ข้อเสนอเชิงนโยบาย สู่ การจัดการท่องเที่ยวชุมชนโดยชุมชน


ข้อมูลเชิงนโยบาย สานพลังภาคีพลเมือง พัฒนาป่าชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและสร้างสะพานศึกษาธรรมชาติป่าชายเล

หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งคา เขตเทศบาลตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ มีจำนวน278 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 1,050 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านและเกษตรกรรมรองลงมาตามลำดับ จากศักยภาพของพื้นที่ป่าชายเลนที่มีลักษณะทางกายภาพเป็นป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีชายหาด ทะเล ประกอบกับป่าไม้ที่ทอดยาวตลอดแนวจากเหนือจดใต้สามารถพัฒนาขึ้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดโดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้โกงกาง พันธุ์ไม้นานาชนิดลิงแสม อิงอ่อยและอ่าวที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งชีวภาพและกายภาพ มีหญ้าทะเล และฝูงปลาพะยูน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านมีพื้นที่จำนวน๖๒๕ไร่ลักษณะเป็นภูเขาเล็ก ใหญ่ สลับกันส่งผลให้มีภูมิทัศน์โดดเด่นสูงจากระดับน้ำทะเล๓๕๐เมตรสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของทะเลโดยรอบได้อย่างชัดเจน เป็นสถานที่ ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นสถานที่สำคัญที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและสร้างสะพานศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน

ซึ่งจากข้อมูลแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากรณีพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวพบว่านักท่องเที่ยวมีแนวโน้มสนใจการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (Special Interest Tourism) ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism) การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย (Adventure Tourism)การท่องเที่ยวเชิงศาสนา (Spiritual Tourism)การท่องเที่ยวเพื่อการประชุมและนิทรรศการ (MICE) และการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) เป็นต้นเนื่องจากต้องการประสบการณ์ที่แตกต่างในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง ต้องการสัมผัสธรรมชาติที่บริสุทธิ์ กิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการจัดทำโครงการดังกล่าวจึงเป็นการสอดรับกับพฤติกรรมทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว และสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของฐานการท่องเที่ยวรวมทั้งความเชื่อมโยงกับธุรกิจบริการและท่องเที่ยวกลุ่ม MICEเนื่องจากกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัยสามารถจัดเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องได้

ทั้งนี้ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นนอกจากจะเป็นการสร้างความหลากหลายและเชื่อมโยงในกิจกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นการให้อำนวยความสะดวกแก่กลุ่มประมงพื้นบ้านทั้งในและนอกชุมชนในการสัญจรสู่การประกอบอาชีพที่ยั่งยืนและยังอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสร้างจิตสำนึกแก่เด็ก เยาวชน ประชาชน และนักท่องเที่ยวใช้เป็นที่ศึกษาค้นคว้าพันธุ์ไม้ความอุดมสมบูรณ์รวมทั้งเมื่อชุมชนมีผลพลอยได้จากรายได้ของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาแล้วจะส่งเสริมให้เกิดความหวงแหน มีส่วนร่วมช่วยกันรักษาไม่ให้ใครมาทำลายทางประชาชนในหมู่ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่นและผู้นำศาสนา ร่วมกับสภาพลเมืองจังหวัดกระบี่จัดทำประชาคมสนับสนุนโครงการดังกล่าวข้างต้น เพื่อก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์สูงสุดของประชาชนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 620532เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2016 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2016 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชาวบ้านโกว์ โกทูโนว์ ยินดีต้อนรับ

ดีใจจัง ที่น้องนันท์ ได้มาเขียนบันทึก ในบ้านโกว์

เชื่อว่าเรื่องเล่าของชาวกระบี่ ในการพัฒนาสังคมชุมชนเป็นที่น่าสนใจ

คงได้แลกเปลี่ยนผ่านบันทึก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท