Patho OTOP2 (5) : โทรศัพท์ "ดัง" บ่อยเกินไป ทำไงดี


เพราะโทรศัพท์ดังบ่อยเกินไป    ทำให้เสียเวลาในการรับสาย  เสียสมาธิในการทำงาน     ทีม "ข้างนอกสุขใส ข้างในต๊ะติ้งโหน่ง"  เลยรวมตัวรวมใจกันคิดโครงการนี้ขึ้นมา     ชื่อว่าโครงการ "ลดความสูญเสียในขั้นตอนการทำงาน "

กลุ่มนี้เป็นเจ้าหน้าที่จาก AP  (Anatomic Pathology)  ถือว่าเป็นด่านหน้าของงานตรวจชิ้นเนื้อ     ชิ้นเนื้อที่พูดถึงก็คือชิ้นเนื้อของผู้ป่วย    ที่จำเป็นต้องส่งมาตรวจเพื่อพิสูจน์ทราบว่า   ปกติหรือผิดปกติอย่างไร

โทรศัพท์ที่มีมาบ่อยๆ    เพราะอะไรหรือ ?   มีทั้งโทรศัพท์มาถามว่า  ชิ้นเนื้อที่ส่งมาตรวจมาถึงหรือยัง    อันนี้ผู้ส่งตรวจคงจะกังวล  กลัวชิ้นเนื้อหายสาบสูญ   (ชิ้นเนื้อถูกตัดออกมาแล้ว   ตัดแล้วตัดเลย  หาใหม่ไม่ได้อีก)   ฉะนั้นต้องตรวจสอบให้มั่นใจ

และมีทั้งโทรมาทวงผลว่า    ผลการตรวจออกหรือยัง   จะออกเมื่อไหร่   ออกก่อนกำหนดได้หรือไม่   และบางครั้งก็ต้องการทราบว่า   ตอนนี้ตรวจถึงขั้นไหนแล้ว    เรียกได้ว่า  วันๆ  รับโทรศัพท์กันมือเป็นระวิง   ไม่เป็นอันทำงานอย่างอื่น

วิธีแก้ปัญหาของทีมนี้    นอกจากจะจัดระเบียบวีธีการทำงานใหม่แล้ว    (เช่น..จัดที่ทางวางโทรศัพท์ใหม่ให้เหมาะสม   จัดเวรรับโทรศัพท์) วิธีที่น่าจะได้ผลคือ  ใช้ระบบ IT เป็นตัวจัดการ   โดยปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย    ที่ใช้ลงทะเบียนรับชิ้นเนื้อ   ให้มีประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างผู้ส่งตรวจ  และผู้รับตรวจ   มากขึ้น    เช่น   เพิ่มช่องให้มีการ request ผลด่วนได้  (ในรายที่ด่วนจริงๆ )   ให้มีการแสดงคำเตือนว่า  ชิ้นเนื้อรายไหนจะออกผลได้เมื่อไหร่   และชิ้นไหนที่ถึงเวลาต้องออกผลแล้ว    เพื่อจะได้ "จัดคิว"  หรือ  "ลัดคิว"   ทำให้ก่อน 

ซึ่งอันนี้....คงต้องใช้ความสามารถพิเศษ    ในการประสานงานและเจรจากับหน่วยคอมพิวเตอร์ของคณะแพทย์ ฯ

 
โครงการมีกำหนดเสร็จสิ้นในเดือนธันวาคม    ความคาดหวังของทีมนี้   ก็คือ  "เสีย" เวลาน้อยลง   ซึ่งจะทำให้มีเวลาและมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น      และแน่นอน...จะได้ทำงานอย่างสบายใจ
 
คุณธนาศักดิ์  ตัวแทนของทีม   
นำเสนอด้วยน้ำเสียงดังกังวาล
หมายเลขบันทึก: 61870เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

พี่ nidnoi ที่ห้องก็เป็นตามผล(ทั้งด่วน ไม่ด่วน)บ้าง ตามคนบ้าง เพิ่ม Lab. บ้าง ขอเลือดบ้าง คนที่มีหน้าที่่ีรับโทรศัพท์ (ไม่ได้แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ)ก็คนลงทะเบียนไง เพราะอยู่ใกล้โทรศัพท์มากสุด อันนี้เทคนิคการตอบและการคุยโทรศัพท์ขึ้นอยู่กับการตอบและแก้ปัญหาของแต่ละบุคคล

ผู้เขียนมีเทคนิคพิเศษค่ะ คือใจแข็งไม่รับไง ใครใจอ่อนก็รับไป-อิ อิ  (เป็นบางครั้งยุ่งสุด สุด)

ดีจังเลยครับ ปกติพอโทรศัพท์ดังมักตกใจ ขวัญอ่อนครับ ยิ้ม ยิ้ม

มาอ่านค่ะ ชื่อเรื่องโดนใจดัง....โครม!.....สงสัยต้องเรียนรู้ต่อยอดมาใช้ที่สำนักงานพี่บ้างแล้ว.....ไหง!...รูปไปแอบอยู่มุมล่ะคะ.....เสียบุคลิกหมดเลยคุณนิดหน่อยจ๋า

อ่านหัวข้อข่าว แล้วต๊กกะใจ!    นึกว่าหมายถึง โทรศัพท์มือถือ ดังระงม  ในห้องประชุมPatho Otop2 ซะอีก!   โล่งอกไปที... พี่ก็เข้าเกือบทุกครั้งนา  ...ที่แท้ก็เป็นกลุ่ม ตตน นี่เอง

คุณศิริ  
ที่ห้อง sero ก็เหมือนกันค่ะ
คนที่รับโทรศัพท์ก็คนลงทะเบียนนั่นแหละ    เพราะโทรศัพท์อยู่ใกล้ๆ กับคอมฯ (ตั้งใจวางไว้ใกล้กัน)   แต่ถ้ามีปัญหาที่จัดการไม่ได้   ก็จะปรึกษาเวรปรึกษาประจำวัน   แต่ถ้าเวรปรึกษาไม่อยู่   ก็คว้าคนที่อยู่ใกล้ๆ แถวนั้นแหละ

พี่อานุไร ค่ะ
ที่ห้องประชุม Patho Otop2  ของเรา   ไม่ค่อยมีโทรศัพท์รบกวนมากนัก  (น๊านๆๆ...ได้ยินที)  แสดงว่าพวกเรา รู้งาน  ค่ะ

 

นิดหน่อยไปตอบคำถามให้ แฟนๆ ด้วยนะคะ ในบันทึกเกี่ยวกับ pai "ตื่นมาก็นั่งจ้องหน้าคอมเลยนะ....พ่อบ้านแซวมาตามลม..." พี่ทำหูทวนลม...ฮา....ฮา..

คุณเมตตา   ไม่ชอบรูปนี้หรือคะ  เท่ดีออก  ส่วนที่ต้องหลบไปอยู่ซ้ายสุดนั่นน่ะ  เพราะด้านขวา  มีอะไรอย่างอื่นอยู่เต็ม   ถ้าถอยไปอีกก็จะตกเฟรมไปเลย (คือคนถ่ายเค้า..ไม่ได้ตั้งใจจะถ่ายรูปคน)

คุณขจิตคะ     เพิ่งทราบว่าขวัญอ่อน    แต่ไม่เป็นไรหรอก...อย่าใจอ่อน  ก็พอ

ตอบแล้วค่ะ   คุณเมตตา  (ตอบในบันทึกของคนถาม)  ขอบคุณค่ะ

nidnoi ก็ทำเหมือนคุณเมตตา  เลยค่ะ  ตื่นขึ้นเปิดคอมก่อนสิ่งอื่นใด    แต่...บังเอิญไม่มีคนมาแซว  ไม่มีใครกวนใจ   

 ดีจัง...............

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท