การเพาะปลูกเห็ดฟางเพื่อสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกรในชุมชน Mushroom cultivation to generate income for farmers in the midst of community


บดินทร์ บัวเกตุ

บทความทางวิชาการ รายวิชาI130201 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้

การเพาะปลูกเห็ดฟางเพื่อสร้างรายได้

ให้แก่เกษตรกรในชุมชน

Mushroom cultivation to generate income

for farmers in the midst of community

ประวัติของเห็ดฟาง

ลักษณะของเห็ดฟาง

ระยะของเห็ดฟาง

วิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

วิธีการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน

วิธีการเพาะเห็ดฟางด้วยฟางข้าว

วิธีการเพาะเห็ดฟางบนดิน


คำนำ

เห็ดจัดเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ปัจจุบันทั่วโลกเพาะเห็ดได้ประมาณ 4.8 ล้านตัน แบ่งเป็น 9 ชนิด คือ เห็ดแชมป์ปิยอง หรือเห็ดกระดุม เห็ดสกุลนางรม เห็ดหอม เห็ดหูหนู เห็ดฟาง เห็ดหูหนูขาว เห็ดเข็มเงินเข็มทอง เห็ดนามิโกะ และเห็ดหลินจือ ประเทศที่ส่งออกเห็ด ออกจำหน่ายมากที่สุดในโลก คือ จีน ไต้หวัน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ประเทศไทยมีการเพาะเห็ดฟางเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากจีน โดยมีการเพาะเห็ดฟางมากถึง ร้อยละ 75 ของปริมาณเห็ดทั้งหมดที่ผลิตในประเทศไทย โดยส่วนมากมีการเพาะเห็ดฟางแบบกอง เตี้ยและแบบอุตสาหกรรม

เห็ดฟางเป็นเห็ดที่สารถปลูกได้ไม่ยากในการปลูกมากนักและสามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้ และ ยังหารายได้เข้าในครอบครับได้อีก

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ช่วยชี้แนะแนวทางการเขียนบทความทางวิชาการ คณะผู้ศึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความวิชาการฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษา

นันทกรณ์ ค้าของและคณะ

22 กันยายน 2559

สารบัญ

หน้า

คำนำ

สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ

การเพาะปลูกเห็ดฟางเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในชุมชน

(Mushroom cultivation to generate income for farmers in the midst of community)

1. ประวัติของเห็ดฟาง 1

2. ลักษณะของเห็ดฟาง 3

3. ระยะของเห็ดฟาง 4

4. วิธีการเพาะเห็ด 7

4.1 วิธีการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า 7

สารบัญ (ต่อ)

4.2 วิธีการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน 9

4.3 วิธีการเพาะเห็ดฟางด้วยฟางข้าว 10

4.4 วิธีการเพาะเห็ดฟางบนดิน 13

กิตติกรรมประกาศ

บทความทางวิชาการ การเพาะปลูกเห็ดฟางเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในชุมชน (Mushroom cultivation to generate income for farmers in the midst of community) สำเร็จลุล่วงด้วยดี ด้วยความกรุณาจากหลายส่วน

ขอขอบพระคุณ นายอวิรุทธ์ กิตติวรรุทธ์ คณะผู้บริหาร และคณะครูอาจารย์ โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล ทุกท่าน

ขอขอบคุณนายอภิชาต ล่องลอย หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาไทย และนางบัณฑิตา แจ้งจบ หัวหน้างานวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ประชาสัมพันธ์และสนับสนุนการเขียนบทความทางวิชาการ และขอขอบคุณ นางสาววิลาวรรณ ศรีคุ้ย และนายบดินทร์ บัวเกตุ ครูผู้สอนรายวิชา IS : Indepentdent Study ที่ช่วยชี้แนะแนวทางการเขียนบทความทางวิชาการ

ขอขอบคุณ นางมณฑา ทวีสุข และนางอุไรวรรณ สิทธิรักษ์ เจ้าหน้าที่งานห้องสมุดที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลเพื่อนำมาเรียบเรียง

ขอมอบคุณูปการที่เกิดจากการเขียนบทความทางวิชาการเรื่องนี้ ให้แก่บุพการี คณะครู และสถานศึกษา โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล

นันทกรณ์ ค้าของและคณะ

17 กันยายน 2559

1

การเพาะปลูกเห็ดฟาง

เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในชุมชน

Mushroom cultivation to generate income

for farmers in the midst of community

ประวัติเห็ดฟาง
การนำเห็ดฟางมาใช้ประโยชน์เริ่มแรกสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นที่ประเทศจีนจากหนังสือของ SHU-TING CHANG ที่กล่าวถึงชาวจีนรู้จักการนำเห็ดฟางมาเป็นอาหาร และปรุงเป็นยาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เชา และเริ่มมีการเพาะในแถบจังหวัดแคนตัน มณฑลกวางตุ้ง และขยายไปทางตอนใต้ของจีนแถบเมืองกวางลี เกียงลี ฟูเคน และฮูนาน จนขยายลงมาถึงประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย (วัลลภ พิเชฐกุล, 2526. อ้างถึงใน SHU-TING CHANG, 1972. The chainese Mushroom.)(1)

2

ประวัติการเพาะเห็ดฟางในประเทศไทยเริ่มครั้งแรกในปี 2480 โดยอาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์ ที่นำเชื้อจากห้องทดลองมาเพาะในแปลงสถานีกลางบางเขนได้สำเร็จ และนำเชื้อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกครั้งแรกในปี 2481 (วัลลภ พิเชฐกุล, 2526. อ้างถึงใน ก่าน ชลวิจารณ์, การเพาะเห็ดในประเทศไทย)(1)

ในปี 2508 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการศึกษา และทดลองเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยได้สำเร็จ จนเป็นที่มาของรูปแบบการเพาะเห็ดแบบนำฟางกองบนพื้นหรือกองเรียงเป็นชั้นๆ ต่อมาปี 2514 ได้ริเริ่มเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนขึ้นจนเป็นที่มาของรูปแบบการเพาะเห็ดฟางในปัจจุบัน

ในปี 2521 ชมรมเห็ดฟางในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร จัดตั้งสมาคมนักวิจัย และเพาะเห็ดฟางแห่งประเทศไทยขึ้น และได้มีการเผยแพร่ความรู้ด้านการเพาะเห็ดฟางแก่บุคคลทั่วไป

ลักษณะของเห็ดฟาง
1. หมวกดอก (pileus)
หมวกดอกหรือดอกเห็ด มีลักษณะคล้ายร่ม ผิวเรียบสีขาวเทาจนถึงดำ ตามสายพันธุ์ และสภาพแวดล้อม กลางดอกเว้าเป็นแอ่ง มีสีเข้ม และจางลงบริเวณขอบดอก ขอบดอกคุ้มลงหรือแบนราบ ขนาดดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 – 14 ซม. เนื้อเห็ดสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อซ้ำ และถูกอากาศ

3

2. ครีบ (gills)
ครีบส่วนเป็นแผ่นเล็กๆ ใต้หมวกเห็ด เรียงกันเป็นแนวขวางจากก้านดอกไปที่ปลายดอก ประมาณ 300 – 400 ครีบ ระยะห่างประมาณ 1 มม. ครีบดอกเปลี่ยนจากสีชมพูอ่อนเป็นสีน้าตาลเข้มเมื่อถึงระยะสืบพันธุ์ เนื่องจากมีการสร้างสปอร์ สปอร์ใสไม่มีสี รูปไข่ กว้างประมาณ 4.5 ไมครอน ยาวประมาณ 7.3 ไมครอน

3. ก้านดอก (stipe)
ก้านดอกทำหน้าที่ชูดอกเห็ด และลำเลียงสารอาหารให้แก่ดอกเห็ด เชื่อมอยู่ระหว่างฐานดอก และกึ่งกลางดอก ก้านดอกมีลักษณะเป็นแท่งกลม มีสีขาว ประกอบด้วยเส้นใยที่เรียงตัวกันแน่น

4. ปลอกหุ้ม (volva)
ปลอกหุ้มเป็นส่วนนอกสุดของเห็ด ทำหน้าที่หุ้มป้องกันอันตรายให้แก่ดอกเห็ด และจะปริออกเมื่อดอกเห็ดเติบโตในระยะยืดตัว และจะหุ้มอยู่บริเวณโคนก้านดอกเห็ด

5. เส้นใยเห็ด (mycelium)
เส้นใยเห็ดมีช่วงชีวิตเป็น 3 ตอน คือ
– เส้นใยขั้นแรก เป็นเส้นใยยาว เป็นช่องๆ แต่ละช่องมีหนึ่งนิวเคลียส เส้นใยชนิดนี้ยังไม่สามารถสร้างดอกเห็ดได้
– เส้นใยขั้นที่สอง เป็นเส้นใยที่มีการรวมกันของเส้นใยชนิดแรกที่สามารถเจริญเป็นตุ่มเห็ดได้
– เส้นใยขั้นที่สาม เป็นเส้นใยที่เกิดจากการรวมกัน และพัฒนาของเส้นใยขั้นที่สองทำให้มีลักษณะโครงร่างเป็นดอกเห็ดที่สมบูรณ์

4

ระยะเจริญของเห็ดฟาง
1. ระยะเข็มหมุด (pinhead stage)
เป็นระยะที่เส้นใยรวมกันเป็นจุดขนาดเล็ก มีลีกษณะเป็นจุดก้อนเชื้อรา สีขาว เกิดหลังการเพาะ 4 – 6 วัน

2. ระยะกระดุมเล็ก (tiny button stage)
ระยะกระดุมเล็ก เป็นการเจริญต่อจากระยะเข็มหมุดประมาณ 15 – 30 ชม. เส้นใยมีการรวมกัน และเจริญเป็นลักษณะก้อนกลม ยกตัวสูงขึ้น มีลักษณะเป็นตุ่ม ก้อน หากแกะภายในจะยังแยกแยะส่วนต่างไม่ได้

3. ระยะกระดุม (button stage)
เป็นระยะที่เจริญต่อจากระยะกระดุมเล็ก 12 – 20 ชม. ตุ่มเห็ดขยายขนาดใหญ่ขึ้นมองเห็นเป็นก้อนเห็ดชัดเจน มีรูปทรงกลมหรือรี ฐานดอกโต ปลายโค้งมนเล็กลง หากแกะด้านในจะเห็นส่วนต่างแยกกันอย่างชัดเจน

5

4. ระยะรูปไข่ (egg stage)
ดอกเห็ดเจริญในส่วนก้านดอก ก้านดอกแทงยาวขึ้น ทำให้มีลักษณะเป็นดอกตูม รูปทรงรี ไม่มีลักษณะกลมเหมือนในระยะที่ 2 และ3 โดยหมวกเห็ดจะขยายออกด้านข้าง ปลอกหุ้มบางลง และยืดตัว แต่ยังไม่แตกหรือปริออกจากหมวกเห็ด

5. ระยะยืดตัว (elongation stage)
เป็นระยะที่ต่อจากระยะรูปไข่ประมาณ 3 – 5 ชม. ก้านดอกแทงยาวมากทำให้ปลอกหุ้มแตกออกจากหมวกเห็ด สามารถมองเห็นก้านดอกอย่างชัดเจน หมวกเห็ดขยายออกด้านข้าง แต่ขอบดอกยังหุบลง ไม่กางแผ่

5

6 ระยะดอกบาน (mature stage)
เป็นระยะที่เจริญต่อจากระยะยืดตัวประมาณ 2 – 4 ชม. ก้านดอกแทงยาวอย่างรวดเร็ว ทำให้ก้านดอกมีขนาดเล็กลง หมวกเห็ดเจริญ กางแผ่เต็มที่ ปลอกหุ้มอยู่บริเวณโคนก้าน มีขนาดบาง และเล็กลงมาก และครีบบริเวณใต้หมวกเห็ดมีการสร้างสปอร์ และปล่อยสปอร์ไปตามลม สีครีบเข้มขึ้นจนคล้ำ ก้านดอกอ่อน และเหี่ยวลง ผิวด้านบนดอกเริ่มปริแตก และอ่อนตัว ขอบดอกย่นหรือปริแตก(สำเนาว์ ฤิทธิ์นุช. 2551)(2)

1.1 วิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

เห็ดฟางเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ปัจจุบันได้รับความนิยมในกลุ่มของผู้บริโภค และเกษตรกรเอง เพราะราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันราคาเห็ดฟางอยู่ที่ กิโลกรัมละ 60-80 บาท วันนี้ ใครที่ต้องการหารายได้เสริมจากการเพาะเห็ดฟางขาย เรามีเรื่องราว และเทคนิคการเพาะเห็ดฟางแบบง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากมาฝาก

6

     วิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เป็นอีกวิธีในการเพาะเห็ดฟางสำหรับผู้สนใจเริ่มต้นทำเพื่อไว้บริโภคเองในครัวเรือนหรือเพื่อศึกษาแล้วต่อยอดเพื่อเพาะเห็ดฟางขาย เพราะการเพาะเห็ดฟางในตระกร้าพลาสติกช่วยลดการใช้พื้นที่ เคลื่อนย้ายสะดวก อีกทั้งยังสามารถเก็บผลิตได้ง่าย ทำประมาณแค่ภายในหนึ่งสัปดาห์ก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว

1.ทุบก้อนเนื้อให้แตกพอประมาณ

2. ใส่วัสดุลงในตะกร้า2-3นิ้ว

3.โรยตักตบชวาไว้โดยรอบ

4.น้ำเชื้อเห็ดฟางมาโรยบนวัสดุ เป็นชั้นที่1

5.ทำชั้นที่2และ3โดยวิธีเดียวกัน

6.นำตะกร้าเห็ดฟางมาใส่กระโจมเพาะเห็ด

7.รักษาอุณหภูมิในโรงเรือน 33-38 องศา

8.เมื่อเกิดตุ่มดอกเห็ดแล้วรักษาอุณหภูมิระหว่าง 28-32

9.เก็บดอกตูมให้ชิดรูตะกร้า

8

  จะสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวเพราะว่าเป็นการเพาะเห็ดที่ทุกบ้านทำได้ และสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกด้วย จะทำให้แบ่งเบาพาระของครอบครัวไปได้

1.2 การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยและแบบกองสูง เป็นการเห็ดเพาะเห็ดที่เรียบง่าย เหมาะสำหรเกษตรกรรายย่อย เพราะไม่ต้องลงทุนมากแต่เป็นวิธีที่ให้ผลผลิตไม่แน่นอน ต้องอาศัยสภาพดินฟ้า อากาศ ไม่สามารถผลิตให้มีคุณภาพสูงพอ ที่จะส่งออกเป็นอุตสาหกรรมได้ จึงได้มีการศึกษา วิธีการเพาะเห็ดฟาง ให้ได้

เห็ดสูงมีความสม่ำเสมอ แน่นอน ตลอดเวลาที่ต้องการ และสามารถผลิตเห็ดได้ตลอดปีสามารถเป็นการค้า โดยวิธี การเพาะเห็ดแบบโรงเรือน

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนเพื่อให้การดำเนินการ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีขั้นตอน การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน ดังนี้ ในการเพราะเห็ดฟางในโรงเรือน วัสดุเพาะ นิยมใช้และได้ดีที่สุดก็คือ ขี้ฝ้าย (อาจผสมไส้นุ่นด้วยก็ได้) โดยใช้ฟางเป็น วัสดุรองเพราะอย่างไรก็ดีเรายังสามารถ ใช้วัสดุอื่นๆเพาะได้ เช่นกัน ซึ่งได้แก่ ไส้นุ่น เปลือกถั่วเขียว เปลือกถั่วเหลือง ผักตบชวาแห้ง ต้นกล้วยแห้ง ฟางเศษหญ้าแห้ง ชานอ้อย และต้นข้าวโพดแห้ง เป็นต้น

แต่วัสดุดังกล่าวนี้ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร สำหรับขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน ที่สำคัญก็มีดังนี้

  • การหมักวัสดุที่ใช้เพาะ(การหมักขี้ฝ้าย,ไส้นุ่น)
  • การตีป่นขี้ฝ้ายและการแต้มธาตุอาหารเสริม
  • การนำขี้ฝ้ายชื้นขึ้นเพาะเห็ด
  • การเลี้ยงเชื้อธาตุอาหาร
  • การอบไอน้ำฆ่าเชื้อราและศัตรูเห็ด
  • การจัดเตรียมเชื้อเห็ดฟางและโรยเชื้อเห็ดฟาง
  • การปรับอุณหภูมิและสภาพอากาศภายในโรงเรือน
  • การดูแลการพัฒนาของดอกเห็ดและการเก็บผลผลิต
  • การทำความสะอาดโรงเรือนเพื่อเตรียมการเพาะครั้งต่อไป
  • </ul>

    9

    การจัดโปรแกรมการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน

    การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน เป็นการใช้ความรู้ทางด้านเกษตรแผนใหม่เข้าช่วยในทุกขั้นตอนของการเจริญเติบโตจนกระทั่งเกิดดอกและเก็บเกี่ยวผู้ที่จะเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน จึงควรจะผ่านการเพาะเห็ดแบบกองสูงหรือกองเตี้ยมาแล้วเพื่อจะได้ทราบถึงความต้องการปัจจัยต่างๆ ในการเจริญเติบโตของเห็ดฟางทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตทั้งนี้เพราะการเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้ต้องลงทุนครั้งนี้สูงมากมีขั้นตอนในการเพาะเห็ดมากขึ้นหากปรับสภาพแวดล้อมไม่ถูกวิธีอาจทำให้เสียทั้งหมดได้

    1.3 การเพาะเห็ดฟางด้วยฟางข้าว

    เห็ดนางฟ้า-นางรม เห็ดขอน เห็ดบด เป็นเห็ดที่เพาะเลี้ยงง่ายและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคโดยทั่วไป ในการผลิตก้อนเชื้อเห็ดจะใช้วัตถุดิบที่จะต้องสั่งซื้อจากโรงเลื่อยทางภาคใต้ทำให้ท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลต้องสั่งเข้ามาเป็นวัสดุเพาะในราคาสูงจึงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเห็ดสูง-ตามไปด้วย แต่ถ้าเราสามารถจัดหาวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่มีราคาสูงกว่าแต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ อย่างเช่น ฟางข้าววัสดุที่อาจจะไร้ค่าในสายตาของใครหลายคน แต่เมื่อลองนำมาใช้ในการเพาะเห็ด กับให้ผลผลิตที่ไม่แตกต่างไปจากขี้เลื่อยมากนัก วิธีการนี้จะช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้สูง ทั้งยังเหลือกำไรมากขึ้นด้วย

    10

    วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ

    1.ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด7*12นิ้ว แบบพับกัน

    2.คอขวดพลาสติกทนความร้อน

    3.ยางรัด

    4.กระดาษห่อสำลี

    5.ถังขนาด 200 ลิตร จำนวน 2-3 ถัง

    6.เชื้อเห็ดฟาง

    ขั้นตอนและวิธีการทำ

    ขั้นตอนที่ 1 นำฟางข้าวลงไปแช่น้ำนาน 1-2 ชั่วโมง

    หรือใช้สายยางรถน้ำ ให้ฟางข้าวเปียก นุ่มชุ่มน้ำ แล้วจากนั้น

    นำขึ้นมาวางให้สะเด็ดน้ำ

    ขั้นตอนที่ 2.ใช้มีดฟางสับข้าวให้เป็นท่อนๆความยาวประมาณ 18-20 เซนติเมตร (18คืบ)

    11

           ขั้นตอนที่ 3 ใช้รำละเอียดโรยบนกองฟางข้าวตามด้วยปูนขาว ยิปซั่ม และ ภูไมท์ ตามอัตราส่วนที่กำหนด แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน จะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 นำฟางข้าวที่คลุกเคล้ากับส่วนผสมทุกอย่างฟางข้าวแล้วยัดบรรจุลงถุงพลาสติก จนเต็มถุง ใช้มือกดให้ฟางข้าวยุบตัวแน่น เมื่อกดแล้ว1 ถุงจะได้หนักประมาณ 800 กรัม(8ขีด)

ขั้นตอนที่ 5 ใส่คอขวดที่ปากถุง รัดด้วยยางรัดปิดปากถุงด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์เก่าอีกครั้ง และใช้ยางรัดเช่นเดียวกับการผลิตก้อนเชื้อเห็ดจากขี้เลื่อย

ขั้นตอนที่ 6 ใส่หัวเชื้อถุงละประมาณ1ช้อนชา จากนั้นปิดฝาไว้เหมือนเดิม แล้วหุ้มด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์และรัดด้วยยางรัด

ขั้นตอนที่ 7 นำก้อนเชื้อไปวางไว้ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท่ได้สะดวก ปราศจากมด แมลง โดยไม่ให้โดนแดด

ขั้นตอนที่ 8 ทิ้งก้อนเชื้อไว้ประมาณ 25 วัน เชื้อเห็ดจะเดินเต็มก้อนมองเห็นเป็นเส้นใยสีขาวจนเต็มถุง นำก้อนเชื้อที่ได้ไปไว้ในโรงเปิดดอก

ขั้นตอนที่ 9 เมื่อครบ 30 วัน เส้นใยเห็ดเริ่มแก่เต็มที่จะเริ่มเห็ดดอกเห็ดทีเจริญเต็มที่พร้อมที่จะเก็บไปบริโภคต่อไป

ขั้นตอนที่ 10 ก้อนเชื้อเห็ดที่เก็บดอกแล้ว จะออกดอกได้อีก 2-3 ครั้ง โดยจะทิ้งช่วยออกดอกครั้งละ 7-10 วัน

12

      การเพาะเห็ดฟางใช้ต้นทุนการผลิตจะต่ำกว่าการผลิตด้วยขี้เลื่อยก้อนละประมาณ 2-3 บาท ฟางข้าวเป็นวัสดุเพาะเห็ดที่เหมาะสมของท้องถิ่นใช้แทนขี้เลื่อยเพาะเห็ดนางฟ้าได้ เนื่องจากไม่ได้ซื้อทำให้ต้นทุนน้อย ชาวบ้านสามารถใช้เพาะเห็ดไว้บริโภคหรืออาชีพเสริมได้

1.4 ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางบนดิน

การเพาะเห็ดฟางบนดินนั้นเป็นการเพาะกับพื้นแบบกองเตี้ยเหมาะสำหรับเกษตรหรือผู้ที่สนใจที่ต้องการเริ่มเพาะเห็ดฟางแบบง่ายๆใช้เงินลงทุนน้อย ไม่ต้องใช้ชั้นเพาะ ไม่ต้องมีโรงเรียน สามารถเพาะบนพื้นที่ว่างของบริเวณบ้านในสวน หรือเมื่อชำนาญแล้วก็สามารถขยายพื้นที่เพาะในไร่หรือท้องนาได้ ซึ่งสามารถรายได้สูง โดยใช้ระยะเพียง 7-10 วันเท่านั้น

ขั้นตอนในการเพาะเพาะมีดังนี้

1.เตรียมพื้นที่เพาะซึ่งจะเพาะบนดิน หรือ บนคอนกรีตก็ได้ ถ้าได้เป็นพื้นดินก็ให้พรวนดินให้ร่วน เหมือนเอาผักมาปลูก แล้วตากดินไว้ 1 วัน

2.โรยฟางแห้งที่แช่น้ำจนนุ่มแล้ว บนดินที่ร่วนซุยนั้น (หากเพาะบนพื้นปูน ก็ให้ดินร่วนมาโรยปูนก่อน แล้วจึงโรยฟาง)

3.วางแบบไม้ที่จะอัดก้อนเพาะบนฟางที่โรย

4.ใส่ฟางที่ที่แช่น้ำจนนุ่มแล้วลงในแบบไม้หนาประมาณ 3-5นิ้ว

13

5.ใส่อาหารเสริม “ขี้ฝ้ายหมัก” บนฟางบริเวณขอบๆแบบไม้ด้านใน หนาประมาณ 2ข้อนิ้วของเรา

6.โรยขี้วัวแห้งบางๆบนขี้ฝ้ายหมัก

7.โรยเชื้อเห็ดฟางบนขี้ฝ้ายหมักให้รอบแบบไม้เพาะ (พยายามใช้ชิดขอบแบบไม้ที่สุด) ถือว่าเสร็จสิ้นขั้นที่1

8.สำหรับชั้นต่อๆไป ก็ทำเหมือนกับชั้นที่1 โดยทำสัก4-5ชั้นก็ได้

9.เมื่อครบทุกชั้นแล้วให้รดน้ำสะอาดบนกองเพาะประมาณ1ลิตร แล้วก็ดึงไม้ออก วางแบบไว้ให้ห่างจากกอง 20 เซนติเมตร แล้วอัดก้อนเหมือนเดิม

10.ทำไปเรื่อยๆสัก10กอง

11.คลุมกองทั้งหมดด้วยพลาสติกให้มิดชิด (ให้ทั้ง10กองอยู่ในซุ้มเดียวกัน) แล้วจึงคลุมด้วยพลาสติกดำหรือฟางแห้ง

12.ปล่อยทิ้งไว้3วันแล้วจึงเปิดตัดใย

13.หลังจากนั้นอีก5-6วัน ก็เก็บดอกเห็ดได้แล้ว

การเพาะเห็ดฟางบนดินนั้นสามารถทำเองได้ที่บ้าน ทำได้ง่าย สะดวกสบายไม่ยุ่งยากต่อการเพาะ เหมาะสำหรับมือใหม่หัดปลูก เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นที่ต้องการ และคนไทยชอบรับประทานอีกด้วย สามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์หรือเป็นงานอดิเรกก็ได้ และยังสามารถสร้างรายได้อีกด้วย

บรรณานุกรม

เกษม สร้อยทอง. 2537.”เห็ดในประเทศไทย”.เห็ดและราขนาดใหญ่ในกระเทศไทย. กรุงเทพมหานคร:ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จริยา จริยานุกูล . 2543.”การผลิตเห็ด”.เห็ดและการผลิตเห็ด. กรุงเทพมหานคร:ตาวันพับลิชซิ่ง.

ชัชพงษ์ เชาว์สวัสดิ์. 2550 .”การแปลรูปเห็ดนางฟ้า”.เห็ดทรงคุณค่า. กรุงเทพมหานคร:อินเตอร์มีเดีย.

ชัยพร บางน้ำยม. 2555.”เห็ดทำรายได้”.เพราะเห็ดทำเงิน เป็นเห็ดล้างพิษ.กรุงเทพมหานคร:ไพลินบุ๊คเน็ต.

ชัยวัฒน์ วงษ์แสงไพร. 2555.”ขั้นตอนทำเห็ดดุง”.การเพาะเห็ดถุง. กรุงเทพมหานคร:เกษตรสยาม.

ณัฐภูมิ สุดแก้ว. 2552.”วิธีการทำเห็ดสวนครัว”.การเพาะเห็ดสวนครัว.การเพาะเห็ดสวนครัว.กรุงเทพมหานคร:เกษตร ธรรมชาติ.

เติมพงศ์ แสงปกรณ์กิจ. 2552.”การเพาะเห็ดนางฟ้า”เห็ดนางฟ้า. กรุงเทพมหานคร:เกษตรสยามบุ๊ค.

บรรณานุกรม(ต่อ)

บุญส่ง วงศ์เกรียงไกร. 2543.“การเตรียมโรงเรือนเพาะเห็ด”.การเพาะเห็ดนางฟ้า.พิมพ์ครั้งที่3. นนทบุรี:เกษตรบุ๊ค.

บรรณ บูรณะชนบท. มปป .”ขั้นตอนการเพาะเห็ด”.การเพาะเห็ดนางรม-นางฟ้า.นนทบุรี:เกษตรกรรม.

ปัญญา โพธิ์ฐิติรัตน์.2558.”ข้อมูลในการเพาะเห็ด”.เทคโนโลยีการเพาะเห็ด.พิมพ์ครั้งที่2 กรุงเทพมหานคร:รั้วเขียว.

พัชรี สำโรงเย็น .2556.”การสร้างโรงเรียนและต้นทุน”.การสร้างโรงเรียนเพาะเห็ดอย่างง่าย ต้นทุนต่ำ. กรุงเทพมหานคร:นาคาอินเตอร์มีเดีย.

พริ้ม ศรีหามาน .2555.”เพาะเห็ดนางฟ้าสร้างรายได้สูง”.หลากหลายวิธีการเพาะเห็ดฟาง.กรุงเทพมหานคร:นาคาอินเตอร์มิเดีย

อภิชาต ศรีสะอาด. 2551.“สร้างอาชีพโดยการเพาะเห็ด”.คู่มือการ เพาะเห็ดอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร:นาคาอินเตอร์มีเดีย.

สมพงษ์ บัวแย้ม . มปป . “การเพาะเห็ด”.การเพาะเห็ดเศรษฐกิจ. นนทบุรี:ปิยมิตร มัลติมิเดีย.

บรรณานุกรม(ต่อ)

อัมพา คำวงษา.2554.”เพาะเห็ดได้เงินล้าน”.คู่มือการเพาะเห็ดเงินล้าน.กรุงเทพมหานคร:อินเตอร์มีเดีย.

15

ข้อมูลคณะผู้ศึกษา

นาย นันทกรณ์ ค้าของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

นางสาววรรณพร คงเรือง

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

นางสาวภัทราภรณ์ ชูจิตต์

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

นายเจนวิทย์ สุขเกษม

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

นายศักดิ์รินทร์ มาศมาลัย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

หมายเลขบันทึก: 625342เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2017 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2017 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท