​ชีวิตที่พอเพียง : 2820. กาละ ในฐานะ เทศะ



บทความเรื่อง How We Make Sense of Time ในนิตยสาร Scientific American Mind ฉบับเดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๙ บอกเราว่า มนุษย์เราสร้างความหมายของกาละ (time) ด้วยเทศะ (space) เพราะเมื่อเราพูดถึงเมื่อวานหรืออดีตมือของเรามักจะชี้ไปข้างหลัง และเมื่อพูดถึงพรุ่งนี้หรืออนาคต มือของเราจะชี้ไปข้างหน้า


การทำความเข้าใจเวลา (time) ด้วย space อาจทำได้หลายแบบ ได้แก่ตำแหน่ง ขนาด และการเคลื่อนไหว


นักวิจัยไปศึกษาคนเผ่า Yupno ที่ ปาปัว นิวกินี และพบว่าเขาให้ความหมายของอดีตเทียบกับการเดิน ลงเขา และมองอนาคตเหมือนการเดินขึ้นเขา


มีคนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับการให้ความหมายต่อเวลา และพบว่าคนอังกฤษและคนยุโรปอีกหลายชาติพูดถึงเวลาในฐานะการเคลื่อนไหวไปในพื้นที่ (motion on a space) และมองหน่วยเวลาเป็นเสมือนแบ่งเป็นช่วงๆ เป็นแถว


มีข้อถกเถียงพอสมควร แต่ลงท้ายเขาสรุปว่ามนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ ทุกชาติ ทุกภาษา ให้ความหมายของเวลาด้วยพื้นที่หรือทิศทางทั้งสิ้น แต่อาจให้ความหมายแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ให้อนาคตอยู่ข้างหน้า ให้อดีตอยู่ข้างหลัง แต่ก็มีชนเผ่าในอเมริกาใต้ และคนเวียดนาม ให้อดีตอยู่ข้างหน้า และอนาคตอยู่ข้างหลัง ชนที่เขียนหนังสือจากซ้ายไปขวาจะให้อดีตอยู่ทางซ้าย อนาคตอยู่ทางขวา ชนที่เขียนหนังสือจากขวาไปซ้าย (เช่นฮิบรู) จะให้อนาคตอยู่ทางซ้าย อดีตอยู่ทางขวา จีนเขียนหนังสือจากบนลงล่าง อดีตจึงอยู่ข้างบน อนาคตอยู่ข้างล่าง


“เวลาโบยบิน” เป็นคำที่บอกว่า เราคิดถึงเวลาเป็นการเคลื่อนไหว


“ชั่วอึดใจ” เป็นคำที่บอกเวลาสัมพันธ์กับชีวิตของเราเอง ไม่มีระบุไว้ในบทความนี้ แต่ก็อาจเหมาว่า อยู่ในการคิดถึงเวลาเป็นการเคลื่อนไหว



วิจารณ์ พานิช

๓ ธ.ค. ๕๙


หมายเลขบันทึก: 620707เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2016 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ธันวาคม 2016 23:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท