เปิดพื้นที่เรียนรู้สู่การปฏิบัติ : คุณอำนวย R2R


ทีมคำเขื่อนแก้วนำโดยพี่แกะ...ที่ก้าวเดินพร้อมกันในหลักสูตรคุณอำนวย R2R หรือ R2R Facilitator
เป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ...


KV: การสร้างแรงบันดาลใจและการตั้งคำถามการวิจัย
KS: BAR, Share&Learning, Reflection,AAR อีกสองสัปดาห์ลงสู่การปฏิบัติจริงและกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับการถอดบทเรียนอีกครั้ง
KA: บันทึกเก็บไว้เพื่อเป็นชุดความรู้ของศูนย์วิจัยทางการพยาบาล

AAR-> บรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเอง แม้จะกังวลแต่ก็พร้อมที่จะเรียนรู้...??

23-12-2559
ที่มา https://m.facebook.com/KM.R2R.NR.Yasothon.Hospital/

#YasothonLearningCenter
#NursingResearchCenter
#KMR2RtoTransformation



น้องเดือน...ได้ช่วยบันทึกเรื่องราวไว้ว่า...

ทีมเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้วนำทีมโดยพี่แกะและน้องๆอีก 7คนได้เข้าเรียนรู้ R2R กับ ดร.กะปุ๋ม

เริ่มต้นโดยการเรียนรู้คุณลักษณะที่ดีของ Facilitator โดยการให้ดูคลิปวิดีโอคุณอำนวยหลังดูเสร็จได้ให้แต่ละคนบอกคุณลักษณะ Facilitator โดยสรุปคือ Facilitator ต้องมีความรู้ความเข้าใจ เป็นผู้ฟังที่ดีให้คำแนะนำได้ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี มีองค์ความรู้ มุ่งมั่น มีเป้าหมายที่ชัดเจนที่สำคัญคือการสร้างแรงบันดาลใจ และ ดร.กะปุ๋ม ได้เสริมคุณลักษณะที่ดีของ Facilitator ต้อง กระตุ้นให้ค้นหาความรู้ ไม่ติเตียน ใช้กระบวนการทางปัญญามาช่วยแก้ปัญหา ไม่มีรูปแบบที่ตายตัวของการเป็น Facilitator มี 5 ช ด้วยกันคือ ชี้ชวน ,ชื่นชม ช่วย ,เชียร์ และเชื่อม หากเราอยากได้ Facilitatorแบบไหนก็ให้เลือกทำในแบบนั้น

เข้าสู่เนื้อหา R2R เป้าหมายการเรียนรู้ครั้งที่ 1 เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ R2R

1.กระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ

2.หา Gap / ช่องว่าง / ปัญหา

3.ตั้งคำถามการวิจัย (ถ้าคำถามการวิจัยชัด Phase อื่นๆก็จะง่าย)

R2R คืออะไร

R2R มี 4 ลักษณะ

1.คำถามการวิจัยมาจากงานประจำ

2.ผู้วิจัยคือคนที่ทำงานวิจัยนั้น

3.ผู้รับผลลัพธ์การวิจัยคือคนที่รับบริการจากงานประจำนั้น

4.ผลวิจัยต้องถูกนำไปใช้ในงานประจำ( ไม่ขึ้นหิ้ง)

****วิจัยบางชิ้นจะมีไม่ครบ 4 ลักษณะหากไม่ครบกระบวนการเรียกว่า CQI

เทคนิค

1.Sheare & Learning : ให้พูดแชร์เรื่องราว/ประสบการณ์

2.Dialogue : สุนทรียสนทนา เป็นการล้อมวงคุยกัน

3.Reflection : สะท้อนให้เกิดการคิด ต้องให้เกิดแรงบันดารใจ ต้องไม่เกิดความท้อแท้หรือหดหู่

4. AAR (Action After Review) :

*** เทคนิคเหล่านี้เป็นพื้นฐานของ KM

เทคนิคของ Dialogue: เป็นการล้อมวงคุยกันโดยให้พูดเรื่องราว/ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จก่อน จากนั้นให้คิดว่ายังมี Gap อะไรที่ทำให้ไม่สำเร็จซึ่งก็จะได้เป็น Research Gap ออกมา( Research Gap: ข้อมูล อุบัติการณ์ ความเสี่ยง เหตุการณ์ที่เกิดซ้ำๆ)

ลักษณะงานวิจัยมี 4 ลักษณะ

1.Research Question:คำถามการวิจัยชัด

2. Literature : มีการค้นคว้า

3. Research Design:,การออกแบบรูปแบบการวิจัย

4.Evaluation : เก็บข้อมูลและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

***ซึ่งถ้าองค์ประกอบไม่ครบอาจเป็นเพียง CQI

เทคนิคการตั้งคำถามการวิจัย( Research Question)ด้วย PICO

P: Population กลุ่มตัวอย่าง

I:Intrevention กิจกรรมพัฒนา

C:Control กิจกรรมเปรียบเทียบกับ I(จะมีหรือไม่มีก็ได้)

O:Outcome การวัดผล(ทำ I ไปแล้วจะทำให้เกิดอะไร)

ดร.กะปุ๋มได้สอนการฝึก Dialogue โดยการให้เริ่ม SSS ก่อนจากนั้นหา Gap แล้วนำ Gap มาเขียน PICO

เภสัชได้เล่าถึงประสบการณ์การใช้แบบฟอร์มคัดกรองแบบเก่าไม่ work ยังเกิดปัญหาอยู่จึงได้ ใช้แบบฟอร์มคัดกรองแบบใหม่เพื่อช่วยลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วย OPDที่ติดเชื้อ URI

P:ผู้ป่วย OPDที่ติดเชื้อ URI

I:แบบฟอร์มคัดกรองแบบใหม่

C:

O:ลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะ

ในวันแรกเริ่มจากการสร้างแรงบันดารใจจากการดู VTR ซึ่ง อาจ download จาก You tube ได้เสร็จแล้วให้เกิดการ Share& Learning แลกเปลี่ยนในประเด็น ความรู้สึก , R2R คืออะไร ,กระบวนการในการทำ R2R เป็นอย่างไร ให้หาคำตอบและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ใช้เวลาครึ่งวันช่วงเช้า ให้คุยกันในกลุ่มเล็กช่วงเช้าแล้วนำเสนอในกลุ่มใหญ่ช่วงบ่าย

ก่อนแยกย้าย ดร.กะปุ๋มได้ให้แต่ละคนได้เขียน -สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

-ความท้าทายในตัวเองคิดว่าคือเรื่องอะไร

-ความรู้สึก

ดร.กะปุ๋ม :หลังจากที่เรียนรู้แล้วทำไปทำอะไรต่อใน workshop ในวันที่ 5-6 มกราคมนี้

พี่ปุ๋ม: ได้เสนอว่าเราควรนัดประชุมคุยกันก่อนถึงวันจริง/แบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน

พี่ปุ๋ม: สำหรับที่ได้เรียนในวันนี้ เข้าใจ R2R มากขึ้นส่วนเรื่องทำ workshop ยังมีความวิตกกังวลแต่ก็ได้คาดหวังอะไรมากอาจจะต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน และต้องกลับไปทบทวน ทำการบ้านในเรื่องของการเป็น Facilitator ที่ดี , ต้องรับฟังให้มากขึ้น

พี่อี๊ด: ไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเองแต่จะพยายามรับฟังให้มากขึ้นและจะทำหน้าที่ของการเป็น Facilitatorให้ดีที่สุด

อิ๋ว:ได้ความรู้อย่างมากสำหรับการเรียนในวันนี้ ยังคิดว่าเป็นเรื่องยาก แต่ต้องลงมือทำอยากพัฒนางาน

หมอฝ้าย :มีความกังวลไม่ทราบว่าตนจะทำหน้าที่ Facilitator ได้หรือเปล่าเพราะไม่รู้บทบาทหน้าที่/ข้อมูลหน่วยงานอื่น

พี่มด: ดีใจที่มีทีมที่เข้มแข็งที่อยากพัฒนาเพื่อโรงพยาบาล ยังวิตกกังวลแต่ก็จะทำให้เต็มที่

แก้ว : กังวลเพราะยังไม่เข้าใจในเรื่อง R2R เลย






หมายเลขบันทึก: 620854เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2016 09:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2016 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท