โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 1 : 19-21 กุมภาพันธ์ 2560)


สวัสดีครับชาวบล็อก,

ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1(ช่วงที่ 1: ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ - 2 มิถุนายน 2560 ผมรู้สึกดีใจที่ได้กลับมาทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อีกครั้งหนึ่ง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คณะ ประกอบด้วย ประกอบด้วยผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. และคณะพันธมิตรที่เป็นเครือข่าย 6 คณะ ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

การทำงานครั้งนี้ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายผมอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. ที่ไว้วางใจพวกเรา และทุกท่านสามารถติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ผมขอฝาก Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้พวกเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครับ


จีระ หงส์ลดารมภ์


โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 1

กุมภาพันธ์ – มิถุนายน2560
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2560
(สรุปการบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy)




----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พิธีเปิดฯ

กล่าวรายงานโครงการฯ

ผศ.ดร.ลัพณา กิจรุ่งโรจน์

ที่มาของโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์ เริ่มต้นจากแนวคิดพัฒนาผู้นำที่ต้องมีการพัฒนาความรู้ และมีวิสัยทัศน์ในการร่วมสานภารกิจต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย สร้างความท้าทายที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้ผู้นำของคณะพยาบาลศาสตร์เป็นผู้นำที่นำสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจึงนำมาสู่การพัฒนาผู้นำในระดับผู้บริหารเพื่อให้มีภาวะผู้นำสู่การเปลี่ยนแปลง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 32 ท่าน ประกอบด้วยผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. และคณะพันธมิตรที่เป็นเครือข่าย 6 คณะ ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รวมเป็น 7 คณะเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ การเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาดูงาน และคิดโครงการนวัตกรรมต่าง ๆ

พิธีเปิดหลักสูตร

โดย รศ.ดร.อรัญญา เชาวลิต

คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ที่ผ่านมาคณะพยาบาลศาสตร์ได้ส่งคนไปเพื่อการพัฒนาผู้บริหารในหลักสูตรอบรมของคณะแพทยศาสตร์ และผู้บริหารของ ม.อ. รวมถึงได้รับการบอกเล่าจากผู้ที่ได้รับการอบรมว่าว่าสิ่งที่เรียนรู้ตรงที่คณะพยาบาลศาสตร์ต้องการซึ่งสอดคล้องกับแผนของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. จึงมีความยินดีที่ทางคณะพยาบาลศาสตร์ จะได้วางแผนการจัดอบรมพัฒนาผู้บริหาร และเชิญผู้บริหารจาก 6 คณะพันธมิตรเข้าร่วมจัดการเรียนรู้ด้วย เนื่องจากมีความสุขในการอบรมและเรียนรู้ร่วมกัน และสามารถได้เรียนรู้จากคนอื่น ๆ ทำให้มีมุมมองที่หลากหลาย มีแนวคิดที่มองออกไปข้างนอกเป็นการมองนอกกรอบออกจากคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งพบว่ายังมีอีกหลายคณะที่ต้องการร่วมจัดด้วยเช่นกัน และอาจเป็นไปได้ว่าในรุ่นที่ 2 อาจมีคณะอื่นเป็นเจ้าภาพร่วมจัด หรืออาจเวียนไปจัดที่คณะอื่นบ้าง

ในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่คณะพยาบาลศาสตร์ ทุกคณะ และทุกมหาวิทยาลัยให้ความสนใจอย่างมาก บุคลากรในระดับผู้บริหาร และทุกระดับต้องได้รับการพัฒนาทุกคน ที่ผ่านมาคณะพยาบาลศาสตร์ได้มีการส่งคนไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ จัดอบรม และคิดว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะเป็นทุนที่นำสู่ความยั่งยืน ดังนั้นหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรการสร้างผู้นำ จึงมีความจำเป็นต้องรู้จริง

เราต้องเป็นผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำที่ดี หลักสูตรนึ้จะช่วยในการพัฒนาผู้นำ พัฒนาผู้บริหารให้สามารถจูงใจคนได้อย่างมืออาชีพดังที่คาดหวัง

คนไทยโชคดีที่มีผู้นำที่ยิ่งใหญ่และเป็นแบบอย่างคือในหลวงรัชกาลที่ 9

ม.อ.มองประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ดังนั้นในการศึกษาและสร้างบุคลากรของม.อ. จึงคิดว่าเลือกไม่ผิดที่ผู้เข้าอบรมจะเป็นบุคลากรในอนาคตของ ม.อ. โชคดีที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ โชคดีที่ได้ทำงานร่วมกันจากหลายคณะ ทำให้เห็นถึงความรัก ความร่วมมือ และการสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร การทำงานร่วมกัน

ขอให้ทุกคนขอบคุณที่มีงานมากเพราะการทำงานจะทำให้มีประสบการณ์มากขึ้น และจะรู้สึกว่าตัวเองมีความหมาย มีประโยชน์ที่ดี

การเป็นผู้นำที่ดี ไม่ใช่แค่การเป็นผู้นำอย่างเดียวแต่ต้องเป็นผู้ตามที่ดีด้วย โดยจะพยายามจัดโปรแกรมเพื่อเรียนรู้ร่วมกับผู้เข้าอบรมด้วย ดังนั้นคณะที่เข้ามาจัดอบรมในนี้ ทั้ง 6 คณะ รวมคณะพยาบาลศาสตร์เป็น 7 คณะ ต้องขอขอบพระคุณทีมงานคณะผู้จัดฯ ที่ตั้งใจทุ่มเทให้ได้รับสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุด

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไม่ใช่เพื่อตัวท่านเอง แต่เพื่อสังคม และประเทศชาติต่อไป

วิชาที่ 1

ปฐมนิเทศ และแนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้

วิชาที่ 2

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “ทุนมนุษย์ – Mindset - Leadership และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

ของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ประธาน Chira Academy

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

ที่ปรึกษามูลนิธิฯ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กรรมการมูลนิธิฯ

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

วิทยากรอิสระด้านทรัพยากรมนุษย์

อาจารย์อัมพา อาภรณ์ทิพย์

คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.

ผศ.ดร.กัญญนัช กนกวิรุฬห์

ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายการศึกษา แพทยศาสตร์ศึกษา ม.อ.

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าผู้นำ CEO สนใจด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะเป็นประโยชน์มาก และถ้าเริ่มต้นได้ดีต่อไปจะเดินไปในแนวทางที่ดีด้วยเช่นกัน

การพูดถึงคำว่าผู้นำ แม้เราไม่ได้สอนผู้นำ แต่ความจริงคือในทุก 20 วันทุกท่านก็คือผู้นำ

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ กล่าวว่า Learning is Eco System หมายถึงการเรียนรู้จะเรียนจากที่ไหนก็ได้

ดร.จีระ กล่าวว่าในการเรียนการสอนจะมีช่วงหนึ่งที่มีอารมณ์ปะทะกันทางปัญญา แล้วจะเกิดอารมณ์ร่วมแล้วเราจะข้ามสิ่งเหล่านี้ไปด้วย เมื่อเกิดแล้วเราจะมีพลังขึ้นมา Energy เกิดจากการเรียน แต่ไม่ได้เกิดจาก Transfer ความรู้

จะเสริมเรื่อง Aging Population และอาเซียน อาจทำในช่วงต้น ๆ

อะไรก็ตามที่สามารถไปสู่มูลค่าเพิ่มได้ โอกาสในการร่วมกันในครั้งนี้เป็นความหลากหลาย เป็นความหลายหลายทาง Science Base แต่อาจยังไม่ข้ามไป Social Science

อาจารย์อัมพา อาภรณ์ทิพย์

ในฐานะผู้จัดโครงการพัฒนาบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ ในช่วงนั้นมีบุคลากรที่กำลังเกษียณจำนวนมาก และเป็นผู้บริหารระดับกลางจำนวนมาก งานขยาย ผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น GenY เข้ามามากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเป็นแนวคิดเพื่อเตรียมคนของคณะแพทยศาสตร์ในอนาคต มีการทำ Pre-Planning ในเบื้องต้น 3 รอบ แต่ละเรื่องเชื่อมต่อโดยตรง เป็นลักษณะ Active Participation มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มาก ผู้เรียนอาจมีบ่นมากเนื่องจากมีงานมาก และหลังจากอบรมได้มีการดูว่าผลลัพธ์จากอบรมเชิงปริมาณจะเป็นอย่างไร ในเชิงคุณภาพให้ จะติดตามอย่างไร ติดตามแบบไหน ได้มีการติดตามจากผู้อบรม ได้มีการทำ AR หนึ่งรอบจากผู้อบรม และติดตามทุก 4-6 เดือน โดยติดตาม 2 ครั้ง มีการทำ Focus Group เพื่อหาพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป มีการดูพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ดูว่าผู้เข้าร่วมได้นำความรู้ไปพัฒนาให้เกิดผลงานตนเองอย่างไรบ้าง และผลงานเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ ดูที่ High Performance ,High Productivity และ High Competency

มีการทำ Mini Research ของแต่ละกลุ่ม รุ่นที่ 1 มีหลายโครงการฯ ที่ผู้บริหารไม่ซื้อ ส่วนในรุ่นที่ 2 ก็ทำ Mini Research ก็ยังไม่ตรงและบางคนไม่มีส่วนร่วม จึงได้ปรับมาในรุ่นที่ 3 มีการพัฒนาโครงการเดี่ยวด้วย ซึ่งแต่ละคนจะนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขึ้นอยู่กับว่าพฤติกรรมของคนในห้องนี้เปลี่ยนหรือไม่ แล้วนำไปปะทะกับความจริง มีการทำงานที่ต่อเนื่องหรือไม่

นวัตกรรมในโลกเกิดจากแรงผลักดันบางอย่าง ในห้องนี้ต้องมีภาพ Macro เพื่อไปสู่ Micro ให้ได้ โดยพื้นฐานคนส่วนใหญ่ห้องนี้ลงลึก แต่จำเป็นต้องกว้างคือมีทั้ง Macro Micro และ Perspective

การเรียนรู้มีการประเมินผลร่วมกันและใช้ Brain ของคนที่อยู่ในห้องอบรมเป็นผู้ Monitor ด้วย จุดประสงค์คือประเมินเพื่อทำให้พฤติกรรมของคนที่เรียนกับเราเปลี่ยน

มีการพูดถึง Single Loop Learning & Second Loop Learning

Single Loop Learning เป็นการนำสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้วไปแก้ปัญหา แต่ขึ้นอยู่กับการปรับพฤติกรรมตนเองได้หรือไม่ ต้องมีวัฒนธรรมองค์กร ยกย่องคนอื่น มี Respect & Dignity และเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ เพราะพฤติกรรมมนุษย์นั้นมีหลากหลาย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การอบรมที่ผ่านมาของคณะแพทยศาสตร์ 3 รุ่น และผู้บริหาร ม.อ. 2 รุ่น อยู่ในหัวใจ 4 ข้อ ประกอบด้วย ปลูก เก็บเกี่ยว ทำให้สำเร็จ และทำให้ได้ 3 V

1. การปลูก – การใส่องค์ความรู้เข้าไป เริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่คือ Pre-Planning และรู้สึกดีที่คณะพยาบาลศาสตร์มีพันธมิตร เช่นที่คณะฯไฟดับก็มีพันธมิตรให้ใช้สถานที่ ผลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นการกระตุ้นความเป็นเลิศจากภายใน เป็นสิ่งที่เป็นพันธกิจของท่าน แต่ก่อนอาจต่างคนต่างอยู่อาจไม่ได้นำมาร่วมกันเป็นแปลงให้เกิดประโยชน์

การเตรียมดิน – การปฐมนิเทศ มีการอธิบายกระบวนการและเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ และมาสู่ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ วิทยากรท่านอื่น และอาจารย์พี่เลี้ยง เข้ามาแลกเปลี่ยน ช่วยการดูแล

ตัวอย่าง การอ่านหนังสือ คนยุคใหม่บางคนไม่อ่าน แต่ข้อดีคือมีกระบวนการวิเคราะห์มาแล้วอย่างหนึ่ง หมายถึงมีทางที่เราเดิน หลายคนใช้เวลาหลายปีในการสะสมประสบการณ์จำนวนมาก เสมือนมีเส้นทางให้เราเดิน เราสามารถเติบโตในส่วนนี้ได้

2. การเก็บเกี่ยว – ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ มีหลายโครงการฯ ที่ถ้าทำได้และจะเกิดประโยชน์ที่ดีมาก แต่ความสำเร็จไม่ใช่ทำคนเดียว แต่เกิดจากการทำร่วมกัน สิ่งที่ฝากไว้คือ Reality

3. การก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรค หรือที่เรียกว่า Execution คือการทำให้สำเร็จ ต้องมีการทำ Workshop และฝึกการนำเสนอ

ยกตัวอย่างที่คณบดีฯ พูดแบบผู้นำคือสิ่งที่เรียนรู้ในวันนี้เราไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง แต่เราทำเพื่อสังคม และประเทศชาติ เป็นการบอกว่าคณะพยาบาลศาสตร์เดินมาอย่างไร และจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างไร เป็นตัวอย่างของการกระตุ้น เป็นเสมือนกำปั้นเหล็กในถุงมือกำมะหยี่

4. การเพิ่มมูลค่าและคุณค่า

- Value Added เพิ่มมูลค่าอย่างไร

- Value Creation สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการต่อยอด ทำให้เป็น ต้องผนวกกับการทำงานเป็น ปฏิบัติการเป็น และทำให้เกิดนวัตกรรม

- Value Diversity เราไม่ได้ทำเพื่อตนเอง แต่เราทำเพื่อสังคม เป็นผู้นำในอนาคตของ ม.อ.

ผศ.ดร.กัญญนัช กนกวิรุฬห์

จะสะท้อนในส่วนของผลิตภัณฑ์ของโครงการนี้

1. ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามา รู้สึกตกใจมากกับการมีวิทยากร 10 คนในห้อง คนที่มีธรรมชาติเป็นวิทยาศาสตร์ ชอบอยู่ในสถานที่เล็ก ๆ ไม่ชอบติดต่อใคร เริ่มงงว่ามาทำอะไรมากมาย ทำไมไม่นั่งเป็นเลคเชอร์ นั่งเป็นกลุ่ม ๆ ทำไม มีหลายหน่วยงานที่เรียนรวมกัน วันแรกรู้สึกเกร็ง ๆ ว่ามาทำอะไรอยู่ตรงนี้ และเริ่มรู้สึกมึนกับทฤษฎีว่าจะไหวหรือไม่

2. ยิ่งเรียนไปเรื่อย ๆ จะรู้สึกว่าเป็นคนที่ฉลาดลึกแต่โง่กว้างมากคือรู้เฉพาะในวิชาตัวเองมาก ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเรียน Finance Logistic CSR Coaching แต่หลังจากนั้น เรียนไปเรื่อย ๆ จะเริ่มเข้าใจมากขึ้น

3. กิจกรรมการอ่านหนังสือชอบมาก และไม่เข้าใจเกี่ยวกับทางสังคมศาสตร์ หลังจากนั้นอ่านไปเรื่อย ๆ จะเริ่มเข้าใจมากขึ้น ทำให้เรียนไปเรื่อย ๆ จะง่ายขึ้น และเมื่อครบ 3 เดือนจะรู้สึกว่าเร็วมาก

4. ได้เพื่อน ได้ Networking ใครเก่งอะไรทำตรงนั้น ถนัดอะไรทำตรงนั้น ได้การทำงานร่วมกัน เป็นสิ่งที่ได้จากทีมงาน

5. งานเลี้ยงปิดกิจกรรม บ่งบอกได้ว่าทุกคนน้ำตาไหล รู้สึกประทับใจมากที่ผ่านความยากลำบากมาด้วยกัน รู้สึกว่าการได้ใบประกาศนียบัตรเป็นสิ่งที่มีค่ามาก ได้เรียนรู้ ได้อะไรหลายอย่างมาก

6. มีความประทับใจในการปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้มากขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น ทำงานได้มากขึ้น ได้รับการเตรียมวิธีการมาในการมารับตำแหน่ง เรียนรู้อยู่ทุกวัน และทำงานด้วยความสนุกสนาน มีความสุขในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆทุกวัน

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

ยกตัวอย่างบุคลากรเปรียบกับการทำงานของสถาปนิก

หมอเปรียบเสมือนสถาปนิก พยาบาลเปรียบเสมือนเขียนแบบ และเภสัชเปรียบเสมือนคนเขียนสคริปต์

ในที่สุดการอบรมของแต่ละคณะจะทำให้แต่ละคนจะคิดเหมือนกัน พูดเหมือนกัน ภาษาเดียวกัน และไร้อารมณ์ และสิ่งที่ได้จะได้มากกว่าที่ได้ในวันนี้

สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ได้จากสิ่งเล็ก ๆ

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

นอกจากเรื่องหยิ่งยโส ยังมีเรื่องความเกรงใจที่เป็นปัญหาด้วย

สะท้อนความรู้สึกคือ ในวันสุดท้ายหลายท่านจะบอกว่าจบแล้วหรือ อยากไปเรียนใหม่

ด้วยกระบวนการเป็นการสร้างสังคมของการเรียนรู้จริง ๆ กระบวนการพัฒนาผู้นำไม่ใช่เรื่อง Classroom แต่ทุกอย่างเป็น Process เป็น Purpose of Learning เป็นการเรียนแบบ Passion คือยิ่งเรียน ยิ่งอยากรู้มาก เป็น Personalize Learning และสู่ Team Learning

จาก Fact Base จะสู่ Idea Base จะเป็นลักษณะ Active Learning ให้แต่ละท่านดึงประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันมาใช้

การเป็นพี่เลี้ยงจะเป็นดูและช่วยสนับสนุน เป็นลักษณะการปิด Gap และต่อยอดว่ามี Gap อะไรแล้วจะ Add Value ไปเรื่อย ๆ

เป็นการเรียนรู้ลักษณะ Sharing เป็น Incentive ที่เป็น Knowledge ในอนาคต เกิดเป็น Knowledge Management ในองค์กร เป็น Common Sharing , Common Creating และเชื่อว่า ม.อ.จะเป็นมหาวิทยาลัยที่ชนะมหาวิทยาลัยอื่นในประเทศไทย 4.0

สุดท้ายสิ่งที่ออกมาจะเป็น Theory in Practice คือจะนำไปต่อยอดได้ ความสำเร็จจะเป็น Achievement Credit คือเป็น Credit ของแต่ละท่านเอง และจะมีความภาคภูมิใจ มีการทำงานเป็นทีมที่มีความร่วมไม้ร่วมมือสูง ลดความเกรงใจ รักษาหน้า หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การที่ ม.อ.ได้วัฒนธรรมหรือ Process ที่ สร้างวัฒนธรรมไว้เป็นเวลานาน เราต้องทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในอนาคต Academic ต้องเปิดประตู และต้อง Contribute ให้แก่สังคม ชีวิตเราต้องทิ้งอะไรที่เป็นมรดกให้ได้จะทำให้ชีวิตเป็นประโยชน์เท่าที่ควร

ตั้งโจทย์ที่อยากให้ทุกคนนำไปคิด ได้ยกตัวอย่างของ McKinsey

1. ทำอะไรก็แล้วแต่ต้องค้นหาตัวเองให้ได้ เรามีช่องว่างอะไร (Gap)

2. ไปหาพันธมิตรเพื่อ Fulfill ซึ่ง Brain ของโลกจะอยู่ตรงไหนก็ได้ Networking สำคัญที่สุด

3. วิธีการเรียน ตัวอย่าง

4L’s มี Learning Methodology, Learning Environment ,Learning Opportunity ,Learning Community

เหตุการณ์ที่เกิดในอนาคต มีส่วนหนึ่งเกิดจากเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี และเมื่อทำสำเร็จแล้วอย่าหยุด เป็นลักษณะ Extra mind ตัวอย่าง ดร.จีระมีลูกค้าหลายระดับ ทุนมนุษย์ข้างล่างของเมืองไทยขาดอย่างเดียวคือ แรงบันดาลใจ

สิ่งที่น่าตั้งโจทย์คือ Chira Way เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 1 เป็นรูปแบบการปฐมนิเทศที่แปลงและไม่เคยพบมาก่อน สามารถสร้างภาพให้เรามองเห็นจากวันแรกไปถึงวันสุดท้ายได้เป็นอย่างดี เป็นการทำให้เรามองว่าเราต้องเจออะไรบ้าง และในอนาคตจะเป็นอย่างไร เริ่มมองเห็นว่าเป้าหมายจะเป็นอย่างไรบ้าง และมีผลดีอย่างไรต่อองค์กรที่เราทำอยู่

ดร.จีระ เสริมว่า แรก ๆ ของปริญญาเอกของ ดร.จีระ ได้ตกไปเพราะมีคนอ้างว่าไม่มีหลักฐานทางวิชาการมาอ้าง แต่สิ่งที่เขียนของ ดร.จีระ มาจากประสบการณ์ และทฤษฎีที่ได้สั่งสมมาส่วนหนึ่ง

ประเทศไทยอาจประมาทในเรื่องในน้ำมีปลา ในนามีข้าว อย่างความร่ำรวยของชาวภูเก็ตมาจากเหมือง แต่ลืมไปว่าคนคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าที่สุดของสังคมไทย สังคมไทยในบางกลุ่ม อาจไม่ได้นับถือนักวิชาการ แต่ยกย่องคนรวย อาจผิดหรือถูกไม่รู้ ยกย่องคนที่เป็นวัตถุนิยม

สิ่งที่คิดในวันนี้ไม่ได้ต่างจากสิ่งที่คิดใน ฮาร์วาร์ต หรือแสตนฟอร์ด อาจไม่ได้เป็นทฤษฎีโดยตรงเพียงแค่สิ่งที่ ดร.จีระคิดเพื่อเอามาเสริม และต้องการช่วยสังคมจริง ๆ

กลุ่ม 2 ชอบการเรียนรู้แบบนี้มากคือ การมาพบปะกันมาก ๆ พูดกันมาก ๆ และพูดกันคนละมุม เปิดโอกาสให้คนได้ปะทะกันทางปัญญา เชื่อในพลังของคน พลังของทีม และเชื่อว่ามี Inspire ที่ทำให้เกิดการฟังในครั้งนี้ คิดว่าน่าจะเป็นอะไรที่สนุกมาก

ดร.จีระ เสริมว่า การเรียนรู้ในวันแรกเสมือนม้าออกจากค่าย ถ้าออกได้ดี ต่อไปก็จะได้ดี ถ้ามีการปะทะกันดี ก็จะเป็นประโยชน์มาก อยากให้ทุกท่านปรับพฤติกรรมในการทำงานด้วย

พยาบาลเป็นลักษณะ Technical , Academic และ Management Skill พยาบาลอาจขาด Confidence แต่เรื่องการเรียนรู้อาจเหนือกว่า

เสน่ห์ของการเรียนรู้มหาศาล โดยเฉพาะโลกดิจิตอลหาได้หมด แต่เราจะสามารถแยกได้ดีหรือไม่อยู่ที่ทุนทางปัญญา อยู่ที่ System Thinking คือหลักวิทยาศาสตร์มีอิทธิพลสู่สังคมศาสตร์ แล้วสามารถต่อยอดไปด้าน Creativity ได้อยู่แล้ว

กลุ่ม 3 เรียนถามมูลนิธิฯ เรื่องแนวทางการจัดการของมูลนิธิฯ ที่ไม่ได้เงินสนับสนุนจากรัฐบาลที่แท้จริง บุคลากรที่เข้ามา อยากฝากเรื่องการจัดการในอนาคต และคนที่จะมาช่วยในการจัดการในอนาคตจะเป็นอย่างไร เนื่องจากมองว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ

ดร.จีระ ตอบว่าความจริงถ้าไม่มีการเมืองแทรกแซงก็มีเงินสนับสนุน เงินที่ขอไปอาจไม่มาก แต่กระนั้นก็ตาม

โจทย์มาจาก ท่านชวน หลีกภัย ตั้งขึ้นมาด้วยความสงสัยว่าทำไมประเทศเพื่อนบ้านยังมีความสงสัยและไม่มั่นใจคนไทยอยู่ แต่หลังจากได้ไปทำงานกับคนเวียดนามพบว่าคนเวียดนามก็ไม่ได้มีอคติกับคนไทยทุกคน แต่เป็นการพัฒนาการทูตภาคประชาชนที่ดี

ยังไม่รู้ว่าจะมีใครรับผิดชอบแทน แต่ก็ยังทำต่อไป มูลนิธิฯ ต้องมีคนที่มีความสามารถ และให้เข้ามาช่วยเหลือทางวิชาการ เปิดโอกาสให้ทำงานร่วมกับเรา

กลุ่มที่ 4 ขอชื่นชมวิทยากรในช่วงเช้า และทุกคนรู้สึกหิวถึงกระบวนการเรียนรู้ อยากขอให้อาจารย์แนะนำเรื่อง Theory of Practice ในการไปเรียนรู้เพิ่มเติม และการเป็น Happy at work อะไรคือ Key Success Factor

ดร.จีระ ตอบว่า ตัวอย่าง มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก บอกว่า ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จประกอบด้วย 5 P’s คือ

1. Passion

2. Purpose

4. People

5. Product

6. Partnerships

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. Passion ทำอะไรต้องหลงใหลกับสิ่งที่ทำ

2. Purpose ทำอะไรต้องมีเป้าหมาย

3. Meaning คือทำแล้วมีความหมาย เช่นทำแล้วเกิดประโยชน์อย่างไร

ในช่วงบ่ายจะบอกถึง Happy at work กับ Happy workplace ต่างกันอย่างไร

Happy at Work คือ Individual Business ของแต่ละคนที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน และคนรุ่นใหม่ สามารถทำงานที่ไหนก็ได้

Research ที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตจะเป็น Research ที่เกิดความสมดุลระหว่างงานกับสิ่งแวดล้อม เราต้องมีความ Work life balance ได้อย่างไร ดังนั้นการใช้ชีวิตในอนาคตคือ Happiness at Work กับ Happy Work Place ต้องไปด้วยกัน


วิชาที่ 2

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “ทุนมนุษย์ – Mindset - Leadership และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

ของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ประธาน Chira Academy

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2560



Workshop

กลุ่ม 2 ข้อ 1. วิเคราะห์เรื่อง “ปลูก”จากทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K’s+5K’s ค้นหาสิ่งที่ขาดและความต้องการในการพัฒนา

1.1 ตนเอง1.2 คณะ

(K ตัวไหนบ้างที่ยังขาดหรือมีความต้องการในการพัฒนา)

เพราะเหตุใด ลำดับความสำคัญ

กลุ่ม 3 ข้อ 2. วิเคราะห์เรื่อง “เก็บเกี่ยว” ค้นหาช่องว่างในการบริหารทุนมนุษย์ให้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพเพื่อการพัฒนางานของคณะ /องค์กร

กลุ่ม 1 ข้อ 3. วิเคราะห์เรื่อง “Execution” หรือ “การลงมือทำให้เกิดความสำเร็จ” เลือก 3 เรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาหรือบริหาร “คน” ที่ควรนำมาทำให้เกิดความสำเร็จ อธิบายเหตุผล และควรทำอย่างไร

กลุ่ม 4 ข้อ 4. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงของคณะ 5 เรื่อง เพราะเหตุใด และคณะควรจะมีแนวทางในการรับมืออย่างไร

Quotation

“The world is Changing very fast and unpredictable” – Michael Hammer

Comparative advantage of countries or economies depend on the quality of human resources” – Michael Porter

“Low Labor productivity prevents Thailand’s strong competitiveness” – Michael Porter

“คนคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร” พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

“ ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของ หรือเครื่องจักร แต่เป็นคน เช่นสิงคโปร์ หรือ อิสราเอล” – ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

People have unlimited Potential” – Antony Robbins ศักยภาพของคน Hidden อยู่ข้างใน

His philosophy of work is “Curiosity and thirst for learning”Satya Nadella CEO Microsoft การกระหายคือการเรียนรู้

Cultivation is necessary but harvesting is more important” – ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

“ปลูกพืชล้มลุก 3- 4 เดือนปลูกพืชยืนต้น 3-4 ปี พัฒนาคน ทั้งชีวิต” – สุภาษิตจีน

“ การมองภาพทรัพยากรมนุษย์ จาก Macro สู่ Micro” – จีระหงส์ลดารมภ์

If we don’t change we perish” – Peter Drucker

ประเด็นสำคัญในการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์

1. ปลูก

2. เก็บเกี่ยว

3. Execution + Macro –Micro

การศึกษาทุนมนุษย์เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลง

HR Architecture



ถ้าการลงทุนของมนุษย์ในเมืองไทยมีคุณภาพเราจะได้สังคมมนุษย์เป็นสังคมการเรียนรู้และมีจิตสาธารณะ คิดเป็นวิเคราะห์เป็น จะทำให้การทำงานสามารถแข่งขันได้ ลดปัญหาความยากจน ลดปัญหาความขัดแย้ง แก้ไขสิ่งแวดล้อมได้ และเราจะอยู่แบบยั่งยืน

ถึงเราเรียนจบแล้ว เรายังต้องแสวงหาการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ ถ้าปลูกแล้วต้องปลูกอีกเรื่อย ๆ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะพาณิชย์ศาสตร์จะมีบทบาทในเรื่องนี้มาก

ทุนคืออะไร ?

ในทางเศรษฐศาสตร์ก่อนเราได้อะไรมา เราต้องเสียก่อน หมายถึงเราจะไม่ได้อะไรมาง่าย ๆ หรือที่เราเรียกว่า Investment

ทุนต่าง ๆ อาทิ ทุนธรรมชาติ ที่ดิน ทุนที่มาจากการเงิน ทุนที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม เทคโนโลยี เครื่องจักร และสุดท้ายคือทุนมนุษย์ คือคุณภาพของคน

ความยากคือการเอาใจใส่ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

ทุนมนุษย์กลายเป็นทุนที่มีความสำคัญต่อสิ่งอื่น เป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

Adam Smith กล่าวว่าค่าจ้างของแรงงาน 2 คนไม่เท่ากัน และก็ถามว่าทำไม ? ส่วนหนึ่งมาจากบุคคลหนึ่งอาจมีความรู้ ทักษะมากกว่าอีกคนหนึ่ง

อีกท่านคือ P.Schultz จาก University of Chicago ทำวิจัยใช้หลักของ Becker พบว่าชาวนาในสหรัฐฯ ถ้าคนไหนมีความรู้หรือปัญญามาก ผลผลิตของสินค้าเกษตรหรือ Labor Productivity ของเขาก็เพิ่มขึ้น

Prof. Gary วิเคราะห์ว่า แรงงานมีการลงทุนด้านการศึกษาไม่เท่ากัน แค่วัดจากปีที่เรียนจะพบว่ารายได้ไม่เท่ากัน พบว่าการศึกษาคือการลงทุนที่สำคัญของทุนมนุษย์ ใครมีการศึกษามากกว่าคนนั้นก็จะมีรายได้มากกว่า หรือมีทุนมนุษย์มากกว่า ซึ่งการวิเคราะห์ของ Becker ก็เป็นที่มาของรางวันโนเบลทางเศรษฐศาสตร์

ปี 2556 การวิเคราะห์ทุนมนุษย์เปลี่ยนไปมาก Hypothesis แรกคือปริมาณหรือการมองการศึกษาแบบเป็นทางการว่าจบอะไร ปริญญาตรีต้องดีกว่า ม.6 ก็ยังสำคัญอยู่ แต่จะสำคัญน้อยลงเพราะพบว่าคนเรียนน้อยก็อาจมีคุณภาพดีเท่ากับหรือมากกว่าคนเรียนมากก็ได้ เรียกได้ว่า ปัญญาอาจไม่ใช่ปริญญา” อาทิ Bill Gates

ดร.จีระ จึงได้ศึกษาว่าคนมีคุณสมบัติอย่างไร จึงเป็นที่มาของทฤษฎี 8K’s และ 5K’s (ใหม่) ใช้ K แทนคำว่าทุนเพราะมาจาก Kapital ภาษาเยอรมัน เริ่มต้นด้วย 8K’s จาก Human Capital แต่ไม่ใช่วัดแค่ปริมาณจึงควรวัดที่คุณภาพ จึงเป็นที่มาของอีก 7 ทุน

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capitalทุนทางปัญญา(คิดเป็น วิเคราะห์เป็น แก้ปัญหาเป็น)

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capitalทุนแห่งความสุข (Happy at work)

Social Capitalทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน (ระยะสั้นไม่ทำลายระยะยาว บางเรื่องช้าไว้ก่อน)

Digital Capitalทุนทาง IT

Talented Capitalทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ

ให้ทุกคนลองถามตัวเองว่าในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capitalทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capitalทุนทางความรู้

Innovation Capitalทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capitalทุนทางอารมณ์

CulturalCapitalทุนทางวัฒนธรรม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วิถีอาจารย์มีทฤษฎี มีกระบวนการคือ

- Learn – Share – Care

- 8K’s5K’s เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่ง ที่สร้าง Social ที่สำคัญอยู่ที่ Talent เพราะเป็นสิ่งสำคัญถ้าทุนทางอารมณ์ไม่ดี Execution จะไม่เกิด

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

8K’s + 5K’s คือการปลูกและเก็บเกี่ยว ก็คือ ต้องสร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำงานที่มีคุณค่า

เก็บเกี่ยวเสมือนการใช้ประโยชน์ เช่น ถ้ามีเมล็ดพันธุ์ดี บนดินดี เราดูแลแมลงไม่ให้น้ำท่วม

มนุษย์อย่าดูเฉพาะคุณสมบัติเขา ดูว่าเขาเสียสละ มีจิตวิญญาณและพร้อมที่จะทำงานหรือไม่

การบริหารจัดการต้องมี Rhythm & Speed ต้องมีความคล่องตัว ฉับไว

ม.อ.ต้องสร้างให้มีมาตรฐาน

ทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ



1. บริบท

- องค์กรต้อง Lean & Mean ต้องทำให้องค์กร Flexible

- ศึกษาดูขั้นตอนการตัดสินใจในองค์กรเป็นอย่างไร ถ้าช้าจะแพ้คนอื่นเขา

2. Competencies

- ความสามารถเชี่ยวชาญในงานที่ทำ

- การเรียนรู้การทำงานเป็นทีม อยู่ร่วมกัน เข้าใจวัฒนธรรมองค์กร มีความสามารถในการบริหารจัดการ

- ภาวะผู้นำ

- Entrepreneurial Competency หมายถึงทำอะไรก็ตามให้งานที่ทำมีคุณภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ทำแบบเดิม ต้องมีจิตวิญญาณพิเศษ เป็น Sense of Entrepreneurship (มีความคิดริเริ่ม, มีความคิดในเชิงผู้บริหาร, เผชิญหน้ากับความล้มเหลว, บริหารความเสี่ยง)

- Macro and Global Competencies คือมีโลกทัศน์ที่กว้าง

3. Motivation

- จะทำอย่างไรให้เกิด Motivation และเกิดผลจริงกับงาน

- การทำอะไรก็ตาม ต้องยกย่องให้คุณค่าเขา HRDS (Happiness , Respect, Dignity , Sustainability)

- ถ้าเราจะเก็บเกี่ยวให้ดีเราต้องเข้าใจ Inside ของมนุษย์ สิ่งสำคัญคือ Inspiration, Empowerment (การมอบอำนาจหรือกระจายอำนาจ ต้องแบ่งหน้าที่ให้ดี)

- สำเร็จได้..ต้องเอาชนะอุปสรรคให้ได้ ผมเรียกว่า HR Execution คือ หลักๆก็คือ ต้องมุ่งมั่น/

ต่อเนื่องให้เกิดความสำเร็จ มีภาวะผู้นำ มี Growth Mindsetทำงานเป็นทีม Networking และทำงานร่วมกันระหว่าง CEO/HR/Non HR ก็จะประสบความสำเร็จได้

- ต้องเป็นพันมิตรทางยุทธศาสตร์ หรือ World Coffee Shop Model

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

- ปลูกและเก็บเกี่ยวเป็นวัฎจักร พอมีปัญหากลับไปปลูก หรือถ้าปลูกไม่ได้ก็กลับไปปลูกใหม่ สังเกตได้ว่าทุกอย่างไม่ได้จบเพียงครั้งเดียว แต่เป็นวัฎจักร ต้องสร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เริ่มต้นดี มี Vision ดีในการวางยุทศาสตร์แผนงาน

- เลือกเรื่องที่เราเด่นที่สุด ดีที่สุด และเติมเต็มประเด็นที่เราเก่งที่สุด ดีที่สุดบางครั้งอาจเกิดความเสี่ยงที่เราไม่ได้คาดคิด เราต้องเรียนรู้ที่จะแก้ไข กลับไป กลับมา สร้างทักษะให้ต่อยอด

- เพิ่มมูลค่าและคุณค่าทาง Creativity แล้วไปที่นวัตกรรม

- ประชารัฐเป็นตัวอย่างของ Diversity ตัวอย่างเช่น ดร.จีระได้จัดตัวละคร 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ภาครัฐ 2.ประชาชน/คนรับบริการ3.เอกชน4.นักวิชาการ

- เรื่องประเทศไทย 4.0 เน้นการยกระดับรายได้ของชนชั้นกลางให้ไปสู่ผู้มีรายได้สูงคือเศรษฐกิจพอเพียง และสังคม

Learn – Share – Care กฎ 12 ข้อของกระบวน WORKSHOP แบบ Chira Way

1.เลือกประธานกลุ่มที่เหมาะสมเป็นผู้นำ

2.เลือกเลขานุการกลุ่มที่สามารถสรุปประเด็นและจดบันทึกได้ดี

3.ประธานอธิบายหัวข้อว่าคืออะไร คาดหวังอะไร ต้องทำอะไร?

4.บริหารเวลา – มีน้อย/มีมาก

5.สนใจสมาชิกทุกๆ คนในกลุ่ม ศึกษาว่าเขาเก่งอะไร มีศักยภาพเรื่องอะไร

6.กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม

7.สร้างบรรยากาศให้ทุกคนมีเกียรติ

8.สร้างบรรยากาศที่ปลอดภัย ให้ทุกคนอยากพูด ไม่กลัว แต่สุภาพเรียบร้อย ถ้าขาดอะไร.. ประธานกลุ่มช่วยเสริม กระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) เป็นหลัก

10.เลขาฯ สรุป และเตรียมการนำเสนอ

11.การนำเสนอ – เลือกคนที่มีภาวะผู้นำ อาจเป็นประธานหรือคนอื่น ๆ ก็ได้

12.ใช้คนนำเสนออย่างน้อย 3 คน จะช่วยให้เกิด “Value Diversity”

Workshop

กลุ่ม 2 ข้อ 1. วิเคราะห์เรื่อง “ปลูก”จากทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K’s+5K’s ค้นหาสิ่งที่ขาดและความต้องการในการพัฒนา

1.1 ตนเอง1.2 คณะ

(K ตัวไหนบ้างที่ยังขาดหรือมีความต้องการในการพัฒนา)

เพราะเหตุใด ลำดับความสำคัญ

กลุ่ม 3 ข้อ 2. วิเคราะห์เรื่อง “เก็บเกี่ยว” ค้นหาช่องว่างในการบริหารทุนมนุษย์ให้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพเพื่อการพัฒนางานของคณะ /องค์กร

กลุ่ม 1 ข้อ 3. วิเคราะห์เรื่อง “Execution” หรือ “การลงมือทำให้เกิดความสำเร็จ” เลือก 3 เรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาหรือบริหาร “คน” ที่ควรนำมาทำให้เกิดความสำเร็จ อธิบายเหตุผล และควรทำอย่างไร

กลุ่ม 4 ข้อ 4. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงของคณะ 5 เรื่อง เพราะเหตุใด และคณะควรจะมีแนวทางในการรับมืออย่างไร


Workshop

กลุ่ม 2 ข้อ 1. วิเคราะห์เรื่อง “ปลูก”จากทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K’s+5K’s ค้นหาสิ่งที่ขาดและความต้องการในการพัฒนา

1.1 ตนเอง1.2 คณะ (K ตัวไหนบ้างที่ยังขาดหรือมีความต้องการในการพัฒนา) เพราะเหตุใด ลำดับความสำคัญ

พบว่าทั้งคณะและองค์กรขาดทั้ง 13 K’s แล้วมาดูสิ่งที่พัฒนาก่อนว่าอันไหนอันดับแรก

1. Human Capital เพราะว่า K ตัวอื่นเป็นตัวสนับสนุน Human Capital คนยังไม่ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำงานยังไม่เต็มที่ มีคนรุ่นใหม่ ทำให้เกิด Gap ระหว่างรุ่นใหม่กับรุ่นเก่า เกิด Gap ด้านการสื่อสารและสัมพันธภาพ

Intellectual Capital คือสิ่งที่พร่องไปด้วย

การเรียนรู้เรื่องนวัตกรรม การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ คนในองค์กรมุ่งเรื่องงานประจำมากเกินไปหรือไม่ทำให้ไม่มีความคิดส่วนอื่นที่สร้างสรรค์ ดังนั้น การพัฒนา Human Capital จะเป็นการพัฒนา K อื่น ๆ ที่อยู่ใน Kนี้ด้วยเช่นกัน

ดร.จีระ เสนอว่า

การพูด K1 K7 และ K5 ถูกต้อง เพราะ Human Capital คือตัวแม่ และการพัฒนานวัตกรรมต้องพัฒนา Creativity ก่อน มีหนังสือจาก Stanford บอกว่านอกจากพัฒนา Creativity ,นวัตกรรมแล้ว ต้องพัฒนา Entrepreneurship ด้วย

กลุ่ม 3 ข้อ 2. วิเคราะห์เรื่อง “เก็บเกี่ยว” ค้นหาช่องว่างในการบริหารทุนมนุษย์ให้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพเพื่อการพัฒนางานของคณะ /องค์กร

คณะหรือองค์กรขนาดใหญ่ และยึดถือกฎระเบียบ เป็นองค์กรที่เน้นถึงผลลัพธ์ มี KPI เน้นถึงการตอบโจทย์หลัก ขาดกระบวนการที่ได้มา ซึ่งทำให้การพัฒนาที่แท้จริงไม่ยั่งยืน ขาดกระบวนการไม่พัฒนา

องค์กรมีคนเกษียณมาก ขาดการต่อยอดความรู้ ขาดทักษะ ขาดความต่อเนื่องในองค์ความรู้

องค์กรขนาดใหญ่ มีการแบ่งพรรค แบ่งทีม ขาดการทำงานเป็นทีม มีการแบ่งฟรรคแบ่งฝ่าย ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้เนื่องจากกลัวแย่งงานและเสียเปรียบ

ในมุมของผู้บริหารไม่ได้นำ Vision มาตอบโจทย์ในการทำงาน มีการทำงานสวนทางกัน

ขาดการคิดนอกกรอบ ไม่สนใจการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมภายนอก จะทำอย่างทีเป็นทำให้องค์กรไม่พัฒนา

ใครเสนอนโยบายจะคัดค้านไว้ก่อน เพราะเสียผลประโยชน์เลยทำให้เกิด Gap เกิดขึ้น

ขาดการยกย่องให้เกียรติ มีไม่มากพอต่อการตอบสนองขององค์กร

ดร.จีระ เสนอว่า

จับประเด็นเรื่อง 3 วงกลมได้ดี ในเรื่องปัญหาเรื่องการแบ่งพรรคแบ่งพวกมีจริง และจะแก้ไขอย่างไร ถือว่าเป็นกลุ่มที่ครอบคลุมได้ดี ได้มีการพูดถึงทฤษฎี Intangible คือ Respect & Dignity

กลุ่ม 1 ข้อ 3. วิเคราะห์เรื่อง “Execution” หรือ “การลงมือทำให้เกิดความสำเร็จ” เลือก 3 เรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาหรือบริหาร “คน” ที่ควรนำมาทำให้เกิดความสำเร็จ อธิบายเหตุผล และควรทำอย่างไร

3 เรื่องที่เลือก

1. สร้างคนรุ่นใหม่เป็นผู้นำ เพราะองค์กรไม่มีผู้นำรุ่นใหม่ ๆ ที่เป็นผู้นำจริง ๆ

การเตรียมผู้นำต้องใช้ระยะเวลายาว ไม่ใช่สั้น ๆ

2.นึกถึงประโยชน์ของมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่งต้องทำให้ได้ตามปรัชญา เพราะ โลกในปัจจุบันเน้นไปที่สังคมที่เป็นวัตถุนิยม ต้องหันมาดูด้านจิตใจมากขึ้น เพราะบางอย่างจับต้องไม่ได้ หลายสิ่งที่อยู่ข้างใน

3. สร้างคนในองค์กรให้เป็น Entrepreneurial Spirit คือจิตวิญญาณผู้ประกอบการ เพราะ โลกมีการเปลี่ยนแปลงมาก มีการแข่งขัน เป็นลักษณะ Globalization

แนวทางแก้ไขปัญหา

เสนอรูปแบบที่แก้ไขประเด็น 3 เรื่องที่ยกขึ้นมา

1. บุคลากรส่วนใหญ่เป็น Fixed Mindset จะปรับให้เป็น Growth Mindset รองรับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องโอกาสที่ต้องทำอย่างไร

2. การบังคับให้ทำในบางประเด็น และอีกประเด็นคือการทำแบบ Volunteer มีการสนับสนุน

3. มีระบบ Empower และ Mentor

4. การศึกษาดูงาน

5. Networking ทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยอยู่ได้ เช่น Deal กับเอกชนมากขึ้น สร้าง Networking มากขึ้น

ดร.จีระ เสนอว่า

ทำอะไรชนะเล็ก ๆ และทำอย่างต่อเนื่อง ผู้นำเป็นส่วนสำคัญ ถ้าผู้นำเจออุปสรรคแล้วให้แก้ไขให้ได้ ทำแล้วต้องไม่มีความขัดแย้งเช่น Mutual Benefitการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงหรือน้อยเนื้อต่ำใจอาจเกิดจากความไม่ยุติธรรม และต้องมีการร่วมมือกับ Stakeholder ทั้งข้างในและข้างนอก ให้มีเชิญลูกค้ามาฟังด้วย

Leadership เป็นตัวอุปสรรค ถ้า Leaderไม่ดีก็ไมสามารถแก้ไขได้ อย่างโครงการฯนี้ก็เสมือนเป็นตัวอย่างของผู้นำในการผลักดันได้ดี ถ้ามีผู้นำที่ดีผลักหลักสูตรฯนี้จึงเกิดเป็นต้น ต่อให้องค์กรไม่น่าอยู่ แม้มีคนเก่งก็ไม่อยากอยู่ ถ้าการบริหารงานที่ช้า เขาก็ไม่อยากทำ

ลองสร้างระบบมอบอำนาจและยกย่องคนที่ประสบความสำเร็จ แต่ระวังการได้อำนาจไปแล้วบางคนบ้าอำนาจก็มี ดังนั้นต้องฝึกให้เขาทำให้สำเร็จ ต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพในการทำงานด้วย

กลุ่ม 4 ข้อ 4. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงของคณะ 5 เรื่อง เพราะเหตุใด และคณะควรจะมีแนวทางในการรับมืออย่างไร

1. การมี Aging Society บุคลากรของคณะเกิน 50% อยู่ในโซนของ Aging มี Generation Gap ที่ทำอย่างไรให้องค์กรเติบโตได้ ผู้สูงอายุมี Intellectual มีภูมิปัญญาที่ใช้ให้เกิดประโยชน์ทำอย่างไรให้มี Respect & Dignity หาคนให้เจอความจริง แล้วมีเวทีให้เขาเล่น สร้างให้เกิดความก้าวหน้าในองค์กร

2. ปัจจัยด้าน Globalization ประเทศเปิดเป็น Asean Community บุคลากรที่เข้ามาอยู่ในประเทศเรามีมากหน้าหลายตา มีพูดถึงผู้เรียน บุคลากรที่เข้ามาทำงาน ความหลากหลายมากขึ้น มีความแตกต่างทางความคิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Culture มีเรื่องการเตรียมรับ และในคณะมี Specialist มาก จึงควรมีการผสมผสาน Migration คือการเข้ามาแล้วออกไป ต้องมีการพัฒนา Competency บางอย่างในเรื่อง Cultural Competency เรื่องการสื่อสาร วัฒนธรรม และส่งอาจารย์ที่มีความสนใจด้านนี้มาเพื่อสร้างการยอมรับและเปลี่ยนแปลงเพื่อแข่งขันกับนานาประเทศได้ด้วย

3. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการทำงานในโลกยุคการเปลี่ยนแปลง เรื่องดิจิตอล Age ทำให้บุคคลสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และเชื่อมกับคนจำนวนมากได้รวดเร็ว มีการกระจายข่าวสารข้อมูลอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและสุขภาพ ปัญหาในอนาคตอาจมีเทคโนโลยีที่ทำแทนบุคลากรในอนาคนมี Robot แทนพยาบาล แต่อาจเกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีและดิจิตอลในอนาคต

วิธีการรับมือด้านเทคโนโลยี เริ่มจากสะสมทุน สะสมความรู้ Update เทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปเรียน ปรับปรุงเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ เป็นแบบ Cycle นอกจากนี้ เน้นไปที่การสร้างเทคโนโลยีใหม่ให้แข็งแกร่งมากขึ้นทำทุกอย่างให้เป็นออนไลน์ จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้น สร้างทุนทางทัศนคติไม่ให้กลัวต่อการเปลี่ยนแปลง และเทคโนโลยีเปลี่ยนไป ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า มีการลงทุนเทคโนโลยีการแพทย์มากขึ้น

เสริมเรื่องพยาบาลและแพทย์ เทคโนโลยีอาจทำให้การสื่อสารด้วยหัวใจมนุษย์ลดลง จึงอยากให้เสริมให้นักศึกษารุ่นใหม่ ๆ สนใจเรื่อง Nice Care

4. Globalization ในสังคมปัจจุบันจะเปลี่ยนไปเป็นสังคมเมืองมากขึ้น สงขลานอกจาก Thailand 4.0 แล้วยังเป็นเมืองเศรษฐกิจ ดังนั้นบริบทจะเปลี่ยนไป ต้องดูเรื่องพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงไป หันมาดูเรื่อง Pattern ของโลกที่อาจเกิดขึ้น เช่นรถแข่ง รถซิ่ง จิตใจ และครอบครัวก็จะมีบริบทที่แตกต่างจากเดิม เช่นมี Single Mom มากขึ้น Life Style เปลี่ยนไป ดังนั้นเราต้องมองบริบทของสังคมร่วมกับการวิจัยบริบทใหม่ ๆ เพื่อให้มีการปรับตัวในทิศทางที่เหมาะสม

5. Materialism เป็นยุคการบริโภคจำนวนมาก มีโฆษณาผิดกฎหมายเยอะมาก และการฟ้องร้องวิชาชีพ เราต้องการให้พยาบาลเป็นที่หนึ่งในอาเซียน คณะพยาบาลศาสตร์ ต้องการ Knowledge Capital , Social Capital รูปแบบใหม่ ดังนั้นการปรับตัวต้องเสริมสร้างสมรรถนะด้านเหล่านี้ด้วย เป็นต้น

ดร.จีระ เสนอว่า

เป็นข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์มาก ขอชมเชยว่าระดับการนำเสนอเป็นประโยชน์ เอาประเด็นหลักเป็นวัตถุดิบของเราจะทำให้สิ่งที่เรานำเสนอไปใช้เป็นประโยชน์

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

แนวคิดของ Gen Y เราต้องเรียนรู้ในการปรับตัวให้เข้ากับคนใน Gen Y ให้ได้

การคิด 3 แบบ

1. คิดแบบสากล

2. คิดแบบไทย

3. คิดแบบอาเซียน

หลายครั้งที่เราคิดแบบไทยก่อนมองออกไปที่อาเซียน เราต้องเรียนรู้ที่จะมองคนอื่นด้วย

โลกเปลี่ยนไปมาก และเด็กรุ่นใหม่คิดไม่เหมือนรุ่นก่อน เขาเลิกเกรงใจแบบคนรุ่นก่อนแล้ว ประเด็นคือจะเป็นได้หรือไม่ที่เราเน้นการให้ความเคารพแบบไทย ทำแบบไทยแล้วไปผสมแบบสากล เราถึงจะสู้กับเขาได้ เราต้องดูการเจริญเติบโต เลิกทะเลาะกัน เลิกอิจฉากันจะดีมาก

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

เรื่องหุ่นยนต์ AI เป็นสิ่งที่หลายคนกลัวถ้าเป็นแบบแข่งขันกันและมีอารมณ์เหมือนมนุษย์จะอันตรายมากขึ้น

การมองเรื่องอาการป่วยของคนเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหา ให้เราตรวจวิเคราะห์วินิจฉัยคนในองค์กรเองว่า 8K’s 5K’s ขาดอะไร การเปลี่ยนที่ยากมากคือเปลี่ยน Culture เป็นส่วนที่ต้องเร่งกระทำ

พื้นฐานคือต้องหันมาถามว่า ทำไมเรายังเป็นคณะพยาบาลศาสตร์มาจนถึงทุกวันนี้ ทำไมเรามีตัวตนอยู่ทุกวันนี้ คำตอบคือเรามี Philosophy ทุกองค์กรมีวิสัยทัศน์สวยหรูแต่การนำไปใช้ไม่เกิด พบว่ามีเหตุผลมากมาย เป็น Implementation Gap ซึ่งพบว่าคนเป็นปัญหา ส่วนใหญ่มาจาก Middle Management ไม่เข้าใจ

เราต้องรู้ว่าเราอยู่ตรงไหน และต้องทำอะไรบ้าง ให้กลับมาดูที่โครงสร้าง ระบบ และกระบวนการ เรามีระบบดี โครงการดี แต่เราไม่ปฏิบัติ

หันกลับมามองเด็ก Gen Y ว่าเป็นแบบนี้เพราะอะไร เพราะสังคมเปลี่ยน ให้หันหน้ามาทำความเข้าใจว่าเด็ก Gen Y ขาดอะไร เพราะว่ามี Gap อะไร อย่างเด็ก Gen Y จะกล้าแสดงออกเวลาถามเงินเดือน เขาจะกล้าบอกว่าอยากได้เท่าไหร่ เด็ก Gen Y จะกล้าพูด กล้าแสดงออก ซึ่งต่างกับคนรุ่นเก่าที่ต้องเก็บงำ ไม่พูด ถึงเวลาก็มาเองดังนั้นอย่าไปหงุดหงิดกับการแสดงออกที่ไม่เหมือนกัน เพราะสังคมที่อยู่ไม่เหมือนกัน

นับเป็นโอกาสดีที่จะถือเป็นจุดเริ่มต้นในการตรวจสุขภาพขององค์กร ให้นำมาสู่การสร้าง Leadership และ Mindset ของคนแต่ละรุ่น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ขอถามว่าสิ่งที่ดีที่สุดในวันนี้อยู่ตรงไหน อยู่ตรงที่แต่ละท่านได้แสดงความคิดเห็น นอกจากที่ท่านกระตุ้นตัวเองแล้ว ยังกระตุ้นอาจารย์ที่ปรึกษาให้คล้อยตามที่เสนอ

8K’s 5K’s มีทุนมนุษย์เป็นตัวแม่ที่มีทฤษฎีตั้งต้น และดร.จีระได้นำมาเพิ่มศักยภาพในทุนที่ 1-7

C-U-V คือต้องมีการ Copy สร้างความเข้าใจ ถึงเพิ่มมูลค่าเป็น 3 V

สรุปคือ ให้ทุกท่านเก็บเกี่ยวแล้วนำมา Implement กับความจริง สิ่งที่พิเศษกว่าคือได้นำมาปลูกกันเองในกลุ่ม เป็นวัฏจักรเรื่องปลูก และทำให้ได้ 3 V ครบเลย


Workshop Mindset (2)

กลุ่ม 2 ข้อ 1.Mindset กับ ทัศนคติ อุปนิสัย และความเชื่อแตกต่างกันอย่างไร อะไรมาก่อนและหลัง อธิบายและยกตัวอย่าง

กลุ่ม 3 ข้อ 2.Fixed Mindset – Growth Mindset แตกต่างกันอย่างไร เหตุผลคืออะไร และมีผลกระทบต่อองค์กรอย่างไร

กลุ่ม 4 ข้อ 3.Mindset ของแต่ละท่านเกิดขึ้นมาอย่างไร อธิบายเป็นข้อ ๆ

กลุ่ม 1 ข้อ 4. หากจะปรับ Growth Mindset ให้ได้ผลสูงสุดในองค์กร ต้องทำอย่างไร? อธิบายเป็นข้อ ๆและตัวละครสำคัญประกอบด้วยใครบ้าง?

WorkshopMindset (2)

กลุ่ม 2 ข้อ 1.Mindset กับ ทัศนคติ อุปนิสัย และความเชื่อแตกต่างกันอย่างไร อะไรมาก่อนและหลัง อธิบายและยกตัวอย่าง

ความเชื่อเป็นลำดับแรกที่เกิดขึ้น คือการยอมรับในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ว่าเป็นอย่างไร และยอมรับในความเป็นธรรมชาติของแต่ละคน ไม่อะไรถูกอะไรผิด แล้วนำไปสู่ทัศนคติให้คนแต่ละคนรู้สึกต่อสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป และเกิดการนำไปสู่นิสัยในการทำสิ่งนั้นเรื่อย ๆ แล้วนำไปสู่ Mindset ในการคิด และการมองโลกต่อไป

สิ่งเริ่มคือจากความเชื่อมีอิทธิพลต่อทัศนคติ อุปนิสัย เกิดพัฒนาเป็น Mindset ขึ้นมา

ด้านพยาบาลถูกสร้างว่าเป็นผู้ที่รู้ดีเรื่องสุขภาพ สู่ความเชื่อที่รู้ดีด้านสุขภาพ นำมาสู่ทัศนคติในการเป็นผู้ให้คำปรึกษาและดูแลแล้วอุปนิสัยจะสอน จะมีชุดความรู้ แล้วนำลงไปสอนและพยายามสอนให้เขามาในทิศทางเดียวกับเรา ทั้ง ๆ ที่ ความรู้ในโลกปัจจุบันมีมากและกว้างมากมาย มีหลายมิติ และมีพยาบาลหลายคนไม่ได้มองไปถึงคุณค่าข้างนอก แต่เราจะมองว่าของเรารู้ดีที่สุด มีชุดของเราโดยเฉพาะ

ดร.จีระ เสริมว่า

Mindset น่าจะมาก่อนเพื่อน คือ Mind ไปสร้างความเชื่อ แล้วความเชื่อไปสร้างทัศนคติ แล้วไปสู่อุปนิสัย

Mindset คือสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจ

ความเชื่อเกิดจาก Mindset เป็นอย่างไรจึงทำให้มีความเชื่ออย่างนั้น

ทัศนคติคือ เป็นความเชื่อที่ทำให้เกิดการตัดสินใจบางอย่างที่เกิดขึ้น

กลุ่ม 3 ข้อ 2.Fixed Mindset – Growth Mindset แตกต่างกันอย่างไร เหตุผลคืออะไร และมีผลกระทบต่อองค์กรอย่างไร

1.ความท้าทายต่อสิ่งใหม่ กลุ่ม Fixed ไม่ชอบเรียนรู้ กลุ่ม Growth ชอบเรียนรู้

2. เอาชนะอุปสรรค กลุ่ม Fixed มองว่าคุกคาม กลุ่ม Growth มองเป็นโอกาส

<p>3. ความมุ่งมั่น กลุ่ม Fixed มองว่ายุ่งยาก กลุ่ม Growth มองว่าทำให้สำเร็จ </p> <p>4. Feedback กลุ่ม Fixed จะมองว่าต่อต้าน กลุ่ม Growth มองว่าเพื่อพัฒนาดีขึ้น </p> <p>5. Success Model กลุ่ม Fixed มองว่าไม่ชอบเปลียน กลุ่ม Growth มองว่าหนทางสู่ความสำเร็จ </p>

การมี Fixed Mindset องค์กรจะไม่พัฒนา แต่ถ้ามี Growth Mindset จะมีการพัฒนาที่ดี

กลุ่ม 4 ข้อ 3.Mindset ของแต่ละท่านเกิดขึ้นมาอย่างไร อธิบายเป็นข้อ ๆ

1. การเลี้ยงดู การปลูกฝัง เช่นการป้องกันมากเกินไปจะถู

2. วิชาชีพเช่นพยาบาลปลูกฝังเรื่อง Caring วัฒนธรรมองค์กร

3. สังคม เช่นต่างประเทศเป็นแบบ Individualism ไทยเป็นแบบสังคมที่ช่วยเหลือกัน

4. การศึกษาในเชิงปริมาณและคุณภาพ เช่น วิศวะ กับปรัชญา หรือการศึกษาน้อยมาก

5. ประสบการณ์ที่สั่งสม เช่น Role Model อายุ การศึกษาธรรมชาติ ธรรมะ

6. Genetic มีเรื่องต่อโครงสร้างสมอง ความเครียดการถูก Feedback

กลุ่ม 1 ข้อ 4. หากจะปรับ Growth Mindset ให้ได้ผลสูงสุดในองค์กร ต้องทำอย่างไร? อธิบายเป็นข้อ ๆและตัวละครสำคัญประกอบด้วยใครบ้าง?

1. Copy

Emotional Intelligent Mindset – ดี เก่ง สุข (วุฒิภาวะทางอารมณ์ EQ)

Connection Mindset – Collaboration , Shared Vision (Anticipation)

Growth Mindset – ปรับให้เรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Mentor,Self-coaching)

Performance Mindset – ให้คนในองค์กรพัฒนาสมรรถนะในการเป็น Leadership ให้มี Mastering ทำ Training ทำงานเป็นทีม

พัฒนาศักยภาพ ได้แก่ 1. Role Modeling 2. Training 3.Empowering 4. Reflecting 5. Reward

2. Understand

3. Implement

4. ตัวละครที่เกี่ยวข้องทุกระดับคือ CEO /HR/ NonHR

CEO ต้องเป็น Growth Mindset และ HR ต้องสร้างระบบให้นำสู่ Growth Mindset

ดร.จีระ เสริมว่า

เรื่องตัวละครสำคัญมาก อย่างมีผู้นำในการขับเคลื่อน เรียกอีกอย่างว่า Strategic Partner ให้ Non HR กับ HR และ CEO ทำงานร่วมกันต้องเล่นให้เป็น ตัวอย่างที่สิงคโปร์สนใจเรื่องคน

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

เรื่อง Genetic เป็นสิ่งที่ชัด เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในมโนสันดานที่ถูกปลูกฝัง

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

เรื่อง How to ที่แก้ไข ถ้ามองที่ How to ในภาคเอกชนจะเล่นที่ Value ก่อน การผ่าหัวหอมออกมาแล้วมาเจอแก่นข้างใน ทำจุดเล็ก ๆ ขยายให้ใหญ่ สร้างค่านิยมร่วม ทำให้ชัดเจนว่าเขาอยากปฏิบัติตามหรือไม่ ทำให้เกิดมุมมอง แล้วมุมมองจะเป็นตัวปรับที่ดี

เมื่อมีความเชื่อแล้วทัศนคติตามมาแล้ว Behavior จะแสดงออกมาให้เกิด Value

ในการประเมินผลจะใช้ Core Competency ประเมิน โลกตะวันตกเป็นคนกำหนดคือ KPI แต่ปัจจุบันวิธีคิดเปลี่ยนไปคือเรื่อง KPI ไม่ได้ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จเลย จึงได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นการดู Value ให้แต่ละคนค่อย ๆ เขียนสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากแกนกลางหัวหอมเป็นวงที่สวยงาม

Organization Management

What we need to do?

- Structure

- Systems

- Process

- Practices

Why we exist?

- Vision /Mission/Strategy

- Organization Philosophy/ Culture + Values

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

จะนำเสนอในมุมมองของพระราชบิดา


วิชาที่ 3

Learning Forum

หัวข้อ“พระบิดา” ผู้นำต้นแบบและผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง

โดยอาจารย์พิชญ์ภูรีจันทรกมล

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2560

พระอนุสาส์น

“ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง

ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง

ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

พระเกียรติคุณในระดับนานาชาติ

ทรงได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การ UNESCO

ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์การแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุข

เนื่องในวาระฉลองครบรอบ 100 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพ

1 มกราคม พ.ศ. 2535

พระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก

พระราชกำเนิดสูงส่ง “สมเด็จเจ้าฟ้า”สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

กรมหลวงสงขลานครินทร์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

(สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา บรมราชเทวี)







พระราชประวัติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

พระราชสมภพ

วันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น 3 ค่ำ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434

ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระราชชนกนาถพระราชทานพระนามว่า

"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ"

ทรงผนวช
ทรงผนวชเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2447

ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระมหาสมณเจ้า

กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระราชอุปธยาจารย์ ประทับ ณ พระตำหนักทรงพรต วัดบวรนิเวศวิหาร

ทรงลาผนวช วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2447

พระราชอิสริยศักดิ์
พ.ศ. 2446 ภายหลังโสกันต์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหิดลอดุลยเดชฯ ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าต่างกรม

มีพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณทราชาวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรศิริสวัสดิ์ ขัติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ์ ลักษณวิจิตรพิสิฏฐ์บุรุษ ชนุดมรัตรพัฒนศักดิ์ อัครราชวรกุมาร กรมขุนสงขลานครินทร์" มุสิกนาม

ให้ทรงศักดินา 40,000 ตามพระราชกำหนด อย่างสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าทรงกรม

พระราชประวัติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล: เจ้าฟ้าทหารเรือ

การศึกษาและการทรงงาน

การศึกษาเบื้องต้น

เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงศึกษา ณ โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง

พ.ศ. 2447โรงเรียนนายร้อยชั้นประถม

พ.ศ. 2448โรงเรียนกินนอนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ

การศึกษาระดับอุดมศึกษา (การทหารและวิศวกรรม)

พ.ศ. 2450Royal Prussian Military College ณ เมือง Potsdam

ทรงย้ายไปเรียน ณ Imperial German Naval College,

Flensbourg เยอรมนี

พ.ศ. 2454ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารเรือ ทรงสอบไล่ปีสุดท้ายได้ที่ 2

และทรงชนะเลิศการประกวดออกแบบเรือดำน้ำ

พ.ศ. 2454-2457 ประจำราชนาวีเยอรมัน

พ.ศ. 2457-2461 สงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมนีแพ้สงคราม

พ.ศ. 2458 (3 เมษายน - 9 สิงหาคม) สำรองราชการ

กรมเสนาธิการทหารเรือ

พ.ศ. 2458-2459 (10 สิงหาคม พ.ศ. 2458 -19 มกราคม พ.ศ. 2459)

ประจำกองอาจารย์โรงเรียนนายเรือ แผนกแต่งตำรา

พ.ศ. 2459ทรงลาออกจากทหารเรือ

“พระบิดา” ต้นแบบผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง

จาก เจ้าฟ้าทหารเรือสู่ พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย

สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯต้นแบบผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง :จาก เจ้าฟ้าทหารเรือ

พระราชอิสริยยศทางการทหาร

พระยศทหารเรือ แห่งราชนาวีเยอรมัน

1. นายเรือตรี พ.ศ. 2454

พระยศทหารเรือ แห่งราชนาวีสยาม

1. นายเรือตรี วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2454 (ลาออกจากราชการทหาร พ.ศ.2459)

2. นายเรือโท วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2469

3. นายนาวาเอก วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2469

4. จอมพลเรือ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2541 พระยศทหารบก

1. นายพันโท พ.ศ. 2467

2. นายพันเอก พ.ศ. 2469

สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯต้นแบบผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง : สู่ พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย

การเปลี่ยนแปลงการศึกษาสู่วิชาแพทย์และการสาธารณสุข

พ.ศ. 2460ทรงศึกษาเตรียมแพทย์ ณ มหาวิทยาลัย Harvard สหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2462ทรงศึกษาวิชาสาธารณสุขและวิชา Pre-Clinic บางส่วน

ที่ School of Health Officer ของมหาวิทยาลัย Harvard ร่วมกับ M.I.T.

พ.ศ. 2463เสด็จนิวัติพระนครครั้งที่หนึ่ง เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง

(อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 10 กันยายน พ.ศ.2463)

พ.ศ. 2464ทรงสำเร็จการศึกษาสาธารณสุข ทรงได้รับประกาศนียบัตร C.P.H.

พ.ศ. 2466ทรงศึกษาวิชาแพทย์ต่อ ที่มหาวิทยาลัย Edinburgh, Scotland

พ.ศ. 2466ประชวรด้วยโรคพระวักกะ(ไต)พิการเรื้อรัง แพทย์ในยุโรปผู้หนึ่งกราบทูลว่า จะทรงมีพระชนม์ชีพอีกเพียง 2 ปี แต่เพราะอากาศหนาวจัดจึงทรงพระประชวรมาก เสด็จนิวัติพระนครครั้งที่สอง

พ.ศ. 2466-2468 เสด็จนิวัติพระนคร รักษาพระอาการและทรงงาน

พ.ศ. 2467อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ

(11 ตุลาคม - 25 มิถุนายน)

(ผู้บังคับบัญชาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

พ.ศ. 2467ข้าหลวงตรวจการศึกษาทั่วไป กระทรวงศึกษาธิการ

(26 มิถุนายน พ.ศ. 2467- จนสวรรคต)

พ.ศ. 2468นายกกรรมการ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล

พ.ศ. 2468เดินทางไปรักษาพระองค์ที่ประเทศเยอรมนี

พ.ศ. 2469ทรงศึกษาวิชาแพทย์ต่อที่มหาวิทยาลัย Harvard สหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2471เดือนมิถุนายน ทรงสำเร็จวิชาแพทย์ ทรงได้รับปริญญา

Doctor of Medicine (M.D.) เกียรตินิยมชั้น Cum Laude

และทรงได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมาคมเกียรตินิยมทางการศึกษาแพทย์ Alpha Omega Alpha

พ.ศ. 2471วันที่ 13 ธันวาคม เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ

พ.ศ. 2470ประชวรด้วยโรคไส้ติ่งอักเสบ ก่อนการสอบไล่เพื่อปริญญาแพทย์

แพทย์ต้องถวายการผ่าตัดเมื่อทรงสอบไล่แล้วทันที

พ.ศ. 2471เดือนมิถุนายน ทรงสำเร็จวิชาแพทย์ ทรงได้รับปริญญา

Doctor of Medicine (M.D.) เกียรตินิยมชั้น Cum Laude

และทรงได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมาคมเกียรตินิยม

ทางการศึกษาแพทย์ Alpha Omega Alpha

พ.ศ. 2471วันที่ 13 ธันวาคม เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ

พ.ศ. 2472ทรงงานในฐานะแพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่

(25 เมษายน-18 พฤษภาคม) คนไข้ออกพระนามว่า “หมอแดง/หมอเจ้าฟ้า”

พ.ศ. 2472ประชวรด้วยโรคฝีบิดในพระยกนะ (ตับ) ประชวรอยู่ 4 เดือน มีโรคแทรกซ้อนคือ

พระอาการบวมน้ำในพระปัปผาสะ (ปอด) และพระหทัยวาย

พ.ศ. 2472สวรรคต เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น.

พระชนมายุ 37 ปี 8 เดือน 23 วัน

พระราชนิพนธ์สำคัญทางการแพทย์

"โรคทูเบอร์คูโลสิส" พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ จอมพลสมเด็จพระอนุชาธิราช

เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พ.ศ. 2463

"วิธีปฏิบัติการสุขาภิบาล" ทรงแสดงในการอบรมแพทย์สาธารณสุข พ.ศ. 2467

"Diphyllobothrium Latum in Massachusetts" A Report of Two Indigenous

Cases:, JAMA: 90: 1607-1608, May 19, 1928

ความตั้งพระทัยในการเป็นแพทย์เฉพาะทาง
สมเด็จพระบรมราชชนกมีพระประสงค์จะทรงศึกษา และปฏิบัติงานต่อทางวิชา

กุมารเวชศาสตร์ ในสหรัฐอเมริกาอีกระยะหนึ่ง แต่ต้องเสด็จกลับประเทศไทยเพราะ

พระราชภารกิจ และพระอนามัยทรุดโทรม

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า: พระราชมารดา

ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่มีทรัพย์มากอันเนื่องมาจากพระปรีชาและพระวิริยะอุตสาหะของพระราชมารดา

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา บรมราชเทวี ในรัชกาลที่ 5)

สมเด็จพระบรมราชชนกฯ : ผู้นำต้นแบบด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์การแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุข

  • พระราชทานทุนการศึกษาส่วนพระองค์ ให้แพทย์และพยาบาลประมาณ 10 ทุน
  • สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ประทานที่ดินสร้างหอพักนักศึกษาแพทย์ (หอชาย 1) และหอพักพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช
  • พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชชนก (Raise Fund)
  • มูลนิธิฯ ให้ทุนค่าก่อสร้างและซื้ออุปกรณ์เป็นเงิน 130,000 เหรียญ โดยทางรัฐบาลสยามต้องออกเงินสมทบประมาณเท่ากัน

-พระราชทานทุนสร้างตึกมหิดลบำเพ็ญ จำนวน 83,584.14 บาท สร้างตึกอำนวยการจำนวน97,452.94 บาท (ครึ่งหนึ่งของค่าก่อสร้างแทนรัฐบาล)

-ทรงซื้อโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง และพระราชทานเงินซ่อมแซม แล้วพระราชทานให้เป็นโรงเรียน

-พยาบาล และที่พักพยาบาลของศิริราช เป็นเงิน 85,000.00 บาท

-พระราชทานเงินสำหรับจ้างพยาบาลชาวต่างประเทศ มาช่วยสอน และปรับปรุงโรงเรียน

-พยาบาล เป็นเงิน 25,000.00 บาท

-พระราชทานเงิน 3,840.00 บาท ตั้งเป็นทุนสอนและค้นคว้าในคณะพยาบาล

-พระราชทานเงินแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 200,000.00 บาท เป็นทุนวิทยาศาสตร์การแพทย์ และทรงทำพินัยกรรมให้ทายาทให้เงินสมทบอีก 500,000.00 บาท เป็นทุนพระราชมรดกฯ เพื่อส่งอาจารย์

-ทั้งวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิชาแพทย์ ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ เพื่อกลับมาเป็นอาจารย์ ทุนนี้ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้โอนมาให้ศิริราช มีอาจารย์ทั้งของศิริราช และคณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ

-ได้ทุนนี้ 23 คน

-ทรงหาทุนสำหรับศิริราช (Raise Fund) โดย

-พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 180,000.00 บาท สร้างตึก 2 หลัง สำหรับแผนกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แล้วพระราชทานชื่อว่า "ตึกตรีเพชร" และ "ตึกจุฑาธุช" เพื่อเป็นอนุสรณ์ถวายสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรรุตม์ธำรง และสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย ตามลำดับ

-กราบทูลขอความช่วยเหลือจากพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นผลให้

-สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานเงินจำนวน 17,650.18 บาท เพื่อสร้างท่อประปา ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จากฝั่งพระนครมายังศิริราช และ 13,309.68 บาท เพื่อสร้างท่อระบายน้ำ และยังพระราชทานทุนให้นิสิตแพทย์และพยาบาล

-สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประทานเงินสร้างตึกพระองค์หญิง ซึ่งเป็นตึกผู้ป่วยเด็ก ตึกแรกของศิริราช เป็นเงิน 14,600.00 บาท (ถูกระเบิดทำลายหมดในสงครามโลกครั้งที่ 2)

-พระราชกรณียกิจในการปรับปรุงการศึกษาแพทย์ การศึกษาพยาบาล และการปรับปรุงโรงพยาบาลศิริราช

-ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลสยาม ทำความตกลงกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเล่อร์ ในการปรับปรุงการศึกษาแพทย์ของประเทศสยาม โดยทางมูลนิธิฯ ให้ความช่วยเหลือดังนี้

-มูลนิธิฯ ส่งศาสตราจารย์ 6 คน เข้ามาจัดหลักสูตร และปรับปรุงการสอนในวิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ของคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชชนก (ต่อ)

  • มูลนิธิฯ จะให้ทุนอาจารย์ไทย ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ และต่อมามูลนิธิฯ ได้เสนอให้รัฐบาลสยามปฏิบัติ และให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม คือ
  • ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 จนสวรรคต

-ให้ปรับปรุงอัตราเงินเดือนแพทย์ให้สูงขึ้น

-ย้ายการสอนปรีคลินิคมารวมกับคลินิคที่ศิริราช

-ช่วยปรับปรุงการสอนเตรียมแพทย์ ในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยส่งศาสตราจารย์เข้ามาปรับปรุงหลักสูตร และทำการสอนในวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และภาษาอังกฤษ รวมทั้งให้ทุนอาจารย์ไทยไปศึกษาต่อในต่างประเทศ

-ให้เลือกบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นหัวหน้าแผนกแทนศาสตราจารย์ของมูลนิธิฯ และส่งไปศึกษาต่อ

-ช่วยปรับปรุงโรงเรียนพยาบาล โดยมูลนิธิฯ ส่งอาจารย์พยาบาลเข้ามาช่วยปรับปรุงหลักสูตรและการสอน

-พระราชกรณียกิจในการปรับปรุงโรงพยาบาลอื่นๆ

-ทรงเป็นประธานอำนวยการวชิรพยาบาล ได้ทรงวางโครงการ 4 โครงการ ในการปรับปรุงโรงพยาบาลแห่งนี้ รวมทั้งทรงเขียนแปลนการก่อสร้างเพิ่มเติมให้

-เมื่อปี พ.ศ. 2472 และพระราชทานทุนให้แพทย์ไปเรียน

-วิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา เพื่อกลับมาประจำโรงพยาบาลนี้อีกด้วย

-พระราชกรณียกิจในการปรับปรุงโรงพยาบาลอื่นๆ

-พระราชทานทุน 16,000.00 บาท ให้โรงพยาบาลแมคคอร์มิค

-เพื่อจ้างแพทย์ชาวต่างประเทศ 1 คน และประทานเงินอีก 6,750.00 บาท

-เพื่อเป็นทุนซื้อเครื่องเอ็กซเรย์ประจำโรงพยาบาล

-พระราชทานเงินปีละ 5,000.00 บาท

-ให้โรงพยาบาลสงขลา

พระราชกรณียกิจในการปรับปรุงการสาธารณสุข

1. ทรงร่วมในการพิจารณาพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 โดยทรงแก้ไขข้อขัดข้อง และความขัดแย้งต่างๆ จนลุล่วงไปด้วยดี ทำให้กฎหมายฉบับนี้ ซึ่งเป็นกฎหมายการแพทย์ฉบับแรกประกาศใช้ได้

2. ทรงส่งเสริมการมารดาและทารกสงเคราะห์ โดยทรงวางโครงการให้ดัดแปลงวชิรพยาบาล เป็นโรงพยาบาลคลอดบุตร เป็นศูนย์อบรมศึกษาพยาบาลผดุงครรภ์ พยาบาลสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์ และหมอตำแย เพื่อจะได้มีผู้ทำงานด้าน มารดา และทารกสงเคราะห์ เพิ่มขึ้น

3. ทรงช่วยในการอบรมแพทย์สาธารณสุขมณฑล ในปี พ.ศ. 2467 โดยทรงสอนวิชาปฏิบัติการสุขาภิบาล ทั้งภาคทฤษฎีและการอบรมภาคสนาม

พระราชกรณียกิจอื่นๆ เกี่ยวกับวิชาการแพทย์ และวิชาที่เกี่ยวเนื่อง

1. ทรงสนับสนุน ม.จ. พูนศรีเกษม เกษมศรี ในการรับนิสิตแพทย์หญิง

2. ทรงมีพระดำริจะสร้างโรงเรียนสาธารณสุข ในโอกาสต่อไป

3. พระราชทานทุนศึกษาทันตแพทย์ 1 ทุน ท่านผู้นี้ภายหลังเป็นบุคคลสำคัญในด้านการสร้างคณะทันตแพทยศาสตร์ และมีรับสั่งกับนายแพทย์และทันตแพทย์วาด แย้มประยูร ว่าจะพระราชทานทุน

ในการตั้งโรงเรียนทันตแพทย์

4. ทรงจัดระเบียบวิธีอำนวยการ สภาพยาบาล โดยทรงรับเป็นนายกสภาซึ่งได้ช่วยจัดให้การพยาบาลของไทย

บรรลุล่วงไปได้ด้วยดีพระราชกรณียกิจต่อการศึกษาวิชาอื่นๆ

การประมง

พระราชทานเงินจำนวน 100,000.00 บาท ให้กรมประมงส่งคนไปเรียนวิชาการประมง จำนวน 3 คน ซึ่งกรมประมงมีความสำนึกในพระกรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้น เมื่อ Dr. H. M. Smith ซึ่งเป็นที่ปรึกษากรมประมง สำรวจพบปลาบู่พันธุ์ใหม่ ที่จับได้ที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี จึงตั้งชื่อว่า

Mahidolia Normani เมื่อปี พ.ศ. 2475

กรมสามัญศึกษา

พระราชทานทุนให้โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จ้างครูชาวต่างประเทศ 1 คน

พระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก

พระราชอิสริยศักดิ์

พ.ศ. 2472 วันที่ 30 พฤศจิกายน (ภายหลังสวรรคตแล้ว) พระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเป็น

"สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์"

พ.ศ. 2477 วันที่ 25 มีนาคม

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงสถาปนาขึ้นเป็น

"สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์"

พ.ศ. 2513 วันที่ 9 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเฉลิมพระอัฐิสมเด็จพระราชบิดา

ตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนก" ทรงพระราชฐานันดรศักดิ์เสมอด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้า

พระราชอิสริยยศ

พระยศเสือป่า

1. นายกองโท นายเสือป่าพิเศษ กองเสือป่าหลวง พ.ศ. 2466

2. นายกองเอก กรมนักเรียนแพทย์เสือป่า พ.ศ. 2467

พระยศพลเรือน

มหาอำมาตย์ตรี (กระทรวงศึกษาธิการ) พ.ศ. 2467

ราชองครักษ์

1. นายพันเอก ราชองครักษ์พิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1

จ.ป.ร. และ

2. นายนาวาเอก ราชองครักษ์พิเศษ

เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2469

ตำแหน่งราชการพิเศษ

1. กรรมการสภากาชาดสยาม

2. กรรมการกิตติมศักดิ์ วชิราวุธวิทยาลัย

3. กรรมการปกครอง และประธานกรรมการอำนวยการวชิรพยาบาล

4. พระอาจารย์พิเศษ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงสอนวิชากายวิภาคเปรียบเทียบ ประวัติศาสตร์

และจุลกายวิภาคศาสตร์

5.พระอาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ทรงสอนวิชาสุขาภิบาล และมารดาทารกสงเคราะห์

6.ทรงงานในฐานะแพทย์แพทย์ประจำ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2472 ถึงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2472

พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ปลัดทูลฉลองและผู้บัญชาการราชแพทยาลัย ผู้ทรงโน้มน้าวพระราชหทัยสมเด็จพระบรมราชชนกฯให้ทรงสนพระทัยวิชาการแพทย์ได้สำเร็จ การแพทย์ไทย จึงก้าวหน้ามาจนปัจจุบัน

พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์กรมพระยาชัยนาทนเรนทรเป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯ กับเจ้าจอมมารดา มรว.เนื่อง สนิทวงศ์

(เมื่อทรงมีพระชันษา12 วัน พระมารดาถึงแก่พิราลัย พระราชบิดาทรงอุ้มมาพระราชทาน

ให้เป็นพระราชโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี จึงทรงเติบโตมาด้วยกันกับสมเด็จพระบรมราชชนก)

พระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก

อภิเษกสมรส
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ อภิเษกสมรสกับ นางสาวสังวาล ตะละภัฎ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) โดยเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสังข์ เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 ณ วังสระปทุม

พระราชโอรส และพระราชธิดา

1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

2.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468

ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี

3.พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470

ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตต์ สหรัฐอเมริกา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

มหาจักรีบรมราชวงศ์

ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ

นพรัตน์ราชวราภรณ์

เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5

เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6

เหรียญราชาภิเษก ทอง รัชกาลที่ 7


โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 1

กุมภาพันธ์ – มิถุนายน2560

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560

(สรุปการบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)


Learning Forum & Game Simulations

หัวข้อ “Leadership & Teamwork”

โดย รศ.ดร.เฉลิมพลเกิดมณี

นักวิจัยอาวุโส สวทช.

Leadership & Teamwork

Teamwork เป็นศาสตร์หนึ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุข

ศาสตร์พระราชา

ถ้าได้แต่คิดแล้วไม่ลงมือปฏิบัติไม่สามารถพารุ่นน้องไปสู่ความสำเร็จ

- ผู้นำต้องเกิดขึ้นแล้วทำเป็นตัวอย่างก่อน

ศาสตร์แห่งความยั่งยืน

- ยิ่งดอกใหญ่ยิ่งน้อมลงมาสู่ข้างล่าง

พอเพียงเพื่อความยั่งยืน

พ.ศ. 2495- 2514 ยุคแรกของประเทศไทย

พระองค์แก้ปัญหาเรื่องความยากจน ปากท้องอิ่ม การพึ่งพาตนเองให้ได้

น้ำ-เขื่อนดิน ฝาย ฝนหลวง

ดิน-หญ้าแฝก

ป่า-ป่ายาง ป่าเปียก

พ.ศ.2515-2534 เติบโตร่วมกัน

- จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จะเติบโตไปด้วยกัน

- 4 น้ำ 3 รส

- ทฤษฎีใหม่

- ป่า3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

- บวร

พ.ศ.2535-2554 พัฒนาคน พัฒนาปัญญา

- พอเพียง พออยู่ พอกิน

- เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

- ความเพียร

คนเป็นส่วนสำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเมื่อเข้าถึง Teamwork จะเกิดทันที

พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน ยั่งยืนสู่ความว่าง

- รู้ รัก สามัคคี

- ความเมตตา

- ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ทิ้งไม่ได้เลยให้ดีที่สุด ดีทุกวินาที

พอเพียง

สิ่งที่ทุกคนคิดเรื่องความพอเพียง แต่ไม่เข้าใจเรื่องความพอเพียง

- ความพอเพียงทำให้ Teamwork ไปได้ดี

พอเพียง – สร้างคุณค่าที่ยั่งยืน

การคำนึงถึงอดีต ปัจจุบัน อนาคต

- คนเราถ้าไม่ลืมอดีต ปัจจุบันก็จะมีปัญหา

- ถ้าคิดถึงอนาคตแต่ถ้าไม่ทำปัจจุบันจะไปถึงอนาคตหรือไม่

- อนาคตทำให้เกิดความไม่พอ

- ในหลวง มองว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะเข้าอยู่ในสังคมได้ในทุกกรณี

1. ปัจจุบันคือเหตุผล ใช้ความรู้ คุณธรรม

2. อดีตคือพอประมาณ

3. อนาคตคือภูมิคุ้มกัน (เป็นเรื่องการลงทุน)

การพิจารณาในเรื่องการใช้จ่ายให้พิจารณาจากอดีต คือมีพอประมาณหรือไม่ และถ้าพิจารณาเรื่องการลงทุนให้พิจารณาเรื่องอนาคตดูฝั่งภูมิคุ้มกัน

ถ้ามีเหลือให้ใช้ฝังภูมิคุ้มกัน ถ้ามีขาดให้ใช้ฝั่งพอประมาณ แล้วใช้เหตุผลเป็นตัวตัดสิน

พอเพียง = ลดความโลภ

โลภ โกรธ หลง ตัวที่เกิดกิเลสมากสุดคือตัวหลง จึงควรใช้ ความเข้าใจ เข้าถึง พัฒนามาช่วยในการตัดสินใจ

ทุกปัญหา แก่นของปัญหาคือหลง ถ้าทุกคนแก้ด้วยตนเองได้จะช่วยในการบริหารจัดการได้

การฝึกสติ

ทุกวันให้ใช้สติอยู่กับตนเอง ให้ทำงานในปัจจุบันแล้วศึกษาจิตเรา ดูว่าจิตเรากระเพื่อมอย่างไร ให้นับว่าใน 1 วันจิตหลุดกี่รอบ และเพราะอะไร จะทำให้เรารู้ตัวเองมากขึ้น ถ้าดีมากอย่าให้จิตกระเพื่อมและเมื่อจิตกระเพื่อม จะกระทบไปที่คนอื่น และสุดท้ายผลกรรมจะกลับมาหาเรา

- เข้าใจ คือความไม่รู้ ความไม่รู้คือตัวหลง ให้เข้าถึง และพัฒนาโดยใช้สติ

- การเอาใจเขามาใส่ใจเรา

ให้คิดถึงใจเขาว่าอยากได้อะไร

จะทำให้เราแก้ปัญหาได้ตรงบทบาทมากขึ้น

ตัวอย่าง การเจอเด็กขอทาน จะทำอย่างไร

- การให้เงินอาจไม่ได้แก้ปัญหา แต่ควรให้โอกาสในทางที่ถูกต้อง ฝึกแก้ปัญหาให้ตรงจุด

อริยสัจ 4

ทุกอย่างมีเหตุ มีผลถ้าทำกรรมดีสะสมไปเรื่อย วันหนึ่งปิดทองหลังพระ ทองจะล้นจากพระ ทำความดีต้องกล้ายืนหยัดแห่งความดี

1.ทุกข์ ปัญหา- เข้าใจ

2. สมุทัย สาเหตุ – เข้าถึง โลภ โกรธ หลง

3. นิโรธ ดับทุกข์ได้ – ความสุข

4. มรรค วิธีการ – พัฒนา (ทุกวินาทีของเรามีคำว่าดีกว่า พัฒนาจะไปสู่สิ่งที่ดีกว่า)

เปลี่ยนกรอบความคิด พลิกชีวิตด้วยปัญญา

โจทย์ : มี ครก รถไถ ภัยแล้ง ความสุข ทำอย่างไรให้เอาคำเหล่านี้มาสร้างความสุขให้ได้

เงื่อนไขคือเวลามีปัญหาให้คิดถึงความยั่งยืนตลอด จะทำอย่างไร

สรุปคือ เวลาอยู่ในคณะ ต้องเริ่มกลับมาคิดว่าระบบบริหารแบบใดเพื่อความยั่งยืน ให้กลับมามองสิ่งที่ยั่งยืนขึ้น

หลักของการตัดสิน 6 S เพื่อความสำเร็จ

1. Simple ง่าย

2. Speed ไว

3. ใหม่

4. ใหญ่

5. Sustain ยั่งยืน

6. Smile มีความสุข

Wisdom for life Management

  • คุณค่าที่แท้จริง นำสู่
  • คุณค่าที่แท้จริง นำสู่

-ศรัทธา/ความรักนำสู่

-เป้าหมายชัด/เริ่มต้น นำสู่

-ปัจจุบัน นำสู่

-เหตุผล นำสู่

-ใหม่ ดีที่สุด นำสู่

-โชคดี เบิกบาน ความสุข ความสำเร็จ นำสู่

-แบ่งปัน ขอบคุณ ขอโทษ ให้อภัย นำสู่

กิจกรรมที่ 1. ค้นหาตัวเอง

1. แจกกระดาษ A4

2. ให้แต่ละคนค้นหาตัวเองให้เจอว่ามีคุณค่าอะไร เก่งอะไร มีความชำนาญอะไร มีความความเชี่ยวชาญอะไร

3. หาเพื่อน 3 ท่าน แล้วให้เพื่อนเขียนถึงเราว่าเรามีคุณค่าอะไร

4. ดูว่าสิ่งที่เราคิดกับสิ่งที่เพื่อนคิดมีอะไรเหมือนกัน

- อะไรที่เราเขียนเหมือนกับเพื่อนเขียนสิ่งนั้นคือความจริงของเรา

- อะไรที่เราเขียนแต่เพื่อนไม่เขียนเป็นสิ่งที่เราหลงไปว่าเราเป็นแบบนั้น

- อะไรที่เราไม่เขียนแต่เพื่อนไม่เขียนเป็นสิ่งที่ไม่รู้ว่าเราเป็น เสมือนเป็นกระจกสะท้อนเรา

สรุปคือ คนเราต้องหาคุณค่าให้เจอ แล้วบอกให้คนอื่นรับทราบ แล้วสุดท้ายความสำเร็จจะมาหา

ให้หาพระเอก นางเอก เด่น ๆ มาคำเดียวแล้วคนจะจำได้

อะไรเป็นคุณค่าสูงสุดที่นำไว้เป็นปณิธานของชีวิต ที่เราจะยึดมั่น และเมื่อคุณค่าของแต่ละคนรวมตัวกันจะกลายเป็นคุณค่าขององค์กรรวม

คุณค่าของตนเอง

การเห็นคุณค่าของตนเองจะไม่จำเป็นจะต้องไปนิยมวัตถุข้างนอกตามสิ่งที่คนอื่นกำหนด คนที่เห็นคุณค่าตนเองจะภูมิใจในความเป็นตัวเอง

ความเพียรต้องเป็นความเพียรทางปัญญา และเป็นความเพียรที่ดีกว่า

เรารู้หรือไม่ว่าคณะที่เราอยู่และมหาวิทยาลัยคืออะไร ?

มหาวิทยาลัย

คุณค่าคือ กิจของมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

คณะพยาบาลศาสตร์

CARE

ให้นำคุณค่าของตัวเองสวมในคุณค่าของคณะฯ ถ้าลงแสดงว่าอยู่ถูกคณะแล้ว ถ้าไม่ลงอาจแก้โดยเปลี่ยนคณะฯ หรือ ปรับ Mindset

สรุปคือ คุณค่าของเราสวมกับองค์กรได้แท้จริงหรือไม่ และคุณค่าที่บอกเป็นคุณค่าที่แท้จริงหรือไม่ เช่น สวยจะสวยได้ตลอดไปหรือไม่

ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แล้วความรับผิดชอบจะมา

ความรักและแรงจูงใจในการขับเคลื่อนองค์กรจะออกมา

2. ศรัทธา / ความรัก

เมื่อเรารักสิ่งนั้นมาก ๆ แล้วสิ่งที่ให้ไป ฝากความคิดและความหวังแล้วศรัทธาจะเกิด

การสร้างศรัทธาได้เมื่อเห็นว่า เขาฝากผีฝากไข้ได้โตไปด้วยกันได้ แล้วแรงจูงใจจะเกิด

3. เป้าหมายชัด /เริ่มต้น

ให้หาเป้าทีละอย่าง และคนเห็นชัด ไม่ใช่มีเป้าหมายเยอะแล้วจะเดินไปลำบาก หลายท่านสามารถตั้งเข็มใหม่ได้ หาให้เจอว่าคืออะไร อันนั้นใช่เราหรือไม่ แล้วเราจะไปถึงจุดนั้นได้หรือไม่ เช่นในสนามนั้นมีคนเก่งอยู่ แต่อาจมีช่องว่างที่คนเก่งนั้นอาจไม่ได้ไป แล้วเริ่มต้น

4. ปัจจุบัน

เมื่อเริ่มต้นแล้วกลับมาสู่ปัจจุบันหาให้เจอว่านึกถึงสิ่งนี้จะนึกถึงเรา

5. เหตุผล

เหตุผลประกอบการตัดสินใจ

6. ใหม่ดีที่สุด

ทำสิ่งใหม่ ๆ แล้วสิ่งที่ดีจะมาถึงเราไม่ยาก

7. โชคดี เบิกบาน ความสุข ความสำเร็จ

8. แบ่งปัน ขอบคุณ ขอโทษ ให้อภัย

เมื่อดีแล้วจะต้องเข้ากระบวนการแบ่งปัน ไม่เช่นนั้นอาจโดนเลื่อยขา ต้องสนับสนุนคนอื่น

กระบวนการขอบคุณ ขอโทษ การให้อภัยเป็นการปรับวิถีคิดให้เป็นบวก การให้อภัยจะทำให้เกิดโอกาส และทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้

Difference

DNA พิสูจน์แล้วว่าคนกำลิงต่างกันไม่เกิน 3 %

ตัวอย่าง หางของคนหายไป แสดงถึงว่าอะไรที่ไม่ได้ใช้งานจะหายไป อะไรที่ใช้งานก็จะใหญ่ขึ้นตัวอย่างเช่น คนกับลิงต่างกันไม่เกิน 3%

Innovation on High-Value Culture

1. การเพาะสมอง Logic Thinking

2. การเพาะใจ Mind Set

3. การเพาะวัฒนธรรม Wisdom for Life Management

4. การเพาะกาย Processes Product and Service

สิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างกันคือกระบวนการที่ฝึกฝน กระบวนการที่ใช้บ่อย ๆ มนุษย์ทุกคนฝึกได้ สิ่งสำคัญที่เปลี่ยนมนุษย์ได้คือ Mindset

Mindset เพาะที่สมอง แล้วมาเพาะที่ใจ

จิตมีหลายดวง มีตัวหนึ่งทำงานกับสติ ตัวสำคัญคือสติที่ต้องตั้งมั่นให้ได้แล้วเป็นแม่แบบสิ่งต่าง ๆ กระบวนการใจก็จะทำงาน แล้วจะเกิดแรงบันดาลใจเปลี่ยน Mindset แล้วมีกระบวนการบ่มเพาะให้เกิดพฤติกรรมทางกาย

กลับไปทำซ้ำ ๆ แล้วจะกลายเป็นนิสัยของเราต้องฝึกให้เป็นคนละเอียด คนที่หยาบข้างนอกไม่สามารถละเอียดข้างในได้ อะไรก็ตามที่เล็กน้อยให้ฝึกเริ่มจากสิ่งเล็กน้อยที่เราทำได้ ต้องมีการฝึกความละเอียดของจิตใจขึ้นมา เราจะไม่ทำอะไรหยาบ ๆ กับเพื่อนข้าง ๆ

การวิเคราะห์คณะพยาบาลศาสตร์

1. ปลาทองอยู่ในโหลรั่ว แต่ไม่รู้ว่าโหลรั่ว

2. ปลาทองอยู่ในโหลรั่ว รู้ว่าโหลรั่วแล้วพยายามกระโดดไปโหลใหม่ แต่โดดไม่ได้

3. ปลาทองอยู่ในโหลรั่ว รู้ว่าโหลรั่ว แล้วกระโดดไปโหลใหม่อิ่มเอม เปรมปรีด์ กับโหลใหม่ แล้วพอเพียงกับโหลนี้แล้ว แต่ข้อระวังคือระวังว่าโหลใหม่ก็สามารถมีน้ำเน่าด้วย

4. ปลาทองอยู่ในโหลรั่ว รู้ว่าโหลรั่ว แล้วกระโดดไปโหลใหม่ แล้วพัฒนาไปกระโดดโหลใหม่เรื่อย ๆ

สรุปคือคนที่ยั่งยืนได้ ต้องเป็นนักพัฒนา เพื่อพัฒนาต่อไป จะเก่งอะไร จะเด่นอะไร มีแรงบันดาลใจอะไร แล้วก้าวไป

ความสำเร็จ ไปสู่ Goal

1. Value

2. Inspiration

3. Imagination

4. Capability

5. Endurance อดทน เพียรไปสู่เป้าหมาย

ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จในชีวิต 4Qs

  • Intelligence Quotient

2.Emotional Quotient

3.Moral Quotient

4.Survival Quotient

บุคลิกภาพของคน

ให้ดูว่าเวลาโกรธตัวไหนเราเด่นที่สุด สามารถดูได้แบบชัด ๆ

1. C นักทฤษฎี(IQ MQ)

ชัดเจน ถูกต้อง ตามกฎ มีเหตุผล ระมัดระวัง เป็นทางการมีหลักการ ยึดติดกับรายละเอียดไม่ชอบเสี่ยง

2. D นักผจญภัย (IQ SQ)

กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง มุ่งมั่น ชอบการแข่งขัน มีข้อเรียกร้องสูง เป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง ดุดัน ผ่าซาก เอาตัวเองเป็นหลัก ใช้อำนาจ

3. I นักกิจกรรม (SQ EQ)

ชอบเข้าสังคม ช่างคุย เปิดเผย กระตือรือร้น มีพลัง ชักจูงใจผู้อื่น ร่าเริง โวยวายเสียงดัง ไม่ระมัดระวัง ตื่นเต้น รีบร้อนไม่สนใจเรื่องเวลา

4. S นักปฏิบัติ (MQ EQ)

สงบนิ่ง ระมัดระวัง อดทน เป็นผู้ฟังที่ดีถ่อมตน เชื่อถือได้ ไม่รับแนวคิดใหม่ ไม่แสดงออก ดื้อเงียบไม่แสวงหาการเปลี่ยนแปลง

สรุป โลกในความเป็นจริงมี 2 ด้าน แต่ถ้าเรื่องลบเอาไปวางถูกที่จะเป็นบวก รู้จักการจัด 2 ด้านให้ลงตัว เน้นการวางให้เหมาะสมกับสิ่งเหล่านั้น แล้วคุณค่าจะเกิด

ตัวอย่างการเป็นผู้นำ

นายกฯชวนเป็นกลุ่ม S

นายกฯอภิสิทธิ์ เป็นกลุ่ม C

นายกฯบรรหารเป็นกลุ่ม I

นายกฯทักษิณเป็นกลุ่ม D

ทุกคนสามารถเป็นผู้บริหารได้หมด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่นสถานการณ์วิกฤติรุนแรง ควรใช้กลุ่ม D เป็นนายกฯ แต่ถ้าสถานการณ์ที่ชาติร่ำรวย ควรใช้กลุ่ม I เป็นนายกฯ สถานการณ์ที่ต้องคิดวิเคราะห์ เป็นเหตุเป็นผล ควรใช้กลุ่ม C เป็นนายกฯ สถานการณ์ปกติ ควรใช้กลุ่ม S เป็นนายกฯ

เวลาจัดประชุม กลุ่มที่บริหารจัดการยากที่สุดคือกลุ่ม S เพราะไม่ชอบพูดในที่ประชุม ดังนั้นเวลาจะ Lobby ควรไป Lobby กับกลุ่ม S ก่อน คือจะยอมสงบได้ถ้ามีฐานคุณธรรมและความรู้สึก ยอมรับคนมีคุณธรรม และให้เข้าใจความรู้สึกและอารมณ์ของเขา

คนตัว S จะไปชักชวน I เพราะ I พร้อมเบี่ยงเบนเสมอกลัวเพื่อนโกรธ

สรุปคือมนุษย์รักตัวเองมากที่สุด ถ้าเข้าใจเหตุและผลคือผลประโยชน์ ลงตัวหรือไม่ แต่ต้องมีคุณธรรมเป็นตัวตั้ง

ให้เข้าใจธรรมชาติในทีม และมองให้เขาเห็นคุณค่าจะไปต่อได้

การตัดสินใจ

1. ตนเองรอดชีวิต

2. คนอื่นรอดชีวิตและไม่ผิดคุณธรรม

กิจกรรมที่ 2 การตัดสินใจ

โจทย์ : เมื่อเกิดวิกฤตการณ์โรคระบาดอย่างรุนแรง มีเครื่องบินที่จะบรรทุกคนไปได้ 8 คน โดยมีคนที่เหลือในเมืองทั้งหมด 10 คน ดังนี้ ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำเพื่อพาคนให้รอดพ้นและสามารถไปสร้างเมืองใหม่ที่มั่นคงและยั่งยืนได้ท่านจะเลือกผู้ใดให้เดินทางไปกับท่าน

นายแพทย์หมอแผนโบราณนักกฎหมายสูงอายุ เด็กคุณครูผู้หญิงนักการเมืองเกษตรกรกรรมกรนักวิทยาศาสตร์

คำตอบ ใช้เป้าหมายยึดและดูคำตอบที่หาเป้าหมายนั้น

การสร้าง Team

พลังของกายและใจ

สังคมไทยต้องกลับมามองว่าอะไรที่สร้างให้กับสังคมและแตกต่าง

วิธีการคือการสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน สานประโยชน์ร่วมกันได้ คือ Win-Win

การสร้างทีม Team

1. เป็นผู้ให้ที่ถูกที่ ถูกเวลา และถูกคน

2. มีกติกาการอยู่ร่วมกันอย่างโปร่งใสยุติธรรม

3. ปล่อยวางตัวตนและประโยชน์ของตนเอง

ทุกคนจะมีบทบาทและมีความสำคัญและมาต่อกันถึงไปได้ แต่อยู่ที่ Win-Win การแบ่งสรร และความยุติธรรมถึงไปได้

ความยุติธรรม

คือความพอใจของแต่ละคนไม่เหมือนกันและให้ทำตรงกับความพอใจ ถ้าเป็นผู้นำให้คิดว่าคนที่อยู่ร่วมกับเราต้องการอะไร แล้วให้ปฏิบัติตามที่เขาต้องการ

ถ้าเราไม่รู้ว่าคนเหล่านั้นต้องการอะไร เขาจะตอบคำถามเหล่านั้นไม่ออก ดังนั้นต้องหาคุณค่าให้เจอว่าต้องการอะไร

การแบ่งปันที่ดี

คือ ให้อะไรไปแล้วอย่าคิดว่าได้อะไรกลับมา

ถ้าเราทำหน้าที่ให้ดีที่สุดแล้วสุดท้ายภาพรวมจะเกิดขึ้นได้

การสร้างทีม

1. ถ้าเราเก่งแล้วไม่รู้ว่าผู้บริหารเห็นว่าเก่งแสดงว่าอาจคิดไปเอง วิธีการคือ ทำให้เห็นว่าเป็นแบบนั้นบ่อย ๆ

2. ของดีต้องโฆษณาให้เป็น

3. ฝึกทำใจให้กว้าง เกิดปัญหาให้แก้ที่ตัวเรา ไม่ใช่คนอื่น ให้ทิ้งตัวตนให้ได้

การสื่อสาร

แต่ละคนเห็นไม่เหมือนกัน เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ วิธีคิดที่แต่ละคนสะสมมาไม่เหมือนกัน

บทบาทของความเป็นผู้บริหารผู้นำ

คือเห็นอย่างไรบอกแบบนั้นอย่าเอาความรู้สึกใส่ ต้องเห็นเชิงประจักษ์ เท่าที่มองเห็นด้วยตา อยู่บนฐานความเป็นจริง อย่าเอาความรู้สึกหรือประสบการณ์ในอดีตไปใส่

ความสำเร็จของทีม

การเลือกเครื่องมือ : ถ้ามี เข็มทิศ และนาฬิกาให้ เลือกเข็มทิศ

เข็มทิศ คำนึงถึง ประสิทธิผล สัมพันธภาพ สิ่งที่สำคัญ

นาฬิกา เป็นการบ่งบอกประสิทธิภาพ ตารางเวลา สิ่งเร่งด่วน

เวลากับเงินเป็นของสมมุติที่นักเศรษฐศาสตร์สร้างขึ้น

- เวลา ความจริงแล้วเวลาไม่มี เพราะจิตเกิดแล้วดับ

- เงิน เป็นการเอาค่าเงินมาตี ทำให้ค่าสิ่งอื่นหมดไป

สรุปคือ ให้กลับมาที่เป้าหมายให้ชัด เป้าหมายที่ดี

คุณค่ามาประสานจะเป็นคุณค่าของแต่ละคนที่ประสานกัน

ความเพียรที่ดีคือต้องดีกว่า ดีกว่า และดีกว่า แล้วจะอยู่รอด

ความสามารถ ทักษะ นำไปสู่เป้าหมาย

Teamwork

1. มีเข็มทิศ เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย

2. สื่อสาร

3. ความสามารถนำไปสู่ความสำเร็จและเวลาตามเป้าหมาย

- กำลังใจ สภาพแวดล้อม

- Mission, Value & Strategy

เป้าหมายชัด

หาจุดยืนให้ชัด ปลายทางสุดหน้าตาของคณะจะเป็นอย่างไร ให้แต่ละคนสวมจุดยืนร่วมกันได้

การคิดอย่างเป็นกลยุทธ์

1. เป้าหมาย

2. หาจุดยืน ปรับกรอบความคิด

3. วิเคราะห์ ผู้รับเป้าหมายมีปัญหาอะไร กและทำอย่างไรจึงพึงพอใจ

4. แรงช่วย เป้าหมายย่อยเป้าหมายย่อย เป้าหมายย่อย

เมื่อบรรลุเป้าหมายย่อย ให้ชมยกย่องความดี และบอกเหตุผลว่าอะไร แล้วสังคมจะเริ่มโปร่งใสและเป็นตัวอย่างที่ดี

5. วางแผน

6. ปฏิบัติ เราควรปรับปรุงและพัฒนาอะไร

การบ้าน : สร้างไลน์กลุ่ม ว่าสติหลุดหรือไม่อย่างไร แล้วเราจะเปลี่ยนได้เอง ความสุขอยู่กับตัวจะไม่ยาก ให้ทำสิ่งที่ทำได้จากเล็ก ๆ ก่อน ให้ทำทุกสิ่งที่ดีที่สุดจากใจ


Learning Forum & Game Simulations

หัวข้อ “Personality and Social Skills Development”

โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

<p “=””>วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560
</p>

วิทยากร / ที่ปรึกษาอิสระอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ

การเป็นผู้บริหาร

1. ต้องเป็น Role Model ที่ดี

2. คนต้อง Spot ได้ว่าเป็นใคร

Imange ภาพลักษณ์ภายนอก

  • แต่งกายและเครื่องใช้ที่แสดงถึงรสนิยมดี
  • Good posture

2.เสื้อผ้า........หน้า.........ผม

3.Head to Toe

4.Social & Business manners, Table manners

5.Know how to use Body Language

6.Know your Role:

7.Know how to present yourselfin the public

8.Always active and lively

การสร้างความประทับใจแรกพบ

1. Look 55 % มองจากบุคลิกภาพภายนอก

- อย่าแต่งตัว Pattern เดิม ๆ

2. Sound 38% น้ำเสียงที่พูดออกมาเป็นอย่างไร รื่นหูหรือไม่ กระโชกโฮกฮากหรือไม่

3. Word 7% คำพูดจาเป็นอย่างไร รับ

การสร้างบุคลิกภาพภายนอก

ทำให้ติดเป็นนิสัย ทำวันนี้ให้คนชื่นชอบตั้งแต่วันนี้ ทำให้วันนี้มีคุณค่า

1.แต่งตัวดี

2. มาดดี

3.อารมณ์ดี

4.รู้จักกาลเทศะ

5. พูดจาดี

ศิลปะการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่

ทำความเข้าใจกับ 3 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิก

1. สีสัน

- ใส่ให้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ

- มีอิทธิพลมากมาย สามารถทำให้คนผิวคล้ำสดใสขึ้นมา

- สีโทนร้อนอาทิ แดง เหลือง ชมพู ส้ม น้ำตาล ทอง

- สีโทนเย็น อาทิ น้ำเงิน เขียว ขาว เทา เงิน

- ถ้าจำเป็นต้องใส่สีนั้นจริง ๆ แล้วไม่เข้ากับเราให้ใช้เครื่องประดับช่วย

2. เส้นสาย

3. สัดส่วน

Dress Style

ผู้ชาย

- เสื้อผ้าสูทมีหลายรูปแบบ อย่าใส่เสื้อแขนสั้นกับสูท

- เสื้อเชิ้ตแขนยาวให้มีความพอดี ยาวประมาณค่อนมือ

- สูทการติดกระดุมเฉพาะตอนยืน แต่ปลดกระดุมเวลานั่ง

- ความยาวของกางเกงต้องเหมาะสม ปิดรองเท้ามานิดนึง

- ความยาวเน็คไทด์อยู่ที่กลางหัวเข็มขัด

- ความใหญ่ของเนคไทด์ให้เหมาะสมกับหน้าตัวเองก่อน

- คอปกเสื้อให้ดูหน้าตัวเองก่อนว่าควรจะใส่แบบไหน มีป้าน แหลม เล็ก (ใส่ปกที่ตรงกันข้ามกับหน้าของเรา)

- ระวังเรื่องสีให้เหมาะสม

- ลายเสื้อระวังอย่าใส่ลายชุดนอน

ผู้หญิง

- ใส่กระโปรงแบบพอดีตัว

- ดูความยาวให้เหมาะสม

- เมื่อไหร่ที่ใส่สูทอย่าใส่รองเท้าเปิดหัว ให้ใส่รองเท้าปิดหัว แต่อนุโมให้ใส่แบบรัดส้นได้แต่ต้องปิดหัว

- เสื้อข้างในสูทอย่าใส่เหมือนเสื้อกล้ามผู้หญิงจะดูไม่ดี

สี

- ผู้ชายใส่สีน้ำเงินจะดีที่สุด หรือสีดำดีที่สุด พยายามเลี่ยงสีเทา

- ถ้าใส่สูทเสื้อกับกางเกงสีเดียวกัน

รองเท้า

- สีดำอาจไม่ทำให้ดูดีเสมอไป ถ้าจำเป็นต้องเลือกแบบให้เหมาะสม

- เลือกสีรองเท้าสีเบจ หรือครีม อย่าซื้อรองเท้าขาว เพราะคนจะสะดุดเท้ามากกว่าเรา

- การใส่คัทชูจะช่วยเสริมบุคลิกเราให้ดูดีมากขึ้น

- ไม่ใส่รองเท้าผ้าใบกับสูท

- อย่าลืมขัดรองเท้า

- ผู้ชายใส่รองเท้าหัวแหลม

- ดูความยาวรองเท้าและความแบนของรองเท้า

เครื่องประดับ

- เลือกให้ดูดีให้เหมาะสมกับเรา

- ตุ้มหูเลือกให้เหมาะสมกับงาน ขนาดต้องตรงข้ามกับขนาดหน้า

เข็มขัด

- เลือกให้สมกับวัยและหน้าที่การทำงานของเรา

Accessories

- เลือกปากกาให้เหมาะสมกับหน้าที่การงานของเรา

- ควรมีปากกาดี ๆ ติดกระเป๋า

- แว่นในกรณีไม่แต่งหน้าให้ใส่กรอบสีไปเลย

- แว่นอาจไม่มีกรอบ อย่าใส่กรอบทอง

Visual Poise

1. การไหว้

1. พนมมือระดับอก ศอกไม่กาง

2. ก้มศรีษะช้า ๆ ศรีษะโน้มมาที่มือพนม ยืนตัวตรง ไม่ต้องเหลือบตามอง

3. กล่าวสวัสดีค่ะ/ครับ

2. การเดิน

1. ส้นลงก่อนหน้าเท้าตามจะทำให้เดินได้แม่นมั่น

3. การนั่ง

1. เอามือขวาจับพนักเก้าอี้

2. เดินมาข้างหน้าเก้าอี้ ไม่ต้องรูดกระโปรง

3. ผู้หญิงนั่งครึ่งเก้าอี้ ผู้ชายนั่งเต็มเก้าอี้

4. ผู้หญิงนั่งขาซ้อนกันเล็กน้อยเพื่อความเรียบร้อย (น่องข้างหน้าตรง น่องข้างหลังจะซ้อนน่องข้างหน้าเล็กน้อย จะบังพอดี) ผู้ชายนั่งขาตรงปกติ กว้างเล็กน้อย ไม่นั่งไขว่ห้าง

4. เข้าเก้าอี้ทางไหน ออกเก้าอี้ทางนั้น

4. การยืน

1.ผู้หญิงยืนขาหลังซ้อนขาหน้าเล็กน้อย ผู้ชายยืนเท้าไม่ต้องชิดกันมาก

2. มือทิ้งตรงลงมาข้างลำตัว

3. ถ้ายืนเมื่อยสามารถขยับเท้ามาข้างหน้าข้างหลังได้

4. ระวังอย่าหน้าท้องยืน หลังงอ ก้นยื่นไปข้างหลัง

5. การนั่งโซฟารับแขก

1. โซฟาคือที่ของแขก

2. คำนึงถึง ให้เกียรติ ปลอดภัย สะดวกสบาย ความระเบียบเรียบร้อย

3. ที่เจ้าของบ้านใกล้ประตู

4. ในกรณีมาคนเดียวนั่งโซฟาไกลประตู

5. ในกรณีที่มา 3 คน ผู้อาวุโส เด็ก ผู้หญิงให้นั่งไกลประตูเนื่องจากคำนึงถึงความปลอดภัย

- ผู้ชายให้นั่งโซฟาใกล้ประตู

- ไป 3 คน นั่งโซฟา 2 คน อีก 1 คนนั่งเก้าอี้อีกตัว

- คนที่สนิทเจ้าของบ้านที่สุดให้คนสนิทนั่งโซฟาใกล้เจ้าของบ้านที่สุด

- แขกคนสนิทจะนั่งติดขวามือเจ้าภาพเสมอ

6. การนำเสนองาน

- ให้นั่งหันหน้าเข้าประตูเสมอ

- ต้องไปก่อนเวลา ครึ่งชั่วโมงเสมอ

- คนที่เป็นหัวหน้านำเสนองานติดกับประธานหัวโต๊ะเสมอ และเรียงตามลำดับ

7. การนั่งรถยนต์

- การนั่งรถประจำตำแหน่งนั่งเยื้องคนขับด้านหลัง

- ถ้าให้คนทำหน้าที่แทนให้นั่งเยื้องคนขับข้างหน้าเสมอ

- ถ้าไป 3 คน เบอร์ 1 นั่งเยื้องข้างหลังคนขับ เบอร์ 2 นั่งข้างหลังคนขับ เบอร์ 3 นั่งตรงกลาง

8. การนั่งรถตู้

- ผู้ใหญ่นั่งตรงกลางแถวหน้าข้างหลังคนขับรถ

9. การเดินตามผู้ใหญ่

- เดินข้างหลังเยื้องฝั่งซ้ายของผู้ใหญ่

10. การเดินนำหน้าผู้ใหญ่

- เดินเยื้องขวาด้านหน้าผู้ใหญ่

- ใช้มือขวาเปิดทางนำหน้าเสมอ

11. การขึ้นบันได

- การเดินขึ้นบันได้ให้เราขึ้นทีหลังให้ผู้ใหญ่ขึ้นก่อน

- การเดินลงบันไดเราเดินลงก่อนให้ผู้ใหญ่เดินหลัง

12. การเข้าออกลิฟต์ หรือเปิดประตู

- ให้ผู้ชายเข้าก่อน

13. เจ้าบ่าว เจ้าสาว

- ผู้ชายอยู่ฝั่งขวาของผู้หญิง

- รับน้ำสังข์ให้รดน้ำฝั่งผู้หญิงก่อนเพื่อให้เกียรติผู้หญิงก่อน แล้วจะไปเก็บที่วางน้ำสังข์พอดี

- คนที่อายุน้อยกว่าเจ้าบ่าว เจ้าสาวไม่ต้องขึ้นไปรด

14. การใส่ซองการ์ดแต่งงาน

- ให้ใส่ซองใหม่เขียนชื่อเจ้าบ่าว เจ้าสาว (ไม่ใส่ซองที่เขาแจกการ์ดมา)

- แล้วใส่ชื่อเรา

15. การใส่ซองงานศพ

- ใช้ซองใหม่เขียนอุทิศส่วนกุศลให้ชื่อผู้ตาย แล้วระบุว่าจากใคร

16. การแนะนำตัวให้คนรู้จักกัน

- ถ้าให้เกียรติใครให้เรียกชื่อคนนั้นก่อน

- บอก Background สั้น ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้เขาหาเรื่องคุยกัน

- ให้มีความ Active ในการทำความรู้จักกันบ้าง

- เมื่อทักทายเรียบร้อยแล้วสร้างความเต็มใจที่อยากรู้จัก

- ในกรณีแนะนำคนให้เจ้านายรู้จัก เอ่ยชื่อเจ้านายก่อนเพื่อแนะนำอีกคนให้เจ้านายรู้จัก

- ในกรณีเจอคนที่สาธารณะ คนมาก ๆ อาจไม่ต้องแนะนำคนให้รู้จักกัน

- บทสนทนาห้ามถามว่ามากับใคร ถ้าเขาไม่แนะนำ เรานิ่งเพราะเขาอาจไม่อยากแนะนำให้รู้จัก

- ห้ามถามว่าคนนั้นสบายดีไหม คนนี้สบายดีไหม เพราะเราไม่รู้ว่าความสัมพันธ์กับคนนั้น ๆ เป็นอย่างไร

17. การประชุม

- ในกรณีต้องออกจากที่ประชุมก่อน แค่โค้งพอ ไม่ต้องไหว้

มารยาทบนโต๊ะอาหาร

1. การนั่งเก้าอี้

- เข้าทางไหนออกทางนั้น

- ใช้มือขวาจับพนักเก้าอี้

- นั่งครึ่งเก้าอี้หลังตรง

2. การรับประทานอาหาร

- ตามขนบธรรมเนียมประเพณี

- อาหารฝรั่งใช้มีดกับส้อมเสมอ

- ขนมปังบิดแค่พอคำด้วยมือห้ามใช้มีดตัด

3. การเลือกอุปกรณ์อาหาร

- อาหารจานแรก Appetizer ให้คู่มีดส้อมข้างนอกสุด

- อาหารจานถัดไปใช้มีส้อมชุดถัดไป

- การใช้มีด ใช้แล้ววาง ไม่ใช้มีดจิ้มไปมา

- ไม่นั่งแคะฟันบนโต๊ะ ให้แคะฟันในห้องน้ำ

4. การถือแก้วไวน์

- แก้วไวน์ถือตรงก้าน ใช้เพียงแค่สามนิ้ว

- ไม่ใช้โทรศัพท์บนโต๊ะอาหาร

5. ผ้าเช็ดปาก

- เอาไว้ที่ตักสำหรับกันน้ำหก

- เช็ดเฉพาะมุมเท่านั้น

- มีทิชชู่เสมอ

- เวลาไปไหนให้พับผ้าไว้ครึ่งหนึ่งวางบนโต๊ะ แต่ถ้าไม่กลับมาแล้ววางไว้กลางโต๊ะ

6. สิ่งที่ควรระวัง

- อย่าไปตักอาหารให้ใครเนื่องจากเราไม่รู้ว่าเขาแพ้อะไรหรือไม่

- ทำเพียงแค่ส่งต่อ

- ไม่ต้องไปคีบอาหารให้เขา จะเป็นการยัดเยียดคนเกินไป

- สลับจานอย่างเดียวเท่านั้น

- ใช้ช้อนกลางตักอาหาร

- ไม่นำทิชชูไว้ในจานข้าว ให้เพียงแค่พับแล้วไว้ข้างล่างจาน

- ข้าวเหนียวใช้มือจับจับโหย่ง ๆ ไม่ต้องขยำ

- ตะเกียบอาหารญี่ปุ่นวางยาว ตะเกียบจีนวางพาด

การถ่ายรูป

- ตาจิ๊กกล้อง

- ก้มหน้าเล็กน้อย


โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 1

กุมภาพันธ์ – มิถุนายน2560

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560

(สรุปการบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

Panel Discussion & Workshop

หัวข้อ “3 V & Innovative Project” : โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของคระพยาบาลศาสตร์ ม.อ.” (Problem Based Learning… ภายใต้แนวคิดหลัก : วิเคราะห์อนาคต FON PSU ปี 2020 กับแผนการเตรียมความพร้อม)

โดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

คุณวราพร ชูภักดี


ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ม.อ. มีจุดหักเหในการทำงานร่วมกัน

- การทำอะไรก็ตามถ้าไม่ประสบความสำเร็จ ก็ให้หาช่องทางอื่นเพื่อไปสู่จุดนั้นให้ได้

- ในรุ่นคณะพยาบาลศาสตร์ และพันธมิตรจะให้เวลากับเรื่อง Research และหัวข้อมากขึ้น ถ้าให้หัวข้อที่มีคุณค่าและเรื่องที่สร้างคุณค่าได้จะเกิดประโยชน์

แนวคิด

การเริ่มต้นเหมือนการทำ Ph.D Thesis แม้ว่า เป็น Mini –Research for Innovative Project

1. ฝึกวินัยในการตั้งโจทย์ หรือ Hypothesis

- ตั้งโจทย์ให้เห็นว่าเราต้องการไป Test และเก็บข้อมูลเพื่ออะไร ให้ดูว่า Hypothesis เกี่ยวข้องกับคณะพยาบาลศาสตร์และพันธมิตร ให้ดูว่าเกี่ยวกับคณะอื่นให้มากที่สุดได้อย่างไร

- ฝึกวินัยในการตั้งโจทย์ หรือ Hypothesis ที่น่าสนใจ และนำไปใช้ได้ แล้วเก็บข้อมูลนำเสนอว่าตอบโจทย์ Hypothesis ที่ตั้งไว้ว่าทำได้หรือไม่? ถ้าทำได้ก็เดินหน้าต่อ ถ้าทำไม่ได้ก็เก็บข้อมูลพื้นฐานไว้ก่อนซึ่งผมเรียกว่า Testable Hypothesis คือ มีผิดและถูก มีปัจจัยตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ

2. วิธีการตั้ง Hypothesis จะต้องเน้น :

- Relevant and Interesting นำไปใช้ในองค์กรของเรา

- มองอนาคต ตอบโจทย์ 4.0

- Expand to high value , 3V โดยเฉพาะระหว่างประเทศหรือระหว่างหน่วยงานอื่น ๆ โดยเฉพาะ Diversity เน้นภาคประชาชน นักวิชาการท้องถิ่นและต่างประเทศ

1. Value Addedสร้างมูลค่าเพิ่ม

2. Value Creationสร้างคุณค่าใหม่

3. Value Diversityสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

ดูว่ามีอะไรบ้างที่ตอบโจทย์ความน่าสนใจ และตอบโจทย์การเกิด Value ของเรา คิดโจทย์ที่น่าสนใจ

3. ต้องคิดว่าร่วมกัน Learn อย่างวันนี้ จะให้สบายๆ แค่ explore หัวข้อ Hypothesis ก่อน แล้วค่อยๆ มาดูว่าอะไรเป็นไปได้ แล้วจึงวางแผนเก็บข้อมูล และ Review Literature ขั้นต้นอย่างไร?

ต้องคิดร่วมกันว่าการเรียนในวันนี้จะเป็นการทำ Research เพื่อการบริหารจัดการและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ ทำให้สบายและครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าเพื่อชุมชน หรือทรัพยากรที่เกิดขึ้น

4. ที่สำคัญ คือ มองอนาคตของเราว่าจะไปทางไหน? และย้อนกลับมาดูว่าจะต้องทำอย่างไร? ทำได้ดีหรือไม่? ดูสภาพแวดล้อมในอนาคตคล้าย ๆ คลื่นลูกที่ 4 ของผม และการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยและต่างประเทศที่มากระทบ เราจะฉกฉวยโอกาสอย่างไร?



ม.อ.ออกนอกระบบแล้วจะเปลี่ยน Culture เดิมเป็น Culture ใหม่ได้อย่างไร สิ่งที่ ม.อ. ยังคงเหลืออยู่คือ เกษตร Healthcare และ Tourism ต้อง Preventive ทำอย่างไร

เราจะทำให้สิ่งเหล่านี้มีมูลค่ามหาศาลได้อย่างไร

- เราต้องมีความสามารถในการจัดการ

- มีทุนมนุษย์ที่พร้อมจะเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

- ต้องมี Mindset

- ต้องรู้จริง

- มีวัตนธรรมในการเรียนรู้

โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในยุคต่าง ๆ ให้ดูว่า Sector ที่จะไปต้องเป็น Sector ที่มีศักยภาพหรือไม่ไม่ใช่ไปยืมของคนอื่นมา อย่างทุนมนุษย์วิ่งไปทาง Intangible ดังนั้นเราต้องกลับไปที่ Basic คือเศรษฐกิจพอเพียง

5. ข้อดี คือ มีการวางแผนล่วงหน้า ดร.จีระเป็นหัวหน้า research ทุกกลุ่มจะสามารถปรึกษาดร.จีระได้ และจะมีอาจารย์พิชญ์ภูรี อ.กิตติ มาช่วย ทั้งสองท่านมีประสบการณ์ ไม่ใช่แค่ทำให้ถูก Methodology แต่เน้น Relevant and Interest ไปสู่ 3 V

เช่นเดียวกันกับทุกกลุ่มที่สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นเพื่อช่วยในการทำวิจัยได้

- ให้วิเคราะห์ให้ดี และศึกษาว่าทุกที่มี Value Change

- เราเรียบเรียงความรู้ได้เมื่อไหร่คิดอะไรให้ตรงประเด็น คิดเป็นระบบ

6. ข้อที่พึงพิจารณา คือ

  • Timing เวลามีไม่มาก

-ทำงานเป็นทีมอย่างวันแรกดีมาก คล้ายๆ Workshop หาหัวข้อที่ Relevant และไปต่อยอด 3V ให้ได้

-อยากเห็น V ที่ 2 กับ V ที่ 3 มากหน่อย และอาจจะให้ V2 และ V3 เชื่อมกัน เช่น ถ้าเราพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ด้วยเชื่อมกับผู้นำรุ่นเก่าด้วยจะทำให้องค์กรไปได้ไกล ต้องมองอะไรที่เป็นยุทธศาสตร์และสร้างสรรค์ และนอกจากสร้างสรรค์แล้วต้องทำให้สำเร็จ คล้าย ๆ จาก Creativity ไปสู่ Innovation แต่จะต้องเน้น Reality and Practical โดยมองจากองค์ความรู้ Basic Knowledge ที่มีและหาได้

สรุปคือ

1. คิดเยอะ ๆ

2. อย่าทำงานคนเดียว ทำงานเป็นทีม

3. ให้ Relevance ไปต่อยอด 3 V ให้ได้

4. เรามีความหลากหลาย ให้ความหลากหลายมา Honor ซึ่งกันและกัน อย่าคิดว่าแตกต่างกัน แล้วให้เน้นไปที่ Innovation

5. Innovation เมื่อมีความคิดที่ดีแล้ว สร้าง Relevance และ 3 V ได้แล้ว ต้องนำไปทำ

6. สร้างแรงบันดาลใจให้มาก แล้วไปเก็บข้อมูล

7. วันนี้.. หารือหัวข้อกันก่อน ควรจะเป็น Hypothesis ต้อง Relevant & Interest แต่ยังขาดการวิเคราะห์และเก็บข้อมูล ซึ่งจะยืนยันว่า Hypothesis ถูกต้องหรือไม่?

  • Secondary Data

-Primary Data / Questionnaires / Focus Group หรือ In-depth Interview

-แต่ที่สำคัญที่สุด คือ

-อ่าน Case กรณีศึกษาต่าง ๆ ในด้านการพยาบาลและเรื่องที่สนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ และกระเด้งไปสู่การบริหารจัดการของเรา และเน้นทุนมนุษย์ 8K’s และ 5K’s ให้มาก

-มองอุปสรรคมากกว่าการตั้งโจทย์เท่านั้น อุปสรรค ต้อง Realistic อยู่ในบริบท (Context) ของเรา

-มอง Research ว่าเป็นการฝึกอ่าน เรียนรู้เชิงลึก นำเอาสิ่งที่เรียนในห้องมาใช้มีระบบความคิดเพราะต้องแยกข้อมูลที่จำเป็นกับไม่จำเป็น และสรุปมาเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเรา และในระยะยาวบางคนอยากเรียนปริญญาเอกต่อให้ดี

มีโอกาสดูแลวิทยานิพนธ์ของปริญญาโทและเอกหลายแห่ง และครั้งนี้ในฐานะ Coach ใหญ่ ดร.จีระจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด มี Passionแล้วทุก ๆ คนปรึกษาได้ เป้าหมาย คือ เรียนรู้ไปด้วย โดยเฉพาะช่วงที่เบรก ทุกวัน รุ่นที่ได้เปรียบมี Line group คือ คิดถึง Projects และนำเอาแนวคิดที่เรียนทุก ๆ วันในห้อง + การอ่านเพิ่มเติม มาใช้ในการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมของเรา อย่าให้แตกแยกไปจากการเรียนในห้อง ให้การทำ Mini Research เป็นเนื้อเดียวกันกับการเรียน ผมอยากให้การทำวิจัยเล็ก ๆ คือ การฝึกการอ่านและ Share กับผู้อื่น นอกจากผู้นำรุ่นใหม่ น่าจะเน้นเรื่องผู้นำแบบ Talent หรือ การดูแลผู้สูงอายุแต่ยังมีพลังอยู่

คุณวราพร ชูภักดี

ยกตัวอย่างโครงการฯ ของคณะแพทยศาสตร์ ม.อ. รุ่นที่ 1

กลุ่มที่ 1 การจัดตั้ง PPSH : Private Prince of Songklanagarind Hospital

กลุ่มที่ 2 งานวิจัยศึกษาความคาดหวัง

การจัดตั้ง “ศูนย์เสริมพลัง”โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

กลุ่มที่ 3 การบริหารจัดการบุคลากรที่มีสมรรถนะสูง

MED PSU Talent management Roadmap to 2020

กลุ่มที่ 4 MED PSU SMART HEALTH 2020 FOR SMART LIVING AND BETTER CARE SERVICES

กลุ่มที่ 5 2020 ผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาวะ

โครงการฯ ของคณะแพทยศาสตร์ ม.อ. รุ่นที่ 2

กลุ่มที่ 1 Self – Financing Organization

กลุ่มที่ 2โครงการศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสำหรับประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ (ศสชต)

กลุ่มที่ 3 ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาความเป็นเลิศทางการแพทย์สงขลานครินทร์ (MED PSU Supporting and Developing Unit for Excellent Center / MED PSU-SDUEC)

กลุ่มที่ 4 “ศูนย์การเรียนรู้และจัดการนวัตกรรมคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” LEARNING AND INNOVATION MANAGEMENT CENTER: LIMC

กลุ่มที่ 5 Magnet Hospital for Excellent and Talent Staff of Med PSU 2020

โครงการฯ ของคณะแพทยศาสตร์ ม.อ. รุ่นที่ 2

กลุ่มที่ 1 โครงการ บัตรพีเอสยู แคร์ การ์ด (PSU Care Card)

กลุ่มที่ 2 One Stop Service Check-up Center (OSSCC)

กลุ่มที่ 3 โครงการจัดตั้งอาคารที่พัก ที่จอดรถและจำหน่วยเวชภัณฑ์และยาสำหรับผู้ป่วยศรีตรังคอมเพล็กซ์

กลุ่มที่ 4 Family-centered Care Model for Traumatic Brain Injury Patients co-operated with University of Washington

กลุ่มที่ 5 โครงการ หน่วยดูแลหลังวายชนม์ Departure Care Unit(DCU)

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

- การนำเสนอโครงการฯ ต่าง ๆ ต้องป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นจะออกมาเป็นโครงการฯบางอย่างที่ช่วยแก้ไขปัญหา

-การนำเสนอโครงการฯ ที่สร้างประโยชน์ให้กับองค์กร

KEY WORDS สำคัญของงานในครั้งนี้ โครงการของเราตอบโจทย์เหล่านี้อย่างไร?

ASEAN - Thailand 4.0…………………………………………………………

ยุทธศาสตร์ของชาติและแผนยุทธศาสตร์ของคณะ..............................................

Innovative Project : …………………………………………...……………..…

Value Creation : …………………………………………………….…………

Value Diversity : ………………………………………………….…………..

Impact : ………………………………………………….……………….……

Use available resources : ………………………………………………….…..

Practical : …………………………………….…….…………………………..

Execution : ……………………………………………………………………

Measurable: ………………………………………….………………………

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

- นอกจากเรื่อง Mindset ยังพูดเรื่องทุนมนุษย์

- คาดหวังให้โครงการฯ ที่เราคิดสามารถก่อให้เกิดมูลค่าขึ้นมา

- ดูที่จังหวะ Rhythm & Speed ที่เหมาะสม และเมื่อเกิดมูลค่าขึ้นมาจะเป็นประโยชน์มาก

ตัวอย่างที่ประทับใจคือ รพ.ศิริราช มีโรงพยาบาล ปิยมหาราชการุณย์ และผู้บริหารมาต้อนรับเรา เราจะนำแก่นที่มีอยู่คือรักษาคุณค่าที่มีอยู่แล้วมาสร้าง 3 V ได้อย่างไร


Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการคิดคร่อมกรอบเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.”

โดย อาจารย์ศรัณย์จันทพลาบูรณ์

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560

“ฟัง”“คิด” และ “ค้น”

ฟัง

กิจกรรม 1. จับกลุ่ม 5 คน ตั้งชื่อกลุ่มโดยมีคำขึ้นต้นว่า กลุ่ม “หน้า....” หรือ “น่า......” โดยชื่อไหนใช้แล้วห้ามถูกใช้ซ้ำ

1. ให้แต่ละทีมปรึกษาหารือกันว่าจะเป็นผู้บริหารพยาบาลประเภทอะไร และหน่วยงานไหน

โจทย์ 1) เลือก 1 โรงพยาบาล และ 2.เลือกแผนก อาทิ OPD ผู้ป่วยใน ฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด

2) ในโรงพยาบาลอยากปรับปรุงหรือเปิดใหม่

3) อยากให้คนที่มารับบริการจากเราไปพูดต่อว่าเมื่อได้รับการบริการจากเราแล้วเป็นอย่างไร ลงรายละเอียด ดีอย่างไร

4) คำถามคือสิ่งที่เราเขียนทำได้หรือไม่

- จะดีหรือไม่ที่เราเลือก 1-2 อันที่เราจะ Focus ที่เด่น ๆ คำถามคือเราจะ Focus อะไร จะใช้อันไหนดี คนให้คำตอบที่ดีที่สุดคือ ผู้รับบริการ

2. กิจกรรมทำตัวเหมือนเป็นผู้รับบริการ

- ให้แต่ละกลุ่มหมุนไปทางขวาในกลุ่มเพื่อนว่าเราจะเลือกอะไร 1 อันแล้วเราจะเลือกมา 1 สิ่งที่เราชอบ 1 คน 1 ติ๊ก

กลุ่มที่ 1 กลุ่มหน้าใส

โรงพยาบาลชุมชน เปิดใหม่(รพ.นาหม่อม)

Keyword: ฉุกเฉิน

กลับจากบริการจะพูดถึงบริการเราอย่างไร

1. ดูแลดี – เอาใจใส่ ให้เวลา (รับฟังปัญหา) ให้ข้อมูลชัดเจน ครบถ้วน

มีสัมพันธภาพที่ดีทักทาย ยิ้มแย้ม สอบถามความต้องการ ดูแลเหมือนญาติ ให้ความสนใจทั้ง Pt +ญาติ แก้ปัญหาได้ถูกต้อง รวดเร็ว

2. พยาบาลเก่ง แก้ปัญหาได้ถูกต้อง รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจในภาวะวิกฤติ

- มีความรู้

- มีทักษะ

- ประสานงานได้ดี

คะแนนที่ได้จากผู้รับบริการมากสุดคือ ความรวดเร็ว ตามมาด้วยการดูแลแก้ปัญหา

กลุ่มที่ 3 กลุ่มหน้าเจี๊ยะ – น่าเจี๊ยะ
โรงพยาบาลชุมชน (เอกชน) – Home Health Car เปิดใหม่ Be your home hospital ชื่อโรงพยาบาลบ้านเรา

แนวคิดใกล้ใจ ไปถึงบ้าน – Remote service, Individual healthcare, Family Care สู่ Multidisciplinary care

กลุ่มเป้าหมาย: คนในชุมชน

ค่าบริการ L เงิน ,แรงงาน, ผลิตภัณฑ์, สนับสนุนจากภารัฐ, โครงการต่าง ๆ

เปิดบริการโรงพยาบาลใหม่ชุมชนบ้านเรา ใช้การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ชาวบ้านสามารถให้ค่าตอบแทนเป็นเงินและสิ่งของรวมถึง Motto มีการบริการแบบ Reseach Service มีพยาบาลเป็นเจ้าของ หมอเป็นลูกจ้าง เน้น Family Care

- สร้างความอบอุ่น

- จริงใจ

- อุ่นใจ

- มีส่วนร่วม

- ให้ความประทับใจ

- ความเป็นเจ้าของ

และเน้นการเชื่อมโยงกับชุมชน แต่ทำอย่างไรก็ตามไม่ลืมเน้นกลุ่มคนรวย

กลุ่มที่ 4 กลุ่มหน้าทาเล้น Talent

โรงพยาบาลเอกชนไฮโซ เป็นOPD เปิดใหม่

เน้นบริการที่เยี่ยม

อบอุ่น พึ่งได้ ปลอดภัย เป็นไทย เอื้อเฟื้อเป็นมิตร ยิ้มแย้ม จิตใจดี

สโลแกน : “เป็นไทย เป็นเลิศ เป็นมิตร”มี จิตใจดี มีคุณธรรม ล้ำเลิศบริการ

เน้นรูปแบบ เป็นไทย เป็นเลิศ เป็นมิตร คือหลายคนเลือกความเป็น World Class Service นึกถึงบริการที่มีทุกอย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย มีทุกอย่างในนั้น

อันดับ 1 World Class Nurse and Service

อันดับ 2 The best เป็นเลิศและดีเยี่ยม

อันดับ 3 ความสะดวกสบายรวดเร็วและ One Stop Service

นอกนั้น 1 คะแนนทั้งหมด

กลุ่มที่ 2 กลุ่มน่าลุ้น

โรงพยาบาลชุมชน OPDโรงพยาบาลเล็ก ๆ ในอำเภอ จะปรับปรุง OPD

สิ่งที่ต้องการในมุมมองผู้บริหาร คือพยาบาลมี Service Mind

ปรับปรุง Service Mind เก่ง มีความรู้ มีทักษะ (มีประสิทธิภาพ)บุคลิกดี แต่งกายเรียบร้อย สะอาดมีประสิทธิภาพจะใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า ผ่านการรับรอง เป็นเลิศด้านการส่งเสริมสุขภาพที่ดี มีระบบดี

สิ่งที่ผู้รับบริการต้องการจากการโหวต

อันดับ 1 Service Mind

กิจกรรม 2 ในด้าน Service Mind อยากได้อะไรเป็นพระเอกและเด่น

1. ดูความต้องการความเก่งของเราก่อน Inside

2. ดูสิ่งที่เขาต้องการคือ Outside เช่น เอาใจใส่

Moment of Truth Analysis

1. BeforeIBeginning(เริ่ม) During (ระหว่าง) Ending (จบ) IAfter

ดูอันดับ 1 เป็นหลัก แล้วเอาอันดับ 2 แซมบ้าง ว่าทำอย่างไรให้ผู้รับบริการรู้สึกอยากมารับบริการกับเรา

ก่อนรับบริการ- เราจะทำอะไรให้เขามีประสบการณ์ที่ดี เห็นภาพก่อนรับบริการ

เริ่มบริการ- ทำอะไรที่แสดงถึงความเอาใจใส่

ระหว่างบริการ-อยากให้คนมารับบริการรู้สึกอะไร

เสร็จบริการ- ผู้รับบริการรู้สึกอะไร

หลังรับบริการ- เราจะทำอะไรที่แสดงออกถึงสิ่งที่เราต้องการ

กลุ่มที่ 4กลุ่มหน้าทาเล้น Talent

International

Before : ICT Accreditation ,Promotion, Advertising (สร้างภาพของ World Class)

Beginning :

1. จัดบริการให้ลูกค้ารู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ (รู้ Backgroud ,รับฟัง, ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ)

2. High Tech, High Touch , Add Value ความเป็นไทย

3. มีคนไปรับ

4. One Stop Service สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

During :

1. Privacy

2. One Stop Service สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

Ending :

1. มีคนไปส่ง

2. Exit Nurses ประเมินความพอใจ

3. One Stop Service สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

After :

1. ความคุ้มค่า

2. After Care Service

3. Networking for health promotion

จะมีการสำรวจการบริการว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร บริการ Hi-tech และ Hi-class มีคนพูดภาษาตะวันออกกลางได้ มี After Care มีเครือข่ายประเทศต่าง ๆ

กลุ่มที่ 2กลุ่มน่าลุ้น

โรงพยาบาลชุมชน

“เอาใจใส่”

Before :

1.ลงพื้นที่พูดคุยกับคนในชุมชน

2.ประชาสัมพันธ์การบริการ

3. จัดเตรียมสถานที่ต้อนรับดูแล

Beginning :

1. สวัสดี / ทักทาย

2.สอบถามความต้องการ

3. นั่งพักระหว่างรอ มุมเด็กเล่น

4. บริการเครื่องดื่มสมุนไพร อาหารขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ

During :

1. อำนวยความสะดวกประสานงาน

2. ดูแลให้ได้รับการบริการตามปัญหา/ความต้องการ

Ending :

1. ให้คำแนะนำการดูแลตนเอง

2. สอบถามความพึงพอใจ ข้อเสนอแนะ

3. ส่งต่อแผนกอื่น ๆ รพ.จังหวัด /ศูนย์

After :

1. ติดตามเยี่ยมบ้าน/โทรศัพท์

2. บันทึกข้อมูล

3. ปรับปรุงบริการ

เอาใจใส่ ลงพื้นที่ พูดคุย สอบถามปัญหา ต้องการอะไรบ้าง มีการบริการผู้ป่วยนอกอย่างไร มีการเตรียมสถานที่ไว้ก่อนและเมื่อจะทำอะไรใช้การต้อนรับให้มีการสอบถามบริการ ว่าจะทำแบบไหนสำหรับผู้ป่วยนอก สอดรับกับเด็กผู้รับบริการ มีบริการให้ผู้ป่วยสมุนไพร สอดรับกับปัญหาผู้รับบริการ

มีการอำนวยความสะดวก ประสานงานให้รับบริการตามต้องการ มีการให้คำแนะนำการดูแล และสอบถามความพึงพอใจและความต้องการในครั้งต่อไปว่าให้เราพัฒนาในส่วนใด บ้าง มีการส่งต่อไปแผนกอื่น ๆ รวมถึงบริการในระดับตำบล และอื่น ๆ ที่ส่งต่อผู้ป่วยไปรับบริการ มีการติดตาม เยี่ยม บันทึกข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูล และดูความต่อเนื่องของการรับบริการในครั้งนี้

กลุ่มที่ 1 กลุ่มน่าลุ้น

โรงพยาบาลชุมชน น่าหม่อม บริการฉุกเฉิน

สโลแกน “รวดเร็ว ฉับไว ใส่ใจเหมือนญาติ”

Before :

1. บริการถึงจุดเกิดเหตุ สายด่วน มีรถ และทีมพร้อมตลอดเวลา

2. พร้อมรับตลอดเวลา มีเจ้าหน้าที่ สถานที่ อุปกรณ์พร้อม

- รับฟังข้อมูลด้วยความใส่ใจ

สิ่งที่ผู้รับบริการต้องการมากที่สุดคือความรวดเร็ว มีการส่งคนไปรับ มีคนพร้อม สถานที่พร้อม บุคลากรพร้อม

Beginning :

1. มีป้าย และสัญลักษณ์ บ่งบอกจุดบริการชัดเจน

2. ต้อนรับและประเมินทันทีที่ถึงห้องฉุกเฉิน จอดรถปุ๊บ มีเจ้าหน้าที่เข้าถึง

3. เข้าตรวจก่อนทำบัตรทีหลัง ส่งเข้าห้องตรวจทันที

- ใส่ใจความรู้สึกผู้ป่วยและญาติ ให้ความมั่นใจในการดูแล

During :

1. ได้รับการตรวจทันทีหรือไม่เกิน 5 นาที

2. ให้ข้อมูลทันทีเพื่ประกอลการตัดสินใจ ให้ความมั่นใจในญาติ ดูแลอย่างดีที่สุด

หลังจากตรวจเสร็จ ตรวจแล้วเจออะไร มีการปรึกษาญาติตัดสินใจทันทีญาติมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นจนจบ และจะส่งคนไข้ทันที

3. เริ่มทำการหัตถการตรวจพิเศษทันที หลังแพทย์ตรวจ

4. ทราบผลตรวจขั้นต้นภายใน 1 ชั่วโมง

5. คนไข้จะได้รับการรักษาทันที

Ending :

1. สรุปเอกสาร จ่ายเงิน รับยา ให้คำแนะนำ ปฏิบัติ

2. One Stop Service

After :

1. บริการส่งกลับ

2. เตรียมเปลและรถส่งกลับภายใน 15 นาที

3. ประเมินผลความพึงพอใจของชุมชน

สรุปผลการรักษาเรียบร้อย มีการตรวจสอบครบ 24 ชั่วโมง เป็นนวัตกรรมไม่ต้องเข็นคนไข้ไปรอที่รถ ทำเป็นลักษณะ One Stop Service และส่งกลับภายใน 15 นาที่

มีการประเมินความพอใจจากชุมชนโดยรอบและปรับปรุงภายใต้สโลแกน “รวดเร็ว ฉับไว ใส่ใจเหมือนญาติ”

กลุ่มที่ 3 กลุ่มน่าเจี๊ยะ – หน้าเจี๊ยะ

โรงพยาบาลบ้านเรา ใกล้ใจ ไปถึงบ้าน บริการ 24 ชั่วโมง รับใส่ใจเหมือนญาติที่โรงพยาบาลบ้านเรา

Before :

  • ขึ้นทะเบียนลูกค้าถึงที่บ้าน
  • มีการสำรวจความต้องการบริการ
  • การแบ่งประเภทลูกค้าตามสิทธิ์ของลูกค้า ดูสิทธิ์ลูกค้าว่าจ่ายแบบไหน
  • หาช่องทางการสื่อสารแก่ลูกค้า มีการให้ญาติดูแลผู้ป่วยได้ มีการสื่อสารให้สะดวกรวดเร็ว
  • การประชาสัมพันธ์บริการ ใช้หลัก บวร บ้าน วัด โรงเรียน
  • ออกแบบชุดบริการ (Care Package)
  • การหาแหล่งทุน ใช้หลักความร่วมมือและมีส่วนร่วม มีผู้อำนวยการ ในการนำเสนอแหล่งทุนให้ได้มากที่สุด
  • ประสานงานเครือข่ายและดูแลต่อเนื่อง เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งฝึกงาน

Beginning :

  • กำหนดชุดบริการของแต่ละครอบครัว / คน
  • ได้ชุดบริการของแต่ละความรู้ แต่ละบุคคล
  • การวางแผนบริการ แนวทางการมีส่วนร่วมของลูกค้าและชุมชน
  • กำหนดการวิธีการ ชำระค่าบริการ

During :

  • เอาจริง เอาจัง มีการดูแลตลอดต่อเนื่อง
  • ปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการที่เหมาะสม
  • ออกแบบดูแลการบริหารร่วมกัน และบริหารจัดการ
  • ออกแบบดูแลเครือข่ายร่วมกัน
  • บริหารจัดการค่าบริการที่ไม่ใช่เป็นตัวเงิน
  • มีการส่งต่อในกรณีที่ไม่สามารถดูแลได้

Ending :

1. ประเมินผลการดูแลรักษาร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

2. ปรับปรุงการบริการให้ดีกว่าเดิม

3. เชิญชวนลูกค้ากลับมาดูแลคนอื่น

After :

1. พัฒนาเครือข่ายบริการเพื่อสังคม

2. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสมเพื่อลดโรคหรือปัญหาที่อาจมีผลกระทบ

3. ติดตามดูแลต่อเนื่อง

4. สร้างรายได้ให้กับผู้มีประสบการณ์การดูและผู้ป่วย

5. เปิดประชุมเครือข่าย ดูแล (Open House) Show & Share

- เยี่ยมเยียน เสมือนไปหาเสียง มีการสร้างรายได้ ให้เป็นผู้ดูแลที่พยาบาล

ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ศรัณย์

กลุ่มที่ 4 ดีตรงที่ระวังไม่ให้ภาพอย่างอื่นมาทำให้จุดยืนเขาศูนย์เสียไป ตัดสินใจในเรื่อง World Class เป็นสิ่งที่ชื่นชมและแรงมาก

กลุ่มที่ 2 มีความคิดแปลก ๆ เยอะมาก

กลุ่มที่ 1 ชื่นชมเรื่องการนำเสนอน่าประทับใจ

กลุ่มที่ 3 ประทับใจในเรื่องก่อนและหลังบริการ หลายคนที่ออกแบบบริการ คนไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ แต่คิดได้เยอะมาก คิดแล้วเริ่มเห็นคุณค่าและความแตกต่างจากที่นี่กับที่อื่น

สรุป ให้เริ่มจากตัวเองว่าอยากเห็นหน่วยงาน โรงพยาบาลเราเป็นอย่างไร และบางครั้งได้เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมาให้ความเห็นด้วย แล้วออกแบบบริการให้สอดคล้องกับงานวิจัยที่ได้มา ได้สิ่งที่เป็น Basic และพื้นฐานแน่น และจะทำให้เรามีความคิดไม่ธรรมดา เป็นการคิดสร้างสรรค์ที่นำไปปฏิบัติได้จริง และจะวางแผนอย่างไรให้ทำตามสิ่งที่ได้ออกแบบไว้ เป็น Creative Service by Design

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “Service Mind – Service at Heart ”

โดย อาจารย์ศรัณย์จันทพลาบูรณ์

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560

Service Mind – Service at Heart ”

คุณลักษณะของบริการที่เป็นเลิศ

1. กระตือรือร้น

2. มีความสามารถ

3. ไว้เนื้อเชื่อใจ

4. เห็นอกเห็นใจ

5. รู้สึกเห็นคุณค่า-ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยรู้สึกเห็นคุณค่าของผู้ป่วย

เราจะเติมความคิดแปลก ๆ คิดสร้างสรรค์ให้กับเราอย่างไร ?

ความคิดสร้างสรรค์คือ การทำให้ความคิดสร้างสรรค์ ซน ๆ แผลง ๆ คิดแบบไม่กลัว

อยู่นอกกรอบองค์กร

ความคิดนอกกรอบคือความคิดแปลกใหม่ นอกกรอ แต่ยังใช้ไม่ได้

การบ่มความคิดคือการดึงความคิดดิบ ๆ เข้ามาในกรอบองค์กรและสังคม แต่ไม่ดึงเข้ามาในกรอบความคิดเดิม เรียกว่าเป็นความคิดคร่อมกรอบ

การแปลงความคิดนอกกรอบเป็นการคิดคร่อมกรอบ

1. ให้คิดถึงข้อดีของไอเดียประหลาด ๆ

2. ให้คิดถึงข้อดีในอนาคต

3. ติดอะไรบ้างเช่น กฎระเบียบ ความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่นำไปใช้ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหา

4. ทำให้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเราได้อย่างไร

กิจกรรมที่ 1 คิดไอเดียใหม่ ๆ นอกกรอบ ที่ตอบโจทย์การบริการของเรา

ให้ต่างคนคิดไอเดียใหม่ ๆ ที่ตั้งใจให้แตกต่างจากคนอื่นอะไรบ้างตามช่อง

1. Before

2. Beginning

3. During

4. Ending

5. After

Self Concept คือเราคิดอย่างไรเราจะพาตัวเราไปสู่ตรงนั้น คือถ้าเราคิดว่าเรามีพรสวรรค์ในการคิดสร้างสรรค์ คิดแปลกใหม่บ่อย ๆ จะคิดเก่ง และเมื่อเวลาผ่านไปเราจะเป็นอย่างนั้นได้จริง

เรารู้ได้อย่างไรว่าเรามีของ มีความคิดสร้างสรรค์หรือเปล่า

นักคิดสร้างสรรค์ ได้แก่

1. นักประดิษฐ์ISTP,ISFJ

2. นักประพันธ์ISFP,INFP

3. นักผจญภัยESTP,ESFP

4. ผู้นำทาง ISTJ,ISFJ

5. นักวิสัยทัศน์ INTJ, INFJ

6. นักประสานเสียง ESFJ,ENFJ

7. นักบิน ESTJ, ENTJ

8. นักสำรวจ ENTP, ENFP

E –ExtovertI – Introvert

S - SensationN – Intuition

ใช้อะไรในการตัดสินใจแก้ปัญหา

T-Thinking F- Feeling

มีวิธีการดำเนินชีวิตอย่างไร

J-JudgingP-Perceiving

กิจกรรมที่ 2 เขียนไอเดียใหม่ ๆ ดิบ ๆ นอกกรอบ

1. เขียนไอเดียดี ๆ ใหม่ ๆ ดิบ ๆ ใน Phase Beginning During Ending

2. ส่งกระดาษไปทางขวามือ รับมาทางซ้าย

3. เขียนไอเดียดี ๆ ใหม่ ๆ ดิบ ๆ ใน Phase Headline ใหม่ ๆ มา

4. ส่งกระดาษไปทางขวามือรับมาทางซ้าย

5. เขียนไอเดียไม่ดี ๆ เกี่ยวกับ Phase Headline นั้น ๆ

6. เขียนไอเดียมนุษย์ต่างดาว

7. เขียนไอเดียที่ไม่มีใครเอา

8. เลือกไอเดียที่แปลกทีสุดและประหลาดที่สุด แล้วเอาไอเดียมาคิดคร่อมกรอบกัน

คิดPPCO

1. ข้อดี (Pluses)

2. ข้อดีในอนาคต (Potentials)

3. ติดขัดอะไร (Concern)

4. หาโอกาสหลบเลี่ยงสิ่งที่ติด (Opportunities)

ระบบการบริหารจัดการ Service System

การวิเคราะห์บริการที่คาดหวังกับการให้บริการที่แท้จริง

บริการที่คาดหวัง

1. ปากต่อปาก

2. ความต้องการส่วนบุคคล

3. จากประสบการณ์จริงที่มา

ฝ่ายผู้ให้บริการ

1. รับข้อมูลจากลูกค้า

2. แปลงเป็นนโยบาย

3. สื่อสารสู่ลูกค้า

4. เกิดเป็นความคาดหวัง

5 จากนโยบายส่งมอบบริการ

6. เจอกับบริการที่คาดหวัง

วิเคราะห์ ดูว่าสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่ผู้ให้บริการตรงกันหรือไม่ ถ้าบริการไม่ตรงความคาดหวังจะทำให้เกิดการบิดเบี้ยว ให้ดูว่าเกิดช่องว่างตรงไหน อาทิ

- ความพยายามเข้าใจความคาดหวังลูกค้าผิดพลาดไปหรือไม่ ถ้าใช่แก้ปัญหา

- นโยบายมีข้อจำกัดไม่สามารถดำเนินการตามนั้น ถ้าใช่แก้ปัญหา

- นโยบายถูกแต่คนไปทำนำไปทำผิด ถ้าใช่แก้ปัญหา

- การสื่อสารนโยบายผิดกับลูกค้า บางรายอาจโม้เกินไป

การแสดงความคิดเห็น

1. คิดไปแล้วกลัวคนอื่นไม่ดีมองว่าเป็นอย่างนี้อย่างนั้น

ตอบ เปรียบได้ความคิดดิบ ๆ ที่ได้มา ยังไม่ได้บ่ม ให้เราบ่มก่อนแล้วเอาไปให้คนอื่นรับรู้ เริ่มจากบ่มความคิด้วยตัวเองก่อน

2. การโต้เถียงความคิด

ตอบ ไม่เบ็ดเสร็จ สำหรับบางคนต้องเกิดจากการโต้เถียง บางคนอยู่คนเดียวถนัดในการใช้ความคิดมากกว่า ดังนั้นแล้วแต่บุคคล

3. การสร้างความคิดใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล

ตอบ ที่ไม่เกิดขึ้นเพราะเกิดจากความชาชิน เป็นสิ่งที่คนนอกจะเห็นอะไรได้มากกว่าคนในเป็นธรรมดา ให้ต้อนรับไอเดียจากคนนอก แม้ว่าไอเดียนั้นเป็นไอเดียดิบ ๆ แต่ให้เรามาทำ PPCO แล้วปรับความคิดนั้นให้คร่อมกรอบ ซึ่งในกระบวนการธุรกิจจะเริ่มทำตรงนี้อยู่ เช่น เชิญลูกค้าของแต่ละผลิตภัณฑ์ คิดให้เต็มที่ว่าต้องการอะไร เป็นไอเดียนอกกรอบ และให้คนในองค์กรคิดไอเดียคร่อมกรอบ ซึ่งถ้าทำได้ก็นำมาใช้ได้

ให้ดึงเอาไอเดียจากคนรุ่นใหม่มา บางที่กำหนดเป็นหน้าที่ที่จะต้องคิดไอเดียใหม่ แล้วเรามาบ่มให้เกิดไอเดียคร่อมกรอบ

4. ธรรมชาติติด Comfort Zone จะทำอย่างไรให้ทลาย Comfort Zone

ตอบ บางครั้งชีวิตต้องการความสมดุลและเบื่อสิ่งที่ทำเดิม ๆ ก็จะไปหาสิ่งใหม่ ๆ

5. ติดเรื่องเวลา

ตอบ อะไรเป็นปัญหาเฉพาะหน้าแล้วสร้างสรรค์ รอไม่ได้แก้แบบเดิมไปก่อนเลย สิ่งไหนรอได้อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจว่าทำอย่างเดิม ให้ดูว่าสามารถทำอะไรใหม่ ๆ ได้บ้าง และถ้าทำแล้วคร่อมกรอบได้ก็นำไปใช้ วิธีใหม่เสมือนเป็น On top และถ้าทำแบบนี้ใหม่ ๆ จะเริ่มนำไปใช้

6. มีหลายเรื่องเข้ามา ต้องหาเป้าให้เจอ ให้ลำดับแล้ว Prioritize ให้ได้

ตอบ หลายเรื่องต้องมีการผสมผสานกัน ให้คนคิดนอกกรอบ อีกคนคิดคร่อมกรอบ หลายครั้งอาจหายากในตัวคน ๆ เดียว

สรุป ทุกคนมีเชื้อความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวเอง อยู่แล้ว แม้หลับไปสักพัก แต่สามารถปลุกกลับมาได้

7. อาจารย์มีการประเมินอย่างไร

ตอบ การ Follow up และประเมินผล


Panel Discussion & Workshop

หัวข้อ “3 V & Innovative Project” : โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของคระพยาบาลศาสตร์ ม.อ.” (Problem Based Learning… ภายใต้แนวคิดหลัก : วิเคราะห์อนาคต FON PSU ปี 2020 กับแผนการเตรียมความพร้อม)

โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทกมล

ผศ.กิตติ ชยางคกุล


ผศ.กิตติ ชยางคกุล

โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. และพันธมิตร

โครงการนี้มี 3 Keyword

1. นวัตกรรม

2. คณะพยาบาลศาสตร์

3. พันธมิตร

Keywords

Keywords ที่ได้มาจากการทำ Project และเกิดจากการสะสมในแต่ละปี จะเก็บจาก Project ที่แต่ละคนทำว่าเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงคือ

1. นวัตกรรม

โครงการฯที่เป็นนวัตกรรม การทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้นมา

V1 Value Added มีมูลค่าเพิ่ม

V2 Value Creation มีมูลค่าใหม่

V3 Value Diversity มีความหลากหลาย

2.คณะ พยาบาลศาสตร์ มีเรื่องเกี่ยวข้องอะไรบ้าง

1.อาเซียน

- ต้องมีการมาตรฐานของอาเซียน อย่างเภสัช วิศวกรต้อง Concern เรื่องอาเซียน

- อาเซียนที่เข้ามาสามารถมาเชื่อมโยงกับโครงการฯ ของคณะพยาบาลศาสตร์ได้หรือไม่

- โครงการฯของพยาบาล โดยมีพันธมิตรอื่นมาร่วมด้วย

2. 2R’s

- มองความจริง

- เกี่ยวข้องจริง

- ทำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเราจริง ๆ

3. Strategy

- พยาบาลไปเกี่ยวข้องอะไรกับยุทธศาสตร์ของชาติ

- Aging Society คือ ผู้สูงอายุจะทำอะไรได้ หมายถึงโครงการฯ ต้องไปช่วยให้คนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตได้โดยไม่เป็นภาระของคนอื่น

4. Resources

- ประเมินว่ามีแค่ไหน ทำได้หรือไม่

3. แนวร่วม

- คนในพื้นที่เป็นแนวร่วมกันมีอะไรบ้าง

- Partners ทำให้โครงการนี้มีคุณค่าหรือมูลค่ามากขึ้น

4. โครงการฯ

- สามารถนำไปทำได้จริง เห็นชัด ๆ

- เกิดผลจริง

- วัดผลได้

หลักเกณฑ์การให้คะแนนโครงการฯ

1. ความคิดสร้างสรรค์ เป็นเชิงนวัตกรรมหรือไม่

2. โครงการทำได้หรือไม่ และควรทำหรือไม่

- หาข้อมูลมาสนับสนุน

- ทรัพยากร ประเมินโครงการฯ

- ดู Feedback

3. โครงการฯเอื้อประโยชน์กับทางคณะพยาบาลศาสตร์และ ม.อ.หรือไม่

4. เทคนิคในการนำเสนอโครงการฯ

- วิธีการนำเสนอ

- ประเด็นที่นำเสนอ

- รูปแบบการนำเสนอ / Powerpoint

Project Methodology

1. Where are We?

1. คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. ณ ปัจจุบันเป็นอย่างไร อยู่ตรงไหน กำลังเผชิญอะไร มีจุดอ่อน จุดแข็งคืออะไร และกำลังเผชิญอะไร พันธมิตรเป็นอย่างไร

2 วิเคราะห์ศักยภาพตัวเอง

- SWOT

- มีจุดแข็งอะไรที่ขายได้

- Core Value ค่านิยมองค์กร

- ปัจจัยแทรกแซงทั้งภายนอกและภายใน

3. วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของตัวเอง ปัญหาที่เผชิญ หรืออาจจะเผชิญ

2. Where do we want to go?

- คณะพยาบาลศาสตร์จะไปไหน มีเป้าหมายอะไร

1.วิสัยทัศน์ของคณะพยาบาลศาสตร์และพันธมิตร

2. ต้องการเป็นอะไร อย่างไร

3. เป้าหมายที่ต้องการจะไป

“คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นเลิศทางวิชาการพยาบาลที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ”

3. How to do it?

- จะไปอย่างไรดี

1. แนวทางที่นำไปสู่เป้าหมาย

2. จุดแข็ง และข้อด้อยของแต่ละแนวทาง

3. ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

4. How to do it successfully ?

- การไปตรงนั้นมีตัวแปรที่เป็นอุปสรรคหรือขัดขวางไม่ให้เราไปได้ตรงนั้นหรือไม่

- จะก้าวข้ามอุปสรรคนั้นได้อย่างไร

1. ปัญหาที่จะเป็นอุปสรรคในการดำเนินการตามแนวทางนั้น ๆ

2. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

3. กลยุทธ์ที่จะใช้เพื่อสู่ความสำเร็จ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ปกติการคิดโครงการฯ คิดจากปัญหา และหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อเกิดกระบวนการผลิต กระบวนการบริหารจัดการใหม่ ๆ อะไรที่จับต้องได้ จะเป็นอย่างไร

ตัวอย่าง โครงการการเคหะฯ มีปัญหาเรื่องการเมืองแทรกแซง แต่เราจะนำมาให้เป็นโอกาสได้เป็นอย่างไร

ปรับเปลี่ยนการแก้ปัญหาเดิม ๆ ของการเคหะฯ ปรับแผนจากช่วยแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ปรับสู่แผน Thailand 4.0 แล้วเอาภาควิชาการมารองรับ สังเกตได้ว่านำเศรษฐกิจมารับใช้ชุมชนและสังคม

ตัวอย่าง การรถไฟ เอาที่แปลงหนึ่งให้กรมธนารักษ์เช่า 100 ปี ได้เงินมาซื้อโบกี้การรถไฟใหม่ ทำบริษัทเพิ่ม ปรับขบวนรถไฟใหม่ ถือได้ว่าเป็นอีกตัวอย่างของนวัตกรรม และตอบโจทย์ Where are we? คือในสิ่งที่เรามี

โครงการเชิงนวัตกรรมให้คิดเคลื่อนจากสิ่งที่เรามีเป็นหลัก จุดเด่นของเราเป็นหลัก สิ่งที่อยากฝากไว้คือถ้าไป Thailand 4.0 อย่าลืมคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากเรื่องรายได้ ยังคิดถึงความอยู่รอดได้ด้วย

จะเดินไปไหน คือเป้าหมาย จะไปอย่างไรคือยุทธศาสตร์ที่เราจะมีแนวร่วม

1. Networkวาง Stakeholder ให้ได้ว่ามีตัวละครที่เกี่ยวเนื่องกับเราอย่างไรบ้าง

2. Team ใครทำ ต้องสามารถวัดผลได้

เราจะเอาชนะอุปสรรคอย่างไร

Workshop

ให้แต่ละกลุ่มคิดสิ่งที่ทางกลุ่มคิดว่าน่าสนใจ และเป็นประเด็นที่นำไปต่อยอดได้ 3 เรื่องอันดับแรกคืออะไรแล้วค่อยไปต่อยอดในสิ่งที่ทำต่อในครั้งต่อไป (15 นาที)

หมายเหตุ : สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าไปเจออะไรใหม่ ๆ ให้นำมาเสนอในครั้งต่อไป

กลุ่ม 2 Thai Central Knowledge Center for Age Population (สร้าง และขาย)

ความเป็นมา มองจากวิสัยทัศน์ มองจากนโยบาย Thailand 4.0 ฐานความคิดเศรษฐกิจพอเพียง และนวัตกรรม

ช่วยขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของคณะพยาบาลศาสตร์ และมีการคุยนอกรอบอีกหลายกลุ่ม มีการเรียนการสอน มีกิจกรรมต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาพอสมควร

คิดโครงการพัฒนา Wellness Center for Age population โดยมีจุดเด่น คือมีภูมิปัญญาตะวันออก และวัฒนธรรมไทย มีแพทย์แผนจีน แพทย์ทางเลือก ทางอินเดีย และที่คุ้นเคยในไทยเข้ามา ตั้งชื่อว่า Thai Central Knowledge Center for Age Population

ส่วนที่เป็นกิจกรรมเสริมสามารถใส่เข้ามาดึงดูดได้

Resource คือ ภูมิปัญญาต่าง ๆ มีอะไรบ้าง มีองค์ความรู้ต่าง ๆ มีพันธมิตรที่เป็น Herbal City เป็น Herb and Nutrition ที่คณะพยาบาลศาสตร์ได้รับการพัฒนา บริการให้กับ Age Population และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ช่วยด้านนวัตกรรม มองว่าผู้สูงอายุต้องอยู่ในชุมชนเป็นหลัก และเราจะทำอย่างไรที่จะสนับสนุนความต้องการในชุมชนให้ได้ มีนโยบายสนับสนุนผู้สูงอายุ มี Service Point อยู่ตามชุมชน มีการเรียนการสอน ที่ช่วยสร้างกิจกรรม มีการสนับสนุน Service Center ครบวงจร และเป็น Health Program ที่ทำเป็น Health Tour ได้ ทำโปรแกรมออกในเรื่องสุขภาพและทัวร์ มีเครือข่ายเป็น Tourist Destination ไม่ต้องมีโรงแรมตัวเอง แต่ทำในลักษณะผู้จัดการแล้วสร้างนวัตกรรมขึ้นมา แต่สร้างในลักษณะ Service มี Thai Pharmacy และทำเครือข่ายการแพทย์แผนไทยในการเชื่อมโยง Training Support อยู่แล้ว

ข้อเสนอแนะ

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

1. ศูนย์ที่ทำคืออะไร แล้วมีจุดเด่นที่แตกต่างจากที่อื่นคืออะไร

อาทิ ทำ Wellness Center แต่จะบูรณาการอย่างไร มีการแพทย์ Herb กิจกรรมเกี่ยวข้อง จะทำอย่างไร

2. มีภูมิปัญญาอะไรที่ทำให้มาสนับสนุนให้เราดีที่สุดได้

3. Product ต้องชัด Target ต้องชัด

ขายอะไร ขายสุขภาพ และ target group คือใคร

กลุ่ม 1 ศูนย์รวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาตะวันออก (เก็บ และแบ่งปัน)

ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลเรียนรู้โดยจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดความรู้ที่มีด้านสุขภาพทั้งหมด และวิธีการทั้งหมดในอาเซียนและวิธีการที่ทำ ทำเป็น Package โดยรวมถึงกระบวนการเรียนการสอนสู่สาธารณะ ใช้ระบบดิจิตอล หรือ IT และมองเรื่องการพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจด้วย

ข้อเสนอแนะ

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

1. ไป Review องค์ความรู้คือภูมิปัญญาที่เราสร้างแล้วและมีอยู่คืออะไร

2. จะนำไปต่อยอดอะไร

3. องค์ความรู้มาสร้างให้เกิดมูลค่าได้อย่างไร อาทิ Innovation Center มีองค์ความรู้ที่ออกมาในเชิงพาณิชย์ได้ชัดเจน

กลุ่ม 4 Excellent Healing Training Center สร้างความเป็นเลิศของคณะ ฯ และ Rebrand

ความเป็นมา มีต้นทุนในการมองตนเอง มามองว่าอะไรเด่นหรือไม่เด่น มองเห็นทิศทางยุโรปว่าสนใจภูมิปัญญาตะวันออก ที่อยากซื้อหลักสูตร และใช้บริการทางด้านสุขภา และเรื่อง Training เขาก็น่าสนใจ

มี RU RC คือการเยียวยาทางจิตใจ และทางกาย ถ้ารวมพลังจะทำให้เกิดในจุดนี้มากขึ้น สู่การเผยแพร่ในเรื่อง Training ไปสู่ทางตะวันตกมากขึ้น

จัดทำเป็น Package หลักสูตร ตรี โท เอก ทำเป็น International Center และทำเป็น Exchange และมีจุดแข็งคือ อาจารย์ที่จบจากมหาวิทยาลัยที่หลากหลายขอใช้ศักยภาพเพื่อ Exchange Program ลงเป็น Course Online ของเรา

2. Rebranding ให้เกิดภูมิปัญญาตะวันออก

- Training

- Research Center

- Product

- การเข้าถึงประชาชนให้ได้มากขึ้น มีTraining สำหรับประชาชนหลายรูปแบบ

ทำงานกับโรงพยาบาลเครือข่าย

ข้อเสนอแนะ

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

การจะทำได้ ต้องตอบให้ได้ก่อนว่าเป็นเลิศด้านนี้ จึงอยากทำ ต้องหาให้ได้ว่าเราเป็นเลิศอย่างไร เมื่อได้ความเป็นเลิศชัดเจน แล้ว Line Product จะแตกไปไหนก็ได้ ให้ดูที่ Main stream product คือ Signature คืออะไร

กลุ่ม 3 การสร้างศูนย์สุขภาพผู้สูงวัยที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ความเป็นมาคือมีผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลาย มีด้านผู้สูงอายุ สมุนไพร แพทย์ทางเลือก

แนวคิด คือ มีหลายกิจกรรม มีการพัฒนานวัตกรรมการดูแล มีการเชื่อมโยงเครือข่าย Robotic พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ภายใต้ Culture ของไทย

ยกระดับศูนย์บริการผู้สูงอายุ แล้ว Transformเป็นศูนย์นานาชาติ แล้วขยายไปที่ชุมชน

ข้อเสนอแนะ

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

ต้องไอเดียแยกออกมาชัดเจนและขายออกมาให้ชัด ว่าจะทำอย่างไร

การตรวจสอบการประเด็นการคิดโครงการ ฯ

เราต้องนำหลักการเบื้องต้นไปพัฒนาต่อ ทำไมต้องทำ

1. หลักการและเหตุผล ทำไมเราอยากทำประเด็นนี้ ต้อง Testable คือตรวจสอบได้มีข้อมูลมาสนับสนุนหรือไม่

2. ข้อดี หรือไม่ดีในการเป็นสัญญาณบอกให้เราต้องทำหรือควรทำ

3. ข้อมูลในการสนับสนุนในสิ่งที่เราจะทำ จะเก็บมาจากไหน มีนโยบายสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่เราทำเป็นเสมือนการฝึกปฏิบัติการกลุ่ม คนที่มีความคิดที่แยกกัน เราจะทำอย่างไรให้ตกผลึกได้ ให้ร่วมคัดสรรประเด็น ออกแบบวิจัยขั้นต้น เก็บข้อมูลสนับสนุน มีข้อมูลเชิงคุณภาพ อาทิIn-dept Interview หรือเชิงปริมาณ ออกแบบสอบถาม

วันนี้เป็นเพียงแค่แนวคิดตั้งต้น สามารถคิด Cross กันได้ และเมื่อได้ความรู้จากวิทยากรที่มาบรรยายเพิ่มขึ้น อาจค่อย ๆ เปลี่ยนโครงการฯได้

การตั้งต้น จะนำมาสู่การคลี่คลาย และต่อยอดได้ แต่ขอไม่ต้องคิดใหม่ทั้ง 4 ครั้ง

Workshop เป็นแค่กระบวนการที่นำไปสู่ความสำเร็จ

-------

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/28413
ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 หน้า 5


http://www.gotoknow.org/posts/626196
ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 20 มีนาคม – 3 เมษายน 2560


http://www.gotoknow.org/posts/628017
ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 27 เมษายน – 11 พฤษภาคม 2560


https://youtu.be/g0dkhclgGpE

ที่มา: รายการ: คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ. ตอน: กิจกรรมเพื่อสังคมสร้างสรรค์..จากห้องเรียนผู้นำที่คณะพยาบาลศาสตร์
ม.อ. ออกอากาศ: วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2560 เวลา 21.00 – 21.30 น. สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks


http://www.naewna.com/politic/columnist/29979

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2560 หน้า 5

#โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่1

#PSUNurse1

หมายเลขบันทึก: 623793เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2017 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2017 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
ผศ.ดร. สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ

เป็นโครงการอบรมที่ดีมากคะ ประสบการณ์ที่ได้รับและประทับใจ ในวันที่ 19 ก.พ. 60 คือ

1) ได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดการปลูก และเก็บเกี่ยวในการพัฒนาบุคลากร

2) กระบวนการพัฒนาตนเองนั้นต้องเริ่มต้นที่ การค้นหาตนเอง การวิเคราะห์ตนเอง....การสร้างพันธมิตร ทีมงาน.....วิถีการเรียนรู้ learning strategies........เมื่อทำงานนั้นๆสำเร็จแล้ว อย่าหยุด ต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยๆคะ

3) Human capial: Learning methodology, environment, opportunities, communities

4) แนวคิดของ mindset ของแต่ละบุคคล เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนในองค์กร ซึ่งต้องคำนึงถึงในการบริหารงานบุคคลและการพัฒนาบุคลากร

ผศ.ดร. สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ

สิ่งที่ประทับใจในการเรียนรู้จากการเข้ารับการอบรมในวันที่ 21 ก.พ. คือ คุณค่าของบุคคลที่เราได้มองเห็นนั้นเป็นเพียงบางส่วนที่แต่ละคนมองเห็นเหมือนกับส่วนของก้อนน้ำแข็งที่โผล่เหนือระดับน้ำเท่านั้น ยังมีคุณค่าอื่นๆที่คนบางคนยังไม่ได้มองหรือมองไม่เห็นอีกด้วย

เกมส์การอยู่กับอนาคต ปัจจุบัน และอดีตโดยการนั่งทับกันนั้นมองเห็นเปรียบเทียบได้ชัดเจนมาก

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 19 ก.พ. 60

การได้รับทราบเป้าหมายที่ชัดเจน รวมถึงแผนการเดินทางไปถึงเป้าหมาย ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้

การทราบถึงประวัติศาสตร์จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในที่มาของความคิดและเกิดความ appreciation ตลอดจนความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ของตนเอง ดังนั้นในฐานะที่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ควรได้ช่วยสร้างความรู้สึกเช่นนี้ให้กับนักศึกษาพยาบาลผ่านการวิเคราะห์รากเหง้าของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับนักศึกษาของเราโดยต้องทำทุกครั้งที่มีโอกาส

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 20 ก.พ.60

คนทุกคนล้วนมีคุณค่าของตนเอง และประเด็นคือ เรามักไม่มั่นใจ หรือไม่แน่ใจในคุณค่าที่มีอยู่ ตลอดจนไม่กล้าที่จะแสดงคุณค่าให้คนอื่นทราบ ประเด็นสำคัญที่ชวนคิดต่อจากการได้ฟังเรื่องการทำงานเป็นทีม คือ ทำอย่างไรให้ทุกคนได้เปิดเผยคุณค่าของตนเองอย่างมั่นใจ เพื่อที่จะได้ช่วยกันหาที่อยู่หรือโอกาสให้แต่ละคนได้เข้ามาร่วมทำงานเพื่อเป้าหมายของคณะพยาบาลต่อไป

การเปลี่ยนแปลงตัวเองเพียงเล็กน้อย แต่ด้วยความเข้าใจสิ่งที่ต้องเปลี่ยน จะทำให้เราสามารถเปลี่ยน look ของตัวเองได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ขอบคุณประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีงามสำหรับสองวันนี้

วันดี

Day 1 Orientation

ในวันแรกช่วงเช้า มีการปฐมนิเทศหลักสูตรอบรมผู้บริหาร ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกสนใจและต้องการเข้าร่วมติดตามมาก มีวิธีการนำเสนอ สรุปแก่นในการพูด และอธิบายให้เห็นตารางการวางแผนและเป้าหมายของหลักสูตรที่ผู้เรียนต้องทำพันธะสัญญากับตนเองอย่างชัดเจน มีวิธีการ และใช้วิทยากรหลากหลาย รวมทั้งแนะนำหนังสือดีๆที่ควรอ่าน

ช่วงบ่าย เป็นการให้ความรู้พื้นฐานของทุนมนุษย์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนไปสู่อนาคตและต้องการการบริหารอย่างมีกลยุทธ์ เพื่อการตอบสนองและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกที่มีความซับซ้อน สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ ทฤษฎี 8K +5 K ที่วิทยากรพูดถึง รวมทั้งการทำให้เกิดความสำเร็จและยั่งยืน ด้วยการปลูก เก็บเกี่ยวและบริหารจัดการอย่างมีกลยุทธ์ โดยให้ความสำคัญกับคน และใช้กระบวนการที่มีศีลปะ พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว กล้าตัดสินใจและก้าวข้าม เพื่อขับเคลื่อนองค์กรแบบก้าวกระโดด

Day2

ช่วงเช้า เรียนรู้ศาสตร์ของพระราชา เป็นครั้งแรกที่เข้าใจอย่างถ่องแท้และรู้สึกประทับใจกับวิทยากรมากที่สามารถถ่ายทอดได้อย่างซาบซึ้ง ทำให้สะท้อนและวิเคราะห์ทฤษฎีของพระราชาเพื่อปรับใช้กับตนเอง สู่การนำไปใช้ประโยชน์ของการใช้ชีวิตที่สมดุลย์ทั้งกายและใจ และสอดคล้องกับคติประจำใจของตนเองที่มีก่อนเรียนว่า “ทำดีทุกวัน และบริหารใจให้เป็นสุข” แต่เท่านั้นยังไม่พอ หลังเรียนศาสตร์พระราชา ต้องเพิ่มว่า “ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน และให้คุณค่ากับสิ่งที่ทำ” เพื่อการซึมซับไปสู่พฤติกรรมใหม่ และสิ่งที่เกิดใหม่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม อย่างน้อยเป็นนวัตกรรมภายในตน เพราะมีการบ่มเพาะใจ กาย สมองและกลายเป็นวัฒนธรรม นั่นคือวิถีชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิม หรือดีขึ้น ทั้งหมดต้องเริ่มจากตนเองก่อน เพราะหากเราเปลี่ยนตนเองไม่ได้ก็ยากที่จะเปลี่ยนคนอื่นหรือให้คนอื่นตามเรา “เพียงคิดก็ยิ่งใหญ่ หากลงมือทำนั่นคือยิ่งใหญ่กว่า” บทบาทของอาจารย์คือต้องปลูกฝังและถ่ายทอดให้นักศึกษาในเรื่องศาตร์พระราชาและต้องประยุกต์ใช้ในสังคม นอกจากนี้ ยังเกิดโจทย์สำคัญในการทำงานว่าจะใช้กลยุทธ์อย่างไรในการให้คนอื่นทำตามเราหรือเป้าหมายองค์กรได้อย่างมีศิลปะ

ช่วงบ่าย เป็นช่วงเวลาที่สนุกกับการมองคนอื่นและการเปลี่ยนตนเอง คิดว่าการเปลี่ยน look ตนเอง ทำได้ไม่ยาก เพียงแต่จะมีความกล้าหรือไม่ เพียงปรับการแต่งกาย ก็กลายเป็นคนใหม่แล้ว น่าสนใจตรงที่การแต่งกายที่พิถีพิถันอีกนิดสามารถเสริมบุคลิกภาพได้ โดยไม่ต้องลงทุนหรือออกแรงมาก เพียงแต่เราจะกล้าหรือให้ความสำคัญในการดูแลตนเองหรือไม่เท่านั้น แต่มีความเชื่อว่า เมื่อเปลี่ยนแล้วดูดีขึ้น ทุกคนเปลี่ยนแน่นอนเพราะภาพลักษณ์ของสังคมไทยยังยึดติดที่ภายนอกมากกว่าภายใน อย่างน้อยเห็นไดจากวิทยากร ซึ่งอายุ 65 แต่ look เหมือน 45 ดังนั้นทุกคนเปลี่ยนเถิด เชียร์และ ขอบคุณวิทยากรมากๆที่ช่วยให้คณะ will have a new look คะ

21 ก.พ. 2560

วันนี้เป็นวันที่ 3 แห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เป็นอีกวันหนึ่งของการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา ขอบคุณท่านอ.ศรันย์ที่ทำให้เราได้มีโอกาสออกนอกกรอบไปบ้าง แม้จะยากลำบากและใช้เวลาไม่น้อย แต่อย่างน้อยอาจารย์ได้ให้แนวทางแก่พวกเราในการที่จะออกนอกทิศทางที่ทำๆกันอยู่ว่า เราทำได้ เพียงแต่เราต้องกล้าที่จะยอมรับความคิดแรกโดยไม่สลัดทิ้งไปตั้งแต่ไม่ได้เริ่มชก

PPCO เป็นคำที่ดูแล้วง่ายๆ แต่ต้องการการฝึกฝน หากเราปล่ยใจให้ว่าง ไม่ต้องกังวล สลัดเรื่องเสียหน้า อาย ทำไม่ได้ออกไป เราน่าจะคิดอะไรใหม่ๆได้บ้างนะคะ

ทั้งสามวันที่ผ่านมาเป็นบทเรียนที่ทำให้เราต้องกลับมาคิดวิเคราะห์ตัวเองใหม่อย่างจริงจัง และพร้อมจะเปลี่ยนแปลง หากต้องการให้เกิด คงต้องเริ่มฝึกตั้งแต่วันนี้ คงต้องหาโอกาสที่จะนำความรู้เหล่านี้มาใช้เมื่อมีโอกาส และรอเอามาปะทะกับน้องๆในกลุ่มอีกสองสัปดาห์ถัดไป

วันดี


19 ก.พ. 60 (day 1)

เริ่มต้นด้วย การปฐมนิเทศ จากทีมวิทยากร และผู้ที่เคยเข้าร่วมอบรม หลังการฟังทำให้เกิดแรงบันดาลใจ อยากเรียนรู้และติดตามโครงการอบรมนี้ ภาคบ่ายได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ทุนมนุษย์-mindset-leadership ทฤษฎีทุน 8K’s 5K’s ทฤษฎี 3 วงกลม ในบรรดาทุนทั้งหมด ทุนมนุษย์เป็นทุนที่สำคัญเป็นหัวใจของการพัฒนาองค์กร ซึ่งองค์กรจะพัฒนาได้บุคคลในองค์กร (ทุนมนุษย์) ต้องมีคุณภาพ ต้องมี growth mindset ซึ่งต้อง มีการปลูก การเก็บเกี่ยว และต้องลงมือทำให้สำเร็จ โดยใช้หลักทฤษฎี 3 วงกลม ปิดท้ายวันด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบิดา ผู้นำต้นแบบและผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง รู้สึกซาบซึ้งในสิ่งที่พระองค์ท่านทำให้กับประเทศไทยและคนไทย

20 ก.พ. 60 (day 2)

เป็นอีกหนึ่งวันที่รู้สึกสนุกกับการเรียน วิทยากรถ่ายทอดบทเรียนได้สนุก น่าสนใจ ชวนติดตาม ช่วงเช้าได้เรียนรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชา ทำให้มีความเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้น มองเห็นภาพของการนำใช้ศาสตร์พระราชา ทำให้รู้ว่าศาสตร์ของพระราชา เป็นศาสตร์ที่ทันสมัยสามารถนำมาใช้ได้ในทุกเรื่องทั้งเล็กและใหญ่ ทุกระดับทั้งระดับบุคคล หน่วยงาน ช่วงบ่ายได้ค้นหาคุณค่าของตนเอง คุณค่าของผู้อื่น และได้ลองวิเคราะห์ว่าคุณค่าของตนเองสามารถว่าสวมเข้ากับคุณค่าขององค์กรหรือไม่ (CARE) ทำให้คิดต่อว่าได้ใช้ความมีคุณค่าของตนเองให้เกิดประโยชน์กับองค์กรแล้วหรือยัง และจะใช้คุณค่าของคนในองค์กรให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร ได้เรียนรู้หลักการสร้างทีม ที่ต้องคำนึงถึงการได้รับประโยชน์ร่วมกัน สอดคล้องกับความต้องการ บนพื้นฐานของความยุติธรรม และหลักการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย คือ ง่าย รวดเร็ว ใหม่ ใหญ่ ยั่งยืน มีความสุข ได้ค้นพบ Key success หรือหัวใจของการพัฒนาอีก 1 ปัจจัย คือ ความยั่งยืน จะทำอะไรก็ตามไม่ใช่เพียงเพื่อผลสำเร็จ แต่ต้องให้เกิดความยั่งยืนด้วย บทเรียนสุดท้ายของวัน คือ การเรียนรู้และฝึกการพัฒนาบุคลิกภาพและการเข้าสังคม มีหลายอย่างที่ไม่ได้ให้ความสำคัญหรือมองข้ามไป แต่จริงๆแล้วเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพัฒนาให้เกิด เพื่อให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจ การเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้ภาพลักษณ์ของคนดีขึ้นได้

21 ก.พ.60 (day 3)

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการคิดคร่อมกรอบ ซึ่งเป็นอะไรที่สนใจและอยากมี อยากเป็น แต่รับรู้ว่าตนเองไม่มี และเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำให้เกิดขึ้น คิดว่าเป็นพรสวรรค์ของคน แต่วิทยากรก็ได้มีการสอนและให้ลองฝึกการคิดคร่อมกรอบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้หลัก PPCO (potential - pulse - concern –opportunity) ทำให้เปลี่ยนความคิดใหม่ว่าความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เป็นพรสวรรค์อย่างเดียว แต่เป็นพรแสวงที่สามารถสร้างได้ โดยต้องมีการฝึกฝน ต้องกล้าคิด การมีความคิดสร้างสรรค์จะทำให้สามารถสร้างสิ่งใหม่ๆที่แตกต่างและทันต่อการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรได้

ขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่กรุณาถ่ายทอดความรู้และจุดประกายความคิดใหม่ๆเพื่อนำไปสู่การปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา

เนื่องจกายังติดใจเรื่องการคิดคร่อมกรอบตามลักษณะบุคคล ได้เข้าไปค้นดูในเวบของอ.ศรัณย์ เลยได้ความรู้เพิ่มเติมว่า เราไม่จำเป็นต้องอยู่ในจุดที่เราเป็น หากเรามองว่าเราควรเปลี่ยนแปลง ให้ลองมองรหัสที่ตัวเองได้ แล้วดูว่าจะเปลี่ยนตัวไหนได้บ้าง เพื่อเปลี่ยนตัวเองจากนัก... เป็นอีกนัก.... เพื่อการคิดสร้างสรรค์ที่แปลกออกไป เช่นตัวพี่ เป็นนักประพันธ์ พบว่ารหัสจะเป็น ISFP หากจะพัฒนาตนเองเป็นนักนำทาง อาจต้องพยายามเปลี่ยน I มาเป็น E ให้มากขึ้น คือพยายามเข้าร่วมการแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่ม และนำเสนอความเห็นต่อกลุ่มให้มากขึ้น อย่าไปคิดคนเดียว น่าสนใจนะคะ หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเราเอง


บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์

สะท้อนคิดและข้อคิดเห็น โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตฯ รุ่นที่ 1 ครั้งที่ 1 เรียนรู้เมื่อวันที่ 19, 20, 21 กพ.60

ช่วงที่ 1 วันที่ 19-21 กพ.60

วันที่ 1: 19 กพ.60

วิชาที่ 1 เป็นการปฐมนิเทศที่ละเอียดมาก รวมทั้งหมด 20 วัน ฟังแล้ว บางส่วน ยังนึกภาพไม่ออก และจำไม่ได้ ต่อเมื่อได้เรียนรู้จริง จึงจะนึกภาพออก

วิชาที่ 2 ทุนมนุษย์-mindset-leadershipฯ

หัวข้อนี้มีความหลากหลายของวิทยากร เข้ากับคำที่ ศ.ดร.จีระฯ ชอบกล่าวว่า ต้องมี diversity ถึงจะเพิ่มคุณค่า จึงจัดให้มีการอภิปรายจากหลายมุมมอง มีทั้ง Macro-micro, miniresearch, minitheisi, มีหัวใจ 4 ข้อ คือ ปลูก เก็บเกี่ยว ทำให้สำเร็จและการเพิ่มมูลค่าและคุณค่า happy at work (not happy workplace), 8 Ks & 5 Ks, ในแต่ละ session มีการทำแบบฝึกหัด ฝึกปรือสมอง การทำงานเป็นทีม กลุ่ม การสื่อสารและสะท้อนคิด การแบ่งกลุ่มทำงานก็มีความหลากหลายจากหลายวงการ ทำให้สามารถระดมสมอง ความคิด ที่หลากหลายได้

ผู้เรียนมีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามที่ว่า "mindset ทัศนคติ อุปนิสัยและความเชื่อ อย่างไหนเกิดก่อน-หลัง" ในความคิดเห็นส่วนตัว "น่าจะเป็น dynamics คือ ความเชื่อ ทัศนคติ mindset แล้วจึงเกิดอุปนิสัยตามมา เพราะความเชื่อ ทัศนคติสามารถปรับเปลี่ยนได้ mindset เป็นกระบวนการ ก็ปรับเปลี่ยนได้ การเกิด mindset ได้ ต้องอาศัย ความเชื่อและทัศนคติใหม่ๆที่เกิดขึ้นด้วย ไม่ได้มาจาก mind อย่างเดียว"

วิชาที่ 3 หัวข้อ พระบิดาฯ

ในช่วงเย็น อ.พิชญ์ภูรีได้มีการบรรยายหัวข้อ พระบิดาฯ หัวข้อนี้ ได้เห็นถึงการเตรียมการบรรยายเป็นอย่างดีของอาจารย์ มีการเล่าเรื่องราว เรียงลำดับเวลา เชื่อมโยง ให้เข้าใจ และที่สำคัญ เน้นให้เห็นถึงความเป็นมาและความสำคัญของพระอนุสาส์นที่ว่า "ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์" และเห็นที่มาของการเกิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่เป็นประโยชน์และถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก

วันที่ 2: 20 กพ.60

วิชาที่ 4 Leadership & teamwork

รศ.ดร.เฉลิมพลฯ ได้กล่าวถึงศาสตร์ของพระราชา ผู้นำหรือคนยิ่งใหญ่ ต้องทำตัวโน้มลงสู่ดิน มีการสรุปแนวคิดการปกครองของพระราชา ตั้งแต่ พ.ศ. 2495-2514 ยุคปากท้องอิ่ม พึ่งพาตนเอง ในเรื่อง ดิน (หญ้าแฝก) น้ำ (เขื่อน ฝาย ฝนหลวง) ป่า (ป่ายาง ป่าเปียก) พ.ศ. 2515-2534 เติบโตร่วมกัน 4 น้ำ 3 รส เป็นทฤษฎีใหม่ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) พ.ศ. 2535-2554 พัฒนาคน พัฒนาปัญญา พอเพียง พออยู่ พอกิน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ความเพียร พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน ยั่งยืนสู่ความว่าง รู้รัก สามัคคี ความเมตตา ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด นอกจากนี้ ยังกล่าวถึง "เปลี่ยนกรอบความคิด พลิกชีวิตด้วยปัญญา" โดยให้คำ 4 คำ คือ ครก รถไถ ภัยแล้ง ความสุข แล้วให้กลุ่มคิดว่าจะแต่งเรื่องราวอย่างไรที่จะทำให้สร้างความสุขที่ยั่งยืนได้ ความสำเร็จที่เกิดจะต้อง ง่าย ไว ใหม่ ใหญ่ ยั่งยืนและมีความสุข

วิชาที่ 5 Personality & Social skills development

วิชานี้ สอนโดยอ.ณภัสวรรณ ทำให้ผู้เรียนได้รู้จักตัวตนและบุคลิกภาพของตนเอง แต่ด้วยความเป็นวิชาชีพ มีภาระงานที่ต้องทำมาก ทำให้เราไม่สามารถดูแลตนเอง แต่งตัวให้เนี๊ยบได้ตลอดเวลา session นี้ จึงมีความสนุก ได้หัวเราะ ตลอดเวลา

วันที่ 3: 21 กพ.60

วิชาที่ 6 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ฯ และวิชาที่ 7 Service mind-Service at heart

หัวข้อนี้ สอนโดยอ.ศรัณย์ฯ กรรมการผู้จัดการริษัท กบเหลาดินสอ จำกัด วิชาชีพของอาจารย์ สมกับ ชื่อของบริษัท นั่นคือ กบเหลาดินสอ ทำให้ ดินสอแหลมคม สามารถใช้เขียนได้ เปรียบเสมือน อาจารย์ เป็นผู้ให้ความรู้ กระตุ้นปัญญาผู้เรียนให้ได้คิด ทำให้หลักแหลมมากขึ้น พร้อมในการทำโครงการนวัตกรรม ซึ่งเป็นงานที่ต้องทำในหลักสูตรนี้ อาจารย์มีวิธีการสอนแบบ active learning ตลอดเวลาและสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมของทุกกลุ่มเข้าด้วยกัน ให้เป็นเรื่องเดียวกันที่ต่อเนื่องกันได้โดยไม่เบื่อ โดยให้หลักการว่า ฟัง คิด ค้น และใช้ theme ที่ว่า Moment of the Truth: before, beginning, during, ending, and after แล้ให้ตอบคำถามว่า เราจะเป็นผู้บริหารโรงพยาบาลประเภทใด แผนกใด แล้วอยากได้ยินว่า ผู้รับบริการพูดในแง่พยาบาลให้บริการเป็นอย่างไร มากที่สุด นอกจากนี้ ยังพูดถึงเรื่อง 5 คุณค่าของงานบริการ (SERQUAL DIMENSIONS) คือ กระตือรือร้น มีความสามารถ ไว้เนื้อเชื่อใจ เห็นอกเห็นใจ รู้สึกเห็นคุณค่า ส่วนการคิดคร่อมกรอบ คิดนอกกรอบ มี 4 ขั้นตอน คือ คิดข้อดี (pluses) คิดถึงข้อดีในอนาคต (potentials) ติดกรอบ/กังวลอะไร (concerns) และหลบ เลี่ยง ทะลุ (opportunities) เน้นให้เห็นว่า คนทุกคนในทีม มีความสำคัญทั้งนั้น มีความหลากหลาย คิดต่าง ต่างคน ต่างบทบาท โดยมีรหัสบอกลักษณะคน คือ รหัส E/I, S/N, T/F, J/P สำหรับการบริการที่คาดหวัง จะได้ดีเพียงใด ขึ้นกับ ความเข้าใจในความคาดหวังของลูกค้า การแปลงเป็นนโยบายบริการ การส่งมอบบริการ การสื่อสารสู่ลูกค้า สามารถประเมินได้จากปากต่อปาก ว่าพูดอย่างไร

วิชาที่ 8 3V & Innovative project

หัวข้อนี้ เรียนรู้แนวคิดทฤษฎี 3 Vs (value added, value creativity, value diversity) วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน มองตัวเอง (Where are we?) เป้าหมาย มองอนาคต (Where do we want to go?) มองแนวทาง (How to do it?) มองความสำเร็จ (How to do it successfully?) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของคณะพยาบาลศาสตร์ มอ. ซึ่งวิทยาการมีหลากหลายได้ปูพื้น ให้แนวคิด ตัวอย่างจากรุ่นก่อนๆ โดยมี key words คือ innovations (3 Vs-value added, value creativity, value diversity) ต้อง serve วิสัยทัศน์ พันธกิจของคณะฯ (คือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นเลิศทางวิชาการพยาบาลที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ) และมหาวิทยาลัย ต้อง diversity หลากหลายสาขา, real, relevant, interesting, practical, execution, impact and measurable

ก่อนจบ session ที่ 1 รวม 3 วันแรกที่อบรม อาจารย์ศ.ดร.จีระฯ และทีม มีการให้การบ้านกลุ่มไปทำ 2 สัปดาห์ แล้วนำมานำเสนอในวันที่ 9 มีค.60 การบ้านที่ให้ทำ คือ 1) ทำการบ้านใน blog ของอาจารย์ 2) อ่านหนังสือ humanize และ 3) คิดหัวข้อ หาข้อมูล เขียนความเป็นมาของปัญหาของโครงการเชิงนวัตกรรม

สรุป ผ่านการอบรม 3 วัน ได้อะไรเยอะมากค่ะ ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ทุ่มเทให้ ขอบคุณคณะฯ ที่สนับสนุนให้มีโครงการอบรมฯนี้และให้เข้าร่วมรับการพัฒนา


สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 19 กพ. 2560

การปฐมนิเทศในรูปแบบที่แปลกใหม่ มีวิทยากรหลายท่านมาช่วยกระตุ้นความอยากเรียนรู้ในตัวเราให้เผยออกมา ความรู้สึกในตอนนั้นคงไม่ต่างจาก ผศ.ดร.กัญญนัช กนกวิรุฬห์ ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายการศึกษา แพทยศาสตร์ศึกษา ม.อ. ที่ได้สะท้อนย้อนรอยความรู้สึกวันแรกของการเข้ารับการอบรม ขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่จะมาช่วยทำให้เกิด value added ในตัวผู้เข้ารับการอบรม

หัวข้อทุนมนุษย์-Mindset-Leadership และทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ หัวข้อนี้ได้ฝึกปรือวิทยายุทธ์กันโดยผ่านการทำ workshop based on theory การเรียนรู้ที่ได้พร้อมนำเสนอด้วยความเข้าใจ

หัวข้อ “พระบิดา ผู้นำต้นแบบและผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง” ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ลึกซึ้ง พระราชประวัติที่ทรงคุณค่า และพระราชปณิธานที่ทรงเป็นต้นแบบในการปฏิบัติ

วันที่ 20 กพ. 2560

“Leadership & Teamwork” เป็นหัวข้อที่คึกคักมาก ตื่นตัวตลอด 3 ชั่วโมง วิทยากรมีวิธีการให้ค้นพบตัวเองและแนะนำให้ไปให้ถึงซึ่งความเป็นผู้นำที่ดี ช่วงบ่ายตื่นเต้น คึกคักไม่แพ้กัน วิทยากรช่วยในการพัฒนาบุคลิกภาพ การเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น ได้รับความรู้มากๆ ในสิ่งที่เรามองข้ามหรือไม่ได้ให้ความสำคัญ แต่จริงๆ สำคัญ

วันที่ 21 กพ. 2560

ความคิดสร้างสรรค์และการคิดคร่อมกรอบ ไม่เคยคิดว่าจะสามารถทำได้ วิทยากรสอนด้วยหลักการที่ง่ายๆ และชี้ให้เห็นว่าสิ่งนี้มีอยู่ในทุกคน แต่เรายังไม่รู้จึงไม่เอามันออกมาใช้ ขอบคุณความสนุก ความเป็นกันเอง แรงบันดาลใจ ที่ช่วยให้ผู้เข้าอบรมเข้าถึง “ความคิดสร้างสรรค์และการคิดคร่อมกรอบ” ความคิดดิบๆ ความคิดบ้าบิ่น ความคิดแย่ๆ ทั้งหลายต่อไปนี้มีคุณค่า อย่าโยนมันทิ้งอีกต่อไป

จบการอบรมช่วงที่ 1 ด้วยความสุข ได้หนังสือมาอ่าน 2 เล่ม ขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่มาปลุกเร้าความอยากเรียนรู้ ให้แรงบันดาลใจ ขอบคุณท่านคณบดีที่จัดหาโครงการดีๆ และให้โอกาสในการเรียนรู้

ฉัตรชัย วัฒนาภิรมย์สกุล

ขอส่งรายงานครับ

วิชาที่ 1-2 ปฐมนิเทศและทรัพยากรมนุษย์

จากการได้เข้าอบรมและศึกษาทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทุนหรือทรัพยากร ทำให้ตระหนักว่าทรัพยากรที่สำคัญมากชนิดหนึ่งคือทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ผู้นำหรือฝ่ายพัฒนาบุคลากรต้องดูแล หากมีทรัพยากรมนุษย์ที่ดีมีคุณภาพโอกาสที่จะดำเนินกิจการขององค์กรก็จะประสบความสำเร็จ หากจะนึกถึงเหตุการณ์ในอดีตก็ทำให้นึกถึง รศ. ดร. ปิติ ทฤษฎิคุณ ผู้ที่ผลักดันให้อาจารย์ในคณะเภสัชฯ ให้มีคุณวุฒิสูงขึ้นรวมทั้งการส่งเสริมให้ไปเรียนปริญญาเอกในต่างประเทศ โดยส่วนตัวก็ตระหนักดีว่าหากเราดูแลผู้ร่วมงานดีก็สามารถเดินไปข้างหน้าพร้อมกันได้อย่างดี และหากมีปัญหาก็ช่วยกันแก้ไข

วิชาที่ 3 พระบิดา

ในความรู้สึกส่วนตัวก็ศรัทธาพระบิดาแต่ดั้งเดิม รวมทั้งพระอนุสาส์นก็พระองค์ที่กล่าวว่า

“ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง

ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง

ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์”

เพราะการได้ปฏิบัติงานให้แก่ผู้อื่นอย่างน้อยเราก็ได้ความสุขใจ และการเป็นอาจารย์ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาและอาจารย์แหล่งฝึกทำให้มีโอกาสที่จะได้ทำงานเพื่อส่วนรวมเป็นระยะๆ ยกตัวอย่างเช่นกลุ่มวิชาชีพที่ปฏิบัติงานต้องการรวมกลุ่มเพื่อจะจัดกิจกรรมวิชาการเพื่อส่งเสริมสมาชิกภายในกลุ่มก็ได้รวมทีมขึ้นมาและขอให้อาจารย์ร่วมทีมด้วย จากการรวมกลุ่มก็ได้มีการวางตัวประธานและคนทำงานฝ่ายต่างๆ และประธานมองหาเลขา โดยส่วนตัวผู้เล่ามักเป็นกรรมการหรือประธานในที่ประชุม แต่เมื่อสังเกตในทีมแล้วดูจะไม่มีใครอาสาเป็นเลขา เลยอาสาเป็นเลขาเอง และทำงานเลขาโดยให้ประธานตรวจสอบรายงาน และสรุปรายงานให้กับทีมทำได้แค่ 2 ครั้งผู้เล่าก็ได้ย้ายที่ทำงานก็ต้องลาจากกลุ่มและตำแหน่งเลขา ในแวลาต่อมาพบว่ากลุ่มนี้ได้มีความเข้มแข็งและจัดประชุมวิชาการต่อเนื่องทั้งปีติดต่อมาหลายปี เมื่อมองย้อนกลับไปก็รู้สึกอิ่มใจที่เราได้มีส่วนร่วมเล็กๆ

วิชาที่ 4 Leadership and teamwork

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากอ. เฉลิมพลคือ การเติบโตร่วมกันและไม่ทิ้งคนข้างหลัง ชั่งเป็นคำเตือนที่ดีที่ผู้นำควรจดจำและหากนำไปใช้และมีการพัฒนาคนทั้งทักษะและปัญญาก็จะสามารถทำให้เราทำงานกันเป็นทีมได้อย่างดี และสิ่งที่สำคัญที่อ. เฉลิมพลได้สอนอีกอย่างคือการดูแลจิตตัวเองไม่ให้กระเพื่อม อันนี้เห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง หากเรามีสิ่งที่มากระทบแล้วทำให้โกรธและหงุดหงิด จะทำให้เราแก้ปัญหาด้วยความขุ่นมัว แต่หากเรานิ่งตั้งสติวิเคราะห์ถึงปัญหา โดยแยกแยะจากวิธีการสื่อสารอาจทำให้เราพบปัญหาหรือความต้องการที่แท้จริง เหมือนวันหนึ่งผมโดยอาจารย์รุ่นพี่มาต่อว่าว่า ไม่ทำอะไรหรือไม่ร่วมช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาให้กับอดีตบุคลากรของภาควิชาเลยหรือ โดยอาจารย์รุ่นพี่เข้ามาถึงก็ใช้คำว่าวีนได้เลย ผมก็ถามว่าพี่ต้องการให้ผมทำอะไร แกบอกไม่รู้ล่ะ แต่ต้องทำอะไรซักอย่าง ผมพยายามถาม เพราะว่าจริงๆแล้วไม่แน่ใจว่าทางอดีตบุคลากรต้องการความช่วยเหลือจากเราหรือเปล่า โดยสรุปผมก็เลยคิดได้ว่าเราต้องทราบความต้องการจากเขาก่อนเลยให้บุคลากรในภาคที่สนิทติดต่อไปถามภรรยาท่าน แต่ท้ายที่สุดก็ไม่มีคำตอบ ส่วนอาจารย์รุ่นพี่ก็บอกว่าหากรู้ว่าต้องการอะไรก็บอกด้วยน่ะ เรื่องก็จบ หากแต่ว่าก่อนหน้านี้ทางภาควิชาฯ ก็ติดต่อ เยี่ยมเยียน และช่วยเหลือ อดีตบุคลกรผู้นี้ เป็นระยะๆ อยู่แล้ว

วิชาที่ 5 Personality and Social skills Development

ชอบที่อาจารย์ณภัสวรรณ สอนเพราะเป็นอะไรที่สงสัยอยู่แล้ว เช่น ผูกเนคไทยาวแค่ไหนจึงเหมาะสม อาจารย์ก็แนะนำได้ตรงใจเมื่อนำไปปรับใช้ก็มั่นใจ นอกจากนี้การแนะนำเกี่ยวกับการไปเยี่ยมบ้านผู้ใหญ่ คนก็รู้สึกดีเพราะว่ามีโอกาสได้ใช้อยู่บ้าง นอกจากนี้การแนะนำการแต่งกายรวมทั้งเครื่องใช้ทำให้เรามั่นใจที่จะเลือกใช้สิ่งของที่เหมาะสม แม้กระทั่งเรื่องพื้นฐานเรื่องติดกระดุมสูทอย่างไรจึงเหมาะสม

วิชาที่ 6-7 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการคิดคร่อมกรอบ และ Service mind

วิชานี้ได้จากการทำกิจกรรมซะเป็นส่วนใหญ่ แล้วอ. ศรัณย์ แทรกทฤษฎีเป็นระยะๆ ชอบคำว่าความคิดคร่อมกรอบ เพราะหากนอกกรอบไปเลยกลัวว่าจะลงเหวและนำมาใช้ไม่ได้ แต่ถ้าคิดนอกกรอบแล้วนำมาบ่มก็จะได้ความคิดใหม่ๆ ที่นำมาใช้ได้อย่างมหัศจรรย์

วิชาที่ 8 โครงการเชิงนวัตกรรม

ต้องยอมรับว่าในขณะที่ผู้เขียนเคยทำโครงการด้านวิทยาศาสตร์มาก็เยอะหากแต่อาจารย์จิระมาอารัมภบทถึงหลักการเชิงนวัตกรรมและตบท้ายด้วยอาจารย์กิตติ โดยความช่วยเหลือของอาจารย์พิชญ์ภูรีทำให้มามองได้ว่าโครงการเหล่านี้สามารถใช้เป็นโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ลองคิดวิเคราะห์ ขัดเกลา และนำไปใช้ในคณะก็อาจทำให้คณะมุ่งสู่มิติใหม่ และพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าให้เหมาะสมกับยุค 4 G

ฉัตรชัย วัฒนาภิรมย์สกุล

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2560

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ

เริ่มด้วยการปฐมนิเทศ โดยมีผู้นำเสนอเป็นทีมที่ให้ข้อมูลจากประสบการณ์การพัฒนาในรุ่นที่ผ่านมาของโครงการฯ คณะแพทย์ โดยมี 4 ขั้นตอน

1) การปลูก (pre-planning ) ด้วยการ สร้าง inspiration and motivation ที่ดีแก่ผู้จะเริ่มเข้าโครงการฯ พร้อมทั้งอธิบายให้เห็นกระบวนการ ที่เป็นภาพรวม ทำให้พยายามคิดตามว่าแต่ละช่วงจะมีงานอะไรบ้าง น่าติดตาม

2) เก็บเกี่ยว ปะทะทางปัญญา

3) สำเร็จ ลงมือทำให้เกิดความสำเร็จ

4) วัดผล โดยนำทฤษฎี 3 V (value added, value creation, and value diversity) หมายถึง สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณค่าใหม่ และสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย พยายามทำความเข้า concept นี้ที่อาจารย์ย้ำบ่อยๆ นำมาใช้ให้เป็น

ช่วงนี้เน้น 2 R (reality และ relevance) สะท้อนให้เห็นภาพของโครงการที่จะพัฒนาที่ ต้องมี 2R และ 3 V เป็นโจทย์ที่ท้าทายในยุคการเปลี่ยนระบบการทำงานของคณะฯ และ มหาวิทยาลัยฯ

วิชาที่ 2 Learning Forum & Workshop

ช่วงนี้กล่าวถึง ทุนมนุษย์ ด้วยทฤษฎี 8 K’s และ 5’s เป็นการปลูก และเก็บเกี่ยว (การสร้างแรงจูงใจ ให้เกิดการทำงานที่มีคุณค่า) และ ทฤษฎี 3 วงแหวน เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ตระหนักถึงคำว่า Happy work place and Happy at work. รวมทั้งทฤษฎี HRDS

สำหรับเรื่องของ human capital โดยการวิเคราะห์ ตนเองและคณะ รู้สึกว่าเป็น workshop ที่ช่วยสะท้อนมุมมองของคนในคณะฯ และ พันธมิตรต่างคณะ ในระดับ Macro ได้เป็นอย่างดี

เมื่อ กล่าวถึง mindset ทำให้เข้าใจชัดเจนขึ้น เรื่องความแตกต่างระหว่าง FM และ GM ใน5 ประเด็นมุมมองหลักๆ คือ ความท้าทาย อุปสรรค ความพยายาม วิจารณ์ และความสำเร็จของผู้อื่น สะท้อนให้เห็นว่าผู้นำควรมีการพัฒนา GM แต่ในขณะเดียวกันในบางเรื่องควรจะมี FM บ้างอย่างเหมาะสมเช่นกันจะช่วยให้งานสำเร็จ

วิชาที่ 3 พระบิดาฯ

รับฟังเรื่องราวที่น่าสนใจ และ ซาบซึ้งในพระราชประวัติ และ อัจริยะของพระองท่าน ที่เป็นต้นแบบ ชอบที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ราชวงศ์ การนำเสนอได้ดีมีหลักฐานเชิงประจักษ์ เห็นภาพของ role model ของต้นแบบการเปลี่ยนแปลง และ ปฎิธานของ “พระบิดา” ที่ว่า “Our soul is for the benefit for the mankind”

วิชาที่ 4 Leadership and Teamwork

เริ่มด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงที่เข้าใจลึกซึ้งขึ้น โดยใช้มิติของเวลา ในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต โดยความพอเพียงเป็นปัจจุบัน ที่ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ( ด้วยความรู้ และคุณธรรม) พอประมาณ หรือ สร้างภูมิคุ้มกัน โดยเป็นระบบที่บริหารได้อย่างยั่งยืน โดยมีเครื่องมือในการตัดสินใจเพื่อความสำเร็จ ดังนี้ มีความง่าย มีความไว ใหญ่ ความ ใหม่ มีความยั่งยืน และ มีความสุข

เรียนรู้กระบวนการคิดของกลุ่มคน 4 แบบ คือ C D S หรือ I พบว่าคนที่อยู่ในกลุ่ม S จะค่อนข้างดูแลยาก พร้อมทั้งประเมินบุคลิกความเป็นผู้นำ พร้อมการสร้างทีม ด้วยความมีใจที่กว้างกับผู้ร่วมงาน และลดพื้นที่วงกลมให้เล็กลง เห็นคุณค่าของเพื่อนร่วมงาน เรียนด้วยความสนุกสนานดูแล้วน่าจะนำไปใช้สอนนักศึกษาได้ดี

วิชาที่ ๕ Personality and Social Skills Development

เมื่อรู้ว่าจะเรียนวิชานี้ ตั้งใจแต่งตัวมาเรียนในชั่วโมงนี้ ด้วยกลัวว่าจะต้องมีการวิพากษ์ การแต่งกาย จริงๆ ก็มีข้อเสนอแนะดีๆ ในการปรับปรุงตัวเอง ซึ่งปกติจะชอบแต่งตัวตามสบายสไตด์ของฉัน วันนี้ทำให้เปลี่ยนแนวคิดที่ว่ามีนอกจากความรู้แล้ว การแต่งกาย การวางตัวที่เหมาะสมก็ช่วยเสริมความ เป็นผู้นำได้เช่นกัน

วิชาที่ 6 และ 7 Service Mind –Service at Heart และการคิดคร่อมกรอบ

เริ่มเรียนด้วยความน่าสนใจของวิทยากร ที่มีวิธีการนำเสนอ ประเด็นต่างๆ จากนามบัตร และ สอนการคิด และ ค้น ลดการฟัง การได้เครื่องมือที่ดี ในการฝึกคิด และค้น เช่น Moment of Truth ในการวิเคราะห์ Before Begin During Ending After รวมทั้งลักษณะของคน ด้วยการวิเคราะห์ E/I S/N T/F J/P พบว่าตนเองเป็นนักประพันธ์ สนุกกับการเล่นเกม มิติ SERQUAL และสนุกสนานไปกับการคิดคร่อมกรอบ โดยการใช้เครื่องมือ 4 ขั้นตอน (PPCO) 1 ข้อดี 2 ข้อดีในอนาคต 3 คิด..แต่ว่า...กังวล ๔ หลบเลี่ยง ทะลุ จบการอบรมทั้ง 3 วันการคิด นวตกรรมกลุ่ม 4 ยังอยู่ในรูปการคิดนอกกรอบและ พยายามทำให้เกิดโดยนำการเรียนรู้คร่อมกรอบมาใช้ พร้อมกับคิดถึงหลัก 3 V....

ขอบคุณที่ได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่ดีมากและค่อยข้างหายากในเมืองไทย... สนุกสนานกับกิจกรรม ที่ทำ มีประโยชน์ต่อคณะ ฯ และแลกเปลี่ยนกับอาจารย์คณะอื่นๆ อีก 7 คณะนะค่ะ

ตลอดระยะเวลา 3 วัน ได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและได้ร่วมกันวิเคราะห์ทำกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K’s+5K’s และกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาคนที่ต้องทำอยู่ตลอดเวลาเริ่มจากการ ปลูก เก็บเกี่ยว การทำให้สำเร็จ และวัดผลด้วยฤษฎี 3 V แล้วมาวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคแล้วจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มันกระตุ้นทำให้ตัวดิฉันเองได้มีเวลาคิดวิเคราะห์ตนเองย้อนหลังกลับไป 3-4 ปีที่ผ่านมาว่าเราได้ทำอะไรสำเร็จไปแล้วและจะทำอะไรเพื่อพัฒนาต่อยอดรวมทั้งจะทำอะไรต่อเพื่อดึงน้องๆในสาขามาทำงานร่วมกัน ที่สำคัญยิ่งในการอบรม 3 วันที่ผ่านมา ดิฉันได้เรียนรู้และเข้าใจมากขึ้นคือเรื่องศาสตร์พระราชาทำให้ดิฉันได้รู้จำคำว่า พอเพียง ความเพียร ดีมากขึ้น และยังได้เรียนรู้จาก อ. ศรัณย์จันทพลาบูรณ์ เกี่ยวกับ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการคิดคร่อมกรอบเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ รวมทั้งได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดวิเคราะห์ Before, Beginning, During, Ending, และ After สนุกมากและสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตการทำงานและชีวิตประจำวันได้ค่ะ

การเข้าอบรมครั้งนี้ไม่ใช่มีการใส่เฉพาะทฤษฎี แต่มีกิจกรรมที่สนุกๆ และ เป็นครั้งแรกที่มี อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์ มาวิเคราะห์การแต่งตัวและแนะนำให้ดิฉันปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ภายนอกเพื่อสร้างบุคลิกภาพให้ดูดี สนุกดีและขอบคุณมากๆค่ะ

ขอบคุณหัวหน้าสาขาที่ผลักดันให้เข้าประชุมครั้งนี้ค่ะ

การปฐมนิเทศในรูปแบบที่อาจารย์จัดให้ทำให้การอบรมในครั้งนี้น่าสนใจและน่าติดตาม การได้เรียนรู้และรับทราบเกี่ยวกับทฤษฎีต่าง ๆ ที่อาจารย์ได้คิดค้นจากประสบการณ์และการเรียนรู้จริง เป็นสิ่งที่มีคุณค่า อีกทั้งยังได้เรียนรู้ว่าควรนำทฤษฎีเหล่านี้ไปพัฒนาตนเองและพัฒนางานได้อย่างไร

การได้ทำ workshop: Human capital ในเรื่องการเก็บเกี่ยว ทำให้เข้าใจทฤษฎี 3 วงกลมเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น

การอบรมเรื่อง ทุนมนุษย์-mindset-leadership และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ทำให้ได้เรียนรู้ว่า mindset เป็นสิ่งสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของของความเชื่อที่ก่อให้เกิดเป็นทัศนคติที่จะหลอมรวมให้เป็นอุปนิสัยของคนหนึ่ง ๆ ดังนั้นการปรับเปลี่ยน mindset จึงเป็นเรื่องสำคัญ

การได้ทำ workshop เรื่อง fixed mindset และ Growth mindset ทำให้ทราบถึงความแตกต่างและสาเหตุที่ก่อให้เกิด mindset เหล่านั้นขึ้นมา

การอบรมหัวข้อ leadership & teamwork ทำให้เข้าใจศาสตร์ของพระราชาได้มากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้เข้าอบรมได้มองเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น ได้เรียนรู้ลักษณะของผู้นำในแบบต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้การทำงานในองค์กรเป็นไปด้วยความสุข

การอบรมเรื่อง personality and social skills development ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เคยรู้มากมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เนื่องจากการพัฒนาบุคลิกภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นละน่าเชื่อถือต่อผู้พบเห็น

สงวน ลือเกียรติบัณฑิต

การอบรมวันแรก (ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์) มีคำถามที่น่าสนใจว่า องค์กรของเราได้ให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์หรือคนทำงานมากน้อยแค่ไหน เราจะประเมินได้อย่างไร คําตอบอยู่ที่ 13 K ซึ่งเป็นกรอบในการประเมินได้อย่างดี ทำให้ผมมีแนวคิดว่า หากมีเวลาน่าจะพัฒนาตัวชี้วัดหรือคำถามเพื่อประเมินตนเองในแต่ะละ K ซึ่งอาจพัฒนาแบบประเมินสำหรับgeneral organization หรือแบบ specific organization เช่น องค์กรภาครัฐ สถานพยาบาล สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นต้น เครื่องมือนี้น่าจะทำให้การนำแนวคิด 13 K ไปใช้ทำได้อย่างเป็นรูปธรรมและง่ายขึ้น

สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งขึ้นที่ผมได้รับ คือ การนำทั้ง 13 K มาประเมินแล้ว ทำให้พบว่าในภาควิชายังพร่องในหลาย K เมื่อ prioritize แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องเร่งพัฒนาก็คือ social (networking) capital แบบข้ามศาสตร์ และ innovation capital

สำหรับการบรรยายเรื่องประวัติของพระชนก ทำให้ทราบข้อเท็จจริงหลายเรื่องที่น่าสนใจ เช่น พระชนกเคยประทานเงินให้แก่โรงพยาบาลสงขลาเป็นเวลา 3-4 ปีจนท่านเสด็จสวรรคต หรือความสัมพันธ์ระหว่างพระบิดาของวิชาชีพเภสัชกรรม (กรมพระยาชัยนาทฯ) และพระชนก

การอบรมวันที่ 20 ก.พ. ผมไม่ได้เข้าร่วม แต่ได้อ่าน note แล้วรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้เข้า ผมรู้สึกว่า teamworking เป็นสิ่งที่ต้องเร่งพัฒนา และสร้างความแตกต่าง หน่วยงานที่มีผลงานโดดเด่นจะมี unity สูง วันศุกร์ที่จะถึง นี้ (3 มีค) ที่ประชุมภาควิชาจะวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิด teamwork ในหน่วยงานว่าเหมาะสมหรือไม่ (1. องค์กรเป็นผู้ให้ที่ถูกที่ ถูกเวลา และถูกคนหรือไม่ 2. มีกติกาที่โปร่งใสยุติธรรมหรือไม่ 3. มีการปล่อยวางตัวตนและประโยชน์ของตนเองหรือไม่)

การอบรมวันที่ 21 ก.พ. มี highlight สำคัญ คือ ทำให้ผมประเมินตัวเองได้ว่า ตนเองเป็น “นักฆ่าความคิดสร้างสรรค์” อย่างเลือดเย็นและเป็นเช่นนี้มาเป็นเวลายาวนานแล้ว ความคิดใหม่ที่ถูกนำเสนอ (โดยเฉพาะจาก young staff) มักจะโดนตัดตอนด้วยความเห็นของผมที่แสดง “ความเก๋า” ที่แม่นในกฎระเบียบกว่า แม่นในประสบการณ์ และความรู้ที่กว้างกว่า (เพราะอยู่มานานกว่า) อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ สอนว่า เราควรคิดกับความคิดที่ถูกนำเสนอแบบ PPCO (ข้อดี (Pluses) ดีในอนาคต (Potentials) ติดขัดอะไร (Concern) และหาโอกาสหลบเลี่ยงสิ่งที่ติด (Opportunities)) แม้ว่าความคิดสร้างสรรค์ที่ถูกเสนอนั้นจะต้องตายไป ก็ขอให้ตายด้วยความเห็นของผู้นำเสนอนั้นเองหลังจากที่เขาได้เรียนรู้ด้วยตนเองว่ามันยากจะทำได้ การไฟดับความคิดสร้างสรรค์โดยผู้อื่นจะทำให้ผู้นำเสนอความคิดนั้น ไม่เกิดการเรียนรู้จริง ๆ และหยุดคิดสร้างสรรค์ต่อไป

หลังอบรม ผมมอบหมายให้ young staff 4 ท่านเก็บข้อมูลและนำเสนอการปรับปรุงการทำงานของภาควิชาในเรื่องการจัด active learning การพัฒนาความสามารถของนักศึกษาทางด้านภาษาอังกฤษ การพัฒนาเนื้อหาการเรียนเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย และการสร้างคลินิกเพื่อเขียนบทความการวิจัยในวารสารนานาชาติ ผมจะคอยดูความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลเหล่านี้ และแน่นอนจะไม่ฆ่าความคิดสร้างสรรค์อีกต่อไปแล้ว จะท่อง PPCO ไว้ตลอด

วันที่ 3 มีนาคม 2560

  • ตอนนี้รู้แล้วว่าเมื่อไม่ได้เขียนสรุปภายหลังการอบรมแล้ว ผลเป็นอย่างไร ต้องกลับไปอ่านทวนจากเนื้อหาใน blog และพบว่าช่างดีจริง ๆ ซึ่งนศ.เพื่อนร่วมงานคงมีความสุข ถ้ามีการสรุปเนื้อหาที่สอนใน go to know เป็น blog แบบนี้บ้าง (ขอบคุณผู้อบรมท่านอื่นๆ ที่share ไว้) ในส่วนการเรียนรู้ของตนเอง ขอสรุปดังนี้
  • “เริ่มจากปลูก มาถึง “เก็บเกี่ยว” ปะทะทางปัญญา ปะทะทางอารมณ์ ก่อให้เกิด energy ที่จะสร้างสรรค์งานต่อไป”คิดว่ามีความสำคัญต่อการเริ่มต้นมาก ที่จะเข้าใจการทำงานเป็นกลุ่ม การคิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ เข้าใจนำมาวิเคราะห์กับการทำงานที่รับผิดชอบอยู่ ยกตัวอย่าง ตนเองยังมีจุดอ่อนที่ค่อนข้างมี contribute เรื่องความคิดเห็นต่อกลุ่มน้อย แต่จากจุดนี้ทำให้อยากปรับเปลี่ยนการทำงานของตนเอง หรือในวงสนทนาระหว่างทานอาหารกับเพื่อนร่วมงาน เรียนรู้ที่จะเปิดพื้นที่ ตั้งคำถามให้เกิดการเรียนรู้ ปะทะทางปัญญา และสมาชิกมีส่วนร่วมมากขึ้น มีบรรยากาศของการกินข้าวมีงานปนบ้าง ไม่มุ่งแต่คำตอบที่จะเอาอย่างเดียว แต่ปรับเปลี่ยนทีท่า เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวนำ ความเห็นต่าง ๆ ไปทำต่อ / ต่อยอดให้เกิดผลต่อไป อาจจะสำเร็จ หรือไม่ ก็สามารถมองใน value หลายระดับได้
  • การเปิดพื้นที่ให้เกิด 3 V (value added, value creation, and value diversity) ยัง reflect ได้ไม่ชัด แต่ได้มีโอกาสประสานแก้ไขปัญหาในงานชิ้นหนึ่ง ซึ่งต้องใช้ rhythm and speed โดยเกิดผลในทางบวกพอควร
  • เนื้อหาขั้นตอน องค์ประกอบที่เรียน ทฤษฎี HRDS ใช้มาแก้ปัญหา ตอนนี้ยังต้องพยายามนึกถึง เพราะยังไม่เกิดเป็นอัติโนมัติ แต่ด้วยจิตใจที่โน้มลง หรือคิดถึงกระบวนการแบบ “Chira way” ความรู้สึก Happy at work ค่อย ๆ เกิดหรือมาเอง ซึ่งกำลังติดตามตนเองหรือสังเกตบรรยากาศในการทำงานอยู่
  • ส่วนเนื้อหา mindset ทำให้เข้าใจชัดเจนเรื่องความคิดและต้นตอของความคิดมากขึ้น และการผสมผสานนำส่วนที่ดีของ mindset ทั้งสองรูปแบบมาใช้
  • เนื้อหาประวัติศาสตร์ราชวงศ์ นึกถึงการเคยเข้าชมนิทรรศการประวัติศาสตร์ราชวงศ์ ที่พิพิธพันธ์พระราชวัง จ.เพชรบุรี และที่นครปฐม แต่ครั้งนี้เป็นอีกมุมมองที่สะท้อนการเป็นต้นแบบและความสามารถของพระบิดาและองค์ในหลวง พระผู้เป็นต้นแบบของปวงชน

What I have learnt? What the impact on me?

วันที่ 2 การสอนของอจ.ดร.เฉลิมพล

  • สิ่งที่ติดหัวมา คือ จดจำได้ คือ ง่าย ไว ใหม่ ใหญ่ ยั่งยืน และมีความสุข จดจำการคิดแก้ปัญหา ด้วยตัวอย่างครก และรถไถ นำมาใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ไปตกม้าตาย ตรงวิธีที่ใช้ไม่ยั่งยืน ต้องวน loop ของปัญหาต่อ
  • ถัดไปเป็นเรื่องคุณค่า และการค้นหาตนเอง การวิเคราะห์องค์กรผ่านตัวอย่างปลาทอง และการวิเคราะห์บุคคลิกภาพของบุคคล และการทำงานเพื่อให้เกิดความสำเร็จของทีม
  • กิจกรรม ให้ฝึกสติ และนับจำนวนครั้งที่หลุดสติไป ฝึก mindfulness ทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่ และเมื่อต้องนึกว่าเรากำลังนับครั้งอยู่ ก็เหมือนกับว่าเราหลุดสติไป ตอนนี้ก็ปรับเป็นนับเฉพาะ หลังเลิกงาน เพราะกลางวันมีนับ ๆ ไปจนจำไม่ได้ว่านับเท่าไหร่แล้ว
  • เนื้อหาการพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นเรื่องที่ติดในตัวทุกวัน ก่อนออกจากบ้านมาสถานที่ทำงาน ทบทวนก่อนว่ากาละ เทศะเป็นอย่างไร ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงบุคคลิกภาพ การมีอริยาบท ต่าง ๆ มากขึ้น

วันที่ 3 ของการประชุม 21 กพ.60 การคิดคร่อมกรอบ

  • คิดคำนี้ได้ไง ชอบการวิเคราะห์ Before Begin During Ending After การคิดคร่อมกรอบ โดยการใช้เครื่องมือ 4 ขั้นตอน (PPCO) ส่วนนี้เอากลับไปใช้ในการประชุมสาขาด้วย และเล่าให้ครอบครัวฟังด้วย ที่พัฒนาตนเองได้เลย คือ รับฟัง ให้คำถามที่กระตุ้นการช่วยกันคิดมากขึ้น และได้หัวเราะกับคำตอบแปลก ๆ มากขึ้น หรือคิดถึง “ดาวต่างนุต เจ้ามนุษย์ต่างดาว” มากขึ้นว่าเขาจะคิดอย่างไร และคิดว่ายังมีช่องทางให้นำกระบวนการที่เรียน การคิดคร่อมกรอบ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นได้ และจะไม่ด่วนสรุปว่าข้อเสนอนั้น ๆ เป็นไปได้ยาก

ตอนนี้อ่านหนังสือยืมมา เกี่ยวกับการแก้ปัญหาในภาวะวิกฤติ เห็นข้อแตกต่างและข้อคิดเรื่องการบริหารด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล และการแก้ตามปัญหา ทำให้ได้ผลลัพธืที่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม ยังติดอยู่วงเวียนของการแก้ตามปัญหาอยู่ จึงทำให้รู้สึกว่าจัดการกับงานที่เข้ามาแบบตั้งรับ ส่วนงานที่ได้รับ assign นั้น อ่าน chapter 6 เรื่องรากฐานของผู้นำ อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นหนังสือที่การเดินเรื่องค่อนข้างช้า และผู้เขียนพยายามให้ตัวอย่าง ติดใจที่คำคมในบท เช่น หากเราได้รับพื้นที่ยืนที่มั่นคง เราจะสามารถเคลื่อนโลกได้ รู้สึกอินว่า คนที่คุณธรรมเขาไม่แกว่งตามสิ่งยั่วยวน จะขับเคลื่อนสังคมได้จริง ๆ ซึ่งจะเพิ่มการอ่านส่วนขยายต่อบทอื่นๆ ต่อไปค่ะ

เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 60

- เปิดใจ เปิดสมองกับ Chira ways

- ปัญหาของการนำไปสู่การปฏิบัติคือ “คน” (human capability) การร่วมกันสร้างค่านิยมร่วมขององค์กร ทำให้คนในองค์กรเกิด mind set นำไปสู่ belief attitude และ habit

- ฉุกคิดกับคำว่า “พยาบาลขาดconfident” ซึ่งเป็นความจริง ไม่ว่าจะเป็นความมั่นใจในตัวเองในการกล้าคิด/กล้าทำ ความมั่นใจในวิชาชีพของตัวเองว่าจะทัดเทียมกับวิชาชีพข้างเคียงหรือไม่ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่อยากพัฒนาความมั่นใจของพยาบาล

- ตอกย้ำและยึดมั่นในความศรัทธาต่อ “Our soul is for the benefit of mankind”

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 60

- ศาสตร์ของพระราชา ทำให้เข้าใจกับคำว่าความพอเพียง ซึ่งถ้าเข้าใจและนำไปปฏิบัติจะทำให้เกิดความสงบ ความสุข (สงบสุข)

- ทุกคนมีคุณค่าและศักยภาพ อยู่ที่ว่าเราจะนำคุณค่าและศักยภาพของแต่ละคนและของตัวเองออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร/สังคมอย่างไร

- การรเรียนรู้เรื่องบุคลิกภาพ ทำให้เรียนรู้และตอกย้ำกับคำว่า ทำแบบเดิมก็ได้แบบเดิม อยากได้สิ่งใหม่ก็ต้องทำแบบใหม่

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 60

- ทุกคนเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวเอง อยู่ที่ตัวเราว่าจะเป็นนักสร้างสรรค์แบบไหน/ประเภทใด และต้องกล้าที่จะคิด กล้าที่จะทำ อย่าเพิ่งกังวลกับ”กรอบ”ที่ล้อมรอบตัวเรา คิดให้ทะลุกรอบ แล้วนำความคิดนั้นมาขัดเกลาเพื่อให้นำไปใช้ได้จริง

- เกิดมุมมองบวกต่อคำว่า “ความแตกต่าง” ความแตกต่างทำให้สิ่งใหม่ได้รับการสร้างสรรขึ้นมา

ผศ.ดร.สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ

สิ่งที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนา Human-centered leadership คือ วิธีการตัดสินใจที่ฉลาด (making wise decision) จาก Model for thinking: Data/information, understanding/sense-making, judgment, decision, and decision

ได้เข้าใจเกี่ยวกับ conscience: an inner voice มากขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของ moral ซึ่งแต่ละบุคคลจะพัฒนา moral reasoning มาเป็น 6 ระยะ ตามแนวคิดของ Kohlberg คือ

ระยะที่1) obedience and punishment แต่ละบุคคลจะปฏิบัติตามกฎต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษซึ่งเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจากพ่อ แม่และบุคคลในครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก

ระยะที่ 2) Individualism and exchange มีการเรียนรู้เกี่ยวกับการให้เหตุผลทางจริยธรรมจากผู้อื่น เช่น ครูในโรงเรียน ผู้นำในชุมชนต่างๆ

ระยะที่ 3) Interpersonal การให้เหตุผลทางจริยธรรมจะตระหนักถึงความคาดหวังของสังคมและบรรทัดฐานมากขึ้น

ระยะที่ 4) Maintaining social order การให้เหตุผลทางจริยธรรมจะคำนึงถึงสังคมในวงกว้างมากขึ้น

ระยะที่ 5) Social contract and individual right บุคคลจะยอมรับความเห็น มุมมองของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเอง

ระยะที่ 6) Universal ethical principles การให้เหตุผลทางจริยธรรมจะยึดหลักการที่เป็นสากล (moral principles)

เห็นด้วยกับที่คณะพยาบาลจะเป็นศูนย์กลางในการจัดอบรมเกี่ยวกับ Ethical and moral training และการเขียนหนังสือเกี่ยวกับ Human-centered leadership จากประสบการณ์เรียนรู้ที่ได้รับในการเข้าอบรมในโครงการครั้งนี้คะ

รศ.ดร.บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์

สรุปบทเรียนการอบรมผู้นำฯ วันที่ 9-11 มีนาคม 2560

วันที่ 9 มีนาคม 2560 เวลา 9.00-17.00 น.

วิชาที่ 9 นำเสนองานกลุ่ม: วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ (1)

ศ.ดร.จีระและทีม ได้ให้ผู้เข้าอบรมวิเคราะห์บทเรียนหนังสือ Humanize: Why human-centered leadership is the key to the 21st century? แต่งโดย Anthony Howard ปี 2015 โดยแบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่มย่อย ดังนี้

กลุ่มที่ 1 วิเคราะห์ Part I: The challenge facing human-centered leaders บทที่ 1-4

บทที่ 1 The future and the future of leadership บทนี้กล่าวถึง curve of model of change ซึ่งมี sigmoid curves 3 แบบ คือ 1) แบบมีขึ้นและลง จาก launch – growth – maturity – decline, 2) แบบมีขึ้นเรื่อยๆและมีลงเป็นเส้นประ จาก launch – growth – maturity – สั่งสมประสบการณ์ continue mature และ จาก launch – growth – maturity – decline และแบบมีขึ้นและมีจุดเปลี่ยนและมีเส้นประ (the game-changer curve) จาก launch – growth – maturity – continue mature ทันทีตามโลก เทคโนโลยีที่เปลี่ยน และ จาก launch – growth – maturity – decline วิเคราะห์จากบทเรียน คือ ให้มอง Macro perspective อย่าละโอกาส ต้องมี vision ก้าวไกล ต้องทบทวนสิ่งที่ประสบความสำเร็จและต้องต่อยอดเรื่อยๆ เอา 8Ks and 5 Ks มาประยุกต์

บทที่ 2 Shift 1-3: Technology บทนี้ กล่าวถึง 3 shifts คือ Shift 1: Fragmented & connected world, Shift 2: Overwhelmed and underprepared, and Shift 3: Always on and never off สรุปคือ high technology and digital world ทำให้มนุษย์มุ่งทำแต่งาน ไม่สนใจคนอื่นและสิ่งแวดล้อม สนใจและอยู่กับดิจิตัล ไม่ได้เตรียมตัวรับมือกับข้อมูลที่มากมายในโซเชียลมีเดีย

บทที่ 3 Shift 4: Moral shift กล่าวถึง Adrift on a wide, wide sea เรือแล่นในทะเลกว้างใหญ่ หากเจอพายุโหมกระหน่ำ ทำให้เรือล่มได้ เปรียบเสมือน องค์กร ถ้าเจอเหตุการณ์บางอย่างที่เราไม่ทันตั้งตัว ก็ทำให้องค์กรล่มได้ หากองค์กรนั้นไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวหรือไม่มีเป้าหมาย/ทิศทางร่วมกัน ดังนั้น จึงต้องมี emotional capital มีจริยธรรมเป็นเหมือนคีม ทำให้เราอยู่ในกรอบสังคม moral thinking vs. marketing thinking ต้อง balance กัน จึงจะดีต่อสังคม การจะเกิด mutual trust ได้ต้องมีความโปร่งใส ยุติธรรม ปลอดภัย ภายในองค์กร

บทที่ 4 Shift 5: The convergence and crossover of ‘man’ and machine จุดตัดของความเป็นมนุษย์กับเครื่องจักรอยู่ตรงไหน

กลุ่มที่ 2 วิเคราะห์ Part II: Foundation for human-centered leaders บทที่ 5-9

กล่าวถึง A map for your life ให้คิดถึงคำถาม 4 คำถาม คือ 1) Here: Where are you today?ม 2) There: Where are you going?, 3 ) Being: Where are you going to be on the way?, and 4) Doing: What are you going to do to get there? เป็นคำถามที่จะตอบว่า เป้าหมายในชีวิตของตนเองคืออะไรและจะไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างไร

บทที่ 5 Becoming the best version of yourself ฉันต้องการเป็นคนที่ดีกว่าเดิม ต้องค้นพบจุดเด่นของตัวเอง

บทที่ 6 Foundations of leadership “give me a firm place on which to stand and I will move the world – Archimedes”

บทที่ 7 In search of Beauty, Goodness and Truth “Everything has beauty, but not everyone sees it – Confucius” บทนี้กล่าวถึงคำ 3 คำ คือ beauty ความงาม งามทั้งภายนอกร่างกายและภายในจิตใจ goodness คือ ความดีงาม สิ่งที่ได้กระทำดี และ Truth คือ ความจริง เป็นสิ่งไม่ตาย แต่จะอยู่กับเราไปจนวันตายและหลังตาย ดังนั้น ให้มอง ค้นหาความงาม ความดีและความจริงของตนเองและผู้อื่น แล้วท่านจะเป็นผู้นำที่มีจิตใจเป็นมนุษย์

บทที่ 8 Discover your purpose การค้นพบเป้าหมายในชีวิต ว่าต้องการอะไร เกิดมาเพื่ออะไร

บทที่ 9 A life of virtue “Virtue is its own reward – Marcus Tullius Cicero” Good habits become virtues คุณงามความดี เกิดจากการคิด/กระทำสิ่งที่ดีซ้ำๆจนเป็นนิสัย เป็นรากฐานของการมีชีวิตที่ยอดเยี่ยม และการเป็น human-centered leadership ต้องมีคุณสมบัติข้อนี้

กลุ่มที่ 3 วิเคราะห์ Part II: Foundation for human-centered leaders บทที่ 10-13

บทที่ 10 Five virtues for effective leadership ได้แก่ 1) Humility ความอ่อนน้อมถ่อมตน ต้องมีในตัวผู้นำในศตวรรษที่ 21 คือ เป็น the 21st century leader as servant (CEO 21st century model) ต้อง serve customers, staff, middle managers, executive ก่อนจะคิดถึงตัวเอง 2) practical wisdom เหมือนนกเค้าแมว ให้ฟังมาก พูดน้อย 3) courage ต้องกล้าหาญ 4) justice ต้องมีความยุติธรรม และ 5) self-control ต้องควบคุมอารมณ์

บทที่ 11 Making wise decisions: thinking well การคิดที่ดี ทำให้นำไปสู่สิ่งที่ดี กระบวนการคิดประกอบด้วย data/information, understanding/sense-making, judgement, decision, and action

บทที่ 12 Making wise decisions: Choosing well อาศัย conscience มโนธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ในการพิจารณาว่า สิ่งใดถูก สิ่งใดไม่ถูก

บทที่ 13 Navigating life with a moral compass บุคคลที่จะเป็น human-centered leader ให้ใช้ moral compass เข็มทิศคุณธรรมในการนำทาง เสมือนคนเดินทางที่มี magnetic compass เข็มทิศแม่เหล็กนำทาง

กลุ่มที่ 4 วิเคราะห์ Part III: Human-centered leadership in action บทที่ 14-20

กล่าวถึง A map for your leadership journey ซึ่งจะให้แนวทางในการตอบคำถาม A map for your life 4 ข้อ คือ 1) Here: Where are you today? (Where are we standing?, What are the current condition?) 2) There: Where are you going? (purpose – Why does the firm exist?, Where are we heading?) 3 ) Being: Where are you going to be on the way? (culture, who will we be?) and 4) Doing: What are you going to do to get there? (strategy, what will we do?) แผนที่นี้ สามารถนำไปประยุกตืใช้กับการเป็นผู้นำทั้งระดับบริษัท ชุมชนหรือประเทศได้

บทที่ 14 Human-centered leadership ต้อง puts people first, integrate the technical and moral

บทที่ 15 Lead from where you are “There go my people, and I must follow them, for I am their leader – Mahatma Gandhi”

บทที่ 16 Your organizational purpose ต้อง balance between purpose and profit, put people first เพราะ purpose provides long-term direction

บทที่ 17 Leadership at the speed of relationship ให้พิจารณาความสัมพันธ์ 4 ระดับ ว่าเป็นอย่างไร คือ 1) your inner circle, 2) your stakeholders, staff, customers, supplies, shareholders, 3) the communities in which you operate, and 4) the next seven generations ผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ต้อง put relationships first เช่นกัน ซึ่งความสัมพันธ์ต้องมี happiness, respect, dignity, and sustainability

บทที่ 18 Developing human-centered leaders ต้องพัฒนาโดย integrate technical and moral dimensions of leadership มีการจัดทำ ethics training

บทที่ 19 Moral reasoning มี 3 levels and 6 stages of Kohlberg’s moral development คือ Level 1: Pre-conventional (stage 1: Obedience and punishment, stage 2: Individualism and exchange), Level 2: Conventional (stage 3: Interpersonal, stage 4: Maintaining social order), and Level 3: Post-conventional (stage 5: Social contract and individual rights, stage 6: Universal ethical principles)

บทที่ 20 Moral decision making จะใช้กรณีเกิด moral dilemmas ว่าผิดหรือถูก

สรุปและสะท้อนคิด ในภาพรวม หนังสือเล่มนี้ เขียนโดย Anthony Howard ได้สัมภาษณ์คนดังมากกว่า 150 คนทั่วโลกและได้ให้แนวคิดที่ท้าทายในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่ยึดหลักความเป็นมนุษย์ที่มีทั้งความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิตัลและคุณธรรมจริยธรรม ในการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้โลกได้ระลึกจดจำ เสมือนผู้นำที่ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 20 ได้แก่ มหาตมะ คานธี มาร์ติน ลูเธอร์ คิง แม่ชีเทเรซ่าและเนลสัน เมลเดลล่า ท่านจะประยุกต์แนวทางนี้หรือไม่ อย่างไร หนังสือนี้ มีประโยชน์มากในการให้แง่คิดด้าน moral vs. profit กับผู้นำ ซึ่งหายากในปัจจุบัน การอ่าน ทำความเข้าใจเนื้อหา ต้องใช้เวลา เนื่องจากเป็นเนื้อหาด้านสังคมศาสตร์ ซึ่งไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์บางคำ แต่ในภาพรวม ได้ใจความดี สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

วิชาที่ 10 Panel Discussion & Workshop หัวข้อ Crucial Conversation ยังไม่ได้เรียน (หมดเวลากับการนำเสนอหนังสือ 1)

วันที่ 10 มีนาคม 2560 เวลา 9.00-12.00 น.

วิชาที่ 11 หัวข้อ การคิดเชิงกลยุทธ์และการคิดวิเคราะหือย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ความคิดเชิงระบบ เราต้องเป็นส่วนหนึ่งของระบบ คิดเป็นระบบ ดีกว่าคิดเป็นท่อนๆ

ความคิดเชิงกลยุทธ์ มี 2 อย่าง คือ Strategic thinking (วิเคราะห์ คิดเองในแต่ละวิธี ต้องรู้เขา รู้เรา รบ 100 ครั้ง ชนะ 100 ครั้ง ต้องคิดให้เชื่อมโยงกัน ต้องมี visionary) และ Strategy thinking (คิด/ท่องตามที่มีปรากฏในหนังสือ)

Strategic move เช่น ต้องวิเคราะห์ว่า จะมาพูดกี่ชั่วโมง ผู้ฟังเป็นใคร ต้องพูดให้เนื้อหาเหมาะกับผู้ฟัง

Strategic management = planning + implement

System thinking = systemic thinking = คิดในเชิงระบบ

Systematic thinking = คิดเป็นระบบ

คนทุกคนมีปัญหา ปัญหาเกิดจาก conflict of means and end (เป้าหมายและแนวทาง) = mismatch of SWOT เช่น นาย ก หน้าตาไม่หล่อ แต่รวยมาก ไปจีบนางสาว ข สวยมาก แต่จีบไม่ติด เลยฆ่าตัวตาย เป็นปัญหาหนัก เกิดจาก mismatch of SWOT วิเคราะห์สถานการณ์ผิด เพราะขาดข้อมูล กล่าวคือ นาย ก ต้องศึกษาข้อมูลว่า นางสาว ข ชอบผู้ชายแบบใด ถ้าไม่ชอบผู้ชายไม่หล่อ ก็จะได้ไม่ไปจีบ ตนเองก็ไม่ผิดหวัง และไม่ลงเอยด้วยการฆ่าตัวตาย

กระบวนการของระบบ ถ้าเริ่มต้น input – process – output เป็น system หรือ systemic thinking ถ้าเติม outcome ไปด้วย ต้องเริ่มต้นที่ outcome แล้วค่อย feedback ไปที่ input คือ ต้องรู้ว่า ผู้ใช้เป็นใคร ลูกค้าต้องการอะไร ต้องวิเคราะห์เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม การเมืองด้วย เพราะเกี่ยวเนื่องกัน จากนั้น ไปที่ process – output แบบนี้ เรียกว่า systematic thinking

ในอดีต ระบบมีเชิงแนวนอน แต่ปัจจุบันมีแนวตั้งหรือแนวตั้งเฉียงด้วย ระบบที่ดี ต้องมีความเชื่อมโยงอดีต ปัจจุบันและอนาคตเข้าด้วยกัน เช่น คนๆหนึ่ง จบอักษรศาสตร์ ไปสมัครเป็นทหาร จะเครียดตอนอายุ 50 ปี เพราะอนาคตไม่รุ่ง ไม่ก้าวหน้า แต่ถ้าจบนายร้อยจปร.อนาคตจะรุ่ง

สาเหตุที่ SWOT ไม่สำเร็จ เพราะมีกับดัก 4 อย่าง คือ 1) กับดักประสบการณ์ จะทำให้คนมองแต่อดีตและปัจจุบัน ไม่คิดถึงอนาคต 2) SWOT mismatch เชื่อง่าย เชื่อคนที่เคารพ ข่าวสารบิดเบือน 3) ความเคยชิน และ 4) มองจากมุมตัวเอง ไม่มองจากมุมมองคนอื่น

เวลา 13.00-16.00 น. (ต่อ)

Seed of change

ยุค 1 เกิดเมื่อหมื่นๆปีที่แล้ว เป็นสังคมเกษตรกรรม (1.0)

ยุค 2 เกดประมาณ 200 ปีที่แล้ว การปฏิวัติอุตสาหกรรม ไฟฟ้า การล่าอาณานิคม (2.0)

ยุค 3 เกิดเมื่อ 30 ปีที่แล้ว สังคม IT ดิจิตัล (3.0)

ยุค 4 กำลังจะเกิดเมล็ดพันธ์แบบ 4 digital + nano + bio (4.0)

เป้าหมาย Thailand 4.0 คือ middle-income trap, ลด inequality trap, ลด imbalance trap

การวิเคราะห์ความสำเร็จ ต้องมององค์รวม มองสิ่งที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน หลายกระทรวง มองงบประมาณ วิสัยทัศน์

เวลา 16.00-18.00 น.

วิชาที่ 8/2 ติดตามผลงานความคืบหน้าของงานออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมฯ ครั้งที่ 1

อ.พิชญ์ภูรี จันทรกมลและผศ.กิตติ ชยางคกุล

การพัฒนาโครงการเชิงนวัตกรรม (Project; ต้องน่าสนใจ และให้คำนึงถึง 2 Rs: Reality + Relevances = vision of Faculty of Nursing) + Innovative (do the same thing in another way; ให้คำนึงถึง 3 Vs: value added, value creativity, value diversity) + Partners (stakeholders) แล้วเกิด impact อะไรกับคณะฯ ที่ต้อง executable and measurable

ใช้ methodology ตามคำถามดังนี้

- Where are we?

- Where do we want to go?

- How to do it?

- How to do it successfully?

สำหรับการนำเสนอโครงการ จะขอกล่าวโครงการกลุ่มที่ 2 ที่ข้าพเจ้าเป็นสมาชิกกลุ่มเท่านั้น คือ จะพัฒนาศูนย์ภูมิปัญญาตะวันออกที่ให้บริการดูแล ฝึกอบรมและช่วยพัฒนาศูนย์การดูแลวัยสูงอายุ วัยเด็ก วัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ โดยในระยะแรก จะเน้นกลุ่มผู้สูงวัยก่อน ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงฯ คือ ให้ชัดเจนเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงหรือไม่ อะไรคือจุดอ่อน/ความพร้อม (บุคลากร ความรู้ กองทุน ยุทธศาสตร์ชาติ งบประมาณ) จะทำเป็น model ต้นแบบหรือไม่ มีความเด่นอะไร ควรใช้บริบทของมุสลิมให้เป็นประโยชน์

วันที่ 11 มีนาคม 2560 เวลา 9.00-12.00 น.

วิชาที่ 13 หัวข้อ ทิศทางคณะพยาบาลศาสตร์ในอนาคต โดย ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

เริ่มจากการที่อาจารย์ให้ผู้เข้าอบรมเลือกตัวเลขในตารางระหว่างสภาพที่คาดหวัง (1 = มาก 7 =น้อย) และสภาพที่เป็นจริง (7 = น้อย ถึง 9 = มาก) ในเรื่อง ความเป็นผู้นำใน ASEAN กับคณะฯ ซึ่งผู้เข้าอบรมส่วนมาก ตอบ 4 ถึง 5 แสดงว่า กลางๆ ไม่อยากเป็น พอๆกับที่เป็นแล้ว

ต่อมา ได้อภิปรายเรื่อง พายุในประเทศไทยที่กระทบการบริการสุขภาพและการศึกษาด้านสุขภาพ มี 7 ลูก คือ 1) ความรู้ ปรับเปลี่ยน 2) ประชากรเปลี่ยนแปลง มีผู้สูงวัยมากขึ้น เด็กน้อยลง 3) กระแสทุนนิยม การศึกษาเป็นสินค้า ธุรกิจบริการการศึกษา อุตสาหกรรมบริการการศึกษา มุ่งหากำไร 4) โลกาภิวัฒน์ บริการไร้พรมแดน 5) กระแสประชาธิปไตย สิทธิ ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 6) ICT และ 7) การบริหารจัดการสมัยใหม่ มุมมองในเชิงระบบ ใช้หลักธรรมาภิบาล จากนั้น โยงเข้าสู่คณะพยาบาลศาสตร์ ว่า “คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นเสมือนบุพการี” คือ ช่วยเราให้หายจากเจ็บไข้

คณะพยาบาลศาสตร์ มอ. ใน 10 ปีข้างหน้า จะต่างจากปัจจุบันเพียงใด ให้เลือกจาก 1 (no change) ถึง 10 (maximal change) ถ้าตอบ 5 คือ อาจารย์ทั่วไป ถ้าตอบ 8 หรือ 8 ขึ้นไป มักเป็นผู้บริหาร ถ้าตอบ 20 มักคิดนอกกรอบ

Transformation University มหาวิทยาลัย คณะฯ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เป็นการศึกษา มีวิจัยเพิ่ม บริการวิชาการเพิ่มเป็นตัวอย่างของสังคมในการทำความดี เป็น world class university เลิศทางการศึกษา ASEAN and Global Hub มีความเสมอภาคในการศึกษาและบริการสุขภาพ

Focus & Niche เราจะก้าวไปในทิศทางไหน เราต้องจัดการเอง ต้องมี signature ของเราเอง

สรุป ทิศทางคณะพยาบาลศาสตร์ มอ. จะก้าวไปในทิศทางใด จะเป็นผู้นำใน ASEAN หรือไม่ อยู่ในอุ้งมือของท่าน ทุกอย่างไม่มีขาย ท่านต้องสร้างเอง ท่านต้องหา signature เอง

เวลา 13.00-16.00 น.

วิชาที่ 14 หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะพยาบาลศาสตร์ มอ. โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

เริ่มจากคำคมที่ว่า เป็นผู้ใหญ่ ต้องใจกว้าง เด็กจะได้วิ่งเข้าหา หมดยุคผู้ใหญ่คุมบังเหียน เรื่องยากๆ ให้เด็กทำ ให้ล้มลุกคลุกคลานเป็นบทเรียน คนอายุมากต้องอยู่กับคนอายุน้อยได้ แต่ต้องไม่ให้อยู่ในที่เดียวกัน หมดยุค super hero แต่เป็น collective hero การแข่งขัน ต้องแข่งกับตัวเองและแข่งกับคนอื่น

Current situation 7 รูป: จากการวิเคราะห์คณะพยาบาลศาสตร์ มอ. ของผศ.ดร.พงษ์ชัย

รูปแรก Low cost airlines: Distance doesn’t matter, history doesn’t matter เมื่อชื่อเสียงหมดไปตามกาลเวลา คนต่างภูมิภาคไม่มาเรียน คนในพื้นที่ก็ไปเรียนที่อื่น สูญเสียโอกาสได้คนเก่งมา ต้องหาทางให้ได้คนเก่งมาเรียน (ส่วนตัว ถ้าคิดแบบนี้ แล้วคนอ่อนจะทำอย่างไร ขัดแย้งกับนโยบายชาติที่ว่า ลดความเหลื่อมล้ำไหมคะ)

รูปที่ 2 พระพุทธทาส บ่งบอกถึง autonomy doesn’t matter ให้ลดละ ตัวกู ของกู ลดอัตตา (อาจารย์มหาวิทยาลัยมักมีสิ่งเหล่านี้สูง)

รูปที่ 3 โรตีสายไหม บ่งบอกถึง over supply – we do too ขาดอัตลักษณ์ของตัวเอง เก่งแบบเป็ด no unique, no differentiation คณะพยาบาลศาสตร์ มอ.มีอะไรที่แตกต่างจากคณะพยาบาลฯที่อื่น ควรเน้น Silver Economy เศรษฐกิจผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุที่ไม่เป็นภาระสังคม Health center for Aging ให้ทั้งการดูแล วิจัย (เชิง facility, issue ในการดูแลชาวต่างชาติ ชาวไทย แบ่งตามอายุ)

รูปที่ 4 ติ่มซำ บอกถึง Losing competitiveness or competition advantage สูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันหรือความได้เปรียบ เกิดสมองไหลของอาจารย์

รูปที่ 5 ภาพแผนที่ 5 จังหวัดภาคใต้ (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) บอกถึง Brand recognition and positioning issue ทำอย่างไรให้ได้แบรนด์ที่เด่นในระดับภูมิภาค ประเทศ และนานาชาติ หากตำแหน่งที่ตั้งเป็นข้อจำกัด จะทำอย่างไรให้เสียเปรียบเป็นได้เปรียบ เช่น แก้ด้วยการออกข่าวดีๆทางทีวี

รูปที่ 6 ภาพเด็ก ผู้ใหญ่ และคนแก่ ให้พิจารณาว่า เป็น imbalance situation ข้อจำกัดของบุคลากร มีอาจารย์รุ่นเก่า รุ่นใหม่ ศักยภาพต่างกัน

รูปที่ 7 ภาพพยาบาลรพ.เอกชนไหว้ บอกถึง การต้องหาพันธมิตรภายนอกมหาวิทยาลัย we need to seek out opportunity as possible เช่น เปิดเสรีธุรกิจบริการ health care (เสียแล้ว ซ่อม) & wellness (ดี) ภาคเอกชนกำลังไปทาง wellness

การทำงานเป็นทีมของผศ.ดร.พงษ์ชัย คือ 1) ให้ตายที่พระจอมเล้าฯ 2) เราเป็น professional เก่งเท่าเอกชน 3) ต้อง dynamics

สรุป ผ่านการอบรมอีก 3 วัน รวมเป็น 6 วัน ได้อะไรมากมายในการเป็นพื้นฐานการก้าวเข้าสู่ Human-centered leader ค่ะ ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ทุ่มเทให้ ขอบคุณคณะฯ ที่สนับสนุนให้มีโครงการอบรมฯนี้และให้เข้าร่วมรับการพัฒนาค่ะ

รศ.ดร.บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์

19 มีนาคม 2560

เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์

สะท้อนความรู้จากการนำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ Humanise why : Human-Centred Leadership is the Key to the 21st Century โดย Anthony Howard

Chapter 1–4 กล่าวถึงลักษณะของผู้นำและผลที่จะเกิดต่อองค์กร ซึ่งออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Sigmoid Curve, The game changer curve หรือแบบ unbounded คือเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ ผู้นำจำเป็นต้องมี Vision ก้าวไกล มีคุณธรรม เป็นเครื่องนำทาง เพื่อให้ทันต่อโลกความเปลี่ยนแปลง และเข้าใจในสิ่งท้าทายที่เข้ามากระทบ รวมทั้งจำเป็นต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

จากบทเรียนนี้ ทำให้ตระหนักต่อหน้าที่และภารกิจในฐานะเป็นกลไกหนึ่งที่จะผลักดันองค์กร นอกจากนี้ การพิจารณาให้เห็นความต่างของ mankind กับ machine ก็มีผลต่อองค์กร และเราควรวิเคราะห์พิจารณาตนเองอยู่เสมอ และโดยเฉพาะขณะนี้ องค์กรมีความเสี่ยงขาดผู้นำ พี่ ๆ เกษียณอายุไป เกิดมีช่องว่างของอจ.รุ่นใหม่และรุ่นกลาง ท่ามกลางภารกิจใหม่ที่เข้ามาทุกวัน บทเรียนนี้ ได้รับคำแนะนำว่าควรใช้การผสมผสานโดยเอาคนใหม่กับคนเก่ามาผสมกันบ้างก็จะพอดี แต่จะทำอย่างไร ยังไม่มีคำตอบที่ตายตัว ขอให้มองเป็นความท้าทายและการพัฒนา (แต่ในชีวิตจริงก็มีโอกาสที่สติหลุดหลายครั้ง)

ในบทที่ 5-8 ค่อนข้างเป็นปรัชญา ได้แก่ ความต่างของ Being คุณเป็นอย่างไร ต่างจากคุณทำอะไร (Doing) ทำให้สามารถวิเคราะห์ตนเองได้มากขึ้น และมากกว่านั้นในฐานะที่เราเป็นผู้นำ (นำชีวิตเราเอง นำองค์กร นำลูกศิษย์และน้องๆ นำครอบครัวลูกหลาน นำสังคมรอบข้าง) ในบทเรียนยังสอนถึงการสร้างรากฐานของการเป็นผู้นำ ควรเริ่มต้นจากการหล่อหลอมสร้างภายใน (being) แล้วแสดงออกเป็นการกระทำ (doing or action) ภาวะผู้นำสร้างจากคุณลักษณะภายในตน เกิดมาจากวิสัยทัศน์ คุณค่าและจุดหมายของชีวิต จากการให้ความหมายต่อการมีชีวิต ซึ่งเป็นผลมาจากพื้นฐานของตัวคุณและนำไปสู่สิ่งที่คุณปฏิบัติต่อไป เป็นคุณสมบัติที่ทำให้ขับเคลื่อน สังคมได้

นอกจากนี้ บทเรียนนี้ยังสอนให้มองเห็นความงาม ความดีและความจริง และให้เปลี่ยนแปลงความเชื่อ “who you are” to “who you can become” เพื่อค้นพบความดีและความงามในชีวิต ซึ่งจะเป็นคุณลักษณะของผู้นำที่มีจิตวิญญาณของความเป็นคน อันจะนำไปสู่เป้าหมายในชีวิต โดยส่วนตัวประทับใจบทนี้มาก

บทที่ 9-13 กล่าวถึงคุณธรรมหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1) สุขุม รอบคอบ ใช้สติ ปัญญาในการคิดว่าสิ่งไหนควรปฏิบัติไม่ปฏิบัติ 2). ยุติธรรม ให้ใครอย่างสมเหตุ สมผล 3). กล้าหาญ ต้องยืนยันในสิ่งที่ถูกต้องยืนหยัดในความเป็นจริง กล้าหาญ และ 4). รู้จักความพอประมาณ ควบคุมตนเองให้เหมาะสมกับสภาพและฐานะของเราให้ดำรงอยู่ โดยฝึกใช้ปัญญาในการพิจารณาแก้ปัญหา ซึ่งค่อนข้างเป็นนามธรรม ต้องฝึกตนเองบ่อยๆ และใช้ตนเองเป็นตัวอย่าง ต้องทำให้เห็น ไม่ใช่แค่พูดให้เป็น และให้คิดกว้างถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ช่วยสร้างให้สังคมเป็นคนดี และคนเก่ง

นอกจากนี้ ยังมีคุณธรรม 5 ประการของผู้นำ ได้แก่ 1). Humility ความอ่อนน้อม ถ่อมตน 2). Practical Wisdom สุขุม รอบคอบ 3). Courage ความกล้าหาญ 4). Justice ความยุติธรรม และ 5). Self –Control เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ และการริเริ่มพัฒนา อย่างไรก็ตาม ผู้นำจำเป็นต้องมีเข็มทิศคุณธรรม ซึ่งประกอบด้วยคุณธรรม จริยะธรรม จนสามารถนำไปสู่ขั้นตอนการตัดสินใจ ซึ่งต้องฝึกฝนทักษะ Decision making , การเจรจาต่อรอง , Networking

บทที่ 14-20 กล่าวถึงเส้นทางสร้างผู้นำ โดยการมองหาศักยภาพของคน การสร้างการมีส่วนร่วม เข้าใจเป้าหมายขององค์กร ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อเปิดมุมมองให้กว้างขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา มองสิ่งที่ถาโถม/ ความขัดแย้งเป็นความท้าทาย เดินตามแนวทางคุณธรรม จริยะธรรม

ในส่วนของหัวข้อ “การคิดเชิงกลยุทธ์ และการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ” และ หัวข้อ “การบริหารการเปลี่ยนแปลงและกลยุทธ์ของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.” โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ รู้สึกตื่นตัวและถูกท้าทายด้วยคำถามให้คิดวิเคราะห์ตลอดเวลา และคำตอบจะพลาดเป้าจากคำตอบของผู้สอนทุกข้อ คงเพราะตอบตามสัญชาตญาณ ขาดการวิเคราะห์และขาดข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์มาวิเคราะห์ และทำให้เหตุภาพ macro ที่เข้ามากระทบ และจำเป็นต้องวางแผนให้รอบครอบ

ที่ยังไม่บรรลุงาน คือ ยังขาดการสะท้อนถึงการเรียนรู้ในส่วนที่เหลือ แต่หลังการเรียนในช่วงที่ 2 ได้นำไปคิดวิเคราะห์ต่อเนื่องในงาน จำเป็นต้องนำความรู้มาลองปฏิบัติแก้ไขจริงในการงาน และมองความท้าทายแต่ละประเด็นที่ได้รับการอบรม ไปคิดต่อเนื่อง แต่เนื่องจาก 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นสัปดาห์ที่ความท้าทาย/งาน ถาโถมเข้ามามาก ต้องจัดลำดับ แก้ปัญหา เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง และองค์กรให้ดีเท่าที่เวลา และความคิดจะเอื้อให้ทำได้

อ เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์

รศ.ดร.บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์

สรุปบทเรียนการอบรมผู้นำฯ วันที่ 23-25 มีนาคม 2560

วันที่ 23 มีนาคม 2560 เวลา 9.00-18.30 น.

วิชาที่ 15 นำเสนองานกลุ่ม: วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ (2) (10.30-12.00 น)

ศ.ดร.จีระและทีม ได้ให้ผู้เข้าอบรมวิเคราะห์บทเรียนหนังสือ Harvard Business Review: HBR’s 10 Must Reads on Innovation แต่งโดย Peter F. Drucker โดยแบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่มย่อย ดังนี้

กลุ่มที่ 1 วิเคราะห์ How GE is disrupting itself

กลุ่มที่ 2 วิเคราะห์ The discipline of innovation

กลุ่มที่ 3 วิเคราะห์ Is it real? Can we win? Is it worth doing?

กลุ่มที่ 4 วิเคราะห์ Innovation: The classic traps

สรุปกลุ่มที่ 1 วิเคราะห์ How GE is disrupting itself ทำธุรกิจอย่างไรให้พลิกโฉม ต้องคำนึงถึง globalization and localization โดย GE เริ่มจากการผลิตสินค้าของตนเอง มีราคาสูง ขายในประเทศและต่างประเทศ เช่น CT scan, MRI และส่งขายต่างประเทศ แต่ขายได้ไม่มากเพราะกำลังซื้อมีน้อย จะขายได้น้อย จึงหันมาผลิตสินค้าราคาไม่แพงแต่ขายได้ทั่วโลกโดยย้ายฐานการผลิตไปในประเทศที่ต้องการสินค้าและใช้ทุนการผลิตไม่สูงแทน บทเรียนจากบทความนี้ คือ ให้สำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างเอกลักษณ์ของสินค้า และสร้างทีมผู้นำเพื่อขับเคลื่อน ศ.ดร.จีระ ได้ให้ implication จากบทเรียน คือ ให้มอง rural health and digital มองพันธมิตร/stakeholder ทำ health care research และย้ายไปตั้งคณะฯที่ต่างประเทศ เช่น เวียดนาม

สรุปกลุ่มที่ 2 วิเคราะห์ The discipline of innovation การก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ บทเรียนจากการวิเคราะห์บทนี้ คือ ให้มองโอกาสทุกๆ โอกาสให้มีความหมายและสำคัญ purposeful search for opportunities มี 7 โอกาส คือ unexpected occurrences, incongruities, process needed, industry and market changes, demographic changes, changes in perception, and new knowledge พยาบาลควรมี 4 Rs คือ reality, relevance, reliable, and responsibility การที่ GE จะพลิก mind set ของคนใน GE ต้องใช้เวลาและ ความพยายามอย่างมาก ต้องพัฒนาคนให้เป็นเกรด A เปลี่ยนค่านิยมขององค์กรจาก centralization เป็น decentralization จึงต้องทำทั้ง product innovation and people innovation ดังนั้น จึงต้องสร้าง/เพิ่มคุณค่า (value added) ใหม่ๆ ต้องมีเป้าหมาย ถ้านำมาใช้กับคณะพยาบาลฯและพันธมิตร คือ ให้เพิ่มใน area of health food, Halal food, rural health care, สอนทางไกล ตั้งสาขาที่ต่างประเทศ(เพื่อนบ้าน)

สรุปกลุ่มที่ 3 และ 4 มีต่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 เวลา 16.00-18.30 น.

วิชาที่ 16 หัวข้อ จากประสบการณ์...สู่แนวทางการสร้างภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลในองค์กร โดย ศ.(พิเศษ)วิชา มหาคุณ (13.00-16.00 น.)

ศ.(พิเศษ)วิชา มหาคุณได้แชร์ประสบการณ์ของความสำคัญในการที่ผู้นำจะต้องเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม หลักทศพิธราชธรรม ธรรมาภิบาล และต้องยึดหลักความพอเพียง สิ่งที่ต้องมีจริยธรรมอย่างยิ่ง คือ การปกครองบ้านเมือง เพราะ ต้องอาศัยความดีงามของมนุษย์ ต้องใช้ศิลปะทุกประเภท ต้องเกี่ยวข้องกับการออกกฏหมาย หากไม่มีจริยธรรมแล้ว อะไรจะเกิดขึ้น จริยธรรมที่สำคัญ ได้แก่ ความซื่อตรง ความสุจริต ความมีศีลธรรม ความยุติธรรม การรักษาคำมั่นสัญญา การไม่ขัดแย้งผลประโยชน์ การปฏิบัติตามกฏหมายและข้อบังคับและการรักษาชื่อเสียงและศักดิ์ศรี ส่วนหลักทศพิธราชธรรม คือ ทาน (ให้) ศีล (วินัย) บริจาค (เสียสละ) อาชวะ (ซื่อตรง) มัทวะ (อ่อนโยน) ตบะ (เพียร) อักโกธะ (ไม่โกรธ) อวิหิงสา (ไม่เบียดเบียนผู้อื่น) ขันติ (อดทน) และ อวิโรธนะ (เที่ยงธรรม) สำหรับการมีธรรมาภิบาล (good governance) คือ มีการบริหารจัดการที่ดี การกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ต้องรับผิดชอบตามหน้าที่ โปร่งใส ปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจ มีกฏหมายและระบบยุติธรรมที่เข้มแข็ง ธรรมาภิบาลจะช่วยส่งเสริมชีวิตที่พอเพียง หากจะประยุกต์ใช้กับคณะพยาบาลฯ ก็คือ ผู้นำทุกระดับที่ดีต้องใช้บารมีและความดีในการปกครองลูกน้องมากกว่าใช้อำนาจ พระเดชพระคุณ

วิชาที่ 17 หัวข้อ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพแบบ 360 องศา และการสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์กร โดย อ.ลักขณา จำปา (16.00-18.30 น.)

การสื่อสารนั้น สำคัญไฉน ถ้าเรารู้ข้อมูลข่าวสารมาก ก็สื่อสารได้เร็ว องค์กรใดมีการสื่อสารได้ดี ตรงช่องทางทั้งผู้รับและผู้ให้ จะทำให้การบริหารงานก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพ เป็นผู้นำในสังคมได้ ดังนั้น ผู้นำ ต้องมีทักษะในการสื่อสรที่ดีในทุกโอกาสและทุกเวลา ดัง ซุนวู กล่าวว่า

รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

รู้เขา ไม่รู้เรา เจ้าจะชนะหนึ่งครั้ง แพ้หนึ่งครั้ง

ถ้าไม่รู้เขา ไม่รู้เรา ก็กลับบ้านเลย

การสื่อสารที่ดี ถือว่า มีชัยไปครี่งหนึ่งแล้ว การจะคิดทำการใดๆ ต้องให้รับรู้ตรงกันและร่วมกันในทุกระดับ ให้ฟังเสียงจากข้างล่าง

การสื่อสารที่ดีต้อง “Keep it short and simple – KISS”

การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์กร ต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กรนั้นๆ เช่น คณะพยาบาลฯ เน้นภูมิปัญญา ก็ต้องมีสื่อที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาหรือความเป็นไทย

วันที่ 24 มีนาคม 2560 เวลา 9.00-18.30 น.

วิชาที่ 18 หัวข้อ วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการบริหารคนเก่ง โดย ดร.ศิริลักษณื เมฆสังข์ (9.00-12.00 น.)

Human Capital Trend 2017 ให้คำนึงถึง organization of the future, career and learning, talent acquisition, employee experience (Town hall, brown bag), performance management and system, leadership in digital world, diversity and teamwork ต้องใช้หลักของศ.ดร.จีระที่ว่า Human Capital พร้อมทำงาน เป็นมืออาชีพ HOTF = H – honesty, O – open minded, T – transparent, F – fair ร่วมกับ social capital

“The world will not be destroyed by those who do evil, but by those who do nothing.”

วัฒนธรรมองค์กร คือ จิตวิญญาณขององค์กร ความเชื่อ ค่านิยมและวิธีที่คนในองค์กรแสดงออกมา ถ้าเราจะสร้างวัฒนธรรมของคณะพยาบาลฯ ก็ต้องคำนึงว่า ค่านิยมของคณะฯ มีอะไรบ้าง ค่านิยม หรือ core values ของคณะฯ คือ CARE = C – care, A – accountability, R – respect, E – efficiency แล้วจะทำอย่างไรให้คณะฯ หรือบุคลากรในคณะฯ รวมทั้งนักศึกษาได้แสดงค่านิยมนี้ออกมา เป็นเอกลักษณ์ มีการทำ workshop

การบริหารคนเก่ง Talent management process ประกอบด้วย Identify talents needed, recruit talent, assess talent, talent pool, develop talent, high performance, rewards and recognition คนที่จะ talent ได้ ต้องทั้งเก่งและดี ไม่ใช่เก่งแต่เห็นแก่ตัว

วิชาที่ 19 หัวข้อ CEO – HR – Non HR – Stakeholders and FON PSU Values โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และดร.เกริกกียรติ ศรีเสริมโภค (13.00-16.00 น.)

ทำไมคณะพยาบาลฯ ต้องพัฒนา human and business values เพราะสังคมเปลี่ยนเป็นยุค digital 4.0 มีปัจจัยที่มีผลต่อ business คือ speed of innovation, hyper-connectivity, social movement, complexity of growth, sustainable enterprising, changing lifestyles ส่วนปัจจัยในการขับเคลื่อนองค์กร 4.0 คือ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว โลกาภิวัฒน์ นวัตกรรมและธรรมาภิบาล

ทิศทางแนวโน้มของ education 4.0 คือ ความฉลาดทางปัญญาทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เปลี่ยนมหาวิทยาลัย จาก research to innovation, teaching to active learning, service to partnership พัฒนาคนให้เป็น I-people (I = interconnectivity) คือ คิด วิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ มีทักษะด้าน digital language ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาให้มี focus มากขึ้น หา business partner ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายการวิจัยและพัฒนา จัดโปรแกรมการเรียนให้นักศึกษาระดับ high degree

ศ.ดร.จีระ ได้ assign ให้ทำ workshop ซึ่งกลุ่ม 2 ที่ข้าพเจ้าสังกัด ได้คำถามว่า ในระดับวิทยาเขต 5 แห่ง เพื่อพัฒนาคนให้ได้ผลสูงสุด จะมีตัวละครกี่กลุ่ม และทำงานให้เกิดผลดีที่สุดได้อย่างไร ยกตัวอย่าง คำตอบ คือ

ในระดับวิทยาเขต 5 แห่ง เพื่อพัฒนาคนให้ได้ผลสูงสุด จะมีตัวละคร 5 กลุ่ม ได้แก่­­­­­­­­

  1. CEOคือ อธิการบดี
  2. New HRคือ รองอธิการบดีจาก 5 วิทยาเขต/ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่าย HR
  3. HRคือ คณบดี/รองคณบดี HR/หัวหน้าสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง/กรรมการ HR ของคณะ
  4. Non-HRคือ ผู้บริหารที่ไม่ได้ดูแลเรื่อง HR เช่น รองอธิการบดี/ผู้ช่วยอธิการบดี/รองคณบดีฝ่ายอื่น ๆ/หัวหน้าสาขาวิชา
  5. Stakeholdersคือ กรรมการ Board มหาวิทยาลัย/Networks: สถาบัน Chira’s Academy

การทำงานเพื่อพัฒนาคนให้ได้ผลสูงสุด ดีที่สุด มีวิธีการทำงานร่วมกันทั้ง 5 ตัวละครได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมยกตัวอย่างให้สอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดังนี้

  1. ต้องมีปรัชญาและความเชื่อร่วมกันว่า “คน” คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนหรือ Human Capitalปรัชญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ “ขอให้ถือประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่ 1”ดังนั้น นอกจากพัฒนาคนด้านความสามารถในการทำหน้าที่ได้อย่ามีประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องพัฒนาคนด้าน moral ด้วย
  2. ต้องมีเป้าหมายขององค์กร
    1. Ideation (เราเกิดมาเพื่ออะไร) มหาวิทยาลัยก่อตั้งเพื่ออะไร – เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย
    2. Vision เป้าหมาย (goal) คือ “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต บริการวิชาการ และทำนุบำรุงวัฒนธรรม โดยมีการวิจัยเป็นฐาน”
    3. Mission (ภารกิจสำคัญ คืออะไร) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีพันธกิจ 3 ข้อ ดังนี้
      1. พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นสังคมฐานความรู้ บนพื้นฐานพหุวัฒนธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง
      2. สร้างความเป็นผู้นำวิชาการ
      3. ผสมผสานความรู้บนพื้นฐานประสบการณ์เพื่อสร้างปัญญาและคุณธรรม
    4. HR Strategy ที่สอดคล้องกับ vision หรือ goal คืออะไร: พัฒนาอาจารย์ให้มีความรู้ความสามารถที่เป็นเลิศทั้ง 4 ด้านตาม vision หรือ goal ของมหาวิทยาลัย คือ ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
  3. ต้องเป็นStrategic partners กับกลุ่มในองค์กร อย่าทำอะไรแบบแยกเป็นส่วน ๆ หรือ isolation: ทำงานร่วมกัน ประสานกันทุกระดับ ทั้งในระดับ CEO, New HR, HR, Non-HR, Stakeholders ทั้งภายในและภายนอกวิทยาเขต (ระหว่างวิทยาเขต) เนื่องจากแต่ละวิทยาเขตมีปรัชญา ความเชื่อ วิสัยทัศน์ พันธกิจเหมือนกัน
  4. ต้องเข้าใจบริบท (context) ของแต่ละวิทยาเขต ว่าแต่ละวิทยาเขตเป็นอย่างไร
  5. ต้องเป็นทั้ง innovator & integrators
  6. ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ได้
  7. ทำอะไร ทำจริง
  8. ทำร่วมกับ Non-HR ต้องมอง Macro
  9. ทุกคนในองค์กรต้องเข้าใจ HR = Balance scorecard
  10. ต้องเป็น Team เดียวกัน ต้อง shared value/shared benefit ร่วมทุกข์ ร่วมสุข

วิชาที่ 15 นำเสนองานกลุ่ม: วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ (2) (16.00-17.30 น. ต่อกลุ่ม 3 และ 4)

กลุ่มที่ 3 วิเคราะห์ Is it real? Can we win? Is it worth doing? กล่าวถึงเครื่องมือที่ช่วยในการ

ตัดสินใจว่าควรจะลงทุนสิ่งใด คือ The risk matrix และ The R – W – W (real. Win, worth it) screen ถ้าจะ apply กับคณะพยาบาลฯ ให้ใช้แบบสอบถามประเมินความเสี่ยง อะไรเป็นจุดเด่น การแข่งขันต้อง add value เข้าไป

กลุ่มที่ 4 วิเคราะห์ Innovation: The classic traps กล่าวถึง mistakes and remedy ได้แก่

1. strategy mistakes (hurdles too high, scope too narrow) แก้ไขโดย widen the search,

broaden the scope

2. process mistakes (controls too tight) แก้ไขโดย add flexibility to planning and control systems

3. structure mistakes (connection too loose, separations too sharp) แก้ไขโดย facilitate close connections between innovators and mainstream businesses

4. skills mistakes (leadership too weak, communication too poor) แก้ไขโดย select for leadership and interpersonal skills, and surround innovators with a supportive culture of collaboration

ดังนั้น คนที่เป็น CEO ต้องมีแนวคิด เข้าใจในการสร้างนวัตกรรม เป็นผู้นำ ต้องมี rhythm and speed, put the man to the right job, good communication หาเงินและจัดสรรเงินให้เพียงพอกับองค์กร

วิชาที่ 8/3 ผลงานติดตามความคืบหน้าของงานออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมฯ ครั้งที่ 2 โดย อ.พิชญ์ภูรีและผศ.กิตติ

สรุปโครงการของกลุ่ม 2 เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับกลุ่มอื่น วิทยากรเสนอให้ focus ที่เป้าหมายที่ 2 คือ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพองค์รวมที่บูรณาการภูมิปัญญาตะวันออกสำหรับผู้สูงอายุทั้งกลุ่มติดเตียง ติดบ้าน และติดสังคม ประกอบด้วย

1) ชุดดูแลสุขภาพกายและจิต (Body and Mind Health)

2) ชุดอาหารสุขภาพและสมุนไพร (Nutrition and Herbal Foods): อาหารเพื่อเสริมสร้าง และ

อาหารเป็นยา (Herbal Foods and Herbal Medicines)

3) ชุดดูแลสุขภาพพลัง (Energy Health)

4) ชุดดูแลสุขภาพทางปัญญา (Spiritual/Wisdom Health)

วันที่ 25 มีนาคม 2560 เวลา 9.00-18.30 น.

วิชาที่ 20 หัวข้อ Life coach for happiness and success โดย อ.พจนารถ ซีบังเกิด (9.00-12.00 น.)

ทำอะไร ทำให้ดี รู้ลึก รับผิดชอบดี

มีความแตกต่างของคำต่างๆ คือ

Coach ใช้ ask ให้ Coachee ไปสู่ทางออก focus ที่ทางออก จะไม่บอกอะไร ให้แก้ปัญหาเอง แต่ให้สะท้อนคิดได้ ห้าม blame ค่ายอื่น/คนอื่น ให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า/คนข้างหน้า ให้ความเคารพมุมมองของ coachee ให้ coachee ตั้งเป้าของตนเอง อย่าไปเปรียบกับคนอื่น

Teaching/mentor สอน บอกให้ทำ

Consulting/managing สั่งการ มีปัญหาแล้วบอก เล่นบท manage

Counselor เยียวยา focus ที่ปัญหา

Tutor ใช้กับคนที่เรียนรู้มาแล้ว มาสรุปประเด็นสำคัญให้ฟัง

Facilitator ผู้เตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ วาง process ไว้ คอยกระตุ้นกลุ่ม

วิชาที่ 21 หัวข้อ People management by coaching โดย อ.พจนารถ ซีบังเกิด (13.00-16.00 น.)

พูดถึงคำว่า SATIR “ทำไม คนถึงพูดแล้ว ไม่ทำ” ให้พิจารณาวิเคราะห์ที่กราฟซึ่งมี 6 ระดับ จากต่ำ ไป สูง คือ ระดับ 1 SELF (ชีวิต) ระดับ 2 want/need ที่แท้จริง ต้องการคำชม การเคารพฉัน/สิทธิฉัน ให้เกียรติ การยอมรับ เห็นตนเองมีคุณค่า ระดับ 3 expectation คาดหวังตนเอง เคารพสิทธิคนอื่น ระดับ 4 perception ตีความ ไม่ใช่งานของฉัน ระดับ 5 coping status ขุ่นมัว ไม่ชอบ ไม่พอใจ ระดับ 6 behavior พฤติกรรม สรุป คือ ตราบใดที่คนๆ นั้น ยังไม่ได้ need ของตนเอง ก็จะไม่ทำ ไม่ได้พฤติกรรมที่เป็นบวก

Bug You Exercise

1 เขามองตัวเอง 2 ฉันไม่ชอบแบบนี้ (เริ่มจากช่องนี้ก่อน) 3 เขาควรจะเป็นแบบนี้ 4 เขามองฉัน

ฉันทำตัวเอง พูด = ไม่ทำ พูดแล้ว ทำด้วย เปิดใจ ไม่ทำ

ร่วมมือบางเรื่อง ไม่ร่วมมือ ร่วมคิด/ทำ ไม่เห็นแล้วพูด จู้จี้

ทำแล้ว จะมีชีวิตรอด

แนวคิดพื้นฐานในการมองคน ในการ coach คือ

1. เรากะเขา ก็เหมือนกัน

2. ทุกคนมีความดีในตัว

3. ทุกคนเปลี่ยนแปลงได้

4. โลกนี้ ไม่มีคำว่า ล้มเหลว

สรุป ผ่านการอบรมอีก 3 วัน รวมเป็น 9 วัน ได้อะไรมากมายในการนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานและตนเอง ทั้งในเรื่องบทเรียนจากหนังสือเล่มที่ 2 คุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล ความพอเพียง วัฒนธรรมองค์กร CEO-HR-Non HR การทำ workshop ตลอดจนการพัฒนาโครงการฯ ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ทุ่มเทให้ ขอบคุณคณะฯ ที่สนับสนุนให้มีโครงการอบรมฯนี้และให้เข้าร่วมรับการพัฒนาค่ะ

รศ.ดร.บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์

6 เมษายน 2560

รศ.ดร.บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์

สรุปบทเรียนการอบรมผู้นำฯ วันที่ 19-21 เมษายน 2560

วันที่ 19 เมษายน 2560 เวลา 9.00-12.00 น.

วิชาที่ 22 นำเสนองานกลุ่ม: วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ (3)

ศ.ดร.จีระและทีม ได้ให้ผู้เข้าอบรมวิเคราะห์บทเรียนหนังสือ The Agility Shift: Creating agile and effective leaders, teams, and organizations by Pamela Meyer โดยแบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 4 กลุ่มย่อย ดังนี้

กลุ่มที่ 1 วิเคราะห์ Chapter 1 The agility shift: What and why and Chapter 2 Weaving their relational web for agility

กลุ่มที่ 2 วิเคราะห์ Chapter 3 Discovering the five dynamics of the agility shift and Chapter 4 Becoming an agile leader: Empowering everyone to be agile

กลุ่มที่ 3 วิเคราะห์ Chapter 5 Building the agile team and Chapter 6 Co-creating the agile organization

กลุ่มที่ 4 วิเคราะห์ Chapter 7 Maximizing agility within the ecosystem and Chapter 8 Shifting to agile learning and development

สรุปกลุ่มที่ 1 วิเคราะห์ Chapter 1 The agility shift: What and why and Chapter 2 Weaving their relational web for agility

Chapter 1: The agility shift is the intentional development of the competence, capacity, and confidence to learn, adapt, and innovate in changing contexts for sustainable success. การเปลี่ยนแปลงให้เกิดความคล่องแคล่ว หมายถึง ความตั้งใจที่จะพัฒนาให้เกิดความสามารถ และความมั่นใจในการเรียนรู้ ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

3 Cs สำหรับ agility shift คือ

1. Agility competence ประกอบด้วย ทักษะ ความรู้และความสามารถที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้วางแผนไว้หรือไม่ได้คาดคิดมาก่อน รวมทั้งการหาโอกาสใหม่ๆ

2. Agility capacity หมายถึง ความไม่แน่นอนในความสามารถของบุคคล เช่น ทีมอาจผลิตสินค้าใหม่ให้ลูกค้าในเวลาที่จำกัดได้ แต่อาจไม่สามารถทำได้หาก deadline ถูกเปลี่ยนบ่อยครั้ง หรือ specification ของสินค้าเปลี่ยน หรือ คนงานสไตรค์

3. Agility confidence ต้องเชื่อในความสามารถของตนเองและผู้อื่นในการเปลี่ยนแปลง

Chapter 2: กล่าวถึง relational web ความสัมพันธ์ใยแมงมุม ทั้งบุคคลและระบบในองค์กร เพื่อให้เกิดการ mutual support, coordination, and resource and idea sharing

สรุป ทุกระดับขององค์กรหรือคณะพยาบาลฯ ต้องมี interaction กัน ศ.จีระฯ กล่าวว่า agility ของคณะฯ ต้องเป็นแบบ ladder theory แบบขั้นบันได จึงจะเหมาะกับองค์กร

สรุปกลุ่มที่ 2 วิเคราะห์ Chapter 3 Discovering the five dynamics of the agility shift and Chapter 4 Becoming an agile leader: Empowering everyone to be agile

Chapter 3: กล่าวถึง five dynamics of the agility shift ใน relational web ได้แก่

Relevant ต้องใช้ why? to guide how? ต้อง relevant first to their own values and the needs of the customers ทำได้โดยการใช้ SWOT (strengths, weakness, opportunities, and threats), SOAR (strengths, opportunities, aspirations, and results)

Responsive ต้องมีการตอบสนองต่อสิ่งที่ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นและมีผลเสียต่อองค์กรอย่างทันท่วงที ฉับไวและมีคุณภาพ ตรงประเด็น โดยการ empower and training บุคลากรทุกระดับในองค์กร ให้มีการตอบสนองทันที มี hotline ที่ติดต่อได้ ทำเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

Resilient เป็นความยืดหยุ่น หากมีเหตุการณ์ที่ทำให้องค์กรไม่สามารถก้าวต่อไปได้ เกิดผลเสียต่อองค์กร บุคลากรทุกระดับในองค์กรต้องช่วยกันทำให้กลับสู่ดังเดิมโดยเร็วที่สุดและต้องมีการใช้เครือข่ายให้เป็นประโยชน์ด้วย

Resourceful เป็นความสามารถในการใช้ จัดหาทรัพยากรที่มีอยู่

Reflective ต้องมีการสะท้อนคิด ประเมินผล และใช้สิ่งที่ได้หรือประสบการณ์มาประบปรุงแก้ไขต่อไป

ในบทนี้ ยังมีการยกตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่หลายบริษัทที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ ซึ่งทุกบริษัทมีการใช้ agility shift ทั้งสิ้น เช่น UPS, NOKIA, Erickson, etc.

Chapter 4: กล่าวถึง Whole-person agility เกี่ยวข้องกับสมองว่า brain is a social organ, the brain’s first priority is survival, brain hates uncertainty, brain learns by association

สรุปกลุ่มที่ 3 วิเคราะห์ Chapter 5 Building the agile team and Chapter 6 Co-creating the agile organization

Chapter 5: กล่าวถึง team work, diversity, role clarification ผู้นำต้อง empower คนในองค์กร

Chapter 6: กล่าวถึง การเป็น agility organization ต้องมีการถักทอ organization relational web โดยการสร้าง trust, ปรับปรุง knowledge transfer and sharing, เพิ่ม response time, foster engagement ทำข้อตกลง empower decision making มีการ shift ของ organization structure จากแบบเดิมๆ คือ formal, mechanistic/ bureaucratic, hierarchal, command & control/ optimal for stability เป็นแบบ agility organization คือ informal, organic/networked, autonomous, communication, collaboration, coordination, optimal for fluidity

สรุปกลุ่มที่ 4 วิเคราะห์ Chapter 7 Maximizing agility within the ecosystem and Chapter 8 Shifting to agile learning and development

Chapter 7: กล่าวถึง ecosystem ไม่มีระบบ ไม่มีลิมิต ต้องเปิด mind set สร้าง interorganization web ทำให้ง่ายต่อการให้ผู้อื่นมาเชื่อมโยงกับ web ของเรา

Chapter 8: กล่าวถึง You are here today, then your job is over there tomorrow and that’s how quick we actually move มีการสรุปเป็นตารางเกี่ยวกับ the agility shift learning and development framework (หน้า 134-135)

วิชาที่ 23 หัวข้อ การพัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ มอ. เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม โดย ดร.พยัต วุฒิรงค์ (13.00-16.00 น.)

หัวข้อนี้ กล่าวถึง Total Innovation Management (TIM) ซึ่งไม่ใช้แค่ R & D แต่เป็นอยู่ในตัวคนทุกคน ต้องใหม่และแตกต่าง ดีกว่าผู้อื่น (different, better) ต้องมีทิศทางและยั่งยืน มี TIM 6 TIM ได้แก่

1. TIM Leadership (120): Senior leadership (60), organization culture (60), innovation-focused values, commitment to innovative excellence, vision & mission communication, promote innovation culture, open communication, risk-taking, challenge, empowerment

2. TIM Strategy (70): Strategy development (70), focus on innovation, short-term & long-term goals, action plans, KPIs, resources allocation

3. TIM Knowledge (70): Management of knowledge (50), benchmarking (20), knowledge management, technology roadmap, comparison, benchmarking

4. TIM People (100): Align HR with innovation strategy, focus innovation competency, cross-functional activities, cross-cultural learning, training & development for innovation, conductive work environment, well-being & happiness, rewards recognition, performance appraisal

5. TIM Process (190): Innovative process (130), process improvement (30), stakeholder management (30), breakthrough co-creation, partnership & stakeholder feedback, idea management, customer insight, innovative project management, risk management

6. TIM Results (450): Operational (120), financial (100), customer (90), people (90), social (50)

วันที่ 19 เมษายน 2560 เวลา 7.10-16.00 น.

วิชาที่ 24 กิจกรรม CSR: Public Spirit – Enlarge your networks by ศ.จีระและทีม เวลา 7.10-15.00 น.

ในวันนี้ ทางผู้เข้าอบรมและศ.จีระและทีม ได้จัดทำโครงการกิจกรรมเพื่อสังคม “วันกตัญญูและผู้สูงอายุไทยใส่ใจสุขภาพ” ณ ศูนย์เรียนรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านหนองเสาธง หมู่ที่ 6 ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยส่วนของผู้สูงอายุไทยใส่ใจสุขภาพ มีกิจกรรม 4 กิจกรรม คือ

ซุ้ม 1 การตรวจและให้คำแนะนำด้านสุขภาพ วัดความดันโลหิต การตรวจองค์ประกอบในร่างกาย

ซุ้ม 2 การฝึกสมองของผู้สูงอายุ

ซุ้ม 3 ของเล่นเด็กเคลื่อนที่ มีการเล่นระบายภาพสี ร้อยลูกปัด และทำดอกไม้จากใบเตย

ซุ้ม 4 การทำอาหารสมุนไพรในท้องถิ่น มีการประกวดอาหาร ชิงรางวัล

ส่วนวันกตัญญูผู้สูงอายุซึ่งจัดโดยอบต.ควนรู มีพิธีสงฆ์ พิธีรดน้ำดำหัวขอพรผู้สูงอายุและร่วมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน เป็นอาหารที่จัดทำโดยชาวบ้าน

เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมในช่วงเช้า ช่วงบ่าย ได้กลับมานำเสนอสรุปผลการจัดกิจกรรมและสะท้อนคิด ซึ่งข้าพเจ้ารับผิดชอบซุ้ม 3 ของเล่นเด็กเคลื่อนที่ มีการเล่นระบายภาพสี ร้อยลูกปัด และทำดอกไม้จากใบเตย มีเด็กมาร่วม 17 คน อายุระหว่าง 8-11 ปี ได้มีการสัมภาษณ์เด็ก 6 คน พบว่า เด็กชอบเล่นร้อยลูกปัดมากกว่าระบายสี เพราะสนุกและได้สายสร้อยให้กับตัวเองและมีเด็กชาย 1 คน มาร่วมด้วย เพื่อเอากลับบ้านไปให้ย่าและพี่สาว เด็กทั้งหมดให้คะแนนความพึงพอใจ 10 จาก 10 คะแนน พี่ๆนักศึกษา (5 คน) และอาจารย์ (2 คน) ใจดี น่ารัก ส่วนการทำดอกไม้จากใบเตย ซึ่งสอนโดยเบล (ลูกอาจารย์) ไม่มีเด็กมาร่วม ทั้งนี้อาจไม่เหมาะกับเด็กวัยนี้ แต่มีผู้ใหญ่ชาวบ้านมาร่วม 2 คนและมีนักศึกษา อาจารย์มาหัดทำ ปัญหาอุปสรรคในการจัด คือ มีมดมากและอากาศร้อนจัด

ส่วนตัว มีความสุขใจที่ได้ให้บริการชุมชน

วิชาที่ 10 หัวข้อ Crucial Conversion โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และอ.พิชญ์ภูรี จันทรกมล เวลา 15.00-16.00 น.

อาจารย์สอนโดยการบรรยายและให้ดูวิดิโอการสัมภาษณ์ Joseph Grenny หนึ่งในผู้เขียนหนังสือ Crucial Conversion Tools for Talking When Stakes are High (Kerry Patterson, Joseph Grenny, Ron MaMillan, Al Switzler) จุดดีของหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึง ถ้าสนทนาได้ดี จะทำให้องค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ จุดด้อย คือ context เป็นตะวันตก อาจไม่เหมาะกับตะวันออก

การสื่อสารมีแบบทางการ/ไม่ทางการ และใช้ภาษากาย การพูดต้องดูกาลเทศะหรือจังหวะ ต้องควบคุมอารมณ์และสีหน้า (Emotional Capital) คุณภาพของการสื่อสาร = คุณภาพขององค์กร ปัญหาต่างๆ เกิดจากการไม่พูดคุยกัน ชอบพูดลับหลัง ลูกน้องควรเรียนรู้ที่จะพูด ผู้นำต้องเปิดโอกาสให้พูด ดังนั้นจากหนังสือ สรุปได้ว่า ให้คิดก่อนพูด ให้ผู้พูดรู้สึกปลอดภัยก่อนจะพูดกัน และให้แสดง fact ก่อนพูด พูดให้นิ่มนวล สีหน้าท่าทางต้องเก็บให้ดี อย่าใช้อารมณ์ สร้างบรรยากาศ ให้ผ่อนคลาย (coffee shop)

การบ้านที่ต้องทำและนำเสนอในชั้นเรียน คือ

1. ยกตัวอย่างกรณีศึกษาปัญหาของการสนทนาที่คณะฯ 2 เรื่อง เหตุผลคืออะไร (กลุ่ม 4)

2. ยกตัวอย่างกรณีศึกษที่ดี (เกิดโอกาสหรือประโยชน์จากการสนทนา) ที่คณะฯ 2 เรื่อง เหตุผล คือ อะไร (กลุ่ม 3)

3. สรุป 3 ประเด็นหลักๆ ที่กลุ่มคิดว่า ได้เรียนรู้จากหนังสือ crucial conversation และจะนำมาปรับใช้กับคณะฯของเรา (กลุ่ม 2)

4. การฝึกทักษะในคณะฯ และพันธมิตร เรื่อง การสนทนาที่มีประสิทธิภาพ ควรจะเน้นจุดใดบ้าง และทำอย่างไรให้สำเร็จ และเชื่อมโยงกับการพัฒนาทุนมนุษย์ของคณะฯ ตามทบ. 8Ks + 5Ks อย่างไร (กลุ่ม 1)

วันที่ 21 เมษายน 2560 เวลา 9.00-16.00 น.

วิชาที่ 25 หัวข้อ กิจกรรมรักษ์ใจ: ศิลปะ...สร้างสมาธิและปัญญา โดย อ.สาโรจน์ อนันตอวยพร อ.เจษฎา เนื่องหล้าและทีม

ในวันนี้ มีความสุขและสบายใจที่สุดนับตั้งแต่ที่ได้เข้าอบรม เนื่องจากเป็นชั่วโมงฝึกศิลปะวาดภาพด้วยสีน้ำ ช่วงเช้า อาจารย์สอนให้หัดระบายสีโดยใช้สีแบบเปียกบนเปียก เปียกบนแห้ง และแห้งบนแห้ง เป็นภาพวิว มีภูเขา ท้องฟ้า ต้นไม้ ทะเล เรือ บ้าน หาดทราย เป็นต้น ช่วงบ่ายให้ระบายสีจริง เป็นภาพวิว มีภูเขา ท้องฟ้า ต้นไม้ บ้าน ดอกไม้สีชมพู ต้นหญ้า แม่น้ำ ทุ่งหญ้า เป็นต้น การจะวาดภาพได้ดี ต้องมีใจชอบเป็นหลักใหญ่ มีสมาธิ มีจินตนาการ มีหัวศิลปะถนัดซ้ายด้วย จึงจะวาดได้สวยงาม

สรุป ผ่านการอบรมอีก 3 วัน รวมเป็น 12 วัน ได้อะไรมากมายในการนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานและตนเอง ทั้งในเรื่องบทเรียนจากหนังสือเล่มที่ 3 The Agility Shift การพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมตาม Thailand 4.0 การจัดกิจกรรม CSR = Cooperate Social Responsibility บทเรียน crucial conversation และการทำกิจกรรมระบายสีน้ำ ทำให้รู้ว่า การเป็นผู้นำ นอกจาก “บู้แล้ว ต้องบุ๋น” ด้วย ต้องมีทั้ง “ศาสตร์และศิลป์” ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่ทุ่มเทให้ ขอบคุณคณะฯ ที่สนับสนุนให้มีโครงการอบรมฯนี้และให้เข้าร่วมรับการพัฒนาค่ะ

รศ.ดร.บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์

29 เมษายน 2560

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท