงการสร้างวัดว่า “จมื่นรักษาราษฎร์” ซึ่งเป็นแม่ทัพนายกองของพระเจ้าศรีโคตรบูร ได้นำกำลังทหารมาตั้งค่ายระวังข้าศึกที่บ้านโพธิ์ค้ำ และได้สร้างวัดขึ้นเพื่อบำรุงขวัญทหารที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณบ้านโพธิ์ค้ำต่อมาเมื่อจุลศักราชราชาได้ 1,100 ตัวปี ตรงกับ พ.ศ.2281 ราชบุตรพรหมา (พรหมมาบุตรเจ้ากู่แก้ว)เป็นผู้ครองนครศรีโคตรบูร ปรากฏนามว่า พระบรมราชาพรหมา ได้มีศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์วัดศรีบัวบาน โดยได้สร้างอุโบสถและสร้างพระประธานแล้วประดิษฐานไว้ในอุโบสถซึ่งมีขนาดหน้าตักกว้าง46ซ.ม สูง220ซ.ม พุทธลักษณะปางวิชัยแล้วลงรักปิดทองทั่วทั้งองค์และได้ทำการฉลองสมโภชและถวายสมัญญานามว่า “หลวงพ่อพระบรมราชาพรหมา” นอกจากนี้ยังยังได้อัญเชิญไว้ที่วัดศรีบัวบาน และได้เปลี่ยนชื่อจากวัดศรีบัวบาน เป็นวัดโอกาสแล้วมีสร้อยท้ายตามหลังว่า ศรีบัวบานนอกจากนี้ที่บริเวณกลางวัดจะมีหอประดิษฐาน "พระติ้ว พระเทียม"พระคู่แฝดแห่งเมืองนครพนมอยู่คู่กัน โดยพระติ้วจะประทับอยู่ด้านขวาของพระเทียม สำหรับประวัติของ พระติ้ว พระเทียม นั้นเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนครพนมมาแต่โบราณกาล

ในตำนานการสร้างพระติ้ว พระเทียม ในตอนแรก จะมีเพียงองค์พระติ้ว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลักปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง 39 ซ.ม. สูง 60 ซ.ม.สันนิษฐานว่าสร้างโดยพระเจ้าศรีโคตรบูร ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครอาณาจักรศรีโคตรบูรประมาณปีพ.ศ.1238 โดยพระองค์ได้โปรดให้นายช่างสร้างจากไม้หมอนรองท้องเรือท่อนที่ทำจากไม้ติ้วซึ่งกระเด็น ออกในขณะที่ทำการชักลากเรือลงสู่แม่น้ำโขง

ครั้นได้ทำการสมโภชเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแล้วเมื่อเกิดเหตุร้ายภัยร้าย ณ บ้านเมืองใด จึงได้อัญเชิญองค์พระติ้วไปประดิษฐาน ณ บ้านเมืองนั้น ครั้นพอเหตุร้ายภัยร้ายระงับดับหายไปก็อัญเชิญประดิษฐานภายในเมืองตามปกติ

ครั้งหนึ่งเกิดเพลิงไหม้หอพระวัดธาตุ บ้านสำราญ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์พระติ้ว พระเจ้าขัตติยะวงศาฯ จึงมีบัญชาให้ชาวบ้านหาไม้มาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปเหมือนองค์พระติ้วทุกประการ แล้วจัดให้มีการสมโภชเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองแทนองค์พระติ้วที่เข้าใจว่าถูกไฟไหม้แล้ว

ต่อมาได้มีชาวบ้านสำราญไปหาปลากลางแม่น้ำโขง ในขณะนั้นเองได้เกิดลมบ้าหมู(พายุหมุน)ขึ้นและชาวบ้านได้เห็นองค์พระติ้วลอยขึ้นมาจากแม่น้ำโขง จึงได้นำไปถวายคืนพระเจ้าขัตติยะวงศาฯ พระองค์ศรัทธาเป็นอย่างยิ่งจึงได้สละทองคำหนัก30 บาท ให้ช่างบุทั่งทั้งองค์พระและจารึกอักษรที่แท่นฐานลานเงิน เพื่อบอกวันเดือนปีและนามผู้สร้าง พร้อมทั้งได้ถวายสมัญญานามพระพุทธรูปองค์เดิมว่า "พระติ้ว" และพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อใช้แทนพระติ้วนั้นว่า "พระเทียม"

ซึ่งในกาลต่อมาราชบุตรพรหมา (พรหมาบุตรเจ้ากู่แก้ว)เจ้าครองเมืองนครบุรีศรีโคตรบูรได้อัญเชิญ พระติ้ว พระเทียม มาประดิษฐานที่วัดศรีบัวบานในปีพ.ศ.2281 ชาวนครพนมจะจัดงานสรงน้ำ พระติ้ว พระเทียม ในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน6 เป็นประเพณีสืบมาทุกๆปี

การสังเกตความแตกต่างของพระติ้วพระเทียม นั้นนอกจากจะทราบว่าพระติ้วจะอยู่ด้านขวาของพระเทียมแล้วยังสามารถสังเกตได้จากองค์พระติ้วทำด้วยไม้ติ้วบุทองคำ ส่วนพระเทียมนั้นไม่ได้บุทองคำแต่ลงรักปิดทองคำเปลวแทน

ตลาดอินโดจีน

ตลาดอินโดจีน ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมืองมุกดาหาร บริเวณถนนสำราญชายโขง ในตัวเมืองมุกดาหาร หน้าวัดศรีมงคลใต้เป็น แหล่งรวมสินค้านำเข้าจากนานาประเทศ เช่น รัสเซีย จีน เวียดนาม และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำหน่ายทั้งราคาส่ง และปลีก ส่วนมากจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เซรามิค เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคและบริโภคต่างๆ นอกจากสินค้าที่นำเข้ามา จำหน่ายจากต่างประเทศแล้วยังมี สินค้าพื้นเมืองของชาวมุกดาหารมาจำหน่ายอีกด้วย เช่น ผ้าไหม ผ้ามัดหมี่ และสินค้าท้องถิ่นอื่น

ตลาดอินโดจีน มุกดาหาร

ตลาดอินโดจีน นอกจากจะเป็นแหล่งรวมสินค้าแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดมุกดาหารเพราะเป็น จุดชมวิว ทิวทัศน์ที่สวยงาม ของสองฝั่งแม่น้ำโขง ณ บริเวณริมเขื่อนริมโขงตลาดอินโดจีนมุกดาหาร สามารถมองเห็นสะพาน มิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขงได้เป็นอย่างดี ในเทศกาลวันออกพรรษาจะเป็นจุด ชมการแข่งขันเรือ ยาวประเพณีของคนทั้งสองฝั่งโขงอีกด้วย และจากศูนย์การบริการข้อมูลการท่องเที่ยว ไม่ไกลกันนักจะมองเห็น “ศาลาเรารักมุกดาหาร” ของเทศบาลเมืองมุกดาหารได้อย่างชัดเจน


(ลุงโฮจิมินห์)

สถานที่แรกที่เดินทางทัศนศึกษา

นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม

ดำรงตำแหน่ง

พ.ศ. 2488 – พ.ศ. 2498

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียวนาม

ดำรงตำแหน่ง

พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2512

ประวัติ

โฮจิมินห์เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 ที่หมู่บ้านฮหว่างจู่ จังหวัดเหงะอาน ตอนบนของเวียดนาม ในชื่อ เหงียน ซิญ กุง เป็นบุตรคนที่ 3 และบุตรชายคนรองของเหงียน ซิญ ซัก ปัญญาชนชาวเวียดนาม


โฮจิมินห์เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 ที่หมู่บ้านฮหว่างจู่ จังหวัดเหงะอาน ตอนบนของเวียดนาม ในชื่อ เหงียน ซิญ กุง เป็นบุตรคนที่ 3 และบุตรชายคนรองของเหงียน ซิญ ซัก ปัญญาชนชาวเวียดนาม ซึ่งเวียดนามขณะนั้นตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศส ดังนั้นทั้งโฮจิมินห์และบิดาต่างตกเสมือนอยู่ใน 2 วัฒนธรรม ทั้งวัฒนธรรมตะวันตกของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ปกครอง และวัฒนธรรมตะวันออกแบบจีนและลัทธิขงจื๊อ อันเป็นวัฒนธรรมของเวียดนาม ด้วยวัยเพียงไม่กี่ขวบ โฮจิมินห์ได้ย้ายตามบิดาไปเว้ ซึ่งไปสอบจอหงวน แต่ต่อมาโฮจิมินห์ได้อาศัยอยู่กับมารดาตามลำพังเพียง 2 คน เพราะบิดาเมื่อสอบจอหงวนได้ ได้ย้ายไปรับราชการที่ต่างเมือง ขณะที่มารดากำลังตั้งครรภ์ ต่อมาก็ได้คลอดลูกคนเล็กออกมา โฮจิมินห์ในวัย 11 ขวบต้องเลี้ยงน้องเอง เนื่องจากมารดาได้เสียชีวิตไปในขณะคลอด และไม่นานน้องคนเล็กก็เสียชีวิต เมื่อโตขึ้น โฮจิมินห์ได้สัมผัสกับการเมืองเป็นครั้งแรกจากการที่เป็นล่ามภาษาฝรั่งเศสให้กับชาวนาที่ถูกเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสกดขี่ ในช่วงนี้ โฮจิมินห์ได้กล่าวว่า ตนได้เห็นการกดขี่และความอยุติธรรม รวมถึงการได้เห็นชาวนาถูกยิงตายต่อหน้าต่อตา ต่อมาโฮจิมินห์รู้ตัวว่า ตนเองต้องได้รับการศึกษาที่มากขึ้นและออกไปท่องโลกกว้างเพื่อเปิดโลกทัศน์ของตน ในปี พ.ศ. 2454 จึงได้ย้ายจากเวียดนามไปเป็นพ่อครัวในประเทศฝรั่งเศส ด้วยการสมัครเป็นลูกเรือบนเรือเดินสมุทรที่ฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมของเวียดนามในขณะนั้น และได้ศึกษาเรียนต่อที่นั่น โฮจิมินห์ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า เหงียน อ๊าย โกว๊ก ซึ่งแปลว่า "เหงียนผู้รักชาติ" โฮจิมินห์ได้ติดต่อกับชาวเวียดนามในฝรั่งเศส เพื่อรวมตัวกันเรียกร้องอิสรภาพจากชาติมหาอำนาจตะวันตกหลายชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ ในฐานะโฆษกของกลุ่ม แต่ทว่าก็ได้รับการรังเกียจและถูกกีดกันออกมา เมื่อโฮจิมินห์พยายามจะยื่นหนังสือต่อวูดโรว์ วิลสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ขณะเดินทางมายังฝรั่งเศส เพื่อลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ต่อมาโฮจิมินห์ก็ได้ย้ายจากฝรั่งเศสไปสหรัฐอเมริกาและอังกฤษตามลำดับ หลังจากนั้นก็ได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเมื่อรัฐบาลก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็คเริ่มการปราบปรามสังคมนิยม นั้น โฮจิมินห์ได้หลบหนีจากจีนมายังจังหวัดนครพนม ประเทศไทย โดยได้บวชเป็นพระภิกษุทำการสอนลัทธิสังคมนิยมให้ชาวไทย โดยใช้ชื่อว่า "ลุงโฮ" โดยช่วงแรกที่หลบหนีในประเทศไทยนั้นเริ่มจากขึ้นเรือที่ท่าน้ำเอสบี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงแรมแม่น้ำ) ไปยังจังหวัดพิจิตร จากนั้นได้เดินทางไปต่อยังจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย โดยใช้ชื่อว่า "เฒ่าจิ๋น" ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2466 ไปจนถึง พ.ศ. 2474 ท่านได้พำนักอยู่ ณ บ้านของนายเตียว เหงี่ยนวัน เลขที่ 48 หมู่ที่ 5 บ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม รวมเวลาพำนักอยู่ในประเทศไทยทั้งสิ้น 7 ปี ในระยะนี้โฮจิมินห์ต้องเดินทางไปหลบซ่อนในหลายประเทศ ใช้ชื่อปลอมหลายชื่อ ซึ่งครั้งหนึ่ง โฮจิมินห์ได้ถูกตำรวจฮ่องกงจับโดยไม่มีความผิด ได้ถูกขังคุกนานเป็นระยะเวลานาน 1 ปีเต็ม ในช่วงนี้โฮจิมินห์สภาพร่างกายย่ำแย่มาก เป็นโรคขาดสารอาหาร แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือให้พ้นออกมา จากเพื่อนเก่าในสมาคมชาวเวียดนามในฝรั่งเศส รวมถึงเชื่อว่ามี โจว เอินไหล นายกรัฐมนตรีของจีน ซึ่งเป็นสหายที่ดีต่อโฮจิมินห์ร่วมด้วย โฮจิมินห์เดินทางกลับมาเวียดนามอีกครั้งในปี พ.ศ. 2484 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสในขณะนั้นถูกกองทัพนาซีบุกยึด และกลายสภาพเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดให้แก่ฝ่ายอักษะ จึงรับนโยบายในการปกครองเวียดนามจากนาซีเป็นหลัก โฮจิมินห์จึงสบโอกาสรวบรวมชาวเวียดนามส่วนใหญ่แล้วตั้งเป็นฝ่ายเวียดมินห์ เตรียมแผนที่จะประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสให้ประชาชนชาวเวียดนาม ซึ่งชาวเวียดนามในขณะนั้นยังไม่มีการศึกษา และส่วนใหญ่อดอยากยากจน โฮจิมินห์ได้เข้าถึงตัวชาวบ้านระดับล่าง ด้วยการทำตัวกลมกลืนผูกมิตรไปกับชาวบ้าน ได้พูดคุยและทำความเข้าใจกันอย่างง่าย ๆ และเพิ่มจำนวนสมาชิกขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยการบอกแบบปากต่อปาก ซึ่งหนึ่งในสมาชิกคนสำคัญ ก็คือ หวอ เงวียน ซ้าป ซึ่งต่อมาเป็นนายพลและสหายคนสำคัญของโฮจิมินห์ อีกทั้งทั้งคู่ยังเป็นคู่เขยของกันและกัน เนื่องจากภรรยาของทั้งคู่นั้นเป็นพี่น้องกัน และในช่วงนี้เองที่ชื่อ "โฮจิมินห์" ได้ถูกใช้ออกมาเป็นครั้งแรก และในช่วงปลายของสงคราม โฮจิมินห์ได้ยังติดต่อกับสำนักงานบริการด้านยุทธศาสตร์ (OSS) ของสหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมมือกันต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นด้วย นับเป็นการร่วมมือกันของทั้ง 2 ฝ่าย เป็นครั้งแรกและครั้งเดียว แม้จะเป็นช่วงสั้น ๆ ก็ตาม ในที่สุด โฮจิมินห์ประกาศจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามหลังจากจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย จักรพรรดิเวียดนามพระองค์สุดท้ายประกาศสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2497 เวียดนามก็ได้ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในยุทธการที่เดียนเบียนฟู โฮจิมินห์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามเป็นคนแรก ด้วยการประกาศแถลงการณ์ที่จัตุรัสบาดิ่ญ ซึ่งเริ่มต้นด้วยประโยคแบบเดียวกับประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา โฮจิมินห์ปฏิเสธที่จะพำนักในจวนข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศส ซึ่งโอ่โถง แต่ขออาศัยอยู่ในบ้านพักหลังเล็ก ๆ เท่านั้น ด้านชีวิตครอบครัว โฮจิมินห์สมรส 2 ครั้ง ครั้งแรกกับหญิงชาวจีนที่ประเทศจีน ขณะที่ปฏิบัติภารกิจอยู่ในประเทศจีนในวัยหนุ่ม แต่ต่อมาภรรยาได้เสียชีวิต และอีกครั้งกับตัง เตวี๊ยต มิญ หญิงชาวเวียดนาม และเป็นสมาชิกคนสำคัญคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม แม้ทั้งคู่อายุจะห่างกันหลายปีก็ตาม ในปี พ.ศ. 2502 สงครามเวียดนามได้อุบัติขึ้น สหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรอื่น ๆ ก็ได้เข้าร่วมสงครามด้วย แต่ผลสุดท้ายเวียดนามเหนือเป็นฝ่ายชนะในปี พ.ศ. 2518 โฮจิมินห์ในขณะนั้นอยู่ในวัยชราแล้ว ได้ประกาศว่า ตนลดบทบาททางการเมืองลงมา แม้จะได้รับการนับถืออย่างสูงสุดอยู่ก็ตาม และก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่โฮจิมินห์มิได้อยู่ถึงการชื่นชมชัยชนะในปี พ.ศ. 2518 ด้วยเหตุที่ว่าโฮจิมินห์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ที่บ้านพักในฮานอย ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว สิริอายุได้ 79 ปี ซึ่งปัจจุบันร่างของโฮจิมินห์ได้ถูกบรรจุในโลงแก้ว เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เคารพ ที่จตุรัสบาดิงห์


วัดโอกาส (วัดโอกาสศรีบัวบาน)

วัดโอกาส-พระพุทธรูปคู่แฝด

วัดโอกาส-พระพุทธรูปคู่แฝด

ตำนานบอกว่า พระติ้ว องค์พระพุทธรูปปางมารวิชัยสูงประมาณสองไม้บรรทัด เดิมประดิษฐานอยู่วัดธาตุ บ้านสำราญ มีอายุมากกว่า 1,300 ปี สร้างขึ้นในห้วงเวลาอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์จากท่อนไม้ติ้วศักดิ์สิทธิ์ นานมาแล้วเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าองค์พระติ้วถูกเพลิงไหม้จึงมีการสร้างพระติ้วองค์จำลองขึ้นมา ภายหลังกลับพบพระติ้วลอยขึ้นมาจากแม่น้ำโขงอย่างน่าอัศจรรย์จึงกลายเป็นมีพระพุทธรูปคู่แฝดคือ พระติ้ว และพระเทียม ที่ชาวนครพนมให้ความเคารพอย่างยิ่ง พระพุทธรูปสององค์นี้ย้ายจากวัดธาตุมาประดิษฐาน ณ วัดโอกาส หรือ โอกาสวัดศรีบัวบาน ที่ชาวบ้านเรียกกันติดปาก เมื่อกว่า 250 ปีมาแล้ว วัดโอกาสเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครพนม วัดแห่งนี้อยู่ริมแม่น้ำโขงกลางตัวเมือง มาเที่ยวนครพนมยังไงต้องผ่านไปผ่านมาที่นี่ ก็ไม่ควรพลาด ที่จะแวะเข้าไปสักการะ พระติ้วและ พระเทียม พระคู่แฝดทั้งสององค์ ณ วัดโอกาส (วัดโอกาสศรีบัวบาน) ภายในโบสถ์ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม ให้ชมอีกด้วย


ภาพจิตตกรรม


สถานที่ต่อมาได้เดินทางมาที่วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ปัจจุบันมี พระเทพวรมุนี เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน ประดิษฐาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขงถนนชยางกูร บ้านธาตุพนมตำบลธาตุพนมอำเภอธาตุพนมจังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า (เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม

ประวัติ

ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตรบูรณ์ พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ

พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว

เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ

ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา

จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน


หมายเลขบันทึก: 625800เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2017 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2017 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท