ฤา Pokémon จะเป็นนวัตกรรมสายลับ CIA


ปรเมศวร์ กุมารบุญ

Cyber Criminologist


ปรากฏการณ์ โปเกม่อน หรือ Pokémon Go เป็นเกมที่เรียกว่าแนว Augmented Reality โดยผู้เล่นจะต้องจับตัว โปเกม่อน ที่ปรากฏบนหน้าจอสมาร์ตโฟน เมื่อผู้เล่นถือสมาร์ตโฟนเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ

ท่ามกลางความรู้สึกไม่พอใจของวัยรุ่นในโลกโซเชียลที่เห็นหน่วยงานภาครัฐของไทยเริ่มออกมาเคลื่อนไหวห้ามปรามการเล่น โปเกม่อน จนวัยรุ่นบางคนถึงกับบ่นว่าผู้ใหญ่โลกแคบ แต่อีกฝากหนึ่งของโลก เช่น รัสเซีย อิหร่าน และอีกหลายประเทศก็เริ่มห้ามการเล่นโปเกม่อนในประเทศ อีกทั้งยังมีเว็บไซต์วิชาการและเว็บขุดคุ้ยมากมายทยอยออกมาแฉว่า โปเกม่อน นั้นมีเบื้องหลังที่ไม่ชอบมาพากลอันมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับ CIA มาเกี่ยวข้อง (ท่านผู้อ่านลองเสิร์ช key word หรือชื่อคนตามที่ผมเขียนค้นคว้าต่อดูนะครับ)

หลายคนอาจจะเริ่มหรี่ตาสงสัยว่าผู้เขียนเอาอะไรมาพูดนะ ถ้าบอกว่า ทั้ง Facebook และ google ล้วนเติบโตในช่วงเริ่มต้นจนแข็งแกร่งขึ้นมาได้จากการได้ทุนสนับสนุนจาก CIA (Central intelligence Agency) หรือองค์กรที่เรียกให้เข้าใจเป็นภาษาชาวบ้านคือ “สายลับของอเมริกา” นั่นเอง

Facebook นั้นช่วยให้ CIA ทำงานง่ายขึ้นมากเมื่อผู้นำทุกประเทศทั่วโลกต่างก็รายงานว่าวันนี้ตนมีภารกิจอะไรไปที่ไหนมาบ้าง ส่วน Google นั้น ก็ช่วยด้านแผนที่อันเป็นข้อมูลจารกรรมที่สำคัญของสายลับฟังดูเริ่มมีเหตุผล แล้วเกี่ยวอะไรกับ โปเกม่อน ล่ะ?

โปเกม่อน โก หรือ Pokémon Go พัฒนาโดย บริษัท ซอฟต์แวร์ จาก ซานฟรานซิสโก ที่ชื่อว่า บริษัท ไนแอนติก อิงค์ (Niantic, Inc.) ซึ่งเป็นบริษัท Startup ที่อยู่ภายใต้ google ซึ่งผู้ก่อตั้ง และเป็น CEO ชื่อว่า John Hanke คนผู้นี้คือจุดเชื่อมต่อกับรัฐบาลอเมริกาและ CIA

ในปี 2001 John Hanke คือผู้ก่อตั้งบริษัท Keyhole, Inc. ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์ซอฟแวร์ แอปพลิเคชั่น และ google ได้บริษัทนี้มาครอบครองในปี 2004 อันเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนา google map และ google earth ที่ถูกใช้งานมาในปัจจุบัน


ผู้เขียนชอบนวัตกรรมทุนของอเมริกาเรื่องนี้มากครับ CIA มีกองทุนที่เรียกได้ว่าเป็น CIA’s venture capitalist firm ชื่อว่า In-Q-Tel เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ให้ทุนนวัตกรรมที่ส่งเสริมงานการข่าวลับ (Intelligence) และผนวกกับธุรกิจได้ (ดูเพิ่มเติมที่ Reference https://www.cia.gov/about-cia/cia-museum/experience-the-collection/text-version/stories/cias-impact-on-technology.html) แน่นอนครับ In-Q-Tel เป็นผู้สนับสนุนทุนให้ Keyhole, Inc. ในการพัฒนา google map และ google earth ที่ช่วยให้ข้อมูลพิกัดสถานที่ต่างๆ ให้ง่ายขึ้น ไม่ต้องใช้วิธีการจารกรรมแบบในภาพยนตร์ที่เราเคยดูกันมาก่อน

แต่พิกัดเหล่านั้นที่ google พัฒนาอาจจะยังไม่เพียงพอ ทำอย่างไรจะมองเห็นภายในที่ไม่ใช่แค่หลังคา สถานที่ราชการ ค่ายทหาร ศาสนสถาน อาคารธุรกิจ คลังน้ำมัน หรือจะเป็นคลังแสง แต่อยากเห็นภายในหรือสิ่งของสำคัญก็จะยิ่งดี

ก็แค่เอา โปเกม่อน ไปแปะไว้ CIA จะมีคนนับล้านๆ ถือสมาร์ตโฟน เดินเท้าพร้อมกล้องถ่ายรูป ถ่ายภาพไป ระบุพิกัดไปด้วย ช่วยบอกเรื่องราวสถานที่ต่างๆ ให้เขาทราบก็เป็นไปได้ !!! อย่างที่ดาวเทียมจารกรรมหรือ Google car ไม่สามารถเคยบอกข้อมูลแบบนี้ได้มาก่อน










เว็บไซต์ infowars.com เปรียบ โปเกม่อน เป็น “Imperial Probe Droids” ราวกับเป็นหุ่นยนต์ตรวจตราความเรียบร้อยในสตาร์วอร์ ส่วนเว็บไซต์ corbettreport.com ได้กล่าวถึงปรากฏการณ์ โปเกม่อน ที่มียอดดาวน์โหลด Apps สูงสุด (App Store’s “Top Grossing”) ซึ่งเฉลี่ยยอดดาวน์โหลดในสัปดาห์แรกถึงวันละ 1.6 ล้านครั้ง

เกมเมอร์คนนึงเล่าให้ฟังแบบน้ำเสียงอ่อยๆ ว่า เขาเองก็เสียเงินไปประมาณ 500 บาท ในการซื้อของในการเล่นเกม โปเกม่อน แต่เขาบอกว่าไม่ใช่ทุกคนหรอกนะที่จะเสียเงิน อาจจะมีแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่จริงจังกับเกมเท่านั้น หรืออาจจะคิดเป็นเพียงร้อยละสิบของคนดาวน์โหลดทั้งหมดในโลก เขาเดาเล่นๆ อย่างไม่มีแบบแผนให้ฟังว่า เป็นไปได้ที่ โปเกม่อน จะทำเงินให้ บริษัท ไนแอนติก อิงค์ ถึงวันละมากกว่า ร้อยล้านบาท

ผู้เขียนได้ค้นคว้าเรื่องราวของ John Hanke CEO ของ ไนแอนติก อิงค์ แล้วรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญที่เป็นผู้นำในการกำหนดนโยบาย Cybercrime ของโลกในปัจจุบันคนหนึ่งเลยก็ว่าได้ นอกจากเขาสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ขอทุนจากองค์กรสายลับอย่าง CIA ได้แล้ว ข้อมูลภาพสถานที่ตามพิกัดสำคัญเหล่านั้นอาจจะเป็นประโยชน์ต่องานจารกรรมหรือไม่อย่างไรผู้เขียนก็ไม่อาจทราบได้ แต่การทำเงินอย่างมหาศาลของ โปเกม่อน โก นั้น ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของกองทุน In-Q-Tel อย่างแน่นอน

หากเรายังชื่นชอบคำสวยหรูอย่าง Digital economy ที่บางท่านยังไม่รู้ว่าจะสร้างรายได้ให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไรจากอินเทอร์เน็ต ผู้เขียนอยากจะเรียนเชิญเข้าสู่การค้นคว้าโลก “Matrix Economy” จาก โปเกม่อน โก กันได้แล้วครับ


John Hanke อัจฉริยะที่นักวิชาการด้าน Cyber crime ต้องจับตา

ขอบคุณภาพจาก : http://www.gameinformer.com/b/news/archive/2016/07/31/hackers-got-a-hold-of-niantic-ceo-john-hanke-twitter-account.aspx



Reference

คำสำคัญ (Tags): #Cyber crime#cia#In-Q-Tel
หมายเลขบันทึก: 623575เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2017 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2019 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท