ตัวอย่าง R2R การรับส่งแสดงภาพทางการแพทย์


การพัฒนาคุณภาพการทำงานประจำ โดยการเพิ่มเติมข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวเลข หรือทางสถิติ นำมาแสดงเป็นงานวิจัยการทำงานอย่างง่ายๆ

ผมขอนำเสนอตัวอย่าง แนวทางการแก้ไขปัญหาในหน่วยงานทางรังสีเทคนิค

โดยนำข้อมูลการแก้ไขปัญหา เพื่อแสดงในรูปแบบการทำงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research; R2R) แบบง่ายๆ สำหรับท่านผู้สนใจ


คุณ โสภณ ปันทวงศ์ จากโรงพยาบาลสันปาตอง ได้โพสต์ ข้อความว่า...

ความเร็วที่แตกต่าง..ไม่เสียแรงที่เดินสายใหม่




คุณโสภณ ปันทวงศ์์ พบปัญหาในที่ทำงานเกี่ยวกับการรับส่งแสดงภาพทางการแพทย์ หรือ เรียกอย่างย่อว่า PACS แล้วหาวิธีการแก้ไข


คราวนี้ลองมาดูกันว่า ... จะนำปัญหาจากงานประจำของคุณ โสภณ ปันทวงศ์ มาทำในรูปแบบงานวิจัยแบบง่ายๆ ได้อย่างไร


ที่มาของปัญหา

รพ.สันปาตอง ใช้ระบบส่งภาพทางการแพทย์ ประมาณ .... ปี ที่ผ่านมา พบปัญหาจากการเรียกดูภาพทางการแพทย์ ได้แก่

1. การรับส่งภาพจากหน่วยรังสีวินิจฉัยไปแสดงที่จอภาพตามห้องตรวจต่างๆในโรงพยาบาล ล่าช้า

2. การรับส่งภาพจากหน่วยรังสีวินิจฉัยไปแสดงที่จอภาพตามห้องตรวจต่างๆในโรงพยาบาล มีการหยุดการเชื่อมต่อ หรือหลุดออกจากระบบบ่อยครั้ง

3. สายสัญญาณที่ใช้งานเป็นสายเก่าใช้งานมานานแล้ว

4. สายสัญญาณที่ใช้งานต้องเชื่อมต่อผ่านจุดต่างๆหลายจุดในโรงพยาบาล

ปัญหาดังกล่าวเป็นอุปสรรค์ต่อการใช้บริการ


จะเห็นว่า มีปัญหา

แต่...

ยังขาดข้อมูลที่สำคัญ คือ ... ไม่มีข้อมูลสนับสนุน ว่า ปัญหานั้นเกิดบ่อยครั้งเพียงใด

ถ้ามี... ข้อมูลเชิงประจักษ์ หรือ แสดงสถิติที่เกี่ยวข้อง ก็จะดีมาก

เพราะข้อมูลเชิงสถิติ สามารถนำมาใช้เพื่อแสดงให้เห็นผลสำเร็จ หรือ นำมาใช้เปรียบเทียบผลก่อนและหลังแก้ไขปัญหา


1. หากมีข้อมูลสนับสนุน ปัญหาการรับส่งข้อมูล ล่าช้า

ข้อมูลดังกล่าว จะได้มาอย่างไร อาจตรวจสอบ หรือ ทำอย่างง่าย คือ การสุ่มประเมิน ระยะเวลาที่แพทย์เรียกดูภาพผู้ป่วยแต่ละราย ว่า ภาพเหล่านั้น ปรากฏขึ้น เร็ว หรือ ล่าช้า เพียงใด ใช้การจับเวลา ตั้งแต่ เรียกภาพ จนภาพปรากฏสมบูรณ์ใช้ระยะเวลาแสดงภาพ หรือ ปรากฏภาพโดยรวมเท่าใด

การเก็บข้อมูลแบบนี้ เป็นงานประจำที่ผู้ดูแลระบบ ควรทำการสุ่มทุกๆวัน ควรสุ่ม เก็บข้อมูลตั้งแต่ น้อยที่สุด มากที่สุด แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อประเมินคุณภาพการรับส่งข้อมูล


2. การหยุดการเชื่อมต่อ หรือหลุดออกจากระบบบ่อยครั้ง

ควรมีการบันทึกจำนวนครั้งของการหยุดการเชื่อมต่อหรือหลุดออกจากระบบ ตามหน่วยงานต่างๆในโรงพยาบาล

ว่า... มีการหยุดการเชื่อมต่อ หรือหลุดออกจากระบบบ่อยครั้ง ต่อวัน

อาจสุ่มเป็นหน่วยงาน หรือ ห้องตรวจ ก็ได้

(วิธีการนี้แสดงถึง การให้ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมในโรงพยาบาล)


สำหรับ

ปัญหา ข้อ 3 ก็อาจถ่ายรูปสายสัญญาณให้เห็นว่าเก่า หรือ ระบุ ปีที่ติดตั้ง


ปัญหา ข้อ 4 แสดงแผนภูมิ จุดที่เชื่อมต่อ ระบุว่ามีกี่จุด ที่เชื่อมต่อกับหน่วยรังสีวินิจฉัย การเชื่อมต่อหลายๆจุด จะลดทอนการส่งสัญญาณได้ ข้อมูลนี้เพื่อนำมาเปรียบเทียบก่อนและหลังแก้ไข ว่า การเปลี่ยนจุดเชื่อมต่อ หรือ การลดจุดเชื่อมต่อ มีผลต่อการรับส่งสัญญาณ ได้หรือไม่



วัตถุประสงค์

เพื่อแสดงการเปลี่ยนสายสัญญาณมีผลต่อการรับส่งสัญญาณในระบบแสดงภาพทางการแพทย์





วิธีการ

1. เปลี่ยนสายสัญญาณใหม่ ระบุสายสัญญาณ หรือ อื่นๆที่เปลี่ยน

2. แสดงวิธีการทดสอบ ตรวจสอบและประเมินผลประเมินการรับส่งสัญญาณ

2.1 ระยะเวลาที่แพทย์เรียกดูภาพผู้ป่วยแต่ละราย ประเมินว่า เร็ว หรือ ล่าช้า (เปรียบเท่าก่อนและหลังการแก้ไข)

2.2 จำนวนครั้งการหยุดการเชื่อมต่อ หรือหลุดออกจากระบบ (เปรียบเท่าก่อนและหลังการแก้ไข)






ผลลัพธ์

1. แสดงข้อมูลความเร็วที่เปลี่ยนแปลงในระบบดิจิทัล

2. แสดงระยะเวลาที่แพทย์เรียกดูภาพผู้ป่วยแต่ละราย ประเมินว่า เร็ว หรือ ล่าช้า (เปรียบเท่าก่อนและหลังการแก้ไข)

3. แสดงจำนวนครั้งการหยุดการเชื่อมต่อ หรือหลุดออกจากระบบ (เปรียบเท่าก่อนและหลังการแก้ไข)


ในข้อ 2 และ 3

สามารถแสดงในรูปแบบตารางหรือแผนภูมิ แสดงค่าระยะเวลา น้อยที่สุด มากที่สุด แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ที่เป็นข้อมูลทางสถิติอย่างง่าย ที่ใช้ในการดำเนินการครั้งนี้ เพื่อประเมินคุณภาพการรับส่งข้อมูล หรือแสดงเป็นร้อยละ เพื่อให้เห็นความแตกต่าง

4. แสดงจุดการเชื่อมต่อที่ลดลง



สรุปผล

สรุปผลสิ่งที่เปลี่ยนสายสัญญาณมีผลต่อการรับส่งสัญญาณในระบบแสดงภาพทางการแพทย์ อะไรบ้าง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรในการทำงานการดูภาพได้บาง (ก็นำผลที่ได้มาใช้ มีองค์ความรู้อะไรอ้างอิง สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยก็จะเพิ่มความน่าเชื่อถือ)

การทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย ครั้งนี้ สามารถแสดงการเปลี่ยนแปลง ว่า...

1.ระยะเวลาที่แพทย์เรียกดูภาพผู้ป่วยแต่ละราย เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรือไม่

2.แสดงจำนวนครั้งการหยุดการเชื่อมต่อ หรือหลุดออกจากระบบ น้อยลงหรือไม่

3. ผลทางอ้อม คือ ทำให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยได้รวดเร็วขึ้น

4. โอกาสพัฒนาต่อยอด คือ ประเมินความพึงพอใจของแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ที่ใช้งานระบบดูภาพทางการแพทย์ที่ใช้งานอยู่ เป็นต้น



เป็นไงบ้างครับ

พอเห็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพการทำงานประจำ เพิ่มเติมข้อมูลเชิงประจักษ์หรือทางสถิติ นำมาแสดงเป็นงานวิจัยการทำงานอย่างง่ายๆ


ขอให้สุข สนุกกับการทำงาน เพื่อช่วยเหลือประชาชน

ร่วมทำดี ตามรอยเท้าพ่อกันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 622322เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2017 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2017 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณอาจารย์ต้อมที่ช่วยแนะนำครับ จะลองเขียนและทำให้เป็นจริงๆจังครับผม

คุณโสภณ ปันทวงศ์ ลองเขียนมาให้อ่านนะครับ หากติดขัดอย่างไร ยินดีช่วยเหลือและแนะนำ สู้ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท