ความเป็นมา (ครั้งที่ 1 )


ประวัติความเป็นมาเทพเจ้า ซำซัวก๊กอ๊วง ซอยตรอกโรงธูป ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม


ากการลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางและสภาพบริบทโดยคร่าวๆของศาลเจ้าจีน ซำซัวก๊กอ๊วง ซอยตรอกโรงธูป ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 คณะผู้จัดทำได้เดินทางไปพบกับคุณณัฐวุธ อนุชิตอารมณ์ ซึ่งดำรงหน้าที่เป็นคณะกรรมการหมู่บ้านของชุมชนสวนตะไคร้และยังเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนกิจกรรมภายในชุมชน ในการลงพื้นที่ครั้งที่ 1 คณะผู้จัดทำได้ทำการนัดหมายกับ คุณณัฐวุธ เพื่อที่จะพูดคุยถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูลงานวิจัยในครั้งนี้ ณ ที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน ชุมชนสวนตะไคร้ ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่นและเป็นกันเองคณะผู้จัดทำได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับคุณณัฐวุธ ท่านได้เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานเพื่อชุมชนให้กับทีมงานฟังทำให้พวกเราได้รับข้อคิดในการทำงานเพื่อสังคมทำให้พวกเราได้เห็นมุมมองใหม่ๆที่กว้างขึ้น หลังจากที่พูดคุยเป็นที่เรียบร้อย คุณณัฐวุธได้ให้ความอนุเคราะห์ขับรถพาไปยังสถานที่ที่พวกเราจะลงเก็บข้อมูลซึ่งก็คือศาลเจ้าจีน ซำซัวก๊กอ๊วง ซอยตรอกโรงธูป ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม เมื่อไปถึงพวกเราได้ทำการเดินสำรวจภายในศาลเจ้าแบบคร่าวๆเพื่อเป็นการทำความค้นเคยกับสถานที่และเรียนรู้การปฏิบัติตนในการเข้าไปในศาลเจ้า

(ภาพกิจกรรมการลงสำรวจพื้นที่ภายในศาลเจ้า ซำซัวก๊กอ๊วง)

- ะหว่างเดินสำรวจสถานที่คุณณัฐวุธ ได้เล่าถึงประวัติของเทพเจ้า ซำซัวกี๊กอ๊วง ให้กับพวกเราฟังประวัติมีอยู่ว่า?

( ภาพรูปปั้นจำลองของเทพเจ้าซำซัวก๊กอ๊วง)

ซำซัวก๊กอ้วง มีประวัติสลักหินภูเขา กึ่งซั้ว ในประเทศจีนว่า อยู่ใน ราชวงศ์ลุย ประมาณ พ.ศ. 1124-1397 (ค.ศ. 581-617) หรือประมาณ พันสี่ร้อยกว่าปี มาแล้ว ว่ามีชายแต้จิ๋ว 3 คน เป็นพี่น้องกัน บางตำนานก็ว่าเป็นพี่น้องร่วมสาบานเพราะชื่อแซ่ไม่เหมือนกัน ได้ทำการสู้รบกับกบฏที่จะมายึดครองเมืองแต้จิ๋ว จนประสบความสำเร็จแล้วทั้ง 3 คน ได้ขึ้นไปใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายบนภูเขา 3 ลูก คือ ภูเขาตกซัว ภูเขาเบ๋งซัว ภูเขากึ่งซัว โดยไม่สนใจลาภยศที่ชาวบ้านและทางการมอบให้ท่านทั้ง 3 คน อายุ 80 ปี จึงลาลับจากไป แต่ดวงวิญญาณของท่านทั้ง 3 คน ยังคงปกป้องคุมภัยให้กับประชาชนและดำรงความศักดิ์สิทธิ์อยู่นั้นเอง ความดีจองท่านรู้ถึง พระยาอ๋องส่งเต่ จึงตั้งตัวให้ท่านทั้ง 3 คนเป็น เหล่าเทียนซ้ายเจี่ย และรู้สึกซาบซึ่งในคุณงามความดีของท่าน จึงสร้างศาลให้ท่านสถิต กษัตริย์สมัยนั้นแต่ตั้งให้ท่านเป็น เฮงฮ่องซำซัวก๊กอ้วง เมื่อคราวศักราช เตียวดองอิ้น เถลิงราชสมบัติเป็น พระเจ้าซ้งไท้จู่ ต้องรบพุ่งกับ เหลาตง โหรหลวงได้ขอสิ่งศักสิทธ์ให้คุ้มครองกองทัพ จึงปรากฎเห็นธงชัย นามซำซัวก๊กอ้วง เมื่อพระเจ้าซ้งไท้จู่ นำผืนธงมาโบกสะบัด พลันปรากฏเมฆฝน ครื้มดำจนมืดมิด ฝนตกหนัก พายุโหมกระหน่ำจนทัพฝ่ายข้าศึกต้องพ่ายแพ้ล่าถอยไป มีผู้กล่าวไว้ว่าเป็นเพราะบารมีของ พระซำซัวก๊กอ้วง

ในบันทึก ฉางโจวฝู่จื้อ กล่าวไว้ว่าปลายสมัยซ้อง เมื่อ บุ้นเทียนสง วางแผนพากษัตริย์เป๋ง หลบหลีกหนีทหาร มองโกล ขณะที่ตนเองต้านทัพ มองโกล อยู่ที่เมืองฮกจิว นั้น ติวแซเกลียต พร้อมกษัตริย์เป๋ง ถูกทหาร มองโกล รอบกรอบในเวลาขับขัน พลันปรากฏเมฆฝน ท้องฟ้าร้องคะนอง ปรากฏมี 3 อัศวินควบม้าศึกมือถืออาวุธหอกขับไล่ทหารมองโกล หนีกระเจิงพลันท้องฟ้าสร้างซา กลับไม่พบกับอัศวินทั้ง 3 คน แต่ปรากฏภาพภูเขาเบื้องหน้าอย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาดูแล้วภูเขาทั้ง 3 คน มีลักษณะแตกต่างกัน ภูเขาลูกแรก มีใบ้ไม้เขียวครึ้ม ภูเขาลูกที่2เต็มไปด้วยโขดหินสีขาว และภูเขาลูกที่3 เป็นสีแดงกล่ำ เมื่อเห็นดังนั้นกษัตริย์เป๋ง จึงพระราชทานนามเทพผู้พิทักษ์ที่สถิตอยู่บนภูเขาทั้ง 3 ลูกว่า ซำซัวก๊กอ้วง พร้อมสร้างศาลประดิษฐ์ฐานรูปเคารพของท่าน ซึ่งจำแนกด้วยสีหน้า คนแรก หน้าเขียว ท่านที่สองหน้าขาว และท่านที่สามหน้าแดงกล่ำ ตามลักษณะเด่นของภูเขาทั้ง 3 ลูก พระซำซัวก๊กอ้วง นับเป็นพระปักปกรักษาชาวท้องถิ่นโดยเฉพาะ ชาวแต้จิ๋วและชาวฮากกา ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดพระซำซัวก๊กอ้วง ล้วนมีความศรัทธามาก ชาวท้องถิ่นเรียกท่านว่าพระซำซัวก๊กอ้วงหรือพระซำอ้วงเอี้ย แต่โดยทั่วไปแล้วพี่น้องท้องถิ่นใกล้เคียงก็มีความศรัทธามากเช่นเดียวกัน ชาวกว้างตุ้งและชาวฮากกา หรือชาวไต้หวันมีกเรียกท่านว่า พระซำซัวกวอกหว่องในท้องถิ่นมณฑลกวางพบศาลของท่านมากกว่า 130 แห่ง มีผู้กล่าวไว้ว่าผู้ใดมีชาวแต้จิวหรือชาวฮากกา ที่นั้นต่องมีศาลซำซัวก๊กอ้วง แสดงให้เห็นถึงความเคารพนับถือ ในความศักดิ์สิทธิ์ของ ซำซัวก๊กอ้วง ที่มีต่อชาวจีนเป็นอย่างมากและพบศาลของท่านได้ใน ประเทศไทย มาเลเซีย เวียดนาม ลาว กัมพูชา ไต้หวัน และอีกหลายประเทศ

หมายเลขบันทึก: 624342เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2017 23:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท