รับรู้คิดจิตสร้างสรรค์ - ลิขิตคุณภาพ


เมื่อเราได้ใคร่ครวญ "สุ จิ ปุ ลิ" เพื่อเรียนรู้แบบตกผลึกความเข้าใจในการตั้งโจทย์และการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ทางกิจกรรมบำบัด...แปลความรู้สู่การฝึกอิงกิจกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดได้ออกแบบแหล่งสืบค้นที่น่าสนใจที่นี่ [Acknowledgement of citation at OTseeker Project Manager, Department of Occupational Therapy, The University of Queensland]

ก่อนอื่นเราควรประเมินระดับหลักฐานเชิงประจักษ์ตามกระบวนการผลลัพธ์ทางงานวิจัย ได้แก่

ระดับ 1 งานวิจัยทดลองแบบสุ่มตัวอย่างและมีกลุ่มควบคุม (Randomized controlled trials)

ระดับ 2 งานวิจัยทดลองสองกลุ่ม ไม่ต้องมีการสุ่มตัวอย่าง เช่น กลุ่มกรณีศึกษาเปรียบเทียบกรณีควบคุม (Case-control) การศึกษาจากเหตุไปหาผล (Cohort)

ระดับ 3 งานวิจัยทดลองหนึ่งกลุ่ม ไม่ต้องมีการสุ่มตัวอย่าง เช่น ก่อนและหลังการทดลอง (Before-After) เปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนและหลัง (Pretest-posttest)

ระดับ 4 งานวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive studies) มีการวิเคราะห์ผลลัพธ์ เช่น กรณีศึกษาเดียว (Single subject design) กรณีศึกษากลุ่มผู้ป่วย/ผู้รับบริการ (Case series)

ระดับ 5 งานวิจัยแบบรายงานกรณีศึกษา (Case report) ที่มีการสะท้อนความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ มีการทบทวนวรรณกรรม และมีการแสดงฉันทามติ (Consensus statement) หมายถึง แนวปฏิบัติในการตัดสินใจที่จะมีมติดำเนินการหรือไม่ดำเนิน</wbr>การในเรื่องหนึ่ง แม้ทุกฝ่ายจะมิได้เห็นพ้องร่วมกัน แต่ไม่มีผู้ใดคัดค้าน

ต่อด้วยการประเมินคุณค่าของรายงานการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่

1. กระบวนการประเมินความถูกต้องของหัวข้อต่างๆ ในรายงานการศึกษาวิจัย เรียกว่า Critically-Appraised Individual Articles หรือ Article Synopses ซึ่งสามารถใช้เครื่องมื่อที่เรียกว่า PICO ในการตั้งคำถามทางคลินิกได้ คลิกเรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่ [Acknowledgement of citation at Occupational Therapy Evidence-Based Practice in Western New York]

2. กระบวนการประเมินเพื่อสังเคราะห์ความรู้ในการนำไปใช้แบบ Implication เช่น คาดว่าจะทำการวิจัยต่อยอดแบบลดข้อจำกัดงานวิจัยเดิม คาดว่าจะนำข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ไปทำการวิจัยต่อยอดเลย เป็นต้น หรือแบบ Application เช่น จะประยุกต์กับความรู้ในตัวตน-วิชาชีพ-งานวิจัยที่มีอยู่ในเรื่องใดๆที่เป็นรูปธรรม เป็นต้น กระบวนการนี้เรียกว่า CATs หรือ Critical Appraised Topics (Evidence Syntheses) ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดได้พัฒนาลิงค์ที่น่าสนใจที่นี่ [Acknowledgement of citation at Annie McCluskey, Occupational Therapy CATs]

3. กระบวนการต่อยอดงานวิจัยที่มีคุณค่าและมีระดับดีมาทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นลำดับหรือระบบการสืบค้น (Systematic reviews) จนถึงวิเคราะห์เชิงลึก (Meta-analyses) ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดชอบศึกษาจากที่นี่ [Acknowledgement of citation at Cochrane Library]



หมายเลขบันทึก: 621484เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2017 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มกราคม 2017 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท