มหาวิทยาลัยเปิดในฝันของฉัน 01


จากที่นั่งค้นหาข้อมูลเพื่อจะเขียนหัวข้อ (ซึ่งจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ยังไม่รู้ วัลลอฮูอะลัม )

'อิกเราะ' กับความหมายเชิงพลวัตนำสู่การเรียนรู้แบบนักเรียนเป็นศูนย์กลางในระบบโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีประสิทธิภาพ
IQRA and its dynamic meaning to enhance Student-Centered Learning of Islamic Private School in Three Southern Border Provinces of Thailand

สิ่งหนึ่งที่เริ่มจะเห็นแนวโน้มคร่าวๆของจุดแข็งและจุดอ่อน ระหว่างระบบการศึกษาที่เรียกว่า (ตั้งชื่อเอง)
TES (Traditional Education System) โรงเรียน วัด/สุเหร่า/ปอเนาะ
MES (Modern Education System) โรงเรียน ระบบเกรด มหาวิทยาลัย

MES เป็นระบบการศึกษาที่สร้างความเครียดให้กับผู้เรียนโดยธรรมชาติของระบบ ที่มีการประเมินด้วยการคิดเกรด มีกรอบของเวลาและเงินตรา (ค่าหน่วยกิต) มากำหนด ซึ่งนี่คือจุดอ่อนของ MES จุดบอดอีกจุดหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงความขัดแย้ง (Analogy-ธุรกิจกีฬา [1]) คือ เป็น ระบบการศึกษาที่ low level of respect (มารยาทและรูปแบบการกตัญญู) แต่จุดแข็งคือ การวิจัย debate/defense ความเป็น critical thinking ที่สูง ทำให้การงอกเงยของความรู้นั้นมีสูงด้วย

TES ก็จะเป็นระบบการศึกษาที่กลับกัน high level of respect แต่ การวิจัย debate/defense จะด้อยกว่า MES อะไรประมาณนั้น

ถ้าเด็กสองคนกระทำผิด คนหนึ่งมาจาก สาย รร วัด/สุเหร่า/ปอเนาะ(TES) อีกคนหนึ่งมากจาก รร ระบบเกรด มหาวิทยาลัย (MES)
การกระทำผิดของเด็กสองคนนี้ มีปัจจัยไม่เท่ากัน แม้ในตัวบุคคลจะมีระดับของกิเลสที่เท่ากันก็ตาม เด็กจากสาย TES เขาทำเพราะกิเลสเขาล้วนๆ แต่เด็กที่มาจากสาย MES เขามีปัจจัยความเครียดที่ระบบการศึกษาได้ปลูกฝังในตัวเขามาด้วย

สภาอุลามาอฺ ฟาฏอนีย์ ดารุสสลาม มูลนิธิ [2]
ไม่มีข้อมูลมากนักกับวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง มูลนิธิแห่งนี้ เท่าที่ฟังดู ก็น่าสนใจทีเดียว ก็เลยลองเอาความฝันตัวเองมาเชื่อมรวมเพื่อนำเสนอมุมมอง หากเราสามารถยกระดับ มูลนิธิแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยในสามจังหวัด ถือว่าเป็นการยกระดับการศึกษา TES ได้แบบก้าวกระโดดทีเดียว กล่าวคือ นักศึกษาปอเนาะที่เรียนตามปอเนาะต่างๆ สามารถเขียนงานวิจัยหรือบทความของตัวเอง โดยระบุตามหัวข้อที่สนใจ เช่น ภาษาศาสตร์ นิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฮะดิษ กุรอาน เป็นต้น จะเขียนด้วยภาษามลายูก็ได้ อาหรับก็ดี หรือภาษาอิงลิชหรือไทยก็ได้ แต่ abtract ควรจะมีภาษาไทยอยู่ด้วย เขียนเสร็จก็ส่งมายัง สภาฯ หรือ มหาวิทยาลัยเปิด (ถ้าทำได้) นี่จะเป็นอีกหนึ่งก้าวยาวๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับนักศึกษาปอเนาะที่อยากไปเรียนต่อต่างประเทศ หรือจะยังคงศึกษาวิจัยต่อในประเทศตามแบบฉบับอุลามาอฺสมัยยุคสมัยก่อนก็ทำได้ ทำลักษณะนี้ จะเป็นการช่วยให้บรรดาผู้รู้ต่างๆ ที่มีความรู้มากมาย แต่เวลาไม่อำนวย สามารถถ่ายทอดความรู้ของตัวเองผ่านบทความงานวิจัยเหล่านี้ และบรรจุเข้าห้องสมุดของ สภาฯ หรือ มหาวิทยาลัยเปิดดังกล่าวไว้เป็นแหล่งอ้างอิงกับชนรุ่นหลังอีกด้วย

มหาวิทยาลัยเปิดแบบนี้ นักศึกษาไม่ต้องเสียเงินค่าหน่วยกิจก็ได้ (ดูระบบปอเนาะที่เป็นอยู่ ผนวกกับข้อดีของสภาฯ ) คร่าวๆแค่นี้พอ นี่ก็ยาวไปแล้ว

อินชาอัลลอฮฺ วัลลอฮูอะลัม

[1] www.facebook.com/hasan.awae/posts/10204525795653402
[2] www.youtube.com/watch?v=i7WLysZss7k, www.youtube.com/watch?v=7MDfVf5XgMU

หมายเลขบันทึก: 620058เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท