Diabetes Risk Score แบบง่ายของไทย


โมเดลแบบง่ายไม่ต้องอาศัยผลการตรวจเลือดเลย

ดิฉันเคยเขียนถึง Diabetes Risk Score (DRS) ของไทยที่พัฒนาโดย รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร ([email protected]) ซึ่งเป็นแบบประเมินความเสี่ยงต่อเบาหวานชนิดที่ ๒ มาแล้ว ๒ ครั้ง ครั้งแรกตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘ อ่านได้ที่นี่ค่ะ

คราวที่แล้ว เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๘ (อ่านที่นี่) ดิฉันได้เล่าที่มาที่ไปและวิธีการพัฒนาเครื่องมือชุดนี้ อาจารย์วิชัยได้สร้างโมเดลไว้ ๕ โมเดล สำหรับโมเดลแบบง่ายไม่ต้องอาศัยผลการตรวจเลือดเลยนั้นประกอบด้วย อายุ เพศ BMI ความยาวเส้นรอบเอว (WC) ภาวะความดันเลือดสูง และประวัติการป่วยเป็นเบาหวานของพ่อ แม่ หรือพี่น้อง ทั้งนี้ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอให้ตัดตัวแปรเพศออกจากโมเดล เพราะเพศหญิงเพศชายไม่แตกต่างกัน อาจารย์วิชัยจึงกลับไปทำงานต่ออีก

เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๘ อาจารย์วิชัยได้ส่ง e-mail มาถึงดิฉัน มีข้อความว่า :

"ผมส่ง file รายงานเรื่อง Diabetes risk score มาให้ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปครับ เรื่องคะแนนการทำนาย หากไม่มีเพศในสมการ อำนาจการทำนายจะลดลง ผมจึงคงเพศไว้ในการทำนาย และไม่มีผลทำให้ชายมีอุบัติการณ์มากกว่าหญิง แม้ว่าชายจะมีคะแนนมากกว่าหญิง แต่เมื่อนำไปใช้ในประชากรจริง ไม่พบว่าอุบัติการณ์ในชายมากกว่าในหญิง ส่วนนี้ผมได้เสริมไว้ในบทอภิปรายแล้ว"

โมเดลแบบง่าย ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ และมีเกณฑ์การให้คะแนนมีดังนี้

ปัจจัย   คะแนน 
อายุ     
  34-39

  40-44

  45-49 

  > 50

เพศ     
  ผู้หญิง 

  ผู้ชาย 

ดัชนีมวลกาย     
  <23 

  23-<27.5 

  >27.5

ความยาวเส้นรอบเอว    
  <90 ซม.(ผู้ชาย) และ <80 ซม.(ผู้หญิง) 

  >90 ซม.(ผู้ชาย) และ >80 ซม.(ผู้หญิง)  

เป็นโรคความดันเลือดสูง     
  ไม่เป็นโรคความดันเลือดสูง 

  เป็นโรคความดันเลือดสูง (>140/90 มม.    
  ปรอท หรือรักษาความดันเลือดสูงอยู่)

ประวัติเบาหวานในพ่อแม่ พี่น้อง      
  ไม่มีประวัติ 

  มีประวัติ 

ผลรวมคะแนนที่ได้ การแปลผล และข้อแนะนำ ดังแสดงในรูปต่อไปนี้ เหตุที่ต้องทำเป็นรูปภาพ เพราะดิฉันพยายามพิมพ์ข้อมูลในตารางที่มี ๓ คอลัมน์แล้ว พิมพ์เสร็จก็ดูเรียบร้อยดี แต่พอตีพิมพ์เป็นร่างแล้วให้แสดงผล ปรากฎว่าตารางที่ว่าดีๆ อยู่นั้นไม่ดีจริง ไม่ตรงบรรทัด ลองแก้ไขหลายรอบแล้วไม่สำเร็จ (เดือดร้อนอาจารย์ ดร.จันทวรรณ รบกวนช่วยแนะนำด้วยนะคะ)

 

สมาชิกลองนำไปใช้หรือทดลองประเมินตนเองดูนะคะ ดิฉันประเมินตนเองได้คะแนนรวม ๖ เพราะอายุมากและมีพี่สาวเป็นเบาหวาน แสดงว่ามีความเสี่ยงปานกลาง

รายงานฉบับสมบูรณ์นั้น อาจารย์วิชัยจะตีพิมพ์ในวารสาร ดิฉันมีไฟล์ pdf อยู่ แต่ยังไม่ได้เผยแพร่ เพราะต้องขออนุญาตอาจารย์วิชัยก่อนค่ะ ถ้าท่านใดสนใจโปรดแจ้งให้ทราบด้วยนะคะ

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

หมายเลขบันทึก: 6200เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2005 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การที่ใน แบบประเมินให้ความสำคัญกับเพศ แต่จากการสังเกตุพบว่าการเกิดโรคในชายและหญิงเท่ากันนั้นเป็นเรื่องที่ไม่แปลกครับ เพราะการวิเคราะห์ข้อมูลบ่อยครั้งที่มีตัวแปรต้นหลายมิติ เราไม่อาจพิจารณาทีละมิติแล้วเอามารวมกันได้ เราต้องพิจารณาทีเดียวทั้งชุดครับ ยกตัวอย่างง่ายๆครับ เช่นเราวิเคราะห์โรค หากคนมาตรวจบอกว่าความดันสูงและตาพร่ามัวเราอาจสันนิจฐานว่าเป็นเบาหวาน แต่หากวิเคราะห์แค่ตาพร่ามัวอาจบอกว่าสายตาสั้น หากวิเคราะห์ว่าความดันสูงเราอาจวิเคราะห์ว่าความดันสูง จะเนว่าการวิเคราะห์ไปคนละทางเลย ดังนั้นการวิเคราะห์แบบองค์รวมก็คือองค์รวมไม่สามารถแยกเป็นส่วนย่อยแล้วเอามารวมกันได้ครับ(นี่เป็นตัอย่างนะครับอาจผิดหลักทางการแพทย์ต้องขอออกตัวก่อนนะครับด้วยไม่มีความรู้ทางด้านนี้ครับ)

มีข้อเสนอแนะยินดีรับฟังครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท