บุคคล ๔ จำพวก : อนังคณสูตร ว่าด้วยผู้ไม่มีกิเลส


ขอนอบน้อมด้วยเศียรเกล้า แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้

ธรรมะรับอรุณ ณ บ้านเย็นยิ้ม
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2559
...

บุคคล ๔ จำพวก

ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลใดมีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน บุคคลสองพวกที่มีกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม. ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลใดมีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน บุคคลสองพวก ที่มีกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็น บุรุษประเสริฐ.

ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน บุคคลสองพวกที่ไม่มีกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม. ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลใดไม่มีกิเลสรู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน บุคคลสองพวกที่ไม่มี กิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็น บุรุษประเสริฐ.

ม. อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ?

สา. อย่างนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุ บุคคลนี้ก็ฉันนั้น ไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน ข้อนี้อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักมนสิการสุภนิมิต เพราะมนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงำจิตได้. เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลส มีจิตเศร้าหมอง ทำกาละ.

ม. อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ?.

สา. อย่างนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุ บุคคลนี้ก็ฉันนั้น ไม่มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน ข้อนี้อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักไม่มนสิการสุภนิมิต เพราะไม่มนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงำจิตไม่ได้. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ.

"สุภนิมิต" เป็นอาหารของกามฉันท์ (นิวรณ์) คือ สิ่งที่เป็นอาหารให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกามฉันท์ที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งสวยๆ งามๆ (สุภนิมิต) หรือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้ พบสิ่งสวย ๆ งาม ๆ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (อนังคณสูตร ว่าด้วยผู้ไม่มีกิเลส)


ธรรมะรักษา วิปัสสนาคุ้มครองค่ะ
อจ.พิณจ์ทอง แมนสุมิตร์ชัย (ฉัตรนะรัชต์)
“สติปัฏฐาน ๔ คือ ทางสายเอกสู่พระนิพพาน”

ขอน้อมอุทิศถวายบุญกุศล เป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

หมายเลขบันทึก: 618586เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2016 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2016 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

- ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

- หากอาจารย์ได้อธิบายด้วยภาษาง่าย ๆขยายจากคัมภีร์ดังกล่าว ก็จะทำให้คนอ่านเข้าใจมากขึ้นครับ

- ภาษาวัดบางครั้งเข้าใจยาก สำหรับผู้ทีี่ไม่คุ้นเคยและคนที่ห่างวัด

- ขอบพระคุณครับ

อาจารย์ พิณจ์ทอง แมนสุมิตร์ชัย (ฉัตรนะรัชต์)

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำแนะนำดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท