การเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่..OBP


จากการอ่านเคสตัวอย่างที่ได้รับจากอาจารย์ ทำให้เห็นแง่มุมต่างๆของกิจกรรมบำบัดไทย เห็นว่าบางรูปแบบของการรักษาทางกิจกรรมบำบัดของคนไทยยังไม่เข้าสู่ OBP หรือ Occupational base practice อย่างแท้จริง

"Occupational-based practice (OBP) involves a type of client-centered practice in which both the occupational therapist and the client collaboratively choose and design meaningful activity based on the client's interests'needs'health and participation in dailr life." (AOTA,2014).

โดยจากรายงานตัวอย่างเคสที่ได้รับพบว่ามีการบำบัดรักษาที่ควรเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ OBP คือ

-ส่วนมากกิจกรรมการให้การบำบัดทางกิจกรรมบำบัดมักจะเป็นการให้ออกกำลังกาย เพื่อฝึกมากกว่า การใช้กิจกรรมที่มีความหมายกับผู้รับบริการเป็นสื่อในการรักษา เราควรใช้กิจกรรมที่มีความหมาย มีเป้าหมาย สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และ บริบทของผู้รับบริการ รวมทั้งควรฝึกกิจกรรมที่ผู้รับบริการสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ซึ่งในตัวอย่างเคสที่ได้รับ ในการฝึกเพื่อเป้าหมายระยะสั้นคือ การรับประทานอาหาร นักกิจกรรมบำบัดให้การออกกำลัง เช่นการดึง putty ,การทำ ROM exercise ,skateboard มือ เพื่อฝึกการเคลื่อนไหวของมือด้านต่างๆ เราสามารถที่จะเปลี่ยนให้ผู้รับบริการฝึกด้วย กิจกรรมการทานอาหารที่เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย และ มีเป้าหมายต่อผู้รับริการ คือ เป็นกิจกรรมการดูแลตัวเองขั้นพื้นฐาน B-ADL อาจมีการจำลองการรับประทานอาหาร การใช้ช้อนส้อมในการฝึกเพื่อเพิ่ม muscle strength, ROM, Dexterity ของมือ อาจมีการปรับอุปกรณ์ให้สามารถจับได้มั่นคง handleได้ดีขึ้น อาจมีการใช้ universal cuff ในการรับประทานอาหารในช่วงที่กำลังฟื้นฟู

-การดูแล วางแผนการบำบัดรักษา การวางเป้าหมายในการรักษาส่วนมากจะเน้นในเรื่องของADL เป็นส่วนใหญ่ โดยอาจมองไม่ครบทั้ง Occupational area คือ ADL,IADL, Work ,Education, Leisure Rest and Sleep, Social participation

-นอกจากการรักษาภายในsetting โรงพยาบาล หรือ ห้องฝึก ควรมีการลงสู่ community เพื่อให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นชีวิตจริง พร้อมปรับเปลี่ยน หาทางแก้ไขต่อไป ซึ่งในส่วนนี้อาจจะยังทำไม่ได้ เนื่องจากมีปัจจัยเรื่องระยะเวลา สถานที่ และจำนวนของนักกิจกรรมบำบัดที่อาจทำให้ไม่สามารถทำได้ รวมทั้งมีการดูแลเรื่องการปรับ environment ร่วมด้วย เช่น ในเคสตัวอย่างที่ได้รับ ผู้รับบริการมีการเคลื่อนย้ายตัวเองด้วย Wheel chair ในขณะห้องน้ำที่บ้าน มีขนาดเล็ก ปูพื้นกระเบื้อง อาจทำให้กระทบต่อการ toilet and showering ของผู้รับบริการได้ และด้านหลังบ้านเป็นพื้นที่ต่างระดับทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตัวด้วยwheel chairไปที่หลังบ้านได้ โดยเราอาจให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้แก่ญาติผู้รับบริการ อาจมีการหาไม้มาทำเป็นทางลาดเพื่อลงไปหลังบ้าน มีการขยายห้องน้ำให้กว้างขึ้น อาจมีการทำราวเป็นที่ยึดเกาะต่างๆ ให้เหมาะสมตามเศษฐฐานะของผู้รับบริการ


จากการอ่านเคสตัวอย่าง และ วิเคราะห์ข้อมูลเชื่อมโยงกับความรู้ OBP ที่ได้รับ สรุปได้ว่า การที่เราจำนำ OT ไปสู่ OBP ได้นั้น ควรที่จะยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง(Client center) ใช้กิจกรรมที่มีผู้รับบริการต้องการ ตามศักยภาพ มีความหมาย มีเป้าหมาย สอดคล้องกับบริบท และ สภาพแวดล้อมของผู้รับบริการ ในการฝึกกิจกรรมบำบัดเพื่อดึงทักษะ ศักยภาพของผู้รับบริการในการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้รับบริการให้ได้มากที่สุด และควรเป็นการฝึกที่ผู้รับบริการสามารถนำไปใช้ได้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งการดูแลฟื้นฟูทางด้านกิจกรรมบำบัดควรดูแลให้ครอบคลุมในทุกๆด้านของกิจกรรมในชีวิตประวัน เพื่อให้การประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้รับบริการดีขึ้น รวมทั้งทำให้คุณภาพชีวิตของผู้รับบริการดีขึ้นได้



คำสำคัญ (Tags): #OBP#ot#กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 625571เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2017 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2017 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท