หอพระอุปคุต วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี


#ศิลปะในประเทศไทย

หอพระอุปคุต วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี

โดย วาทิน ศานติ์ สันติ (14/11/2559)


หอพระอุปคุต วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี เป็นอาคารไทยทรงบุษบก สร้างขึ้นกลางสระดอกบัว ภายในบุษบกมีแต่ฐานว่างปล่าว สันนิษฐานว่ามีงานพิธีหรืองานบุญ อาจมีการนำหินจากสระน้ำ หรือนำพระบัวเข็มมาตัั้งไว้ตามคริความเชื่อในพระพุทธศาสนาที่เชื่อว่า พระอุปคุตคือพระสงฆ์อรหันต์ที่มีฤทธิ์มากจำศีลอยู่ในสะดือทะเลหรือทะเลหวง

ตามตำนานหนึ่งกล่าวว่าในพุทธศตวรรษที่ 3 ในดินแดนชมพูทวีป ประเทศอินเดียในปัจจุบัน สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้จัดงานฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมดที่พระองค์สร้างตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน แต่ถูกพญามารมาผจญ จึงได้นิมนต์พระอุปคุตปเพื่อมาปราบพญามาร

ปัจจุบันชาวล้านนาครั้นจะจัดงานบุญใหญ่จะประกอบพิธีเชิญพระอุปคุตโดยการดำน้ำเพิ่อทำการเก็บหินขึ้นมาเป็นการสมมติแทนพระอุปคุตด้วยการถามชาวบ้านว่าใช่หรือไม่ ชาวบ้านจะตอบว่าไม่ใช่ งมสามรอบชาวบ้านจะตอบว่าใช่ จากนั้นจำนำไปวางไว้ในหอชั่วคราวจนเมื่องานเสร็จสิ้นจึงนำหินกลับลงน้ำ

ที่วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรีสร้างหอพระอุปคุตไว้ถาวรกลางอ่างน้ำทรงกลมที่เต็มไปด้วยบัว อยู่ด้านข้างพระวิหารพระพุทธนิมิตต์ เป็นงานสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณีเป็นอาคารหลังคาทรงบุษบก ปลีเป็นทรงบัวคลุ่ม ปลียอด และเม็ดน้ำค้าง เนื่องจากผมไม่ได้ทำการสอบถามพระสงฆ์หรือชาวบ้านว่ามีทางวัดสร้างขึ้นเพื่อการณ์ใด ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าอาจสร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีในการจัดงานของวัดตามคติที่กล่าวมาข้างต้น อาจมีการวางหินหรือเชิญพระบัวเข็มมาตั้งก็ได้ หรือสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับให้ผู้คนกราบไหว้บูชา หรือใช้ทั้งสองกรณีควบคู่ก็เป็นได้ และหรืออาจหมายรวมไปถึงการจัดงานบุญ "วันเป็งปุ๊ด" ตามแบบชาวล้านนา จัดในช่วงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ เชื่อว่าพระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรยามเที่ยงคืนในวันดังกล่าว ซึ่งทางวัดอาจจัดงานดังกล่าวก็เป็นได้

อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์การใช้งานขอหอพระอุปคุต วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี เป็นเพียงการสันนิษฐานของผู้เขียนจากฐานชุดความเชื่อที่ปรากฎในล้านนา หากมีข้อผิดพลาดประการณ์ใดก็ขอกราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้ และขอผู้รู้ช่วยชี้แนะจะเป็นพระคุณยิ่ง

ของดีอีกอย่างที่วัดนี้คือ พระวิหารพระพุทธนิมิตต์ วิจิตรบรรจงไปด้วยการประดับตกแต่งแบบปราศจากที่ว่างแบบพระวิหารหลวงจากฝีมือช่างหลวง ทั้งลวดลายปูนปั้น งานประดับกระจก งานแกะสลัก งานลงรักปิดทอง นับเป็นงานสถาปัตยกรรมชั้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งของจังหวัดชลบุรีเลยทีเดียว ปัจจุบันค่อนข้างจะทรุดโทรม ควรได้รับการบูรณซ่อมแซมอย่างรวดเร็ว

หมายเลขบันทึก: 621931เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2017 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2017 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท