เตรียมค่ายต้านลมหนาว สานปัญญา


"การทำงาน เปิดใจ ยอมรับ เสนอความคิดเห็น ร่วมมือ

วางแผน และลงมือกระทำ คือ วิธีและกระบวนการที่มีจุดลงตัว"


การจัดค่ายต้านลมหนาว สานปัญญา สืบเนื่องจากการไปสำรวจค่าย หลังจากที่กลับมา

ได้มีผู้สำรวจค่ายได้มีการนำข้อมูลและบริบทมารายงานต่อสมาชิกและอาจารย์ที่ปรึกษา

เพื่อวางแผนการทำงาน ให้สำเร็จลุล่วงภายใต้ กิจกรรมเพื่อส่วนรวมและสังคมที่ดีกว่า

ค่ายนี้ยอมรับได้เลยว่าเป็นค่ายแรกของพรรคชาวดินรุ่นใหม่ ที่น้อยประสบการณ์แต่มีหัวใจที่รัก

และศรัทธาต่อการทำกิจกรรม โดยมีพี่พนัส อ.อัครา อ.อภิญญา ให้คำปรึกษาและแนะนำกิจกรรม

ร่วมถอดบทเรียนและถ่ายทอดกิจกรรมให้พวกเราชาวดินรุ่นใหม่ ค่ายนี้ยอมรับเลยว่าไม่ธรรมดา

ทั้งเหตุและปัจจัยหลัก ถ้าไม่มีใจคงจะไปต่อไม่ได้เลยทีเดียว วางแผนการเงินคำนวนค่าใช้จ่าย

ใช้เงินดำเนินโครงการประมาณ 50,000 บาท โดยเป็นค่ารถ 3 คัน 38,000 บาท ค่าอาหาร 20,000 บาท

ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ (แต่การทำงานเราจะไม่เอาทุนมาเป็นอุปสรรคในการทำงาน)

ยังวางแผนกิจกรรม แผนรับบริจาคต่อไป


ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่า "ต้านลมหนาว" เราไปต้านลมหนาวอย่างไร ไปต้านเพราะกิจกรรมอะไร

ก็ได้คำตอบ คือการนำสิ่งของอุปโภค บริโภคที่จำเป็นผ้าห่มเสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬา หมวกไหมพรม ถุงเท้า

และอุปกรณ์การเรียน ไปมอบให้น้องนักเรียน ทำกิจกรรมกายบริหารพาน้องออกกำลังกาย

พัฒนาตลาดเด็กดอย เพื่อเป็นทุนการศึกษาของนักเรียน

"สานปัญญา" คือการร่วมเรียนรู้ ทักษะชีวิต วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรม การเป็นอยู่ของคนในชุมชน

บ้านร่องกล้า และศึกษาประวัติศาสตร์อุทยานภูหินร่องกล้า โครงการปลูกป่าตามแนวพระราชดำริ

กิจกรรมเสริมคือ จุดเทียนแปรภาพอักษร แสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลฯ

ได้เขียนโครงการส่งเอกสารเสนอโครงการโดยผ่านองค์การนิสิต สภานิสิต กลุ่มงานกิจกรรมนิสิต

และรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต จนโครงการอนุมัติและออกคำสั่งไปราชการ

พร้อมประสานงานรถ ทำหนังสือถึงโรงเรียนห้วยน้ำไซ สาขาร่องกล้าวิทยา ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก

เจ้าหน้าที่อุทยานภูหินร่องกล้า


เมื่อมีการประชุมวางแผนกัน ได้เเบ่งหนาที่ดังนี้ ได้แก่

คณะกรรมการฝ่ายประสานงานโครงการ ทำหน้าที่ ติดต่อประสานงานการดำเนินกิจกรรมของค่าย

เป็นไปตามวัตถุประสงค์และความเรียบร้อย

คณะกรรมการฝ่ายธุรการและการเงิน ทำหน้าที่ รวบรวม ดูแล ประเมิณการ ทำบัญชีต่างๆทั้งทางด้านการสมาชิกเข้าร่วมค่ายและการเงิน

และประสานงานกับทุกฝ่ายตามกิจกรรมในช่วงต่างๆ

คณะกรรมการฝ่ายระดมทุนและสวัสดิการ ทำหน้าที่ ระดมทุน เปิดรับบริจาค รวบรวมสิ่งของรับบริจาค ประชาสัมพันธ์

และดูแลตลอดทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกด้านสิ่งของอุปโภคบริโภค

คณะกรรมการฝ่ายปฐมพยาบาลและความปลอดภัย ทำหน้าที่ รับผิดชอบทางด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ดูและอุปกรณ์ทางการพยาบาล ติดต่อประสานงานเมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ และรักษาความปลอดภัยค่าย

คณะกรรมการอำนวยการ ทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางประสานงานกับทุกฝ่ายของการจัดค่าย

และดูแลกิจกรรมให้เกิดความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ ตรวจสอบ ดูแลจำนวนสมาชิกค่าย

คณะกรรมการฝ่ายอาหาร ที่พัก สถานที่ ทำหน้าที่ จัดซื้อ จัดหา และประกอบอาหารจนกว่าค่ายนั้นจะปิดลง

ดูแลสถานที่พัก วัตถุสิ่งของและอำนวยความสะดวกต่างๆ

คณะกรรมการฝ่ายดำเนินกิจกรรม ทำหน้าที่ ดำเนินกิจกรรมที่วางแผนไว้ให้เป็นไปตามเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความเรียบร้อย

และเกิดความประทับใจ

คณะกรรมการฝ่ายแปรภาพอักษร และพิธีการ ทำหน้าที่ ออกแบบ บริหารจัดการ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ

และติดต่อประสานงานกับบุคคล เพื่อดำเนินการแปรภาพอักษรถวายความอาลัย ให้สำเร็จลุล่วง

ทีมเขียนป้ายได้จัดเตรียมเขียนป้ายผ้า จำนวน 6 ผืน ใช้ระยะเวลา 2 วัน

นับเป็นครั้งแรกที่ได้เขียนป้ายเอง และไม่ได้ทำไวนิล เื่อความประหยัด


ทีมงานระดมทุนคัดแยกของบริจาค

และรับบริจาคปัจจัยเพื่อสมทบทุน นับได้ว่าได้สิ่งของบริจาค

เสื้อผ้ามากมาย เพื่อนำไปมอบให้น้องนักเรียน จนฝ่ายคัดแยกเหนื่อยเลยทีเดียว

และได้รับการสนับสนุนข้าวสารจากพี่ดร.รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล

จำนวน 200 กิโลกรัมเพื่อใช้เลี้ยงคนในค่าย

โดยมีพี่พนัส เป็นธุระพาไปรับมอบที่ร้อยเอ็ด

ได้เปิดรับบริจาคเงินสนับสนุนการออกค่ายประมาณ 25000 บาท

(ยังไม่รวบรวมรายชื่อผู้บริจาคไม่ครบ)


ส่วนการรับสมัคร วางแผนไว้ว่าไม่เกิน 40 คนแต่พอประกาศไปมีผู้สนใจอย่างมากมาย จนเกินจำนวน

จึงเปิดรับสมัครเพิ่ม เป็น 90 คน แต่สุดท้ายก็ลงตัวที่ 93 คน ขอร่วมระดมทุนค่ารถคนละ 300 บาท แต่ผู้ร่วมค่ายก็พร้อมใจจ่าย

นับว่าเป็นค่ายอดนิยมเลยทีเดียว ก่อนวันออกค่ายแน่นอนเลยว่าจะต้องมีคนล่วงหน้าไปเตรียมค่ายก่อน

โดยประธานค่าย และทีมอีกจำนวน 3 คนได้แก่ แทน ชาวดิน น้องแพม ชาวดิน และเต้ย ชาวดิน


เมื่อถึงจุดมุ่งหมาย ผมและทีมได้สำรวจสถานที่

เพื่อเตรียมวางแผนกิจกรรม วางแผนงานต่างๆที่ตลาดเด็กดอย


โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียน และครูธนกร (ครูเทียน) เป็นผู้แนะนำอีกครั้ง


ก่อนวันจัดค่ายที่จะมาถึงล่วงหน้าไปก่อน 1วัน คือวันที่ 10 พ.ย.59

ได้เข้าไปทำความรู้จักสร้างความคุ้นเคยกับน้องนักเรียน ที่กำลัง

เรียนและบางชั้นคุณครูกำลังพาปลูกผัก ขุดดิน พรวนดินอยู่

ได้เข้าไปตัดไม้ไผ่เพื่อเตรียมไว้สำหรับพัฒนาตลาดเด็กดอย

กับชาวบ้านและคุณครูของเด็กๆจะบอกว่าเป็นเรื่องราวที่ตื่นเต้น

น่าทึ่งกับวิถีตัดไม้ไผ้ของชาวม้ง ที่ตัดต้นแบบชำนาญและรวดเร็ว

แต่อากาศวันนั้นหนาวเย็นมาก รวมกับชื้อนเเฉะทำให้ทากดูดเลือดในป่า

อาละวาดโดนกัดกินไปกันคนละหลายๆตัว

หลังจากขนไม้ไผ่เสร็จ มานั่งล้อมวงร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน

กับชาวที่พาไปตัดไม้ไผ่ ได้โชว์ฝีมือการทำอาหารอีสานให้พี่น้องชาวม้ง

ทาน พากันชื่นชมและเอร็ดอร่อยน่าดู และพูดคุยเรื่องราวชีวิตต่างๆ


เช้าวันต่อมา หลังจากทานข้าวเช้าเสร็จตามวิถีชีวิตแบบบ้านๆข้าวจี่ ลาบหมู น้ำพริกผักแล้ว

ก็ได้มาเตรียมอาหารรอสมาชิกที่จะเดินทางมาค่ายต้านลมหนาว สานปัญญา

โดยลงมือเป็นพ่อครัวทำผัดซีอิ๋ว กับข้าวผัด ไว้รอ

ที่ออกเดินทางมาจาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่เวลา 04.00 น.

แต่การเดินทางช้าไปหน่อยก็ต้องลดกิจกรรมที่กำหนดไว้บางส่วน เพราะมาถึงเวลาประมาณบ่ายสอง

"การทำกิจกรรมนั้น ข้อสำคัญคือว่าการเตรียมการ เพื่อให้มองออกถึงรูปแบบกิจกรรม พร้อมทั้งวิธีการต่างๆ

เพื่อให้ผู้ร่วมทีมเข้าใจและมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน แต่แล้วการรับฟังความคิดเห็นก็เป็นส่วนสำคัญ

เพราะจะทำให้เกิดองค์ความรู้ที่ลงตัว และยังเปิดโอกาสให้คนที่มีความคิดเห็นได้แสดงทัศนะ

ที่สำคัญคือการเปิดใจ และความสามัคคีช่วยเหลือกัน ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเตรียมการ

ของงานโครงการค่ายต้านลมหนาว สานปัญญาครั้งนี้"

#ชีวิตไม่มีอะไรมาก อย่าคิดว่าลำบากถ้ายังไม่ได้ทำอะไร"

#ศรัทธาเชื่อมั่น








หมายเลขบันทึก: 618603เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2016 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2016 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นงานเขยนที่สะท้อนระบนการทำงานตามขั้นตอนที่น่าสนใจ กระชับเข้าใจง่าย หากเขียนเฉพาะเตรียมค่ายในมหาวิทยาลัย น่าจะอีและเติมรายละเอียดปลีกย่อยเข้าไปอีกนิด ที่เหลือก็ไปเขียนในบันทึกถัดไป

แต่ที่แน่ๆ อ่านแล้วเห็นกระบนการขับเคลื่อนงานที่ดีครับ

ผมชอบหลายตอน เช่น การไปถึงที่นั่นแล้วเรียนรู้แบบฝังตัว สังเกตการณ์ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในการปลูกผัก ตัดไม้ของคนที่นั่น เหมือนเรียนรู้คู่บริการนั้นแหละ นั่นคือการเรียนรู้บนฐานวัฒนธรรมชุมชน หรือห้องเรียน หรือสถานที่ที่เราใช้เป็นห้องเรียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท