การปรับปรุงฟื้นฟูอาชีพการทำนา


การนำปุ๋ยขี้ไก่ มูลวัว ใส่ในในนาข้าวช่วงไถดะ ประมาณ 450 กก./ไร่ โดยใส่ปีเว้นปี ใสปุ๋ยขี้ไก่ จำนวน 50 กก./ไร่ ในช่วงข้าวเริ่มตั้งท้อง
การปรับปรุงฟื้นฟูอาชีพการทำนา 
          เกษตรกรอำเภอจุฬาภรณ์ ผูกพันกับข้าวมานานแสนนาน เพราะเป็นอาหารจานสำคัญที่ขาดไม่ได้ในทุกมื้อ และยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอ รองมาจากยางพารา แต่ปัจจุบันสถานการณ์ได้เปลี่ยนไป เนื่องจากการทำนาประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น ภัยธรรมชาติ ราคาข้าวตกต่ำ ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง สภาพพื้นที่การทำนาเสื่อมโทรม ทำให้ผลผลิตต่ำ ไม่คุ้มกับการลงทุน ประกอบกับปัจจุบันยางพารามีราคาสูง เกษตรกรจึงได้เปลี่ยนพื้นที่การทำนาไปปลูกยางพารากันมากแล้ว
          สำนักงานเกษตรอำเภอจุฬาภรณ์ ได้ตระหนักในเรื่องนี้ จึงได้ใช้เวทีจากการจัดการความรู้ (KM) ในโครงการส่งเสริมผลิตพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน นำข้อมูลที่ได้จากผลการวิเคราะห์การจัดเก็บข้อมูล นำเสนอแก่เกษตรกร เพื่อพิจารณาเป็นแนวทางการพัฒนาการผลิตข้าวในระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อฟื้นฟูอาชีพการทำนาของเกษตรกรในอำเภอจุฬาภรณ์ ให้กลับมาเหมือนเดิมในอดีตต่อไป
          ผลการจัดการองค์ความรู้ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพข้าว เกษตรกรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ถึงสาเหตุของการทำนาในพื้นที่อำเภอจุฬาภรณ์ลดลง มาจากสาเหตุดังนี้
          1. เกษตรกรมีพื้นที่การทำนาน้อย จึงไม่มีรายได้จากการทำนาเป็นรายได้หลักของครอบครัว
          2. ราคาข้าวเปลือกไม่ดี
          3. สภาพพื้นที่การปลูกข้าวขาดความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตจึงตกต่ำ
          4. มีภัยธรรมชาติ สร้างความเสียหายแก่นาข้าวทุกปี
          5. ยางพารามีราคาสูง เกษตรกรจึงได้เปลี่ยนพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด
          จากการจัดการความรู้เกิดภูมิปัญญาชาวบ้านขึ้นว่า ชุมชนจะต้องปรับปรุงฟื้นฟูอาชีพการทำนาไม่ให้ลดลงให้สามารถพอเลี้ยงชีพในชุมชนได้ โดยการนำระบบการปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน เพิ่มผลผลิตข้าว และเป็นการลดต้นทุนการผลิตในการปลูกข้าว วิธีการคือ การนำปุ๋ยขี้ไก่ มูลวัว ใส่ในในนาข้าวช่วงไถดะ ประมาณ 450 กก./ไร่ โดยใส่ปีเว้นปี ใสปุ๋ยขี้ไก่ จำนวน 50 กก./ไร่ ในช่วงข้าวเริ่มตั้งท้อง ซึ่งมีเกษตรกรบางรายในพื้นที่ปฏิบัติแล้วได้ผลดียิ่ง 
         
คำสำคัญ (Tags): #การผลิตข้าว
หมายเลขบันทึก: 62136เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2006 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ บ้านเกิดอยู่ อ.จุฬาภรณ์ค่ะ

ที่บ้านก็ประกอบอาชีพทำนาค่ะ

แต่มองในอีกมุมนึง ก็อยากให้ทางเกษตรอำเภอ

อบรมเกี่ยวกับการทำอาชีพเสริมด้วยค่ะ

อยากเข้าอบรม เรียนรู้ เกี่ยวกับการเพาะเห็ดค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท