การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่นด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ


การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่นด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ

19 มกราคม 2560

ทีมวิชาการ สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย [1]

ความตอนที่แล้ว ตามแนวทางการพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ แนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกรนั้น มีหลักการสำคัญอยู่ที่ “การพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง” (Sufficiency Economy) โดย “การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร” เพื่อสู่ประเทศไทย 4.0 [2] เพราะ “ต้นไม้ที่พ่อปลูกได้ผลิดอกออกผลแล้ว” การพัฒนาเกษตรกรไทยให้เป็นสังคมแห่งความมีสุขภาพที่ดี (Healthy Society) เพราะรับประทานพืชผักสีเขียว ที่ปลอดสารพิษ เป็นอาหารที่สะอาดปลอดภัย เป็นเกษตรแบบ “Green & Clean”[3] จึงเป็นแนวทางที่ต้องมีการพัฒนาปรับปรุงส่งเสริม โดยเฉพาะถือเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ลองมาดูแนวคิดเพิ่มเติมเพื่อการศึกษาขยายผลกัน

ประเทศไทยเป็นสังคมเกษตร

มีคำอมตะว่า “ชาวนาคือ ผู้ทำนาปลูกข้าวให้เรากิน” จากข้อมูลปี 2557 ประเทศไทยมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 320 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ทำนา 149 ล้านไร่ (ร้อยละ 46) มีเกษตรกรและชาวนาถึง 3.7 – 4 ล้านครัวเรือน คิดเป็นจำนวนร้อยละ 80 ของประชากร [4]

และจากข้อมูลจากการจดทะเบียนคนจนของกระทรวงมหาดไทย (2547) ระบุว่า มีเกษตรกรและคนไร้ที่ดินในสังคมไทยทีมีปัญหาที่ดินทำกินไม่น้อยกว่า 3.2 ล้านครอบครัว ซึ่งคิดเป็นจำนวนร้อยละ 80 ของเกษตรกรเช่นกัน [5]

จากความได้เปรียบ “เชิงการเกษตร” ดังกล่าว เพื่อการก้าวเข้าสู่สังคมโลกต่อไปแม้เป็นโอกาสดีของประเทศไทยในการก้าวพัฒนาไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” นั้น เกษตรกรไทยยังตกอยู่ในภาวะที่ยากจน

ข้าวคือพืชหลัก

ข้อมูลปี 2557 [6] จากพื้นที่ปลูกข้าวใน 56 จังหวัดที่ปลูกข้าว คิดเป็นร้อยละ 75 ของพื้นที่ปลูกข้าว มีรายได้ต่อปีต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศที่ 29,064 บาท/ปี มีเพียงชาวนาใน 21 จังหวัดหรือประมาณร้อยละ 25 เท่านั้นที่มีรายได้ต่อปีมากกว่าเส้นความยากจนชาวนาจึงถือเป็นกลุ่มคนที่ “ยากจนที่สุด” ในบรรดาเกษตรกรทั้งหลาย และในบรรดาจำนวนคนจนทั้งหมดร้อยละ 10 ฉะนั้น ในที่นี้จึงเสนอแนวทางเพื่อ “การพัฒนาเกษตรกรชาวนาไทย” เป็นอันดับแรกด้วย

แผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

หรือ Local Sufficiency Economy Plan : LSEP ซึ่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแจ้งให้จังหวัดมอบหมายท้องถิ่นอำเภอร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ตลอดตนติดตามและประเมินการนำข้อมูลไปใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นใน 3 ด้าน [7] ตามแนวทางรายละเอียดดังนี้

(1) ด้านการเกษตร (1.1)เปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม (1.2)การปลูกพืชชนิดอื่นเพิ่มเติม (ปลูกพืชเชิงซ้อน) (1.3)การทำการเกษตรทางเลือก ได้แก่ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร อื่น ๆ (1.4)ฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น (1.5)แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (1.6)จัดตลาดชุมชน (1.7)จัดตั้งกลุ่มอาชีพ (1.8)จัดตั้งโรงสีชุมชน (1.9)จัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์/ส่งเสริมการเกษตร (1.10)สร้างลานตากข้าวกลางประจำหมู่บ้าน (1.11)สร้างยุ้งฉางประจำหมู่บ้าน (1.12)จัดสรรที่ดินทำกิน (1.13)ประกันราคาพืชผลทางการเกษตรแก้ไขปัญหาราคาต้นทุนการผลิต (1.14)ศูนย์เรียนรู้ (1.15)กำจัดศัตรูพืช (1.16)สนับสนุนปัจจัยทางการเกษตร (วัสดุอุปกรณ์ พันธุ์สัตว์ เมล็ดพันธุ์) (1.17)กองทุนเพื่อการเกษตร (1.18)ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (1.19)อื่น ๆ (ระบุ)

(2) ด้านแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค (2.1)ขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อการอุปโภค บริโภค (2.2)ก่อสร้างประปาหมู่บ้าน (2.3)ปรับปรุงซ่อมแซมประปาหมู่บ้าน (2.4)ขยายเขตประปาหมู่บ้าน (2.5)ขุดน้ำตื้น (2.6)สร้างถังเก็บน้ำฝนในที่สาธารณะ (2.7)สร้างถังเก็บน้ำกลางประจำหมู่บ้าน (2.8)โอ่งขนาดใหญ่ (2.9)ปรับปรุงซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำ (2.10)อื่น ๆ (ระบุ)

(3) ด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร (3.1)ขุดลอกแหล่งน้ำ (3.2)สร้างฝายกักเก็บน้ำ (3.3)สร้างแก้มลิง (อ่างเก็บน้ำ) (3.4)ขุดคลองซอย คลองไส้ไก่ (3.5)ขุดสระเก็บน้ำ (3.6)ขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อการเกษตร (3.7)สร้างระบบท่อส่งน้ำ (3.8)สร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า (3.9)ฝนหลวง (3.10)อื่น ๆ (ระบุ)

จากแนวทางข้างต้น คงพอจะเห็นแนวทางการพัฒนาได้ ฉะนั้น เราชาวองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกคน ทุกฝ่าย ขอได้ร่วมกันน้อมนำแนวการพัฒนาตามพระราชดำริของพระองค์ท่านพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ใส่เกล้าใสกระหม่อมพัฒนาพื้นที่เพื่อการก้าวสู่ “อุตสาหกรรมการเกษตรประเทศไทย 4.0” ให้จงได้



[1]PhachernThammasarangkoon & Ong-art saibutra, Municipality Officer ทีมวิชาการสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย, หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2560 ปีที่ 67 ฉบับที่ 23278 หน้า 10, การเมืองท้องถิ่น : บทความพิเศษ & หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 64 ฉบับที่ 19 วันศุกร์ที่ 20 – วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560, หน้า 66

[2]ประเทศไทย 4.0 Thailand 4.0 คือ, 24 กันยายน 2559, http://www.admissionpremium.com/news/1377

& สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, ปาฐกถาพิเศษ “ท้องถิ่นในยุคประเทศไทย 4.0” งานเวทีท้องถิ่นไทย ปี 2559, ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ), YOUTUBE.COM เผยแพร่เมื่อ 14 กันยายน 2559, https://www.youtube.com/watch?v=JR19q_qdyl0&feature=share

[3]การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology), 2557, www.environnet.in.th/2014/?p=8145&http://news.voic...

[4]“เอ็นจีโอเสนอนายกฯเร่งจัดที่ดินทำกิน-คนจนไร้ที่ดิน.”2551, อ้างแล้ว & ปัจจุบันไทยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 320.7 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่าไม้ 102.11 ล้านไร่ เนื้อที่ถือครองทางการเกษตร 149.23 ล้านไร่ และเนื้อที่นอกการเกษตร 69.34 ล้านไร่ ดู “สกว. เปิดพิมพ์เขียวจัดการทรัพยากร หนุนยกเครื่อง กม.ป่าไม้-ตั้งธนาคารที่ดิน”, 6 พฤศจิกายน 2558, http://www.isranews.org/isranews-news/item/42532-l...

[5]“เอ็นจีโอเสนอนายกฯเร่งจัดที่ดินทำกิน-คนจนไร้ที่ดิน.”มติชนออนไลน์, 20 ธันวาคม 2551, http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1...

&ข้อมูลในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520-2524 และชาวนาไทยมีมากกว่า 40% ของคนไทยทั้งประเทศ ดู ลม เปลี่ยนทิศ(นามแฝง), โปรดคืนความสุขให้ชาวนาอีกครั้ง, ไทยรัฐ, 24 กรกฎาคม 2557, http://www.thairath.co.th/content/438262 & http://www.thaichamber.org/scripts/detail.asp?nNEW...

[6]“ยุทธศาสตร์ข้าว”, ฉบับหอการค้า ยกระดับ “ชาวนาไทย” ขึ้นชั้นเกษตรยุคใหม่, ทีมเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 4 สิงหาคม 2557, http://www.thairath.co.th/content/440831

& อันดับประเทศไทย...ในอันดับโลก!!, 28 สิงหาคม 2553, http://unigang.com/Article/3554

[7]หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.3/ว 2354 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 เรื่อง การสำรวจข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) (Local Sufficiency Economy Plan : LSEP) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560, http://www.slideshare.net/ssuser23b32c/local-suffi... & http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2016/11...

หมายเลขบันทึก: 621731เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2017 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2017 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
E-book เดลิมิเร่อร์ ฉบับในหลวงรัชกาลที่ 9
http://online.fliphtml5.com/htaf/upvg/
http://online.fliphtml5.com/htaf/upvg/#p=1

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท