วันที่ 26 เรียนหรือเล่น (22 ธันวาคม 2559)


ตอนเป็นเด็กเราคิดว่าวิชาวิทยาศาสตร์ไม่สนุก เพราะครูสอนให้อ่านแต่ในหนังสือ จากนั้นก็ตอบคำถามพอโตขึ้นก็ได้ลงมือทดลองแต่การได้ทดลองเราก็ไม่ชอบอีก เพราะเราไม่เข้าใจการทดลองทำไปทำไม และยังต้องเจอคำยาก ๆ เช่น จุดประสงค์การทดลอง คำว่าสรุปผลการทดลอง แค่คำว่าทดลองเราก็ไม่เข้าใจแล้วคำพวกนี้เราจะเข้าใจได้อย่างไร เวลาทดลองก็ต้องทำเป็นกลุ่ม เพื่อนบางคนยึดอุปกรณ์ไปเป็นของตัวเองหมดเพื่อนๆคนอื่นได้แต่มอง เราว่าการทดลองมันไม่ยุติธรรม ความคิดตอนเป็นเด็กต่อต้านการทดลองมากแต่ตอนนี้บทบาทมันเปลี่ยนไป เราเองจากที่ต้องเป็นคนทดลองกลายมาเป็นคนจัดเตรียมการทดลอง พึ่งมาเข้าใจนี่แหละว่าวิทยาศาสตร์มันก็เป็นเรื่องของธรรมชาติ มันเกิดขึ้นจริง และมันก็มีหลักฐาน มันสามารถเถียงคนอื่น ๆที่ไม่เชื่อได้ด้วยการทำการทดลองนี่แหละ การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์นี่ก็สนุกนะ ถ้าครูไม่มัวแต่มายืนอธิบายแล้วให้เด็กท่องทั้งที่เข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ไม่รู้ คำบางคำเด็กไม่จำเป็นต้องเข้าใจตอนนั้นก็ได้ เราว่าวิทยาศาสตร์คนสอนควรทำยังไงก็ได้ที่ให้เด็กเกิดการตระหนักและหยั่งรู้ได้ด้วยตนเอง เข้าใจจากการลงมือทำจากการเห็นด้วยตา สัมผัสผ่านมือ คือให้เด็กทำเองทุกอย่าง ถ้าครูสร้างคำถามแล้วให้เด็กคิด แล้วเราคอยฟังความคิดเด็กดูบางทีสนุกกว่าการที่เราอธิบายให้เด็กฟัง แต่เด็กเล็ก ๆสำหรับเราแล้วจุดสำคัญสำหรับคนเป็นครูคือเราจะใช้คำพูด การเสริมแรง หรือแสดงท่าทางอย่างไรให้เด็กยอมฟังเงื่อนไข และไม่ใช่คำสั่งแต่เป็นการลองแนะให้เค้าทำ อย่างเรื่องแม่เหล็กก็เหมือนกันแค่พูดว่าแม่เหล็กเด็ก ๆก็รู้จักกันเกือบหมดแล้ว แต่สำคัญตรงที่เราจะทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กรู้จักแม่เหล็กมากกว่าดูดเหล็กได้ แล้วเรามีไว้ทำไมใช้ประโยชน์ได้อย่างไรในชีวิต



หมายเลขบันทึก: 622726เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2017 20:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2017 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท